บลูมเบิร์ก - นักวิเคราะห์เจพี มอร์แกนชี้ รัฐบาลอาจปรับค่าเงินหยวนครั้งใหญ่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
แฟรงก์ กง นักเศรษฐศาสตร์ของเจพี มอร์แกนแสดงทัศนะว่า ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ทางการจีนน่าจะปรับค่าเงินหยวนอีกราว 10% - 15% แม้การปรับค่าเงินหยวนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2005 จะมีการปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้นราว 2.1% และนับแต่การปรับครั้งนั้น ค่าเงินหยวนได้แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯจนแข็งค่าขึ้นราว 16%
ทว่าการปรับดังกล่าวไม่สามารถสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับการจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้าแล้ว หยวนยังไม่แข็งค่าพอที่จะชดเชยราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น นอกจากนี้การปรับค่าเงินดังกล่าว ยังทำให้เกิดภาวะเงินร้อน เนื่องจากนักลงทุนต่างเก็งว่าทางการจีนอาจปรับค่าเงินอีก จนมีอุปทานเงินจำนวนมากทะลักเข้ามาในจีน
"พิจารณาจากปัจจัยรุมเร้าต่างๆ ทั้งราคาน้ำมัน, ทรัพยากร และราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจีนกำลังถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดว่า ควรปรับค่าเงินหยวนครั้งใหญ่หรือไม่ พวกเขาสามารถก้าวเดินไปตามเส้นทางเดิม ด้วยการเร่งปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้น อย่างที่พวกเขาทำในช่วงไตรมาสแรก แต่ทางเลือกดังกล่าวจะทำให้เกิดผลเสียคือ เงินร้อนจำนวนมากจะทะลักเข้ามา" กงระบุในรายงานของเขา
ที่ผ่านมารัฐบาลจีนระบุว่า จะปล่อยให้ค่าเงินหยวนยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งค่าเงินหยวนแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามเดือนนี้การแข็งค่าอย่างรวดเร็วดังกล่าวสะดุดลง เนื่องจากทางการจีนกำลังพิจารณาว่า ควรจะปล่อยให้หยวนยืดหยุ่น แข็งค่าอย่างรวดเร็วต่อไปหรือไม่ เนื่องจากภาวะการณ์ดังกล่าวได้สร้างผลเสียต่อภาคการส่งออกและยังดึงดูดเงินร้อนจำนวนมากเข้ามาในประเทศ
อย่างไรก็ตามกงคาดว่า หยวนน่าจะแข็งค่าอย่างรวดเร็วต่อไป กระทั่งถึงระดับ 6.3 หยวน / 1 ดอลลาร์สหรัฐฯภายในสิ้นปีนี้
ในช่วงไตรมาสแรกเศรษฐกิจจีนขยายตัวราว 10% ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้ออยู่ที่ 8.3% ในเดือนมีนาคม เป็นระดับที่สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี ฉะนั้นรัฐบาลจีนจึงปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยผ่อนภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคพลังงานอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ สถานการณ์น้ำมันแพงจึงเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลจีน
แฟรงก์ กง นักเศรษฐศาสตร์ของเจพี มอร์แกนแสดงทัศนะว่า ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ทางการจีนน่าจะปรับค่าเงินหยวนอีกราว 10% - 15% แม้การปรับค่าเงินหยวนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2005 จะมีการปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้นราว 2.1% และนับแต่การปรับครั้งนั้น ค่าเงินหยวนได้แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯจนแข็งค่าขึ้นราว 16%
ทว่าการปรับดังกล่าวไม่สามารถสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับการจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้าแล้ว หยวนยังไม่แข็งค่าพอที่จะชดเชยราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น นอกจากนี้การปรับค่าเงินดังกล่าว ยังทำให้เกิดภาวะเงินร้อน เนื่องจากนักลงทุนต่างเก็งว่าทางการจีนอาจปรับค่าเงินอีก จนมีอุปทานเงินจำนวนมากทะลักเข้ามาในจีน
"พิจารณาจากปัจจัยรุมเร้าต่างๆ ทั้งราคาน้ำมัน, ทรัพยากร และราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจีนกำลังถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดว่า ควรปรับค่าเงินหยวนครั้งใหญ่หรือไม่ พวกเขาสามารถก้าวเดินไปตามเส้นทางเดิม ด้วยการเร่งปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้น อย่างที่พวกเขาทำในช่วงไตรมาสแรก แต่ทางเลือกดังกล่าวจะทำให้เกิดผลเสียคือ เงินร้อนจำนวนมากจะทะลักเข้ามา" กงระบุในรายงานของเขา
ที่ผ่านมารัฐบาลจีนระบุว่า จะปล่อยให้ค่าเงินหยวนยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งค่าเงินหยวนแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามเดือนนี้การแข็งค่าอย่างรวดเร็วดังกล่าวสะดุดลง เนื่องจากทางการจีนกำลังพิจารณาว่า ควรจะปล่อยให้หยวนยืดหยุ่น แข็งค่าอย่างรวดเร็วต่อไปหรือไม่ เนื่องจากภาวะการณ์ดังกล่าวได้สร้างผลเสียต่อภาคการส่งออกและยังดึงดูดเงินร้อนจำนวนมากเข้ามาในประเทศ
อย่างไรก็ตามกงคาดว่า หยวนน่าจะแข็งค่าอย่างรวดเร็วต่อไป กระทั่งถึงระดับ 6.3 หยวน / 1 ดอลลาร์สหรัฐฯภายในสิ้นปีนี้
ในช่วงไตรมาสแรกเศรษฐกิจจีนขยายตัวราว 10% ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้ออยู่ที่ 8.3% ในเดือนมีนาคม เป็นระดับที่สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี ฉะนั้นรัฐบาลจีนจึงปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยผ่อนภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคพลังงานอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ สถานการณ์น้ำมันแพงจึงเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลจีน