ในแต่ละวัน ผู้ลงทุนทราบหรือไม่ว่า เงินลงทุนที่เราฝากไว้กับกองทุนรวมประเภทต่างๆนั้น มันจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามเป้าหมายของเรา หรือตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนโครงการนั้นๆจริงหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้หนีไม่พ้น กับคำถามที่ตามมาว่า แล้วผู้จัดการกองทุนทำอะไรบ้างในแต่ละวัน?
ทั้งนี้ขอหยิบยก บทความหนึ่งจาก บลจ.นครหลวงไทย ที่ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็น “ผู้จัดการกองทุน(ต้อง)ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน” ซึ่งเขียนไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า งานด้านการจัดการกองทุนหรือบริหารกองทุน มีจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงหลักปฏิบัติและข้อกำหนดต่างๆมากมาย
ขณะเดียวกันจากประสบการณ์ที่ทำงานด้านการลงทุนมากกว่า 18 ปี ผู้เขียนคิดว่าความสำเร็จในการลงทุนมาจากสิ่งสำคัญสองอย่างคือ ปัจจัยแรกความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ใกล้เคียงมากกว่า หรือถูกต้องมากกว่า ซึ่งจะคล้ายกับหมอดู เพียงแต่หมอดูใช้ข้อมูลของดวงดาว เส้นลายมือและอื่นๆ ส่วนผู้จัดการกองทุนจะใช้หลักของเหตุและผล ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน และจิตวิทยา มาประกอบวิเคราะห์ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะต้องมีความรู้ และมีการติดตามข่าวสาร มีวิสัยทัศน์ รวมถึงการตัดสินใจที่ดี
ปัจจัยที่สองที่จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จคือ ความมีวินัย เนื่องจากการลงทุนและความเสี่ยงเป็นที่ควบคู่กันเสมอ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่าผู้จัดการกองทุนจะติดตามและใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารได้อย่างดี แต่ไม่ใครที่จะสามารถคาดการณ์อนาคตได้ถูกต้อง 100% นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกมากมาย ที่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เช่นภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นวินัยในการลงทุนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยในการลงทุนอย่างมีวินัยหมายถึง การลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนด ซึ่งจะมีการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด (Care) มีความรอบคอบระมัดระวังยิ่งขึ้น (Prudent) มีความพยายามและความขยันหมั่นเพียร (Diligence)มีความละเอียดถี่ถ้วน (Thoroughness) และมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม (Diversification)
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายข้างต้น แต่ละวันผู้จัดการกองทุนมีงานต่างๆ ที่ต้องทำมากมาย ในวันธรรมดาที่ไม่มีเหตุการณ์ใหญ่ สำคัญเกิดขึ้น ในตอนเช้าผู้จัดการกองทุนจะอ่านหนังสือพิมพ์ ดูว่ามีข่าวอะไรบ้าง จากนั้นจะเปิดโปรแกรมข่าวสารข้อมูลเพื่อดูข้อมูลต่างๆทั้งอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินสกุลต่างๆ ตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงข่าวสารการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ด้านหนึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ อีกด้านเป็นการเฝ้าระวังภัย คือคอยดูสัญญาณทางการเงินต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนของเราเพื่อที่จะได้ปรับปรุงการลงทุนได้ทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม หากมีประเด็นน่าสนใจ ทีมงานในฝ่ายลงทุนก็จะนำขึ้นมาถกเถียงหารือแลกเปลี่ยนความคิดกัน เช่น วันหนึ่งมีเพื่อนร่วมงานตะโกนว่าราคาน้ำมันขึ้นมาเยอะมาก ดูท่าจะไม่ดี คิดกันว่าไง เป็นการเปิดประเด็นหารือเป็นต้น
นอกจากนี้ในช่วงก่อนตลาดเปิดการซื้อขาย ผู้จัดการกองทุน จะมีการฟังข่าวสารทางโทรทัศพ์ (Conference call)กับบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ซึ่งจะโทรเข้ามาสรุปข่าว และข้อมูลวิเคราะห์ที่แต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดทำ
การ Conference call กับบริษัทหลักทรัพย์หลายๆแห่งจะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนได้รับข่าวสาร ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น และได้รู้แนวความคิดของบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งช่วยตรวจสอบในสมมุติฐานของตนเอง ขณะเดียวกันนอกจาก Conference callประจำวันแล้ว บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารต่างๆ จะส่งข้อมูลการวิเคราะห์หุ้น เศรษฐกิจ ดอกเบี้ย และอีกมากมายมาทาง e-mail เฉลี่ยประมาณวันละ 30 กว่าฉบับ ซึ่งจะต้องทยอยอ่านในแต่ละวัน
ทั้งนี้ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจะถูกนำมาวิเคราะห์ ประเมิน และคาดการณ์แนวโน้มของตลาดการเงินและตลาดทุน รวมถึงแนวโน้มราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก่อนตลาดเปิดผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาข้อมูลของกองทุนที่ตัวเองบริหาร และกระแสเงินสดที่เข้าออกในแต่ละวัน หลังจากนั้นผู้จัดการกองทุนจะตัดสินใจว่าในวันนั้นจะมีการดำเนินการซื้อขาย หลักทรัพย์อย่างไรบ้าง และจะส่งซื้อขายในช่วงเช้าหรือบางครั้งอาจรอดูภาวะของตลาดก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ ภายใต้นโยบายหรือกรอบการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติ
ในบางวันผู้จัดการกองทุนอาจต้องออกไปพบปะสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ (Company Visit) ไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือไปร่วมสัมมนาทางการเงินต่างๆ ซึ่งการไป Company Visit เป็นงานที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะการวิเคราะห์บริษัทจากงบการเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ การได้พบและสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัท จะทำให้ได้รับข้อมูลเชิงคุณภาพ นโยบาย และทิศทางของบริษัท ที่จะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทที่น่าสนใจได้ดีขึ้น
ส่วนในช่วงเย็น ผู้จัดการกองทุนก็จะมาดูรายงานสรุปการซื้อขายหลักทรัพย์ และดูว่าเงินลงทุนในกองทุนที่บริหารมีผลดำเนินงานอย่างไรบ้าง แถมต้องติดตามข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์ ช่องข่าวต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ในยุคปัจจุบัน โลกการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เงินร้อนที่มุ่งหวังการเก็งกำไรแผ่ขยายไปทั่วโลก และความมั่นคงจากสงครามและการก่อการร้าย ทำให้การเคลื่อนไหวในตลาดเงิน ตลาดทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การลงทุนจึงมีทั้งโอกาและความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ มีการหาข้อมูลข่าวสาร มีความสามารถในการคาดการณ์และมีวินัย จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนได้มากขึ้น
สุดท้ายนี้เป็นที่เชื่อใจได้หรือยังว่า เงินที่คุณฝาก..บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบริหารนั้นอุ่นใจแค่ไหน เพราะหากรับทราบถึงกิจวัตร และหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนทุกคน ที่ทำงานตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนเย็นแบบนี้ อาจะเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านกองทุนมากขึ้น เนื่องจากคนที่คอยดูแลเงินของเรา เขาไม่เคยละเลยในหน้าที่ของตน
ที่มา : บลจ. นครหลวงไทย
ทั้งนี้ขอหยิบยก บทความหนึ่งจาก บลจ.นครหลวงไทย ที่ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็น “ผู้จัดการกองทุน(ต้อง)ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน” ซึ่งเขียนไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า งานด้านการจัดการกองทุนหรือบริหารกองทุน มีจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงหลักปฏิบัติและข้อกำหนดต่างๆมากมาย
ขณะเดียวกันจากประสบการณ์ที่ทำงานด้านการลงทุนมากกว่า 18 ปี ผู้เขียนคิดว่าความสำเร็จในการลงทุนมาจากสิ่งสำคัญสองอย่างคือ ปัจจัยแรกความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ใกล้เคียงมากกว่า หรือถูกต้องมากกว่า ซึ่งจะคล้ายกับหมอดู เพียงแต่หมอดูใช้ข้อมูลของดวงดาว เส้นลายมือและอื่นๆ ส่วนผู้จัดการกองทุนจะใช้หลักของเหตุและผล ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน และจิตวิทยา มาประกอบวิเคราะห์ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะต้องมีความรู้ และมีการติดตามข่าวสาร มีวิสัยทัศน์ รวมถึงการตัดสินใจที่ดี
ปัจจัยที่สองที่จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จคือ ความมีวินัย เนื่องจากการลงทุนและความเสี่ยงเป็นที่ควบคู่กันเสมอ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่าผู้จัดการกองทุนจะติดตามและใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารได้อย่างดี แต่ไม่ใครที่จะสามารถคาดการณ์อนาคตได้ถูกต้อง 100% นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกมากมาย ที่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เช่นภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นวินัยในการลงทุนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยในการลงทุนอย่างมีวินัยหมายถึง การลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนด ซึ่งจะมีการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด (Care) มีความรอบคอบระมัดระวังยิ่งขึ้น (Prudent) มีความพยายามและความขยันหมั่นเพียร (Diligence)มีความละเอียดถี่ถ้วน (Thoroughness) และมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม (Diversification)
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายข้างต้น แต่ละวันผู้จัดการกองทุนมีงานต่างๆ ที่ต้องทำมากมาย ในวันธรรมดาที่ไม่มีเหตุการณ์ใหญ่ สำคัญเกิดขึ้น ในตอนเช้าผู้จัดการกองทุนจะอ่านหนังสือพิมพ์ ดูว่ามีข่าวอะไรบ้าง จากนั้นจะเปิดโปรแกรมข่าวสารข้อมูลเพื่อดูข้อมูลต่างๆทั้งอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินสกุลต่างๆ ตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงข่าวสารการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ด้านหนึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ อีกด้านเป็นการเฝ้าระวังภัย คือคอยดูสัญญาณทางการเงินต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนของเราเพื่อที่จะได้ปรับปรุงการลงทุนได้ทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม หากมีประเด็นน่าสนใจ ทีมงานในฝ่ายลงทุนก็จะนำขึ้นมาถกเถียงหารือแลกเปลี่ยนความคิดกัน เช่น วันหนึ่งมีเพื่อนร่วมงานตะโกนว่าราคาน้ำมันขึ้นมาเยอะมาก ดูท่าจะไม่ดี คิดกันว่าไง เป็นการเปิดประเด็นหารือเป็นต้น
นอกจากนี้ในช่วงก่อนตลาดเปิดการซื้อขาย ผู้จัดการกองทุน จะมีการฟังข่าวสารทางโทรทัศพ์ (Conference call)กับบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ซึ่งจะโทรเข้ามาสรุปข่าว และข้อมูลวิเคราะห์ที่แต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดทำ
การ Conference call กับบริษัทหลักทรัพย์หลายๆแห่งจะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนได้รับข่าวสาร ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น และได้รู้แนวความคิดของบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งช่วยตรวจสอบในสมมุติฐานของตนเอง ขณะเดียวกันนอกจาก Conference callประจำวันแล้ว บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารต่างๆ จะส่งข้อมูลการวิเคราะห์หุ้น เศรษฐกิจ ดอกเบี้ย และอีกมากมายมาทาง e-mail เฉลี่ยประมาณวันละ 30 กว่าฉบับ ซึ่งจะต้องทยอยอ่านในแต่ละวัน
ทั้งนี้ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจะถูกนำมาวิเคราะห์ ประเมิน และคาดการณ์แนวโน้มของตลาดการเงินและตลาดทุน รวมถึงแนวโน้มราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก่อนตลาดเปิดผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาข้อมูลของกองทุนที่ตัวเองบริหาร และกระแสเงินสดที่เข้าออกในแต่ละวัน หลังจากนั้นผู้จัดการกองทุนจะตัดสินใจว่าในวันนั้นจะมีการดำเนินการซื้อขาย หลักทรัพย์อย่างไรบ้าง และจะส่งซื้อขายในช่วงเช้าหรือบางครั้งอาจรอดูภาวะของตลาดก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ ภายใต้นโยบายหรือกรอบการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติ
ในบางวันผู้จัดการกองทุนอาจต้องออกไปพบปะสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ (Company Visit) ไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือไปร่วมสัมมนาทางการเงินต่างๆ ซึ่งการไป Company Visit เป็นงานที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะการวิเคราะห์บริษัทจากงบการเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ การได้พบและสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัท จะทำให้ได้รับข้อมูลเชิงคุณภาพ นโยบาย และทิศทางของบริษัท ที่จะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทที่น่าสนใจได้ดีขึ้น
ส่วนในช่วงเย็น ผู้จัดการกองทุนก็จะมาดูรายงานสรุปการซื้อขายหลักทรัพย์ และดูว่าเงินลงทุนในกองทุนที่บริหารมีผลดำเนินงานอย่างไรบ้าง แถมต้องติดตามข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์ ช่องข่าวต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ในยุคปัจจุบัน โลกการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เงินร้อนที่มุ่งหวังการเก็งกำไรแผ่ขยายไปทั่วโลก และความมั่นคงจากสงครามและการก่อการร้าย ทำให้การเคลื่อนไหวในตลาดเงิน ตลาดทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การลงทุนจึงมีทั้งโอกาและความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ มีการหาข้อมูลข่าวสาร มีความสามารถในการคาดการณ์และมีวินัย จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนได้มากขึ้น
สุดท้ายนี้เป็นที่เชื่อใจได้หรือยังว่า เงินที่คุณฝาก..บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบริหารนั้นอุ่นใจแค่ไหน เพราะหากรับทราบถึงกิจวัตร และหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนทุกคน ที่ทำงานตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนเย็นแบบนี้ อาจะเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านกองทุนมากขึ้น เนื่องจากคนที่คอยดูแลเงินของเรา เขาไม่เคยละเลยในหน้าที่ของตน
ที่มา : บลจ. นครหลวงไทย