ธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ทิสโก้
การที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 135 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรลย่อมก่อให้เกิดคำถามว่า “แล้วราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นไปถึงไหน แล้วแพงเพราะอะไร”ยิ่งตอนนี้มีสำนักวิจัยบางแห่งเริ่มมองระดับราคาน้ำมันที่มากกว่านี้ ทำให้ความวิตกกังกลมีมากขึ้นไปอีก เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีโอกาสเห็นบทความต่างประเทศบทความหนึ่งที่เขียนถึงเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าสนใจมากๆ จึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟัง
บทความดังกล่าวได้วิเคราะห์เรื่ององค์ประกอบของราคาน้ำมันดังนี้ เขาบอกว่าร้อยละ สี่ ของราคาน้ำมันนั้นเป็นค่าขนส่งน้ำมัน อีกร้อยละ สี่ เป็นค่าการตลาดของผู้ค้าปลีก ส่วนอีกร้อยละ แปด นั้นเป็นของโรงกลั่น แล้วต่อมาก็เป็นส่วนของภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บซึ่งอัตราภาษีนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ถ้าเป็นสหรัฐเมริกา อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะอยู่ที่ร้อยละ สิบสอง (แต่หากเป็นฝรั่งเศส หรือเยอรมัน จะอยู่ร้อยละ ห้าสิบ หรือ ถ้าเป็นสหราชอาณาจักรอัตราภาษีอาจสูงถึงร้อยละ หกสิบ) เรื่องภาษีนี้โอเปคเคยเปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจว่า รัฐบาลของประเทศในกลุ่ม จี 7 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีน้ำมันสูงถึง สี่แสนหกหมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ประเทศในกลุ่มโอเปคมียอดขายน้ำมันรวมกันเพียง สี่แสนหนึ่งหมื่นล้านเหรียญเท่านั้น
ซึ่งในกรณีที่คิดว่าเป็นราคาน้ำมันในสหรัฐ หากเราหักค่าขนส่ง ค่าการตลาด ค่าการกลั่น และภาษีแล้ว ก็จะพบว่าส่วนที่เหลืออีกร้อยละ เจ็ดสิบสอง ของราคาน้ำมันที่ขายปลีกนั้นมาจากราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงทำให้ราคาขายปลีกมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
คราวนี้ก็มีคำถามว่าแล้วเจ้าราคาน้ำมันดิบนั้น มันจะแพงหรือถูกขึ้นอยู่กับอะไร หากถามผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นบริษัทน้ำมันข้ามชาติ เขาก็จะบอกว่าขึ้นอยู่ต้นทุนในการขุดเจาะและสำรวจ หรือพูดง่ายๆ ก็คือขึ้นกับความยากง่ายในการค้นหา ตัวอย่างเช่น หากหาน้ำมันดิบจากใต้ดินเช่นในทะลทรายแถบตะวันออกกลางก็จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าการหาน้ำมันดิบจากแหล่งใต้ทะเล เป็นต้น บีพี ออยล์ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ นั้นเผยว่าเขามีต้นทุนในการผลิตน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาเฉลี่ยที่บริษัทดังกล่าวขายน้ำมันออกไปได้ในราคาเฉลี่ย 67.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งหากเป็นปีนี้ราคาขายจะอยู่สูงเกือบถึง 91 เหรียญ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนต่างระหว่างราคาขายกับต้นทุนนั้นย่อมทำให้เกิดแรงจูงใจแก่บริษัทน้ำมันในการที่จะแสวงหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก จากการสำรวจพบว่าบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง เชลล์ บีพี และ เอ็กซอล ทุ่มเงินลงทุนเพื่อการนี้คิดเป็นมูลค่ารวมกันถึง สองหมื่นเก้าพันล้านเหรียญ ในขณะที่จ่ายคืนผู้ถือหุ้นเพียงสองหมื่นเหรียญเท่านั้น ทั้งนี้ชื่อว่าเป็นเพราะผู้ผลิตน้ำมันมองว่าการที่ราคาน้ำมันในท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ย่อมคุ้มค่าที่จะลงทุน
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าบริษัทน้ำมันจะได้เงินไปทั้งหมด เพราะบริษัทน้ำมันคงจะไม่สามารถขุดเจาะน้ำมันได้หากไม่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลที่มีแหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งส่วนแบ่งสัมปทานบางแห่งอาจจะสูงถึงร้อยละห้าสิบ และที่น่าสนใจก็คือในขณะนี้บริษัทน้ำมันที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศผู้ให้สัมปทานเองก็เริ่มเห็นช่องทางทำเงินและเข้ามาเป็นคู่แข่งในการประมูลสัมปทานด้วยเช่นกัน นั่นทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติอาจจะต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสัมปทานดังกล่าวในอนาคต
และค่าสัมปทานที่แพงนี้ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันในท้องตลาดยิ่งแพงขึ้นไปอีกนั่นเอง (จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบจะมีความมั่งคั่งมากขึ้น จนต้องจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขึ้นมาเพื่อนำเงินไปลงทุนในที่ต่างๆ อันเป็นการสร้างรายได้ให้ประเทศชาติของเขายิ่งขึ้นไปอีก)
แล้วคุณว่าราคาน้ำมันที่แพงมาจากอะไร
การที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 135 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรลย่อมก่อให้เกิดคำถามว่า “แล้วราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นไปถึงไหน แล้วแพงเพราะอะไร”ยิ่งตอนนี้มีสำนักวิจัยบางแห่งเริ่มมองระดับราคาน้ำมันที่มากกว่านี้ ทำให้ความวิตกกังกลมีมากขึ้นไปอีก เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีโอกาสเห็นบทความต่างประเทศบทความหนึ่งที่เขียนถึงเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าสนใจมากๆ จึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟัง
บทความดังกล่าวได้วิเคราะห์เรื่ององค์ประกอบของราคาน้ำมันดังนี้ เขาบอกว่าร้อยละ สี่ ของราคาน้ำมันนั้นเป็นค่าขนส่งน้ำมัน อีกร้อยละ สี่ เป็นค่าการตลาดของผู้ค้าปลีก ส่วนอีกร้อยละ แปด นั้นเป็นของโรงกลั่น แล้วต่อมาก็เป็นส่วนของภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บซึ่งอัตราภาษีนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ถ้าเป็นสหรัฐเมริกา อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะอยู่ที่ร้อยละ สิบสอง (แต่หากเป็นฝรั่งเศส หรือเยอรมัน จะอยู่ร้อยละ ห้าสิบ หรือ ถ้าเป็นสหราชอาณาจักรอัตราภาษีอาจสูงถึงร้อยละ หกสิบ) เรื่องภาษีนี้โอเปคเคยเปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจว่า รัฐบาลของประเทศในกลุ่ม จี 7 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีน้ำมันสูงถึง สี่แสนหกหมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ประเทศในกลุ่มโอเปคมียอดขายน้ำมันรวมกันเพียง สี่แสนหนึ่งหมื่นล้านเหรียญเท่านั้น
ซึ่งในกรณีที่คิดว่าเป็นราคาน้ำมันในสหรัฐ หากเราหักค่าขนส่ง ค่าการตลาด ค่าการกลั่น และภาษีแล้ว ก็จะพบว่าส่วนที่เหลืออีกร้อยละ เจ็ดสิบสอง ของราคาน้ำมันที่ขายปลีกนั้นมาจากราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงทำให้ราคาขายปลีกมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
คราวนี้ก็มีคำถามว่าแล้วเจ้าราคาน้ำมันดิบนั้น มันจะแพงหรือถูกขึ้นอยู่กับอะไร หากถามผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นบริษัทน้ำมันข้ามชาติ เขาก็จะบอกว่าขึ้นอยู่ต้นทุนในการขุดเจาะและสำรวจ หรือพูดง่ายๆ ก็คือขึ้นกับความยากง่ายในการค้นหา ตัวอย่างเช่น หากหาน้ำมันดิบจากใต้ดินเช่นในทะลทรายแถบตะวันออกกลางก็จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าการหาน้ำมันดิบจากแหล่งใต้ทะเล เป็นต้น บีพี ออยล์ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ นั้นเผยว่าเขามีต้นทุนในการผลิตน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาเฉลี่ยที่บริษัทดังกล่าวขายน้ำมันออกไปได้ในราคาเฉลี่ย 67.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งหากเป็นปีนี้ราคาขายจะอยู่สูงเกือบถึง 91 เหรียญ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนต่างระหว่างราคาขายกับต้นทุนนั้นย่อมทำให้เกิดแรงจูงใจแก่บริษัทน้ำมันในการที่จะแสวงหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก จากการสำรวจพบว่าบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง เชลล์ บีพี และ เอ็กซอล ทุ่มเงินลงทุนเพื่อการนี้คิดเป็นมูลค่ารวมกันถึง สองหมื่นเก้าพันล้านเหรียญ ในขณะที่จ่ายคืนผู้ถือหุ้นเพียงสองหมื่นเหรียญเท่านั้น ทั้งนี้ชื่อว่าเป็นเพราะผู้ผลิตน้ำมันมองว่าการที่ราคาน้ำมันในท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ย่อมคุ้มค่าที่จะลงทุน
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าบริษัทน้ำมันจะได้เงินไปทั้งหมด เพราะบริษัทน้ำมันคงจะไม่สามารถขุดเจาะน้ำมันได้หากไม่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลที่มีแหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งส่วนแบ่งสัมปทานบางแห่งอาจจะสูงถึงร้อยละห้าสิบ และที่น่าสนใจก็คือในขณะนี้บริษัทน้ำมันที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศผู้ให้สัมปทานเองก็เริ่มเห็นช่องทางทำเงินและเข้ามาเป็นคู่แข่งในการประมูลสัมปทานด้วยเช่นกัน นั่นทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติอาจจะต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสัมปทานดังกล่าวในอนาคต
และค่าสัมปทานที่แพงนี้ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันในท้องตลาดยิ่งแพงขึ้นไปอีกนั่นเอง (จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบจะมีความมั่งคั่งมากขึ้น จนต้องจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขึ้นมาเพื่อนำเงินไปลงทุนในที่ต่างๆ อันเป็นการสร้างรายได้ให้ประเทศชาติของเขายิ่งขึ้นไปอีก)
แล้วคุณว่าราคาน้ำมันที่แพงมาจากอะไร