“เมื่อศึกษาในเรื่องที่สนใจ หรือลู่ทางการลงทุนที่สนใจแล้ว อย่าลืมศึกษาตนเองว่า ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะผลตอบแทนที่สูง ย่อมหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน อยากจะได้รับผลตอบแทนในระดับไหน ขึ้นอยู่ที่ตัวเองคุณ!”
11 สิงหาคม 2551 นี่จะเป็นวันแรกของการเริ่มมีผลบังคับใช้ของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะเหล่าสถาบันการเงินที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ได้ทำการประชาสัมพันธ์ถึงการมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของผู้ลงทุนแล้ว และผู้ที่ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาจะรับทราบข้อมูลดังกล่าวมาโดยตลอด
ปัจจุบันหลายคนกำลังพูดถึงผลกระทบที่เกิดจากการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ส่วนมากยังเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุน หรือผู้มีอันจะกิน (เศรษฐี) หรือผู้ติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีพอสมควร ทั้งที่พ.ร.บ.ฉบับนี้ถึงร่างขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของพี่ประชาชนทั่วไป ไม่ให้โดนเอาเปรียบจากคนรวย
ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง รัฐบาลต้องมีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อออกมาช่วยเหลือชาวไทยไม่ให้ต้องเป็นกังวลกับเงินที่ฝากไว้กับธนาคารต่างๆ ไม่ว่าเล็กใหญ่ หรือช่วยเพิ่มความอุ่นใจว่าหากแบงก์ที่ฝากเกิดล้มไป ภาครัฐยังเข้ามาช่วยรับผิดชอบต่อวงเงินนั้นจำนวน 100% ทั้งที่เงินนั้นมาจากภาษีของคนทั้งประเทศ แต่กลับต้องมาจ่ายให้คนเพียงส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มคนฐานะดีที่มีวงเงินเกิน 1 ล้านบาท
ข้อมูลที่ได้รับจาการสัมมนาต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ร้อยละ 98 เป็นกลุ่มคนที่มีบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่ส่วนที่เหลือ 2% จะเป็นกลุ่มที่เงินฝากเกิน 1 ล้านบาทขึ้น แต่เมื่อพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สำหรับคนทั่วไปที่ยังมีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องมีความกังวลใดๆ เพราะเงินของคุณจะยังคงนอนนิ่งอย่างสบายใจ แม้ว่าแบงก์ที่ฝากไว้จะล้ม เนื่องจากภาครัฐ โดยเฉพาะสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเข้ามาดูแลวงเงินของคุณเต็มจำนวนต่อไป ยกเว้นแต่กลุ่มที่มีเงินฝากเกิน 1ล้านบาท ซึ่งภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ วงเงินคุ้มครองของคุณจะถูกปรับลดลงไปเรื่อยๆจนเหลือเพียง 1 ล้านบาท นั่นหมายถึง อีก 5 ปีต่อไปนี้ หากคนมีเงินฝากในแบงก์ 20 ล้าน และถ้าแบงก์ดังกล่าวประสบปัญหาจะเข้าสู่สภาวะล้ม คุณจะได้รับวงเงินจ่ายคืนเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น
นั่นคื่อสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เพราะพวกเขาเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องมองหาลู่ทางด้านอื่นออกมาเสริม เพื่อให้มั่นใจว่าเงินที่มีอยู่จะไม่เกิดการสูญเปล่าไปหมด ในที่นี้ย่อมหนีไม่พ้นการลงทุนในด้านต่างๆที่ได้มีการนำเสนอไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่า จะเป็นการลงทุนหุ้น กองทุนรวม ประกันชีวิต สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อสังหาริมทรัพย์ ทองคำฯลฯ
ขณะเดียวกัน เรื่องนี้จะกลายเป็นโอกาสทองให้กับกลุ่มธุรกิจการเงินประเภทอื่นๆ ที่จะเข้ามาหวังแย่งชิงเม็ดเงินฝากของบรรดาแบงก์พาณิชย์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจกองทุนรวม ธุรกิจประชีวิต หรือธุรกิจหลักทรัพย์ โดยนำเสนอความแตกต่างที่โดเด่นของธุรกิจตนให้ลูกค้าได้รู้จัก
ทำให้หลังจากนี้การประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนจะมีผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ออกมาให้เห็นมากมาย และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทุกคน เพราะนี่จะเป็นโอกาสที่คุณสามารถมองหาลู่ทางการทำเงินที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้ที่มาจากอาชีพประจำชีวิต ซึ่งเป็นที่คาดว่าโฆษณาเหล่านี้จะมีมากขึ้นในเมืองไทย จนอาจจะแซงความถี่ในการโฆษณาสินเชื่อต่างๆ ก็ได้
สิ่งที่ “ผู้จัดการกองทุน” อยากนำเสนอไม่ใช่ต้องการเพียงจะเสนอแต่ทางเลือกใหม่อย่าง กองทุนรวม เพราะยังมีเครื่องมีอีกหลายสิ่งที่สามารถใช้ทดแทนจุดนี้ได้ แต่ที่สำคัญและหนีไม่พ้นนั่นคือ “ความเสี่ยง” เพราะไม่ว่าผู้สื่อข่าวของเราจะไปรับฟังการสัมมนาที่ไหน ความเสี่ยงจากการลงทุน โดยเฉพาะหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ แม้จะเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นนี้ ก็ยังมีผู้แสดงความกังวล และส่งคำถามขึ้นมาถามผู้เป็นวิทยากรเป็นประจำ เนื่องจากไม่มีใครอยากให้เงินที่ตัวเองมีอยู่ต้องสูญหายไป แม้คุณจะเป็นคนรวย 100 ล้าน 1,000 ล้านก็ตาม
ขณะเดียวกันในส่วนผู้มีเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท หากนิ่งเฉย ไม่แสดงความรู้สึกรู้สากับเรื่องดังกล่าว ก็ต้องบอกว่าคุณกำลังคิดผิดเช่นกัน เนื่องจากนี่จะเป็นโอกาสที่จะช่วยสร้างดอก สร้างผลให้กับเงินของคุณได้ไม่ใช่น้อยหากคุณรู้จักคิด และหันมาให้ความสนใจกับมันสักนิด เพราะเมื่อคุณได้เคยเหลียวมาสนใจกับเรื่องเหล่านี้ ก็แสดงว่าในใจคุณ ยังปรารถนาที่จะเป็นเศรษฐีคนหนึ่งของประเทศเช่นกัน
คำพูดประโยคหนึ่งที่เคยได้รับฟังจากผู้มีความรู้ และรู้สึกประทับใจ เห็นทีจะหนีไม่พ้น คำของดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาเป็นวิทยากรร่วมกับน้องชาย มนตรี ศรไพศาล นายใหญ่แห่งโบรกเกอร์เบอร์หนึ่ง บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มาอธิบายให้นักลงทุนหลายท่านได้ฟัง เหมือนเช่นช่องเย็นวันหนึ่งที่ ห้องสมุดมารวยตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่นคือ วินัยในการออม ที่มาพร้อมตัวอย่าง สองสามีภรรยา ชาวอเมริกา ซึ่งไม่ได้ทำงานได้เงินสูง แต่ยอมฝากเงินส่วนหนึ่งของรายได้ตนเองทุกเดือนให้นายจ้างไปลงทุนให้จนเกษียณอายุ และพบว่าเงินดังกล่าวสามารถให้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล รวมทั้งเทคนิคของเศรษฐีที่จะไม่ใช้ทุนที่ต้นมีอยู่ไปลงทุนแค่ส่วนเดียว เพราะเศรษฐี จะใช้รายได้ – กำไรที่ได้รับจากการลงทุน นำลงทุนต่อ เพื่อสร้างรายได้ –กำไร ให้เพิ่มขึ้นอีก
ดังนั้น เมื่อทุกท่านมาใจรักคำว่า “เศรษฐี” แล้วก็ไม่ควรพลาด โอกาสที่พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเปิดให้ โดยเด็ดขาด เพราะนี่อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราคนไทยทุกคน แต่ในต่างประเทศนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย โดยในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตซับไพรม์ในขณะนี้ เม็ดเงินลงทุนฝากกองทุนรวมทั้งระบบ จะมีมากกว่าเม็ดเงินที่ฝากธนาคารทั้งระบบเสียอีก (ไม่เชื่อลองไปถามผู้จัดการกองทุนดูเอาเอง โดยเฉพาะในช่วงนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นิยมจัดงาสัมมนาในช่วงเย็น สัปดาห์ละครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนจากค่ายต่างๆ ออกมาแสดงทัศนะด้านการลงทุนประภทต่างๆ ซึ่งสมารถรับทราบลายละเอียดได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th หรือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันหน้า 29 )
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการลงทุนเหล่านี้ จะหนีไม่พ้นการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก การได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการได้รับความคุ้มครองในด้านความปลอดภัยของชีวิต ในรูปแบบ และเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล แต่ทุกคนควรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า นี่คือการลงทุน ซึ่งจะมีคำเตือนใกล้เคียงกับคำเตือนบนฉลากข้างขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ที่ติดปากในมุกโฆษณาว่า “ คำเตือน ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด โปรดสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง”
แต่สำหรับคำเตือนของการลงทุน คือ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ใต้ข้อความถึงผลตอบแทนและวิธีการลงทุนที่สุดแสนจะบรรเจิด ในแบบฟอร์ม หนังสือชี้ชวนประเภทต่างๆ หรือแผ่นพับใบปลิว แบบตัวเล็กๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งข้องความโฆษณาตอนท้ายของสปอตวิทยุ โทรทัศน์ (ปล.ระวัง หากท่านไม่ใส่ใจ อาจไม่ทันสังเกตเห็น ผู้ที่สนใจควรใช้แว่นขยาย หรือแว่นสายตาอย่างดี เพื่อใช้สอดส่องหาดูทุกครั้ง เพราะถ้าไม่พบ รับรองได้ว่าหนังชี้ชวนการลงทุนฉบับนั้นไม่ใช่ของจริง)“หลายๆ คนคงได้ยินประโยคนี้มาไม่มากก็น้อย แต่จะมีสักกี่คนที่สนใจและปฏิบัติตามก่อนการลงทุนแล้วเราควรศึกษาข้อมูลอะไรบ้างล่ะ!”
ฉบับนี้จึงต้องขอหยิบยกมานำเสนอ เริ่มตั้งแต่ 1.สิ่งที่จะลงทุนคืออะไร 2.เรารู้จักสิ่งนั้นดีแค่ไหน 3.จะลงทุนเป็นเวลาเท่าไร 4.ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร 5.จะลงทุนแบบไหน 6.ใช้แผนการอะไร 7.ใช้ในช่วงเวลาไหนบ้าง 8. เครื่องมือช่วยเหลือมีไหม อะไรบ้าง 9.แล้วแผนฉุกเฉิน ในกรณีที่การลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดล่ะจะทำอย่างไร 10.นอกเหนือจากนั้น ไม่เพียงแต่ศึกษาสิ่งที่จะไปลงทุนแล้ว อย่าลืมศึกษาตัวเองด้วย
สุดท้ายนี้ขอย้ำในข้อที่ 10. เมื่อศึกษาในเรื่องที่สนใจ หรือลู่ทางการลงทุนที่สนใจแล้ว อย่าลืมศึกษาตนเองว่า ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะผลตอบแทนที่สูง ย่อมหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน อยากจะได้รับผลตอบแทนในระดับไหน ขึ้นอยู่ที่ตัวเองคุณ!
11 สิงหาคม 2551 นี่จะเป็นวันแรกของการเริ่มมีผลบังคับใช้ของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะเหล่าสถาบันการเงินที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ได้ทำการประชาสัมพันธ์ถึงการมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของผู้ลงทุนแล้ว และผู้ที่ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาจะรับทราบข้อมูลดังกล่าวมาโดยตลอด
ปัจจุบันหลายคนกำลังพูดถึงผลกระทบที่เกิดจากการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ส่วนมากยังเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุน หรือผู้มีอันจะกิน (เศรษฐี) หรือผู้ติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีพอสมควร ทั้งที่พ.ร.บ.ฉบับนี้ถึงร่างขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของพี่ประชาชนทั่วไป ไม่ให้โดนเอาเปรียบจากคนรวย
ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง รัฐบาลต้องมีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อออกมาช่วยเหลือชาวไทยไม่ให้ต้องเป็นกังวลกับเงินที่ฝากไว้กับธนาคารต่างๆ ไม่ว่าเล็กใหญ่ หรือช่วยเพิ่มความอุ่นใจว่าหากแบงก์ที่ฝากเกิดล้มไป ภาครัฐยังเข้ามาช่วยรับผิดชอบต่อวงเงินนั้นจำนวน 100% ทั้งที่เงินนั้นมาจากภาษีของคนทั้งประเทศ แต่กลับต้องมาจ่ายให้คนเพียงส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มคนฐานะดีที่มีวงเงินเกิน 1 ล้านบาท
ข้อมูลที่ได้รับจาการสัมมนาต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ร้อยละ 98 เป็นกลุ่มคนที่มีบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่ส่วนที่เหลือ 2% จะเป็นกลุ่มที่เงินฝากเกิน 1 ล้านบาทขึ้น แต่เมื่อพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สำหรับคนทั่วไปที่ยังมีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องมีความกังวลใดๆ เพราะเงินของคุณจะยังคงนอนนิ่งอย่างสบายใจ แม้ว่าแบงก์ที่ฝากไว้จะล้ม เนื่องจากภาครัฐ โดยเฉพาะสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเข้ามาดูแลวงเงินของคุณเต็มจำนวนต่อไป ยกเว้นแต่กลุ่มที่มีเงินฝากเกิน 1ล้านบาท ซึ่งภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ วงเงินคุ้มครองของคุณจะถูกปรับลดลงไปเรื่อยๆจนเหลือเพียง 1 ล้านบาท นั่นหมายถึง อีก 5 ปีต่อไปนี้ หากคนมีเงินฝากในแบงก์ 20 ล้าน และถ้าแบงก์ดังกล่าวประสบปัญหาจะเข้าสู่สภาวะล้ม คุณจะได้รับวงเงินจ่ายคืนเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น
นั่นคื่อสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เพราะพวกเขาเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องมองหาลู่ทางด้านอื่นออกมาเสริม เพื่อให้มั่นใจว่าเงินที่มีอยู่จะไม่เกิดการสูญเปล่าไปหมด ในที่นี้ย่อมหนีไม่พ้นการลงทุนในด้านต่างๆที่ได้มีการนำเสนอไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่า จะเป็นการลงทุนหุ้น กองทุนรวม ประกันชีวิต สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อสังหาริมทรัพย์ ทองคำฯลฯ
ขณะเดียวกัน เรื่องนี้จะกลายเป็นโอกาสทองให้กับกลุ่มธุรกิจการเงินประเภทอื่นๆ ที่จะเข้ามาหวังแย่งชิงเม็ดเงินฝากของบรรดาแบงก์พาณิชย์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจกองทุนรวม ธุรกิจประชีวิต หรือธุรกิจหลักทรัพย์ โดยนำเสนอความแตกต่างที่โดเด่นของธุรกิจตนให้ลูกค้าได้รู้จัก
ทำให้หลังจากนี้การประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนจะมีผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ออกมาให้เห็นมากมาย และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทุกคน เพราะนี่จะเป็นโอกาสที่คุณสามารถมองหาลู่ทางการทำเงินที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้ที่มาจากอาชีพประจำชีวิต ซึ่งเป็นที่คาดว่าโฆษณาเหล่านี้จะมีมากขึ้นในเมืองไทย จนอาจจะแซงความถี่ในการโฆษณาสินเชื่อต่างๆ ก็ได้
สิ่งที่ “ผู้จัดการกองทุน” อยากนำเสนอไม่ใช่ต้องการเพียงจะเสนอแต่ทางเลือกใหม่อย่าง กองทุนรวม เพราะยังมีเครื่องมีอีกหลายสิ่งที่สามารถใช้ทดแทนจุดนี้ได้ แต่ที่สำคัญและหนีไม่พ้นนั่นคือ “ความเสี่ยง” เพราะไม่ว่าผู้สื่อข่าวของเราจะไปรับฟังการสัมมนาที่ไหน ความเสี่ยงจากการลงทุน โดยเฉพาะหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ แม้จะเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นนี้ ก็ยังมีผู้แสดงความกังวล และส่งคำถามขึ้นมาถามผู้เป็นวิทยากรเป็นประจำ เนื่องจากไม่มีใครอยากให้เงินที่ตัวเองมีอยู่ต้องสูญหายไป แม้คุณจะเป็นคนรวย 100 ล้าน 1,000 ล้านก็ตาม
ขณะเดียวกันในส่วนผู้มีเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท หากนิ่งเฉย ไม่แสดงความรู้สึกรู้สากับเรื่องดังกล่าว ก็ต้องบอกว่าคุณกำลังคิดผิดเช่นกัน เนื่องจากนี่จะเป็นโอกาสที่จะช่วยสร้างดอก สร้างผลให้กับเงินของคุณได้ไม่ใช่น้อยหากคุณรู้จักคิด และหันมาให้ความสนใจกับมันสักนิด เพราะเมื่อคุณได้เคยเหลียวมาสนใจกับเรื่องเหล่านี้ ก็แสดงว่าในใจคุณ ยังปรารถนาที่จะเป็นเศรษฐีคนหนึ่งของประเทศเช่นกัน
คำพูดประโยคหนึ่งที่เคยได้รับฟังจากผู้มีความรู้ และรู้สึกประทับใจ เห็นทีจะหนีไม่พ้น คำของดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาเป็นวิทยากรร่วมกับน้องชาย มนตรี ศรไพศาล นายใหญ่แห่งโบรกเกอร์เบอร์หนึ่ง บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มาอธิบายให้นักลงทุนหลายท่านได้ฟัง เหมือนเช่นช่องเย็นวันหนึ่งที่ ห้องสมุดมารวยตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่นคือ วินัยในการออม ที่มาพร้อมตัวอย่าง สองสามีภรรยา ชาวอเมริกา ซึ่งไม่ได้ทำงานได้เงินสูง แต่ยอมฝากเงินส่วนหนึ่งของรายได้ตนเองทุกเดือนให้นายจ้างไปลงทุนให้จนเกษียณอายุ และพบว่าเงินดังกล่าวสามารถให้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล รวมทั้งเทคนิคของเศรษฐีที่จะไม่ใช้ทุนที่ต้นมีอยู่ไปลงทุนแค่ส่วนเดียว เพราะเศรษฐี จะใช้รายได้ – กำไรที่ได้รับจากการลงทุน นำลงทุนต่อ เพื่อสร้างรายได้ –กำไร ให้เพิ่มขึ้นอีก
ดังนั้น เมื่อทุกท่านมาใจรักคำว่า “เศรษฐี” แล้วก็ไม่ควรพลาด โอกาสที่พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเปิดให้ โดยเด็ดขาด เพราะนี่อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราคนไทยทุกคน แต่ในต่างประเทศนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย โดยในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตซับไพรม์ในขณะนี้ เม็ดเงินลงทุนฝากกองทุนรวมทั้งระบบ จะมีมากกว่าเม็ดเงินที่ฝากธนาคารทั้งระบบเสียอีก (ไม่เชื่อลองไปถามผู้จัดการกองทุนดูเอาเอง โดยเฉพาะในช่วงนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นิยมจัดงาสัมมนาในช่วงเย็น สัปดาห์ละครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนจากค่ายต่างๆ ออกมาแสดงทัศนะด้านการลงทุนประภทต่างๆ ซึ่งสมารถรับทราบลายละเอียดได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th หรือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันหน้า 29 )
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการลงทุนเหล่านี้ จะหนีไม่พ้นการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก การได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการได้รับความคุ้มครองในด้านความปลอดภัยของชีวิต ในรูปแบบ และเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล แต่ทุกคนควรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า นี่คือการลงทุน ซึ่งจะมีคำเตือนใกล้เคียงกับคำเตือนบนฉลากข้างขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ที่ติดปากในมุกโฆษณาว่า “ คำเตือน ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด โปรดสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง”
แต่สำหรับคำเตือนของการลงทุน คือ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ใต้ข้อความถึงผลตอบแทนและวิธีการลงทุนที่สุดแสนจะบรรเจิด ในแบบฟอร์ม หนังสือชี้ชวนประเภทต่างๆ หรือแผ่นพับใบปลิว แบบตัวเล็กๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งข้องความโฆษณาตอนท้ายของสปอตวิทยุ โทรทัศน์ (ปล.ระวัง หากท่านไม่ใส่ใจ อาจไม่ทันสังเกตเห็น ผู้ที่สนใจควรใช้แว่นขยาย หรือแว่นสายตาอย่างดี เพื่อใช้สอดส่องหาดูทุกครั้ง เพราะถ้าไม่พบ รับรองได้ว่าหนังชี้ชวนการลงทุนฉบับนั้นไม่ใช่ของจริง)“หลายๆ คนคงได้ยินประโยคนี้มาไม่มากก็น้อย แต่จะมีสักกี่คนที่สนใจและปฏิบัติตามก่อนการลงทุนแล้วเราควรศึกษาข้อมูลอะไรบ้างล่ะ!”
ฉบับนี้จึงต้องขอหยิบยกมานำเสนอ เริ่มตั้งแต่ 1.สิ่งที่จะลงทุนคืออะไร 2.เรารู้จักสิ่งนั้นดีแค่ไหน 3.จะลงทุนเป็นเวลาเท่าไร 4.ผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร 5.จะลงทุนแบบไหน 6.ใช้แผนการอะไร 7.ใช้ในช่วงเวลาไหนบ้าง 8. เครื่องมือช่วยเหลือมีไหม อะไรบ้าง 9.แล้วแผนฉุกเฉิน ในกรณีที่การลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดล่ะจะทำอย่างไร 10.นอกเหนือจากนั้น ไม่เพียงแต่ศึกษาสิ่งที่จะไปลงทุนแล้ว อย่าลืมศึกษาตัวเองด้วย
สุดท้ายนี้ขอย้ำในข้อที่ 10. เมื่อศึกษาในเรื่องที่สนใจ หรือลู่ทางการลงทุนที่สนใจแล้ว อย่าลืมศึกษาตนเองว่า ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะผลตอบแทนที่สูง ย่อมหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน อยากจะได้รับผลตอบแทนในระดับไหน ขึ้นอยู่ที่ตัวเองคุณ!