กบข.เชื่อมั่นเศรษฐกิจครึ่งปีหลังแนวโน้มสดใส คาดทั้งปีจีดีพีขยายตัวในอัตรา 5-5.5% หนุนภาพรวมการลงทุนฟื้นตัว ส่วนอานิสงส์ราคาน้ำมันลดช่วย บรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อ และกระตุ้นตลาดเงินตลาดทุนผันผวนน้อยลง มั่นใจปลายปีนี้ผลตอบแทนการลงทุนปรับตัวดีขึ้น
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนของ กบข. ในครึ่งปีหลังนี้ว่าการลงทุนของ กบข. ยังคงดำเนินการทุกอย่างไปตามกรอบคณะกรรมการนโยบายการลงทุนกำหนด และวางเป้าหมายเพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน แม้ในระยะสั้นผลตอบแทนการลงทุนในปีนี้ จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนที่เกิดขึ้นจากตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนลดลงบ้างก็ตาม แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจไทยแล้วเชื่อมั่นว่า จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่ง และแนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5-5.5 ในปีนี้ จะส่งผลดีกับภาพรวมการลงทุนให้ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
“อยากให้สมาชิก กบข. มองการออมหรือการลงทุนในระยะยาว มากกว่าการให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเพียงเท่านั้น โดยผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 ปี (2548-2550) อยู่ที่ร้อยละ 6.47 ย้อนหลัง 5 ปี ( 2546-2550 ) อยู่ที่ร้อยละ 6.61 และย้อนหลังตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน (2540-2550) อยู่ที่ร้อยละ 8.24 ทั้งนี้ การวางแผนจัดสรรการลงทุนของ กบข. ที่เกิดขึ้นเป็นการจัดสำรับการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง ซึ่งผลตอบแทนในระยะยาวของ กบข. เฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 “ นายวิสิฐกล่าว
สำหรับสถานการณ์การลงทุนครึ่งปีหลังนั้นน่าจะดีขึ้น จากการที่ระดับราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจัยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก และภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน ทำให้ภาวะตลาดเงินตลาดทุนในประเทศมีความผันผวนน้อยลง ซึ่งจะเรียกความเชื่อมั่นในการบริโภคการลงทุนในอนาคต ดังนั้น ผลตอบแทนการลงทุนจะมีทิศทางดีขึ้นในปลายปีนี้
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานด้านการลงทุนของ กบข. นั้น พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้กำหนดให้กองทุนดำเนินการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันมีกฎกระทรวงที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับเพื่อให้กองทุนได้ปฏิบัติงานด้านการลงทุน ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. กบข. รวม 4 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2550 และฉบับ พ.ศ. 2551 ฉบับล่าสุด
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนของ กบข. ในครึ่งปีหลังนี้ว่าการลงทุนของ กบข. ยังคงดำเนินการทุกอย่างไปตามกรอบคณะกรรมการนโยบายการลงทุนกำหนด และวางเป้าหมายเพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน แม้ในระยะสั้นผลตอบแทนการลงทุนในปีนี้ จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนที่เกิดขึ้นจากตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนลดลงบ้างก็ตาม แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจไทยแล้วเชื่อมั่นว่า จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่ง และแนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5-5.5 ในปีนี้ จะส่งผลดีกับภาพรวมการลงทุนให้ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
“อยากให้สมาชิก กบข. มองการออมหรือการลงทุนในระยะยาว มากกว่าการให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเพียงเท่านั้น โดยผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 ปี (2548-2550) อยู่ที่ร้อยละ 6.47 ย้อนหลัง 5 ปี ( 2546-2550 ) อยู่ที่ร้อยละ 6.61 และย้อนหลังตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน (2540-2550) อยู่ที่ร้อยละ 8.24 ทั้งนี้ การวางแผนจัดสรรการลงทุนของ กบข. ที่เกิดขึ้นเป็นการจัดสำรับการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง ซึ่งผลตอบแทนในระยะยาวของ กบข. เฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 “ นายวิสิฐกล่าว
สำหรับสถานการณ์การลงทุนครึ่งปีหลังนั้นน่าจะดีขึ้น จากการที่ระดับราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจัยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก และภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน ทำให้ภาวะตลาดเงินตลาดทุนในประเทศมีความผันผวนน้อยลง ซึ่งจะเรียกความเชื่อมั่นในการบริโภคการลงทุนในอนาคต ดังนั้น ผลตอบแทนการลงทุนจะมีทิศทางดีขึ้นในปลายปีนี้
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานด้านการลงทุนของ กบข. นั้น พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้กำหนดให้กองทุนดำเนินการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันมีกฎกระทรวงที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับเพื่อให้กองทุนได้ปฏิบัติงานด้านการลงทุน ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. กบข. รวม 4 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2550 และฉบับ พ.ศ. 2551 ฉบับล่าสุด