กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโตต่อเนื่อง เดือนพฤษภาคมทั้งระบบโตเพิ่มกว่า 4.3 พันล้านบาท "บลจ.ทิสโก้" ยังรั้งแชมป์ เงินกองทุนเพิ่มขึ้นจากเมษายน 6 ร้อยล้านบาท ด้านผู้บริการ บลจ.กสิกร รุกปรับกลยุทธ์ ให้ลูกค้าเลือกลงทุนได้มากกว่า 1 กองและเปลี่ยนนโยบายลงทุนได้ปีละครั้ง
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เปิดเผยถึงจำนวนเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ทั้งระบบ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ว่า ทั้งระบบมีจำนวนเงินกองทุนรวมทั้งสิ้น 459,456.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4,359.15 ล้านบาท หรือ 0.96% จากเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 455,097.19 ล้านบาท
โดย 10 บริษัทจัดการที่มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 สูงที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมจำนวน 65,429.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 683.13 ล้านบาท หรือ 1.06% จากเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 64,746.03ล้านบาท , อันดับ 2 บลจ. กรุงไทย สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 63,242.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 556.82 ล้านบาท หรือ 0.89% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 62,685.90 ล้านบาท
อันดับ 3 บลจ. เอ็มเอฟซี มีจำนวนเงินกองทุนเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 54,730.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 407.90 ล้านบาท หรือ 0.75% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 54,322.84 ล้านบาท , อันดับ 4 บลจ. กสิกรไทย มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม จำนวน 51,817.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 597.84 ล้านบาท หรือ 1.17% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 51,219.46 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน อันดับ 5 บลจ. ไทยพาณิชย์ สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 46,359.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 242.75 ล้านบาท หรือ 0.53% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 46,166.33 ล้านบาท , อันดับ 6 บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 42,738.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 469.31 ล้านบาท หรือ 1.11% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 42,268.80 ล้านบาท
ส่วนอันดับ 7 คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จำนวน 40,411.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 114.09 ล้านบาท คิดเป็น 0.28% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 40,326.94 ล้านบาท และ อันดับ 8 บลจ. ฟินันซ่า มีจำนวนเงินกองทุนเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 18,945.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 291.87 ล้านบาท หรือ 1.56% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 18,654.06 ล้านบาท
ขณะที่อันดับ 9 บลจ. บีที มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม จำนวน 17,827.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 175.74 ล้านบาท หรือ 0.99% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 17,696.77 ล้านบาท และอันดับ 10 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA) ที่สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 16,194.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 307.05 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.93% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 15,887.06 ล้านบาท
นาย เกษตร ชัยวันเพ็ญ ผู้บริหารฝ่ายการตลาด ผู้ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า จำนวนเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โตขึ้นในเดือนพฤษภาคมนั้นมาจากเงินที่ลูกค้าส่งเข้ากองทุนเป็นประจำอยู่แล้ว ขณะที่เงินส่วนที่ออกไปนั้นเป็นเงินในส่วนลูกค้าที่มีการเกษียณอายุ และลาออก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน ที่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจจะเกษียณอายุกันมาก ส่วนในเดือนธันวาคมจะเป็นส่วนของลูกจ้างเอกชนที่ลาออกจากงาน เช่นเดียวกัน
"กลยุทธ์การดำเนินงานในส่วนของ บลจ. กสิกรได้มีการให้ลูกค้า ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถเลือกลงทุนได้มากกว่า 1 กองทุนและรวมไปถึงยังมีการเปิดให้ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้โดยตรง" นาย เกษตร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ สิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิกว่า 4.5 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 2.6% ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั่วประเทศเกือบสองล้านคน โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 51 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) โดยรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 453,197 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6% จากไตรมาสก่อน ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 51 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลงทุนในตราสารหนี้มากที่สุด 77.2% ของ NAV ตามด้วยตราสารทุน 11.5% และเงินฝาก 9.0% ซึ่งรูปแบบการจัดสรรเงินลงทุนในไตรมาสนี้ไม่แตกต่างจากไตรมาสที่แล้ว โดยมีแนวโน้มลงทุนในเงินฝากลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ลงทุนในตราสารประเภทอื่นเพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนกองทุนพบว่ามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 513 กองทุน โดยเป็นกองทุนนายจ้างเดียว (single fund) 209 กองทุนหรือ 40.7 % กองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund) 88 กองทุน หรือ 17.2% และกองทุนหลายนายจ้างในกลุ่มเดียวกัน (group fund) 216 กองทุน หรือ 42.1 % แม้ว่าจำนวนกองทุนโดยรวมจะเท่ากับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เมื่อดูในรายละเอียดพบว่า single fund และ group fund ปรับลดลง ขณะที่ pooled fund ปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อแบ่งตามขนาดกองทุนพบว่า 71.2 % เป็นกองทุนขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านบาท และ 64.1% มีจำนวนสมาชิกกองทุนมากกว่า 500 คน ขณะที่นายจ้าง ณ สิ้นไตรมาสแรก มีทั้งสิ้น 8,496 ราย เพิ่มขึ้น 3.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา และลูกจ้างมี 1.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้โดยรวมในไตรมาส 1 ปี 51 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 50 และคาดว่าการขยายตัวจะเร่งขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไป เนื่องจากการเร่งขยายฐานลูกค้าใหม่ของบริษัทจัดการ
อนึ่ง จากข้อมูลพบว่า กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) มีแผนการกู้เงินภาครัฐประจำปีงบประมาณ 52 มีวงเงินทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังมีรูปแบบการระดมเงินแบบใหม่คือพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงผลตอบแทนเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประชาชนรายย่อยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมในยุคที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วและเห็นด้วยในหลักการ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยบริหารเงินเฟ้อของธปท.ได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ พันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงกับดัชนีราคาสินค้า และเพิ่มผลตอบแทนพิเศษ เช่น เมื่อดัชนีราคาสินค้าเท่ากับ 7.6% หากให้ผลตอบแทน +1% นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทน 8.6% ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแน่นอน คาดว่านักลงทุนจะให้ความสนใจซื้อพันธบัตรนี้
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เปิดเผยถึงจำนวนเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ทั้งระบบ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ว่า ทั้งระบบมีจำนวนเงินกองทุนรวมทั้งสิ้น 459,456.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4,359.15 ล้านบาท หรือ 0.96% จากเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 455,097.19 ล้านบาท
โดย 10 บริษัทจัดการที่มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 สูงที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมจำนวน 65,429.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 683.13 ล้านบาท หรือ 1.06% จากเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 64,746.03ล้านบาท , อันดับ 2 บลจ. กรุงไทย สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 63,242.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 556.82 ล้านบาท หรือ 0.89% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 62,685.90 ล้านบาท
อันดับ 3 บลจ. เอ็มเอฟซี มีจำนวนเงินกองทุนเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 54,730.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 407.90 ล้านบาท หรือ 0.75% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 54,322.84 ล้านบาท , อันดับ 4 บลจ. กสิกรไทย มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม จำนวน 51,817.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 597.84 ล้านบาท หรือ 1.17% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 51,219.46 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน อันดับ 5 บลจ. ไทยพาณิชย์ สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 46,359.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 242.75 ล้านบาท หรือ 0.53% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 46,166.33 ล้านบาท , อันดับ 6 บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 42,738.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 469.31 ล้านบาท หรือ 1.11% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 42,268.80 ล้านบาท
ส่วนอันดับ 7 คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จำนวน 40,411.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 114.09 ล้านบาท คิดเป็น 0.28% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 40,326.94 ล้านบาท และ อันดับ 8 บลจ. ฟินันซ่า มีจำนวนเงินกองทุนเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 18,945.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 291.87 ล้านบาท หรือ 1.56% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 18,654.06 ล้านบาท
ขณะที่อันดับ 9 บลจ. บีที มีจำนวนเงินกองทุน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม จำนวน 17,827.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 175.74 ล้านบาท หรือ 0.99% จากสิ้นเดือนเมษายน ที่มีจำนวนเงินกองทุน 17,696.77 ล้านบาท และอันดับ 10 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA) ที่สิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวนเงินกองทุน 16,194.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 307.05 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.93% จากสิ้นเดือนเมษายนที่มีจำนวนเงินกองทุน 15,887.06 ล้านบาท
นาย เกษตร ชัยวันเพ็ญ ผู้บริหารฝ่ายการตลาด ผู้ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า จำนวนเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โตขึ้นในเดือนพฤษภาคมนั้นมาจากเงินที่ลูกค้าส่งเข้ากองทุนเป็นประจำอยู่แล้ว ขณะที่เงินส่วนที่ออกไปนั้นเป็นเงินในส่วนลูกค้าที่มีการเกษียณอายุ และลาออก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน ที่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจจะเกษียณอายุกันมาก ส่วนในเดือนธันวาคมจะเป็นส่วนของลูกจ้างเอกชนที่ลาออกจากงาน เช่นเดียวกัน
"กลยุทธ์การดำเนินงานในส่วนของ บลจ. กสิกรได้มีการให้ลูกค้า ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถเลือกลงทุนได้มากกว่า 1 กองทุนและรวมไปถึงยังมีการเปิดให้ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้โดยตรง" นาย เกษตร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ สิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิกว่า 4.5 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 2.6% ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั่วประเทศเกือบสองล้านคน โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 51 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) โดยรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 453,197 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6% จากไตรมาสก่อน ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 51 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลงทุนในตราสารหนี้มากที่สุด 77.2% ของ NAV ตามด้วยตราสารทุน 11.5% และเงินฝาก 9.0% ซึ่งรูปแบบการจัดสรรเงินลงทุนในไตรมาสนี้ไม่แตกต่างจากไตรมาสที่แล้ว โดยมีแนวโน้มลงทุนในเงินฝากลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ลงทุนในตราสารประเภทอื่นเพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนกองทุนพบว่ามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 513 กองทุน โดยเป็นกองทุนนายจ้างเดียว (single fund) 209 กองทุนหรือ 40.7 % กองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund) 88 กองทุน หรือ 17.2% และกองทุนหลายนายจ้างในกลุ่มเดียวกัน (group fund) 216 กองทุน หรือ 42.1 % แม้ว่าจำนวนกองทุนโดยรวมจะเท่ากับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เมื่อดูในรายละเอียดพบว่า single fund และ group fund ปรับลดลง ขณะที่ pooled fund ปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อแบ่งตามขนาดกองทุนพบว่า 71.2 % เป็นกองทุนขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านบาท และ 64.1% มีจำนวนสมาชิกกองทุนมากกว่า 500 คน ขณะที่นายจ้าง ณ สิ้นไตรมาสแรก มีทั้งสิ้น 8,496 ราย เพิ่มขึ้น 3.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา และลูกจ้างมี 1.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้โดยรวมในไตรมาส 1 ปี 51 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 50 และคาดว่าการขยายตัวจะเร่งขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไป เนื่องจากการเร่งขยายฐานลูกค้าใหม่ของบริษัทจัดการ
อนึ่ง จากข้อมูลพบว่า กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) มีแผนการกู้เงินภาครัฐประจำปีงบประมาณ 52 มีวงเงินทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังมีรูปแบบการระดมเงินแบบใหม่คือพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงผลตอบแทนเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประชาชนรายย่อยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมในยุคที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วและเห็นด้วยในหลักการ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยบริหารเงินเฟ้อของธปท.ได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ พันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงกับดัชนีราคาสินค้า และเพิ่มผลตอบแทนพิเศษ เช่น เมื่อดัชนีราคาสินค้าเท่ากับ 7.6% หากให้ผลตอบแทน +1% นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทน 8.6% ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแน่นอน คาดว่านักลงทุนจะให้ความสนใจซื้อพันธบัตรนี้