สรุปภาวะการซื้อขายในตลาดรอง
ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รายงานถึงปริมาณธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเดือนมิถุนายน 2551 มีมูลค่าการซื้อขายจำนวนทั้งสิ้น 4,044.4 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 192.6 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.3
โดยประเภทพันธบัตรที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน (เฉพาะการซื้อขายแบบ Outright) พันธบัตรหน่วยงานภาครัฐ (FIDF, BOT) มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 1,402 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 92.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่มีสัดส่วนร้อยละ 88.2 พันธบัตรรัฐบาล และตั๋วเงินคลัง มีสัดส่วนการซื้อขายรองลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 และร้อยละ 1.4 ลดลงจากเดือนที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ
ส่วนหุ้นกู้ภาคเอกชน มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้ว ขณะที่ ตราสารหนี้ระยะสั้น มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงจากเดือนที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 0.5
ขณะที่ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตรต่างประเทศ ยังมีมูลค่าการซื้อขายน้อยมาก คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.02 ตามลำดับ
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดรอง (Market Participants)
การซื้อขายในส่วนของ Outright Transaction แบ่งเป็นธุรกรรมการซื้อขายระหว่าง Inter dealer Transactions จำนวน 613 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.3 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 59.7 ซึ่งมีปริมาณ 908 พันล้านบาท เป็นธุรกรรมการซื้อขาย Dealer to Client Transactions
ในกลุ่ม Dealer to Client Transactions สามารถจำแนกเป็นธุรกรรมกับผู้ลงทุนในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มกองทุนรวม คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 59.0 รองลงมาได้แก่ กลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (DCO) ร้อยละ 21.0 นักลงทุนอื่นๆ ร้อยละ 11 กลุ่มประกันภัย ร้อยละ 3 กลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ (FCO) สถาบันการเงินที่ไม่มีใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ และกลุ่มนักลงทุนรายย่อย มีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 2
ขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยตราสารระยะสั้น 1-3 เดือนเพิ่มขึ้น 5-9 bp. พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-5 ปี เพิ่มขึ้น 57-106 bp. พันธบัตรระยะกลางอายุ 6-10 ปี เพิ่มขึ้น 72-79 bp. และพันธบัตรระยะยาวอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น 68-75 bp.
สำหรับความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนในเดือน มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเดือน เนื่องจาก นักลงทุนคาดว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินให้กู้ยืมทั่วไปในช่วงต้นเดือนมิ.ย. รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยในเดือน มิ.ย. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงสุดในรอบ 10 ปี ถึงร้อยละ 8.9 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.6
นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นเป็นเลข 2 หลักในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่ากนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 อีกประมาณร้อยละ 0.50-0.75
สรุปการเสนอขายตราสารหนี้ (ตลาดแรก)
ในเดือนมิถุนายนมีการเสนอขายตราสารจำนวนทั้งสิ้น 969.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่มีการเสนอขายจำนวน 865 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1จำแนกเป็น พันธบัตรธปท. จำนวน 874.3 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลัง จำนวน 15 พันล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล จำนวน 18.5 พันล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7.0 พันล้านบาท และหุ้นกู้ภาคเอกชน 55 พันล้านบาท
โดย หุ้นกู้ภาคเอกชน : มีการเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 55 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่มีการเสนอขายจำนวน 29.5 พันล้าน
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ : มีการเปิดประมูลทั้งสิ้น 7 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้วที่เปิดประมูลจำนวน 7.2 พันล้านบาท
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย : มีการเปิดประมูล 874.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเปิดประมูลจำนวน 770.3 พันล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้
ตั๋วเงินคลัง : มีการเปิดประมูลตั๋วเงินคลังจำนวน 15 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้วเปิดประมูลจำนวน 32 พันล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้เพิ่มขึ้นทุกรุ่น
พันธบัตรรัฐบาล : มีการเปิดประมูลพันธบัตรจำนวน 18.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้วเปิดประมูลจำนวน 26 พันล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้
ตราสารหนี้ภาครัฐที่จะเปิดประมูลในเดือนกรกฎาคม 2551
ในเดือนกรกฎาคม ภาครัฐจะมีการเปิดประมูลตราสารหนี้รวม 247.3 พันล้านบาท จำแนกได้ดังนี้
- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 224.3 พันล้านบาท ได้แก่ รุ่นอายุ 14 วัน 2 รุ่น จำนวน 160พันล้านบาท รุ่นอายุ 63 วัน 1 รุ่น จำนวน 30 พันล้านบาท รุ่นอายุ 1 ปี 1 รุ่น จำนวน 24.3 พันล้านบาท และ รุ่นอายุ 3 ปี 1 รุ่น จำนวน 10 พันล้านบาท
- ตั๋วเงินคลัง มีการเปิดประมูลจำนวนทั้งสิ้น 12 พันล้านบาท ได้แก่ รุ่นอายุ 28 วัน 4 รุ่น จำนวน 4พันล้านบาท รุ่นอายุ 91 วัน 4 รุ่น จำนวน 4 พันล้านบาท และรุ่นอายุ 182 วัน 4 รุ่น จำนวน 4 พันล้านบาท
- พันธบัตรรัฐบาล มีการเปิดประมูลจำนวนทั้งสิ้น 11 พันล้านบาท ได้แก่ LB183B 1 รุ่น จำนวน 5 พันล้านบาท และ LB283A 1 รุ่น จำนวน 6 พันล้านบาท
บทสรุป ภาวะตราสารหนี้มิถุนายน 2551
1.ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในเดือน มิ.ย. ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. โดยเฉลี่ยวันละ 1.9แสนล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.3 โดยพันธบัตรธปท. มีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากสูงถึงร้อยละ 92.2 รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ร้อยละ 5.4 และตั๋วเงินคลังอยู่ที่ร้อยละ 1.4
2.ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเดือนในทุกช่วงอายุนับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ทำให้นักลงทุนคาดว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศในช่วงครึ่งหลังของปีอยู่ในช่วงขาขึ้น
3.ในตลาดแรกมีการเสนอขายตราสารหนี้จำนวนทั้งสิ้น 9.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วมีการเสนอขายจำนวน 8.7 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จำแนกเป็นตราสารภาครัฐจำนวน 9.1 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนมีการเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 55 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์จำนวนถึง 48 พันล้านบาท
4.ในเดือน ก.ค. จะมีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐจำนวน 2.5 แสนล้านบาท จำแนกเป็นพันธบัตรธปท. 2.2 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 1.2 หมื่นล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล 1.1 หมื่นล้าน
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)