"มันง่ายสำหรับผู้ค้าปลีกค้าส่งและผู้ประกอบการที่อย่างน้อยน่าจะสามารถผลักภาระต้นทุนบางส่วนไปสู่ผู้บริโภคได้ แต่อาจจำเป็นต้องใช้เวลาบ้างในการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นปัญหาเงินเฟ้อสูงจะยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า"
ในฉบับก่อนหน้านี้ ทีมงาน "ผู้จัดการรายวัน" ได้เปิดมุมมองต่อเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามในภาวะเงินเฟ้อไปแล้ว ซึ่งพอจะสรุปคราวๆได้ว่า ประเทศเวียดนามนั้นน่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระดับไม่ใช่น้อย โดยมีแนวโน้มว่าความน่าลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศเวียดนามจะมีการปรับตัวลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 8%
ในวันนี้เราจะย้อนกลับมาดูประเทศของเราเองแล้วว่า ในภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาสินค้าเกษตรเช่นนี้ เศรษฐกิจของไทยจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด โดยบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ได้ให้มุมมองหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้แถลงตัวเลขเงินเฟ้อ หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพฤษภาคมซึ่งปรับตัวสูงขึ้น 7.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ว่า ตัวเลขที่แถลงออกมานั้นสูงกว่าที่ตลาดได้ประมาณว่าจะมีตัวเลขเงินเฟ้อเพียง 6.5%% โดยอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาดการณ์สามารถตีความได้ว่า 1) ประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องถูกปรับลงเนื่องจากคาดว่าการเติบโตของการบริโภคในประเทศจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดกันไว้ก่อนหน้านี้ 2) ผลกำไรของภาคธุรกิจจะปรับตัวลง เนื่องจากต้นทุนเพิ่ม และ 3) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเผชิญแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้มากขึ้น
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมนั้นเกิดมาจากราคาอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 36.06% ของดัชนี CPI ที่ได้ปรับตัวขึ้นถึง 11.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาพลังงานปรับตัวขึ้นถึง 21.36% ซึ่งคาดว่าปัญหาเงินเฟ้อสูงจะคงยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า แม้จะไม่รวมเรื่องความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งขณะนี้ยืนเหนือระดับ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้วก็ตาม
"เราไม่จำเป็นต้องมานั่งเถียงกันอีกต่อไปว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปสงค์หรือด้านต้นทุนกันแน่ ความจริงก็คืออุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้วและมันง่ายสำหรับผู้ค้าปลีกค้าส่งและผู้ประกอบการที่อย่างน้อยน่าจะสามารถผลักภาระต้นทุนบางส่วนไปสู่ผู้บริโภคได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เวลาบ้างในการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นปัญหาเงินเฟ้อสูงจะยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า"
เงินเฟ้อพุ่งกดดันกนง.
ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยได้แถลงอย่างเป็นทางการที่จะใช้นโยบายการเงินโดยอิงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นหลักและวางเป้าหมายกรอบอัตราเงินพื้นฐาน (ไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน) ไว้ในช่วง 0.0 - 3.5% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็น 2.75% ซึ่งสูงกว่าระดับ 2.09% ในเดือนที่ผ่านมาจากการที่ราคาอาหารและพลังงานเริ่มสะท้อนเข้าไปในราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จึงไม่ต้องแปลกใจหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มขึ้นไปถึงกรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ ธปท. ตั้งไว้ในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคม โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้คาดการณ์อยู่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นประมาณ 0.25-0.50% ภายในปีนี้ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนสมมติฐานที่ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยก็ได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับและเงินฝากระยะยาวแล้ว
โดยปัจจุบันธนาคารพาณิชย์กำลังแข่งขันกันระดมเงินฝากและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าอัตราที่ประกาศ ด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษ ซึ่งการแข่งขันกันระดมเงินฝากส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกรุงเทพได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 0.125% - 1% และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.375% ให้มีผลในวันที่ 2 มิถุนายน เป็นต้นมา และเนื่องจากธนาคารกรุงเทพเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ดังนั้นจึงคาดว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามทันที
"แม้ว่าขณะนี้ประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ธปท. อยู่ที่ 4.75-6.00% แต่ด้วยปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นได้น้อยมากที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะไปถึงกรอบบนของคาดการณ์ บริษัทจึงได้ปรับลดประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลงจาก 6.00% เป็น 5.50%"
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อไม่กระทบเศรษฐกิจภายใน
ในส่วนมุมมองผู้ที่อยู่ในวงการเศรษฐกิจอย่าง ประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กลับไม่มองผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อขนาดนั้น โดยได้ให้ความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี ของเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา เชื่อว่ายังไม่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งนี้จากการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยยังยืนยันจะติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และมีผลต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้หากเห็นว่าสินค้า หรือบริการตัวใดมีผลต่อเงินเฟ้อมากเกินกว่าปกติ ก็อาจจะมีการพิจารณาให้รอบคอบถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ภายในประเทศเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุด
สำหรับราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยหลักและมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศในอนาคตอาจมีการหยุดหรือลดการขึ้นราคาน้ำมันลง เพราะมีผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากอัตราเงินเฟ้อมากกว่าระดับปกติ ก็อาจส่งผลให้การแข่งขันระหว่างประเทศของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านชะลอลงได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เงินเฟ้อทั้งนี้ของปี 2551 นั้น หากยังอยู่ในระดับ 4 - 6 % ก็ถือว่าไม่น่าเป็นห่วง
ขณะที่ อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ แสดงทัศนะด้วยความเป็นห่วงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น"อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ที่พุ่งสูงถึง 7.6% เป็นตัวชี้เห็นว่าดัชนีราคาสินค้าได้ปรับสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน โดยสาเหตุหลักที่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงในเดือนนี้ยังมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก แต่การที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน เวียดนาม และมาเลเซีย ก็ประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นด้วย ซึ่งสภาพัฒน์มองว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ที่ 5 - 5.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีแรกอาจถึง 6% และครึ่งปีหลังอาจปรับตัวลดลงได้หากราคาน้ำมันไม่พุ่งสูงขึ้นมากนักขณะเดียวกันคงมีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ในกรอบเดิม 4.5-5.5%"
ในฉบับก่อนหน้านี้ ทีมงาน "ผู้จัดการรายวัน" ได้เปิดมุมมองต่อเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามในภาวะเงินเฟ้อไปแล้ว ซึ่งพอจะสรุปคราวๆได้ว่า ประเทศเวียดนามนั้นน่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระดับไม่ใช่น้อย โดยมีแนวโน้มว่าความน่าลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศเวียดนามจะมีการปรับตัวลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 8%
ในวันนี้เราจะย้อนกลับมาดูประเทศของเราเองแล้วว่า ในภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาสินค้าเกษตรเช่นนี้ เศรษฐกิจของไทยจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด โดยบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ได้ให้มุมมองหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้แถลงตัวเลขเงินเฟ้อ หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพฤษภาคมซึ่งปรับตัวสูงขึ้น 7.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ว่า ตัวเลขที่แถลงออกมานั้นสูงกว่าที่ตลาดได้ประมาณว่าจะมีตัวเลขเงินเฟ้อเพียง 6.5%% โดยอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาดการณ์สามารถตีความได้ว่า 1) ประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องถูกปรับลงเนื่องจากคาดว่าการเติบโตของการบริโภคในประเทศจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดกันไว้ก่อนหน้านี้ 2) ผลกำไรของภาคธุรกิจจะปรับตัวลง เนื่องจากต้นทุนเพิ่ม และ 3) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเผชิญแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้มากขึ้น
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมนั้นเกิดมาจากราคาอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 36.06% ของดัชนี CPI ที่ได้ปรับตัวขึ้นถึง 11.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาพลังงานปรับตัวขึ้นถึง 21.36% ซึ่งคาดว่าปัญหาเงินเฟ้อสูงจะคงยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า แม้จะไม่รวมเรื่องความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งขณะนี้ยืนเหนือระดับ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้วก็ตาม
"เราไม่จำเป็นต้องมานั่งเถียงกันอีกต่อไปว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปสงค์หรือด้านต้นทุนกันแน่ ความจริงก็คืออุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้วและมันง่ายสำหรับผู้ค้าปลีกค้าส่งและผู้ประกอบการที่อย่างน้อยน่าจะสามารถผลักภาระต้นทุนบางส่วนไปสู่ผู้บริโภคได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เวลาบ้างในการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นปัญหาเงินเฟ้อสูงจะยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า"
เงินเฟ้อพุ่งกดดันกนง.
ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยได้แถลงอย่างเป็นทางการที่จะใช้นโยบายการเงินโดยอิงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นหลักและวางเป้าหมายกรอบอัตราเงินพื้นฐาน (ไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน) ไว้ในช่วง 0.0 - 3.5% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็น 2.75% ซึ่งสูงกว่าระดับ 2.09% ในเดือนที่ผ่านมาจากการที่ราคาอาหารและพลังงานเริ่มสะท้อนเข้าไปในราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จึงไม่ต้องแปลกใจหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มขึ้นไปถึงกรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ ธปท. ตั้งไว้ในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคม โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้คาดการณ์อยู่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นประมาณ 0.25-0.50% ภายในปีนี้ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนสมมติฐานที่ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยก็ได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับและเงินฝากระยะยาวแล้ว
โดยปัจจุบันธนาคารพาณิชย์กำลังแข่งขันกันระดมเงินฝากและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าอัตราที่ประกาศ ด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษ ซึ่งการแข่งขันกันระดมเงินฝากส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกรุงเทพได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 0.125% - 1% และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.375% ให้มีผลในวันที่ 2 มิถุนายน เป็นต้นมา และเนื่องจากธนาคารกรุงเทพเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ดังนั้นจึงคาดว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามทันที
"แม้ว่าขณะนี้ประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ธปท. อยู่ที่ 4.75-6.00% แต่ด้วยปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นได้น้อยมากที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะไปถึงกรอบบนของคาดการณ์ บริษัทจึงได้ปรับลดประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลงจาก 6.00% เป็น 5.50%"
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อไม่กระทบเศรษฐกิจภายใน
ในส่วนมุมมองผู้ที่อยู่ในวงการเศรษฐกิจอย่าง ประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กลับไม่มองผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อขนาดนั้น โดยได้ให้ความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี ของเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา เชื่อว่ายังไม่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งนี้จากการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยยังยืนยันจะติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และมีผลต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้หากเห็นว่าสินค้า หรือบริการตัวใดมีผลต่อเงินเฟ้อมากเกินกว่าปกติ ก็อาจจะมีการพิจารณาให้รอบคอบถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ภายในประเทศเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุด
สำหรับราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยหลักและมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศในอนาคตอาจมีการหยุดหรือลดการขึ้นราคาน้ำมันลง เพราะมีผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากอัตราเงินเฟ้อมากกว่าระดับปกติ ก็อาจส่งผลให้การแข่งขันระหว่างประเทศของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านชะลอลงได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เงินเฟ้อทั้งนี้ของปี 2551 นั้น หากยังอยู่ในระดับ 4 - 6 % ก็ถือว่าไม่น่าเป็นห่วง
ขณะที่ อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ แสดงทัศนะด้วยความเป็นห่วงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น"อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ที่พุ่งสูงถึง 7.6% เป็นตัวชี้เห็นว่าดัชนีราคาสินค้าได้ปรับสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน โดยสาเหตุหลักที่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงในเดือนนี้ยังมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก แต่การที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน เวียดนาม และมาเลเซีย ก็ประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นด้วย ซึ่งสภาพัฒน์มองว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ที่ 5 - 5.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีแรกอาจถึง 6% และครึ่งปีหลังอาจปรับตัวลดลงได้หากราคาน้ำมันไม่พุ่งสูงขึ้นมากนักขณะเดียวกันคงมีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ในกรอบเดิม 4.5-5.5%"