บลจ.ธนชาต ครวญแบงก์จัดแคมเปญเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก กระทบการลงทุนกองทุน T – MONEY หดหาย แต่ยังมั่นใจผลตอบแทนเหนือเกณฑ์มาตรฐานจะเป็นตัวเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้ามากขึ้น พร้อมเตรียมออกกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน หวังชิงส่วนแบ่งเงินออมจากแบงก์คืนหลังจากนี้
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากได้เริ่มใช้วันที่ 11 สิงหาคม ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างออกแคมเปญเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำออกมาเพื่อแย่งชิงนักลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันกองทุนเปิดธนชาติตลาดเงิน หรือ T – MONEY ซึ่งในตอนแรกบริษัทจัดตั้งมาเพื่อรองรับกับพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากนั้น ยังไม่สามารถสู้ผลตอบแทนของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้นักลงทุนบางรายถอนหน่วยลงทุนออกไปบ้าง
ซึ่งบริษัทเองก็ต้องยอมรับในกระแสโปรโมชั่นของแบงก์ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามบริษัทได้เตรียมกลยุทธ์การตลาดเพื่อแย่งชิงนักลงทุนกลับมาด้วยการออกกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุ 3 เดือน หรือ 6 เดือน ที่สามารถให้ผลตอบแทนสู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
นายบุญชัย กล่าวอีกว่า กองทุน T – MONEY ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ผลตอบแทน3 เดือน 6 เดือนของกองทุนยังให้ผลตอบที่ดีเหนือเกณฑ์มาตรฐาน และคิดว่าตรงนี้ยังสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนบ้าง
สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.86% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.96% และผลตอบแทนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 2.84% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) อยู่ที่ 4,932.87 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 10.12 บาทต่อหน่วย
โดยสัดส่วนการลงทุน ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 กองทุนเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 87.71% , หุ้นกู้สถาบันการเงิน 3.95% , ตั๋วแลกเงิน 8.84% ขณะเดียวกันผู้ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย 87.71% , ธนาคารสแตนด์ดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) 2.96% , ธนาคารกสิกรไทย 0.99% , บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 5.46% , ธนาคารธนชาต 2.39% , ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (มหาชน) 0.99%
ทั้งนี้ กองทุนเริ่มจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 ด้วยมูลค่าโครงการครั้งแรก 5,000 ล้านบาท ต่อมาบริษัทได้ขอจดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 8,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันและหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ และหรือเงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินสด
นอกจากนี้ ยังรวมถึงตราสารทางการเงิน หลักทรัพย์ หรือการหาดอกผลด้วยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กำหนด หรือเห็นชอบให้ลงทุนได้ ที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน และ/หรือประมาณ 3 - 4 เดือนนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากได้เริ่มใช้วันที่ 11 สิงหาคม ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างออกแคมเปญเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำออกมาเพื่อแย่งชิงนักลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันกองทุนเปิดธนชาติตลาดเงิน หรือ T – MONEY ซึ่งในตอนแรกบริษัทจัดตั้งมาเพื่อรองรับกับพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากนั้น ยังไม่สามารถสู้ผลตอบแทนของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้นักลงทุนบางรายถอนหน่วยลงทุนออกไปบ้าง
ซึ่งบริษัทเองก็ต้องยอมรับในกระแสโปรโมชั่นของแบงก์ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามบริษัทได้เตรียมกลยุทธ์การตลาดเพื่อแย่งชิงนักลงทุนกลับมาด้วยการออกกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุ 3 เดือน หรือ 6 เดือน ที่สามารถให้ผลตอบแทนสู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
นายบุญชัย กล่าวอีกว่า กองทุน T – MONEY ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ผลตอบแทน3 เดือน 6 เดือนของกองทุนยังให้ผลตอบที่ดีเหนือเกณฑ์มาตรฐาน และคิดว่าตรงนี้ยังสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนบ้าง
สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.86% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.96% และผลตอบแทนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 2.84% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) อยู่ที่ 4,932.87 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 10.12 บาทต่อหน่วย
โดยสัดส่วนการลงทุน ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 กองทุนเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 87.71% , หุ้นกู้สถาบันการเงิน 3.95% , ตั๋วแลกเงิน 8.84% ขณะเดียวกันผู้ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย 87.71% , ธนาคารสแตนด์ดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) 2.96% , ธนาคารกสิกรไทย 0.99% , บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 5.46% , ธนาคารธนชาต 2.39% , ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (มหาชน) 0.99%
ทั้งนี้ กองทุนเริ่มจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 ด้วยมูลค่าโครงการครั้งแรก 5,000 ล้านบาท ต่อมาบริษัทได้ขอจดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 8,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันและหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ และหรือเงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินสด
นอกจากนี้ ยังรวมถึงตราสารทางการเงิน หลักทรัพย์ หรือการหาดอกผลด้วยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กำหนด หรือเห็นชอบให้ลงทุนได้ ที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน และ/หรือประมาณ 3 - 4 เดือนนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง