กระแสการลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในขณะนี้ ดูเหมือนกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก หลังจากที่วิกฤิตซับไพรม์ที่เกิดขึ้นจนส่งผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอน่างมากมาย...สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างพากันนำเงินไปลงทุนในประเทศเกิดใหม่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เป็นต้น ทำให้ประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายเหล่านี้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่มีความน่าสนใจในการลงทุนอยู่มาก
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้มีความน่าลงทุนที่แตกต่างกันไป เช่นบางประเทศมีความน่าลงทุนในธุรกิจประเภทพลังงาน หรือบางบางประเทศมีความน่าลงทุนในธุรกิจประเภทสินค้าเกษตรที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ และหนึ่งในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการลงทุนที่น่าสนใจประเทศหนึ่ง คือ ประเทศบราซิล ประเทศเกิดใหม่จากฝั่งละตินเมริกา ประเทศนี้มีความน่าสนใจอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในประเทศนี้จะเล่าให้ฟัง
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศบราซิลมีการเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปล่อยกู้ให้กับเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดแรงงานปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เอกชนกู้เงินไปลงทุนมากขึ้น ขณะที่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค องค์กร และสถาบันสำคัญๆ ของประเทศ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศบราซิล
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโดย Merrill Lynch วาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐ ล่าสุด คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศบราซิลในปีนี้ น่าจะเติบโตในอัตรา 4.7 % และ 4.5 % ในปี 2552
ส่วนปัจจัยหลักที่ช่วยกระตุ้นอัตราการเติบทางเศรษฐกิจของบราซิลนั้น มาจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก มีการบริโภคสินค้าต่างๆ ในอัตราที่สูง รวมถึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่ง ได้แก่ ข้าว กาแฟ น้ำตาลและแอลกอฮอล์ (ประมาณ 25% ของปริมาณการผลิตโลก) น้ำผลไม้ (ประมาณ 80% ของการผลิตโลก) ขณะที่ประเทศบราซิลมีสินค้าส่งออกได้แก่ ส่งออกถั่วเหลือง เนื้อวัว เนื้อไก่ ยาสูบ และเครื่องหนัง รวมถึงเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่มากในทวีปลาตินอเมริกา และเป็นประเทศที่มีการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่บราซิลเป็นผู้ผลิตรายใหญ่และส่งออกมากที่สุดในโลก
นางสาวสุทธินี ระบุว่า ในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศบราซิลในปีนี้มีการเติบโตขึ้นอย่างน่าสนใจ หลังจากที่เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่ Standard & Poor (S&P) ได้ปรับเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของตราสารภาครัฐระยะยาวของบราซิล (Brazil’s long-term foreign currency sovereign) จากระดับ BB+ เป็นระดับ Investment grade คือ BBB เนื่องจากประเทศบราซิลมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และมีนโยบายการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ส่วนสถาบัน Fitch และ Moody’s ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบราซิลขึ้นมาเช่นกันโดยปรับให้มีระดับต่ำกว่าระดับ Investment grade เพียงระดับเดียวเท่านั้น และจากการปรับอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นของบราซิลปรับตัวสูงขึ้น 6% หลังจากมีการประกาศข่าวดังกล่าวเพียงวันเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ หากมองเศรษฐกิจของประเทศบราซิลตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในส่วนของยอดการขายปลีก (Retail sales) ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.2% เทื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการปรับเพิ่มค่าจ้าง ส่วนตัวเลขในกลุ่มการค้า มียอดเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม จาก 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีตัวเลขการส่งออกลดลง 2.1% อยู่ที่ 12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าสินค้ามีการปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ อยู่ที่ 21.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อในภายในประเทศนั้น ด้านธนาคารกลางของประเทศบราซิลตัดสินใจใช้นโยบายการเงินที่รัดกุมขึ้นโดยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% ในเดือนมีนาคม เพื่อเป็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นที่สุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ 4.70% หลังจากปีที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมแล้วทั้งสิ้น 8.50% แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลบราซิลก็วางแผนที่จะใช้งบประมาณบางส่วนที่กันเอาไว้จากงบประมาณรวม 11.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ และอุตสาหกรรม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ในเรื่องของการลงทุนในประเทศบราซิลนั้น นักวิเคราะห์ยังคงมองว่าบราซิลเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน ซึ่งจากการที่บราซิลได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้อยู่ในระดับ Investment grade ส่งผลให้อุตสาหกรรมภายในประเทศบราซิลได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค รวมถึงธุรกิจที่อาศัยเงินกู้เพราะสามารถกู้ได้ถูกลงและระยะเวลายาวขึ้น อีกทั้งค่าเงินของบราซิลแข็งค่าขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำลง
สำหรับ บลจ. แอสเซท พลัส มีกองทุนที่ลงทุนในประเทศบราซิล คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัส บริค (ASP-BRIC) โดยลงทุนผ่านกองทุน Templeton BRIC Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดย Templeton Asset Management เน้นลงทุนในหุ้นของประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน (รวมไต้หวันและฮ่องกง) ที่มีพื้นฐานดี และมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน มีมูลค่าตลาดใหญ่และสภาพคล่องสูง และเน้นกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Well Diversify) โดยจากการลงทุนโดยเน้นปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว การลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC นี้จะได้รับผลดีจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ที่เติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มบริคเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนมากถึง 30% ของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มประเทศดังกล่าวยังช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนได้เป็นอย่างดี
ผู้จัดการกองทุน บลจ. แอสเซท พลัส ยังแนะนำผู้ลงทุนว่า สำหรับผู้ต้องการกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศบริค ควรลงทุนในระยะยาว โดยมีระยะเวลาการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะได้รับผลตอบแทนที่ดี
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้มีความน่าลงทุนที่แตกต่างกันไป เช่นบางประเทศมีความน่าลงทุนในธุรกิจประเภทพลังงาน หรือบางบางประเทศมีความน่าลงทุนในธุรกิจประเภทสินค้าเกษตรที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ และหนึ่งในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการลงทุนที่น่าสนใจประเทศหนึ่ง คือ ประเทศบราซิล ประเทศเกิดใหม่จากฝั่งละตินเมริกา ประเทศนี้มีความน่าสนใจอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในประเทศนี้จะเล่าให้ฟัง
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศบราซิลมีการเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปล่อยกู้ให้กับเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดแรงงานปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เอกชนกู้เงินไปลงทุนมากขึ้น ขณะที่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค องค์กร และสถาบันสำคัญๆ ของประเทศ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศบราซิล
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโดย Merrill Lynch วาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐ ล่าสุด คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศบราซิลในปีนี้ น่าจะเติบโตในอัตรา 4.7 % และ 4.5 % ในปี 2552
ส่วนปัจจัยหลักที่ช่วยกระตุ้นอัตราการเติบทางเศรษฐกิจของบราซิลนั้น มาจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก มีการบริโภคสินค้าต่างๆ ในอัตราที่สูง รวมถึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่ง ได้แก่ ข้าว กาแฟ น้ำตาลและแอลกอฮอล์ (ประมาณ 25% ของปริมาณการผลิตโลก) น้ำผลไม้ (ประมาณ 80% ของการผลิตโลก) ขณะที่ประเทศบราซิลมีสินค้าส่งออกได้แก่ ส่งออกถั่วเหลือง เนื้อวัว เนื้อไก่ ยาสูบ และเครื่องหนัง รวมถึงเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่มากในทวีปลาตินอเมริกา และเป็นประเทศที่มีการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่บราซิลเป็นผู้ผลิตรายใหญ่และส่งออกมากที่สุดในโลก
นางสาวสุทธินี ระบุว่า ในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศบราซิลในปีนี้มีการเติบโตขึ้นอย่างน่าสนใจ หลังจากที่เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่ Standard & Poor (S&P) ได้ปรับเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของตราสารภาครัฐระยะยาวของบราซิล (Brazil’s long-term foreign currency sovereign) จากระดับ BB+ เป็นระดับ Investment grade คือ BBB เนื่องจากประเทศบราซิลมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และมีนโยบายการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ส่วนสถาบัน Fitch และ Moody’s ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบราซิลขึ้นมาเช่นกันโดยปรับให้มีระดับต่ำกว่าระดับ Investment grade เพียงระดับเดียวเท่านั้น และจากการปรับอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นของบราซิลปรับตัวสูงขึ้น 6% หลังจากมีการประกาศข่าวดังกล่าวเพียงวันเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ หากมองเศรษฐกิจของประเทศบราซิลตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในส่วนของยอดการขายปลีก (Retail sales) ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.2% เทื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการปรับเพิ่มค่าจ้าง ส่วนตัวเลขในกลุ่มการค้า มียอดเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม จาก 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีตัวเลขการส่งออกลดลง 2.1% อยู่ที่ 12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าสินค้ามีการปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ อยู่ที่ 21.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อในภายในประเทศนั้น ด้านธนาคารกลางของประเทศบราซิลตัดสินใจใช้นโยบายการเงินที่รัดกุมขึ้นโดยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% ในเดือนมีนาคม เพื่อเป็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นที่สุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ 4.70% หลังจากปีที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมแล้วทั้งสิ้น 8.50% แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลบราซิลก็วางแผนที่จะใช้งบประมาณบางส่วนที่กันเอาไว้จากงบประมาณรวม 11.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ และอุตสาหกรรม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ในเรื่องของการลงทุนในประเทศบราซิลนั้น นักวิเคราะห์ยังคงมองว่าบราซิลเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน ซึ่งจากการที่บราซิลได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้อยู่ในระดับ Investment grade ส่งผลให้อุตสาหกรรมภายในประเทศบราซิลได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค รวมถึงธุรกิจที่อาศัยเงินกู้เพราะสามารถกู้ได้ถูกลงและระยะเวลายาวขึ้น อีกทั้งค่าเงินของบราซิลแข็งค่าขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำลง
สำหรับ บลจ. แอสเซท พลัส มีกองทุนที่ลงทุนในประเทศบราซิล คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัส บริค (ASP-BRIC) โดยลงทุนผ่านกองทุน Templeton BRIC Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดย Templeton Asset Management เน้นลงทุนในหุ้นของประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน (รวมไต้หวันและฮ่องกง) ที่มีพื้นฐานดี และมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน มีมูลค่าตลาดใหญ่และสภาพคล่องสูง และเน้นกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Well Diversify) โดยจากการลงทุนโดยเน้นปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว การลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC นี้จะได้รับผลดีจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ที่เติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มบริคเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนมากถึง 30% ของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มประเทศดังกล่าวยังช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนได้เป็นอย่างดี
ผู้จัดการกองทุน บลจ. แอสเซท พลัส ยังแนะนำผู้ลงทุนว่า สำหรับผู้ต้องการกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศบริค ควรลงทุนในระยะยาว โดยมีระยะเวลาการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะได้รับผลตอบแทนที่ดี