ช่วงนี้ต้องยอมรับว่า ไม่มีใครที่จะหนีการชะลอตัวของเศรษบกิจโลกพ้น แม้แต่ออสเตรเรีย นิซีแลนด์ 2ประเทศใหญ่ ที่หลายฝ่ายมองกันว่าการเข้าไปลงทุนในที่แห่งนี้ จะสามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาสู่ผู้ลงทุนได้คุ้มค่า หากไม่มีการปิดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
แต่ตอนนี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายอย่างมีการปรับตัวลดลง แล้วกองทุนที่เข้าไปลงทุนในนิวซีแลนด์จะเป็นเช่นไรบ้าง เรื่องนี้คงไม่ต้องถามถึงผู้ถือหน่วยว่าร้อนใจแค่ไหน แต่ควรมารับฟังความคิดเห็นจากผู้จัดการกองทุนกันดีกว่าว่า สถานการร์ขณะนี้เป็นเช่นไร แล้วทิศทางในอนาคตจะเป็นดังฝันหวานที่ตั้งเป้ากันไงว้หรือไม่
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนิวซีแลนด์ที่ชะลอตัวลงว่า เศรษฐกิจของประเทศนิวซีแลนด์ที่ชะลออยู่ในขณะนี้เป็นการชะลอตัวลงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีและได้คาดการณ์กันไว้แล้วว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้จากการที่เศรษฐกิจเกิดการขาดดุลทางการค้าต่อเนื่องมาตลอด และคาดว่าจะขาดดุลต่อเนื่องไปอีก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศอ่อนตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลง รวมถึงอาจมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์นั้นพึ่งพาการส่งออกสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคเป็นหลัก โดยสินค้าเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบอะไรจึงไม่มีแนวโน้มว่าสินค้าเหล่านี้จะมีการส่งออกที่ชะตัวลง แต่หากได้รับผลกระทบอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในระดับที่มากได้ โดยรวมแล้วเศรษฐกิจของประเทศนิวซีแลนด์คาดว่าจะอยู่ในระดับที่ประคองตัวคืออยู่ในระดับ 1-2 % ในปีนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของทั้งโลกที่ชะลอตัวลงเหมือนกัน
"ในส่วนของกองทุนที่ไปลงทุนในประเทศนิวซีแลนด์นั้นคงไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากมาย รวมถึงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งคาดว่าในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อาจมีการแกว่งตัวบ้างแต่คงไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อกองทุน ซึ่งทั้งปีค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อาจจะอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับกับค่าเงินบาทของประเทศไทยแล้วมีการอ่อนค่าลงมากกว่า โดยรวมแล้วยังถือว่ากองทุนคงยังจะได้รับผลกำไรจากเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อครบอายุการดำเนินงาน และถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในเรื่องของผลกระกอบการจากการลงทุน"นายเจิดพันธุ์ กล่าว
สำหรับ บลจ. บีที นั้นมีกองทุนที่ไปลงทุนในประเทศนิวซีแลนด์ คือ กองทุนเปิดบีที FIF ออสซี่ กีวี ตราสารหนี้ 6/3 เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเป็นสินทรัพย์ของกองทุนมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
โดยอาจมีบางขณะที่กองทุนไม่สามารถดำรงสัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ เช่นในระหว่างรอการลงทุน โดยยกเว้นในช่วงระยะเวลา 10 วันนับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และในช่วงระยะเวลา 10 วันก่อนวันครบกำหนดอายุกองทุน หรือในวันครบกำหนดอายุกองทุน ซึ่งกองทุนอาจจำเป็นต้องชะลอการลงทุนในต่างประเทศเป็นการชั่วคราว
นอกจากนี้ ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก , เงินฝาก , ตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินการ , รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน ทั้งนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่งหน้า (Derivativer) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging) ตามจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)
ขณะเดียวกันรายงานข่าวระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของนิวซีแลนด์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 26 ปี เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจนิวซีแลนด์อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยไปจนถึงเดือนก.ย.
ด้าน เบรนท์ เลย์ตัน ซีอีโอของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ กล่าวว่า ผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริษัทเอกชนส่วนมากลดการทำกิจกรรมทางธุรกิจลงในช่วงไตรมาส 2 และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีกในไตรมาส 3 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจนิวซีแลนด์หดตัวลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน
ทั้งนี้ เศรษฐกิจนิวซีแลนด์หดตัวลง 0.3% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่าเศรษฐกิจนิวซีแลนด์จะหดตัวลงอีกในไตรมาส 2 จากผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบริษัทเอกชนกว่า 18% ทำกิจกรรมทางธุรกิจน้อยลง ในขณะที่ 54% ของทั้งหมดคาดการณ์ว่าสภาพธุรกิจโดยรวมจะย่ำแย่ลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยตัวเลขจ้างงานไตรมาส 2 ของนิวซีแลนด์ทรุดตัวลงหนักสุดในรอบ 19 ปี ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.6% จากระดับ 3.4% ซึ่งธนาคารกลางนิวซีแลนด์คาดว่าอัตราว่างงานจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.6% ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า
ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์เปิดเผยรายงานว่า เศรษฐกิจของประเทศอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีคลังก็เห็นด้วยกับรายงานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะถดถอยในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 ส่งผลให้ กระทรวงการคลังของประเทศนิวซีแลนด์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในรอบปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มี.ค. 2552 มาอยู่ที่ประมาณ 1% จากระดับ 1.5% ซึ่งจะเป็นlถิติการขยายตัวรายปีต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541
นอกจากนี้ นายอลัน บอลลาร์ด ผู้ว่าการธนารคารกลางนิวซีแลนด์กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่ชะลอตัวลงอาจทำให้ธนาคารกลางต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 8.25% ในปีนี้ รวมทั้งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะลดดอกเบี้ยภายในเดือนก.ย.นี้