คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
พรทิพา หนึ่งน้ำใจ
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้
บลจ.อยุธยา จำกัด
ท่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคงคุ้นเคยกันดีกับ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - Provident fund” ซึ่งรายได้ของท่านจะถูกหักเข้ากองทุนในแต่ละเดือน จึงทำให้หลายท่านรู้สึกว่าเงินที่ควรจะได้รับเข้ากระเป๋าในวันนี้ลดลงไป และถือเป็นการเสียโอกาสในการนำรายได้ (ซึ่งบางท่านอาจรู้สึกว่าได้รับอยู่ไม่มากนัก) ไปจับจ่ายใช้สอย แต่จริงๆแล้ว ถ้าลองวิเคราะห์ในระยะยาว จะเห็นได้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีความสำคัญอย่างมาก แม้จะไม่เห็นผลชัดเจนในวันนี้แต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงวัยเกษียณอายุ คราวนี้เรามาลองดูกันนะคะว่าท่านได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงิน ( ผ่านทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) หรือท่านมีความรู้ดีพอเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากน้อยเพียงใด
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนแบบสมัครใจ ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้ง โดยการนำส่งเงินเข้ากองทุนทุกๆเดือน และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมาจากเงินที่ลูกจ้าง (หรือที่เรียกว่าสมาชิก) ได้จ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และอีกส่วนหนึ่งมาจากนายจ้างที่จ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสมทบ” ดังนั้นการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงหมายถึง การออมเงินอย่างมีวินัยแบบผูกพันระยะยาวของลูกจ้างเพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ โดยที่นายจ้างจะช่วยออมให้อีกส่วนหนึ่ง (ในจำนวนที่เท่ากับ หรือมากกว่าส่วนสะสมของลูกจ้าง) ซึ่งลูกจ้างจะได้รับเงินออมส่วนของนายจ้างหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน นอกจากนี้เงินกองทุนดังกล่าวจะได้รับการบริหารจัดการเพื่อให้สินทรัพย์งอกเงยจากผู้บริหารมืออาชีพ ซึ่งเรียกว่า “บริษัทจัดการ” ได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากการเป็นสวัสดิการพนักงานเพื่อให้มีแรงจูงใจในการทำงานกับนายจ้างนานๆ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ การส่งเสริมการออมเงินในระยะยาวเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพในช่วงวัยเกษียณหรือภายหลังจากที่ไม่มีรายได้หลักจากเงินเดือนอีกต่อไป ดังนั้นแนวทางการบริหารเงินกองทุนผ่านทางบริษัทจัดการจึงควรคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเพื่อให้ชดเชยกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในทุกๆปี ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สำหรับโครงสร้างของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนของกองทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ (Asset Allocation) ซึ่งได้แก่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน เป็นต้น จะได้รับการกำหนดประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุนและสัดส่วนการลงทุนผ่านทางคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการฝ่ายลูกจ้าง และคณะกรรมการฝ่ายนายจ้าง
อย่างไรก็ตาม การจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับสมาชิก เพื่อให้ได้รับอัตราผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ภายใต้เงื่อนไข / ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของสมาชิกแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาการลงทุน (Time horizon) หรือ อายุสมาชิก (Age)
- ความจำเป็นด้านสภาพคล่อง (Liquidity requirement)
- ภาระ / เงื่อนไขทางภาษี (Tax consideration)
- กฎหมาย / ข้อกำหนดของทางการ (Legal & Regulation)
- ลักษณะพิเศษของสมาชิกแต่ละคน (Unique circumstance)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในหนึ่งบริษัท ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก โดยที่แต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านอายุ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) เป็นต้น การจัดสรรเงินลงทุนเพียง 1 รูปแบบตามที่คณะกรรมการกองทุนเลือกอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ในปัจจุบันจึงมีหลายบริษัทใช้รูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรียกว่า Employee’s choice โดยอนุญาตให้แต่ละบริษัทมีหลายๆกองทุนซึ่งมีนโยบายแตกต่างกัน ทำให้สมาชิกสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตามที่ต้องการได้ด้วยตนเอง และอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า Master fund ซึ่งหมายถึง หนึ่งกองทุนแต่มีหลายนโยบาย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในกองทุนเดียวกันไม่จำเป็นต้องเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน แต่สามารถเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับความต้องการและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของแต่ละคนได้ด้วยตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ที่มีอายุยังน้อย เริ่มทำงานได้ไม่นาน และยังมีเงินเก็บไม่มากนัก อาจต้องการนโยบายการลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพื่อให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง(ในระยะยาว)อยู่ในระดับที่สูงตามไปด้วย ดังนั้น นาย ก. จึงอาจเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูง
ในขณะที่ นาย ข. อายุใกล้เกษียณ และต้องการรักษาเงินต้นไว้เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณ อาจเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ - กองทุนประเภทตลาดเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีรายได้ในระดับสูง ซึ่งมีความสามารถในการออมที่มากกว่าเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือผู้ที่ทำงานในบริษัทที่ไม่มีสวัสดิการด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมประเภท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund - RMF) ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวไว้เพื่อใช้ยามเกษียณเช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้ผู้สนใจลงทุนในกองทุนประเภทดังกล่าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริษัทจัดการกองทุนแต่ละแห่ง เพื่อคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละคน
ท้ายนี้คงต้องขอย้ำกันอีกครั้งว่า ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูงและมีปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะราคาน้ำมัน ข้าว และปัจจัยสี่ทั้งหลายซึ่งต่างทยอยปรับราคาขึ้นโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงได้ ทำให้ค่าครองชีพในอนาคตจะต้องสูงขึ้นตามไปด้วยเสมอ ดังนั้นการใส่ใจกับการเก็บออม และการวางแผนเงินลงทุนเพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต ผ่านทางรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ คงเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเริ่มใส่ใจ และเริ่มหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถจัดสรรเงินของท่านให้เหมาะสม เพื่อตัวท่านเองและลูกหลานต่อไป
พรทิพา หนึ่งน้ำใจ
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้
บลจ.อยุธยา จำกัด
ท่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคงคุ้นเคยกันดีกับ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - Provident fund” ซึ่งรายได้ของท่านจะถูกหักเข้ากองทุนในแต่ละเดือน จึงทำให้หลายท่านรู้สึกว่าเงินที่ควรจะได้รับเข้ากระเป๋าในวันนี้ลดลงไป และถือเป็นการเสียโอกาสในการนำรายได้ (ซึ่งบางท่านอาจรู้สึกว่าได้รับอยู่ไม่มากนัก) ไปจับจ่ายใช้สอย แต่จริงๆแล้ว ถ้าลองวิเคราะห์ในระยะยาว จะเห็นได้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีความสำคัญอย่างมาก แม้จะไม่เห็นผลชัดเจนในวันนี้แต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงวัยเกษียณอายุ คราวนี้เรามาลองดูกันนะคะว่าท่านได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงิน ( ผ่านทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) หรือท่านมีความรู้ดีพอเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากน้อยเพียงใด
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนแบบสมัครใจ ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้ง โดยการนำส่งเงินเข้ากองทุนทุกๆเดือน และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมาจากเงินที่ลูกจ้าง (หรือที่เรียกว่าสมาชิก) ได้จ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และอีกส่วนหนึ่งมาจากนายจ้างที่จ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสมทบ” ดังนั้นการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงหมายถึง การออมเงินอย่างมีวินัยแบบผูกพันระยะยาวของลูกจ้างเพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ โดยที่นายจ้างจะช่วยออมให้อีกส่วนหนึ่ง (ในจำนวนที่เท่ากับ หรือมากกว่าส่วนสะสมของลูกจ้าง) ซึ่งลูกจ้างจะได้รับเงินออมส่วนของนายจ้างหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน นอกจากนี้เงินกองทุนดังกล่าวจะได้รับการบริหารจัดการเพื่อให้สินทรัพย์งอกเงยจากผู้บริหารมืออาชีพ ซึ่งเรียกว่า “บริษัทจัดการ” ได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากการเป็นสวัสดิการพนักงานเพื่อให้มีแรงจูงใจในการทำงานกับนายจ้างนานๆ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ การส่งเสริมการออมเงินในระยะยาวเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพในช่วงวัยเกษียณหรือภายหลังจากที่ไม่มีรายได้หลักจากเงินเดือนอีกต่อไป ดังนั้นแนวทางการบริหารเงินกองทุนผ่านทางบริษัทจัดการจึงควรคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเพื่อให้ชดเชยกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในทุกๆปี ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สำหรับโครงสร้างของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนของกองทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ (Asset Allocation) ซึ่งได้แก่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน เป็นต้น จะได้รับการกำหนดประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุนและสัดส่วนการลงทุนผ่านทางคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการฝ่ายลูกจ้าง และคณะกรรมการฝ่ายนายจ้าง
อย่างไรก็ตาม การจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับสมาชิก เพื่อให้ได้รับอัตราผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ภายใต้เงื่อนไข / ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของสมาชิกแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาการลงทุน (Time horizon) หรือ อายุสมาชิก (Age)
- ความจำเป็นด้านสภาพคล่อง (Liquidity requirement)
- ภาระ / เงื่อนไขทางภาษี (Tax consideration)
- กฎหมาย / ข้อกำหนดของทางการ (Legal & Regulation)
- ลักษณะพิเศษของสมาชิกแต่ละคน (Unique circumstance)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในหนึ่งบริษัท ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก โดยที่แต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านอายุ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) เป็นต้น การจัดสรรเงินลงทุนเพียง 1 รูปแบบตามที่คณะกรรมการกองทุนเลือกอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ในปัจจุบันจึงมีหลายบริษัทใช้รูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรียกว่า Employee’s choice โดยอนุญาตให้แต่ละบริษัทมีหลายๆกองทุนซึ่งมีนโยบายแตกต่างกัน ทำให้สมาชิกสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตามที่ต้องการได้ด้วยตนเอง และอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า Master fund ซึ่งหมายถึง หนึ่งกองทุนแต่มีหลายนโยบาย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในกองทุนเดียวกันไม่จำเป็นต้องเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน แต่สามารถเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับความต้องการและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของแต่ละคนได้ด้วยตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ที่มีอายุยังน้อย เริ่มทำงานได้ไม่นาน และยังมีเงินเก็บไม่มากนัก อาจต้องการนโยบายการลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพื่อให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง(ในระยะยาว)อยู่ในระดับที่สูงตามไปด้วย ดังนั้น นาย ก. จึงอาจเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูง
ในขณะที่ นาย ข. อายุใกล้เกษียณ และต้องการรักษาเงินต้นไว้เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณ อาจเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ - กองทุนประเภทตลาดเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีรายได้ในระดับสูง ซึ่งมีความสามารถในการออมที่มากกว่าเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือผู้ที่ทำงานในบริษัทที่ไม่มีสวัสดิการด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมประเภท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund - RMF) ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวไว้เพื่อใช้ยามเกษียณเช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้ผู้สนใจลงทุนในกองทุนประเภทดังกล่าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริษัทจัดการกองทุนแต่ละแห่ง เพื่อคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละคน
ท้ายนี้คงต้องขอย้ำกันอีกครั้งว่า ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูงและมีปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะราคาน้ำมัน ข้าว และปัจจัยสี่ทั้งหลายซึ่งต่างทยอยปรับราคาขึ้นโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงได้ ทำให้ค่าครองชีพในอนาคตจะต้องสูงขึ้นตามไปด้วยเสมอ ดังนั้นการใส่ใจกับการเก็บออม และการวางแผนเงินลงทุนเพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต ผ่านทางรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ คงเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเริ่มใส่ใจ และเริ่มหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถจัดสรรเงินของท่านให้เหมาะสม เพื่อตัวท่านเองและลูกหลานต่อไป