บลจ.บีที ปลื้มยอดระดมทุนกองทุนบีที FIF ตราสารหนี้ 9/1 (BT-FIF-FIX 9/1) ที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลี สามารถระดมทุนได้เกือบ 800 ล้านบาท พร้อมวางเป้าอยากเปิดขายเพิ่มอีก เดือนละ 1 กองทุน หลังได้รับการตอบรับเป็นจำนวนมาก
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนบีที FIF ตราสารหนี้ 9/1 (BT-FIF-FIX 9/1) ไปเมื่อวันที่ 17 – 25 เมษายน 2551 ที่ผ่านมาปรากฎว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าการซื้อเกือบ 800 ล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้มาก ซึ่งบริษัทพอใจมากกับผลของการขายกองทุนในครั้งนี้ โดยเชื่อว่าสาเหตุที่สามารถปิดยอดขายได้สูงเนื่องจากพันธบัตรเกาหลียังคงได้รับความนิยมจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง
โดยนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนของ บลจ. บีทีที่เป็นฐานลูกค้าเดิมของบริษัท รวมถึงนักลงทุนกลุ่มคุ้มครองเงินต้นอีกด้วย ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการ 9 เดือน ซึ่งกองทุนจะสามารถให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับกับกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 12/2 (BT-FIF-FIX 12/2) ที่มีอายุโครงการ 1 ปี หรือสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 3.5% - 3.7% โดยขึ้นอยู่ตามสภาพการของตลาด
“ในอนาคตนั้นบริษัทมีแผนที่ต้องเป้าไว้คือ อยากจะเปิดขายกองทุนประเภทดังกล่าวให้ได้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งถ้าความต้องการของนักลงทุนยังมีอยู่ ก็จะทำการออกกองทุนใหม่มารองรับความต้องการตรงนี้แน่นอน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงต้องดูถึงสภาวการณ์ลงทุนเป็นหลักด้วย” นายอนุสรณ์ กล่าว
ทั้งนี้กองทุน BT-FIF-FIX 9/1 จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ และต้องการสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่บริษัทจัดการพิจารณาแล้วว่าเป็นตราสารที่มีคุณภาพที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ส่วนที่เหลือกองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการรอลงทุน หรือเพื่อเป็นการรักษาสภาพคล่องของการลงทุน
ขณะเดียวกัน กองทุนจะไม่เข้าไปลงทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวจะไม่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ได้ทำการปิดยอดขายกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 12/2 (BT-FIF-FIX 12/2) ไปประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเกินคาดจากที่ได้คาดไว้ที่บริษัทได้ตั้งเป้าไว้ตอนแรกที่ประมาณ 500- 600 ล้านบาทเท่านั้นหลังจากที่ได้ทำการเปิดขายกองทุนไปเมื่อวันที่ 4 – 1 1 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนที่ให้ความสนใจ นอกจากนี้นักลงทุนที่ได้เข้ามาจองส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหญ่ด้านธนบดีธนกิจ อีกส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนจากสาขาต่าง ๆ ที่เข้ามาลงทุน นอกจากนี้แล้วฐานนักลงทุนใหม่ ๆ ก็ทยอยเข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวอีกด้วย
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนบีที FIF ตราสารหนี้ 9/1 (BT-FIF-FIX 9/1) ไปเมื่อวันที่ 17 – 25 เมษายน 2551 ที่ผ่านมาปรากฎว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าการซื้อเกือบ 800 ล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้มาก ซึ่งบริษัทพอใจมากกับผลของการขายกองทุนในครั้งนี้ โดยเชื่อว่าสาเหตุที่สามารถปิดยอดขายได้สูงเนื่องจากพันธบัตรเกาหลียังคงได้รับความนิยมจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง
โดยนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนของ บลจ. บีทีที่เป็นฐานลูกค้าเดิมของบริษัท รวมถึงนักลงทุนกลุ่มคุ้มครองเงินต้นอีกด้วย ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการ 9 เดือน ซึ่งกองทุนจะสามารถให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับกับกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 12/2 (BT-FIF-FIX 12/2) ที่มีอายุโครงการ 1 ปี หรือสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 3.5% - 3.7% โดยขึ้นอยู่ตามสภาพการของตลาด
“ในอนาคตนั้นบริษัทมีแผนที่ต้องเป้าไว้คือ อยากจะเปิดขายกองทุนประเภทดังกล่าวให้ได้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งถ้าความต้องการของนักลงทุนยังมีอยู่ ก็จะทำการออกกองทุนใหม่มารองรับความต้องการตรงนี้แน่นอน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงต้องดูถึงสภาวการณ์ลงทุนเป็นหลักด้วย” นายอนุสรณ์ กล่าว
ทั้งนี้กองทุน BT-FIF-FIX 9/1 จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ และต้องการสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่บริษัทจัดการพิจารณาแล้วว่าเป็นตราสารที่มีคุณภาพที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ส่วนที่เหลือกองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการรอลงทุน หรือเพื่อเป็นการรักษาสภาพคล่องของการลงทุน
ขณะเดียวกัน กองทุนจะไม่เข้าไปลงทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวจะไม่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ได้ทำการปิดยอดขายกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 12/2 (BT-FIF-FIX 12/2) ไปประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเกินคาดจากที่ได้คาดไว้ที่บริษัทได้ตั้งเป้าไว้ตอนแรกที่ประมาณ 500- 600 ล้านบาทเท่านั้นหลังจากที่ได้ทำการเปิดขายกองทุนไปเมื่อวันที่ 4 – 1 1 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนที่ให้ความสนใจ นอกจากนี้นักลงทุนที่ได้เข้ามาจองส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหญ่ด้านธนบดีธนกิจ อีกส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนจากสาขาต่าง ๆ ที่เข้ามาลงทุน นอกจากนี้แล้วฐานนักลงทุนใหม่ ๆ ก็ทยอยเข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวอีกด้วย