บิ๊กฟิลลิป ตั้งเป้าเอยูเอ็มสายงานบลจ.ปีนี้โตเพิ่ม 100% จาก 500 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายกองมันนี่มาร์เก็ต "PCASH" พร้อมรุกธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ดึงเงินลูกค้าไปลงทุนนอก และจัดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์กองแรกของบริษัท ส่วนโปรดักต์ใหม่เน้นชูจุดเด่นด้านนโยบายการลงทุนที่ตอบโจทย์ตรงใจผู้ใช้บริการ
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับธุรกิจกองทุนรวมของทางเครือฟิลลิปในปี 2551 นั้น ตั้งเป้าหมายว่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่บริษัทมีเอยูเอ็มประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตนี้ส่วนใหญ่น่าจะมาจากการเติบโตของกองทุนประเภทกองทุนตราสารเงิน (มันนี่มาร์เกต) โดยเฉพาะกองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH)
สำหรับกองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH) นั้น ช่วงที่ผ่านมา สามารถให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ และนักลงทุนให้ความสนใจในการลงทุนในกองทุนประเภทนี้เนื่องมาจากกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากธนาคารพาณิชย์ แต่ยังมีสภาพคล่องคล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้กองทุนเปิด PCASH เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงทุน รวมทั้งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้ลงทุนได้ ทั้งนี้กองทุนจะดำรงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชั่น ของกองทุน ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 6 เดือน
ด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น นายสุชายกล่าวว่า บลจ.ฟิลลิปเพิ่งเปิดบริการได้ไม่นาน ทำให้บริษัทไม่ตั้งเป้าที่จะแข่งขันกับบลจ.ขนาดใหญ่ หรือ บลจ.ที่มีฐานเป็นธนาคารพาณิชย์ เพราะบริษัทเหล่านั้นมีตัวแทนและอำนาจการขายมากกว่า แต่บริษัทจะเน้นสร้างผลตอบแทนของกองทุนที่ดีให้กับลูกค้ามากกว่า
สำหรับการออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (FIF) คาดว่าในอนาคตบริษัทจะมีโปรดักส์ประเภทดังกล่าวออกมาเพิ่มขึ้น โดยกองทุนใหม่ๆนั้น บริษัทโชว์จุดเด่นในเรื่องนโยบายการลงทุนที่น่าสนใจ มานำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทมีความสนใจที่จะออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างกำลังศึกษาสินทรัพย์อยู่ 1 โครงการ แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้
ขณะเดียวกันหลังจากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้นั้น ส่งผลให้ทางเครือฟิลลิปให้ความสนใจและเน้นการทำธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะการออกไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังพยายามเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินในต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดเป็นกลุ่มสินค้า (แพ็คเกจ) ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกคัาได้อย่างถูกต้อง หรือตรงกับความต้องการของนักลงทุนได้ดี
"ถ้าลูกค้าบอกเรา เอาอันนี้เราก็จะเอา ถ้าลูกค้าบอกเราไม่เอา เราก็ไม่เอา โดยเราจะเลือกมาให้เขาและบริหารผ่านไพรเวตฟันด์ แต่เราจะไม่ได้บริหารเอง แต่จะเป็นแบบฟันด์ ออน ฟันด์ (fund on fund) แต่ลูกค้าสามารถบอกความต้องการให้เราได้ โดยเราจะมีตัวเลือกให้ลูกค้าเลือก ซึ่งจะมีความคล่องตัวมากกกว่ากองทุนเอฟไอเอฟ" นายสุชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 บลจ.ฟิลลิปมีเอยูเอ็มจำนวน 558.99 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.04% ของจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการทั้งระบบ โดยมีกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการจำนวน 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ฟิลลิป หุ้นระยะยาว (P-LTF) ซึ่งในวันที่ 3 เมษายน 2551 มีขนาดกองทุน 6,383,648.92 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH) มีขนาดกองทุน 196,271,854.95 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป เอเชีย แปซิฟิค (PAP) มีขนาดกองทุน 262,001,358.95 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป ตราสารหนี้ (PFIX) มีขนาดกองทุน 85,704,492.96บาท และกองทุนเปิด ฟิลลิป ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (PFIXRMF) มีขนาดกองทุน 17,178,739.47 บาท
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับธุรกิจกองทุนรวมของทางเครือฟิลลิปในปี 2551 นั้น ตั้งเป้าหมายว่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่บริษัทมีเอยูเอ็มประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตนี้ส่วนใหญ่น่าจะมาจากการเติบโตของกองทุนประเภทกองทุนตราสารเงิน (มันนี่มาร์เกต) โดยเฉพาะกองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH)
สำหรับกองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH) นั้น ช่วงที่ผ่านมา สามารถให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ และนักลงทุนให้ความสนใจในการลงทุนในกองทุนประเภทนี้เนื่องมาจากกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากธนาคารพาณิชย์ แต่ยังมีสภาพคล่องคล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้กองทุนเปิด PCASH เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝาก หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงทุน รวมทั้งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้ลงทุนได้ ทั้งนี้กองทุนจะดำรงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชั่น ของกองทุน ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 6 เดือน
ด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น นายสุชายกล่าวว่า บลจ.ฟิลลิปเพิ่งเปิดบริการได้ไม่นาน ทำให้บริษัทไม่ตั้งเป้าที่จะแข่งขันกับบลจ.ขนาดใหญ่ หรือ บลจ.ที่มีฐานเป็นธนาคารพาณิชย์ เพราะบริษัทเหล่านั้นมีตัวแทนและอำนาจการขายมากกว่า แต่บริษัทจะเน้นสร้างผลตอบแทนของกองทุนที่ดีให้กับลูกค้ามากกว่า
สำหรับการออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (FIF) คาดว่าในอนาคตบริษัทจะมีโปรดักส์ประเภทดังกล่าวออกมาเพิ่มขึ้น โดยกองทุนใหม่ๆนั้น บริษัทโชว์จุดเด่นในเรื่องนโยบายการลงทุนที่น่าสนใจ มานำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทมีความสนใจที่จะออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างกำลังศึกษาสินทรัพย์อยู่ 1 โครงการ แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้
ขณะเดียวกันหลังจากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้นั้น ส่งผลให้ทางเครือฟิลลิปให้ความสนใจและเน้นการทำธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะการออกไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังพยายามเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินในต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดเป็นกลุ่มสินค้า (แพ็คเกจ) ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกคัาได้อย่างถูกต้อง หรือตรงกับความต้องการของนักลงทุนได้ดี
"ถ้าลูกค้าบอกเรา เอาอันนี้เราก็จะเอา ถ้าลูกค้าบอกเราไม่เอา เราก็ไม่เอา โดยเราจะเลือกมาให้เขาและบริหารผ่านไพรเวตฟันด์ แต่เราจะไม่ได้บริหารเอง แต่จะเป็นแบบฟันด์ ออน ฟันด์ (fund on fund) แต่ลูกค้าสามารถบอกความต้องการให้เราได้ โดยเราจะมีตัวเลือกให้ลูกค้าเลือก ซึ่งจะมีความคล่องตัวมากกกว่ากองทุนเอฟไอเอฟ" นายสุชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 บลจ.ฟิลลิปมีเอยูเอ็มจำนวน 558.99 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.04% ของจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการทั้งระบบ โดยมีกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการจำนวน 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ฟิลลิป หุ้นระยะยาว (P-LTF) ซึ่งในวันที่ 3 เมษายน 2551 มีขนาดกองทุน 6,383,648.92 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป บริหารเงิน (PCASH) มีขนาดกองทุน 196,271,854.95 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป เอเชีย แปซิฟิค (PAP) มีขนาดกองทุน 262,001,358.95 บาท , กองทุนเปิด ฟิลลิป ตราสารหนี้ (PFIX) มีขนาดกองทุน 85,704,492.96บาท และกองทุนเปิด ฟิลลิป ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (PFIXRMF) มีขนาดกองทุน 17,178,739.47 บาท