เอเอฟพี - นักวิเคราะห์เชื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะยังปักหลักอยู่ที่ 2.0% หลังปิดประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของเฟดในวันพุธ (25) แม้เบอร์นันกีและพลพรรคพยายามใช้น้ำเสียงแข็งกร้าวสยบภาวะเงินเฟ้อแค่ไหนก็ตาม ผู้สันทัดกรณีฟันธงอย่างเร็วที่สุดที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยคือหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ดูเหมือนขณะนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะตกอยู่ภายใต้ความกดดันด้านเงินเฟ้อหนักหน่วงเสียแล้ว ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจยังไม่ทันพ้นจากขอบเหวแห่งภาวะถดถอย
นับจากเดือนกันยายนปีที่แล้ว เฟดลดดอกเบี้ยรวม 3.25% เพื่อส่งอิทธิพลกระตุ้นฟื้นฟูให้การเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้ เจ้าหน้าที่เฟดคนแล้วคนเล่า กลับกำลังทยอยกันออกมาส่งสัญญาณว่า วงจรดังกล่าวสิ้นสุดแล้ว และภาวะเงินเฟ้อกลับกำลังกลายเป็นภัยคุกคามหนักหนาที่สุด
อีทาน แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเลห์แมน บราเธอร์ส ชี้ว่าเฟดมาถึงจุดอันตราย เพราะเป็นเรื่องผิดปกติมากที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่อัตราว่างงานไหลทะลุระดับที่เป็นกลางเมื่อเทียบกับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นที่ชัดเจนว่า อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ จะขยับสูงขึ้นเพราะเป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
ขณะที่ เดวิด โคท็อก ประธานกรรมการคัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์ส มองว่า อย่างไรเสียปีนี้เฟดก็จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย อย่างน้อยจนกว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในต้นเดือนพฤศจิกายนจะผ่านพ้นไปก่อน และว่า เศรษฐกิจแดนอินทรีกำลังเผชิญภาวะที่เงินเฟ้อถูกขับเคลื่อนโดยสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่าค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น นโยบายการเงินอย่างการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ย่อมส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อน้อยมาก
"วิกฤตราคาพลังงานไม่ใช่สิ่งที่เฟดสามารถควบคุมได้"
โคท็อกยังบอกอีกว่า เนื่องจากผู้บริโภคต้องเจียดรายได้ไปจ่ายค่าเชื้อเพลิงมากขึ้น ดังนั้น ผลกระทบจากราคาน้ำมันจึงหมายถึงภาวะเงินฝืด ไม่ใช่ภาวะเงินเฟ้อ เช่นเดียวกัน ราคาอาหารที่แพงขึ้นจะไม่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการขึ้นดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ประธานกรรมการคัมเบอร์แลนด์เสริมว่า นอกจากนั้น เฟดคงไม่อยากเสี่ยงที่จะพาตัวเองเข้าสู่วังวนทางการเมืองระหว่างช่วงศึกเลือกตั้งผู้นำทำเนียบขาว ดังนั้นเอง จึงมีแนวโน้มสูงว่าเฟดจะไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาก่อนที่การเลือกตั้งจะสิ้นสุด
สำหรับในมุมมองด้านเศรษฐกิจล้วนๆ นั้น นักวิเคราะห์มากมายมองว่าเงื่อนไขต่างๆ ขณะนี้อ่อนไหวเกินไปสำหรับการขึ้นดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาวิกฤตตลาดที่อยู่อาศัย หรือความอ่อนแอของตลาดสินเชื่อ
กระนั้น เบน เบอร์นันกี ประธานผู้ว่าการเฟด และเจ้าหน้าที่เฟดอีกหลายคน ต่างส่งสัญญาณว่าจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ พุ่งเกินเลยสู่ระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
ต้นเดือนนี้ เบอร์นันกีกล่าวว่าการคาดการณ์ของสาธารณชนที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อซึ่งเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้การคาดการณ์นั้นเป็นจริงขึ้นมาจากการกระตุ้นให้แรงงานเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม และธุรกิจผลักภาระต่อด้วยการขึ้นราคาสินค้า
นักวิเคราะห์ตีความว่า เฟดกำลังพยายามโน้มน้าวความคาดหวังของสาธารณชนเกี่ยวกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่เฟดจำเป็นต้องออกมาสกัดขัดขวางด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงกำลังกลายเป็นการต่อสู้กับการคาดการณ์หรืออัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ ไม่ใช่ต่อสู้กับตัวภาวะเงินเฟ้อโดยตรง
โจเอล นารอฟฟ์ จากนารอฟฟ์ อิโคโนมิก แอดไวเซอร์ส เชื่อว่าถ้าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยจริง อย่างเร็วที่สุดน่าจะเป็นปลายปีนี้ และเสริมว่าข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดไม่ได้บ่งบอกเลยว่า เศรษฐกิจเมืองลุงแซมฟื้นสู่ระดับที่เฟดมีเหตุผลรองรับในการขึ้นดอกเบี้ย
ดูเหมือนขณะนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะตกอยู่ภายใต้ความกดดันด้านเงินเฟ้อหนักหน่วงเสียแล้ว ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจยังไม่ทันพ้นจากขอบเหวแห่งภาวะถดถอย
นับจากเดือนกันยายนปีที่แล้ว เฟดลดดอกเบี้ยรวม 3.25% เพื่อส่งอิทธิพลกระตุ้นฟื้นฟูให้การเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้ เจ้าหน้าที่เฟดคนแล้วคนเล่า กลับกำลังทยอยกันออกมาส่งสัญญาณว่า วงจรดังกล่าวสิ้นสุดแล้ว และภาวะเงินเฟ้อกลับกำลังกลายเป็นภัยคุกคามหนักหนาที่สุด
อีทาน แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเลห์แมน บราเธอร์ส ชี้ว่าเฟดมาถึงจุดอันตราย เพราะเป็นเรื่องผิดปกติมากที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่อัตราว่างงานไหลทะลุระดับที่เป็นกลางเมื่อเทียบกับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นที่ชัดเจนว่า อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ จะขยับสูงขึ้นเพราะเป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
ขณะที่ เดวิด โคท็อก ประธานกรรมการคัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์ส มองว่า อย่างไรเสียปีนี้เฟดก็จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย อย่างน้อยจนกว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในต้นเดือนพฤศจิกายนจะผ่านพ้นไปก่อน และว่า เศรษฐกิจแดนอินทรีกำลังเผชิญภาวะที่เงินเฟ้อถูกขับเคลื่อนโดยสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่าค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น นโยบายการเงินอย่างการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ย่อมส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อน้อยมาก
"วิกฤตราคาพลังงานไม่ใช่สิ่งที่เฟดสามารถควบคุมได้"
โคท็อกยังบอกอีกว่า เนื่องจากผู้บริโภคต้องเจียดรายได้ไปจ่ายค่าเชื้อเพลิงมากขึ้น ดังนั้น ผลกระทบจากราคาน้ำมันจึงหมายถึงภาวะเงินฝืด ไม่ใช่ภาวะเงินเฟ้อ เช่นเดียวกัน ราคาอาหารที่แพงขึ้นจะไม่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการขึ้นดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ประธานกรรมการคัมเบอร์แลนด์เสริมว่า นอกจากนั้น เฟดคงไม่อยากเสี่ยงที่จะพาตัวเองเข้าสู่วังวนทางการเมืองระหว่างช่วงศึกเลือกตั้งผู้นำทำเนียบขาว ดังนั้นเอง จึงมีแนวโน้มสูงว่าเฟดจะไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาก่อนที่การเลือกตั้งจะสิ้นสุด
สำหรับในมุมมองด้านเศรษฐกิจล้วนๆ นั้น นักวิเคราะห์มากมายมองว่าเงื่อนไขต่างๆ ขณะนี้อ่อนไหวเกินไปสำหรับการขึ้นดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาวิกฤตตลาดที่อยู่อาศัย หรือความอ่อนแอของตลาดสินเชื่อ
กระนั้น เบน เบอร์นันกี ประธานผู้ว่าการเฟด และเจ้าหน้าที่เฟดอีกหลายคน ต่างส่งสัญญาณว่าจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ พุ่งเกินเลยสู่ระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
ต้นเดือนนี้ เบอร์นันกีกล่าวว่าการคาดการณ์ของสาธารณชนที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อซึ่งเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้การคาดการณ์นั้นเป็นจริงขึ้นมาจากการกระตุ้นให้แรงงานเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม และธุรกิจผลักภาระต่อด้วยการขึ้นราคาสินค้า
นักวิเคราะห์ตีความว่า เฟดกำลังพยายามโน้มน้าวความคาดหวังของสาธารณชนเกี่ยวกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่เฟดจำเป็นต้องออกมาสกัดขัดขวางด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงกำลังกลายเป็นการต่อสู้กับการคาดการณ์หรืออัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ ไม่ใช่ต่อสู้กับตัวภาวะเงินเฟ้อโดยตรง
โจเอล นารอฟฟ์ จากนารอฟฟ์ อิโคโนมิก แอดไวเซอร์ส เชื่อว่าถ้าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยจริง อย่างเร็วที่สุดน่าจะเป็นปลายปีนี้ และเสริมว่าข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดไม่ได้บ่งบอกเลยว่า เศรษฐกิจเมืองลุงแซมฟื้นสู่ระดับที่เฟดมีเหตุผลรองรับในการขึ้นดอกเบี้ย