ตลาดตราสารหนี้ BEX ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์กับ Gretai Securities Market ตลาดรองตราสารหนี้ไต้หวัน แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในระยะยาว พร้อมจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้ง การอภิปรายเพื่อหาแนวทางจัดตั้งสถาบันวิจัยตราสารหนี้ไทยระหว่างวันที่ 13 - 14 มี.ค.นี้
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับนายเติ้ง เหยียน ลู่ (Daung-Yen Lu) ประธาน Gretai Securities Market ซึ่งเป็น ตลาดรองตราสารหนี้ไต้หวันในวันนี้ (13 มี.ค. 2551) เปิดเผยว่า การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง BEX กับ Gretai จะเน้นความร่วมมือพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยและไต้หวันระยะยาว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงองค์ความรู้ พัฒนาระบบการซื้อขาย โครงการวิจัย และโครงการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรม (Training Exchange) ซึ่งกรอบความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ทั้ง 2 ตลาดได้รับข้อมูลและผลประโยชน์ร่วมกันในทุกด้าน
“ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่จะนำประสบการณ์ แนวทางและองค์ความรู้สู่ความสำเร็จของตลาดตราสารหนี้ไต้หวันมาประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกเสาหลักที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย” นายปกรณ์กล่าว
นายเติ้ง เหยียน ลู่ ประธาน Gretai Securities Market กล่าวว่า ความร่วมมือของ 2 พันธมิตรในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในอนาคต โดยเฉพาะประเทศไทยที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนไต้หวันรู้จักและสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และตลาดตราสารหนี้ไทยมากขึ้น
สำหรับ ตลาดตราสารหนี้ไต้หวัน เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย มีมูลค่าการซื้อขายในตลาดรองโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ยประมาณ 2.8 แสนล้านบาทต่อวัน โดยตลาดตราสารหนี้ไต้หวันขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพราะมีกลไกและโครงสร้างตลาดตราสารหนี้ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังมีตลาดซื้อคืน (Repo-market) ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบที่สนับสนุนทั้งด้าน อุปสงค์ อุปทาน โครงสร้างการซื้อขาย และนโยบายภาครัฐที่เอื้อต่อการพัฒนา เช่น นโยบายภาษี เป็นต้น
ทั้งนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยมีพัฒนาการมากว่า 15 ปี โดยเริ่มจากการซื้อขายนอกตลาด หรือซื้อขายโดยการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่เรียกกันว่า โอทีซี ต่อมาตลาดตราสารหนี้ BEX ได้จัดทำระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์รองรับการซื้อขายสำหรับนักลงทุนบุคคลและสถาบัน โดยปัจจุบันมีมูลค่าตราสารหนี้จดทะเบียนใน BEX รวม 3.8 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 45 ของจีดีพี เติบโตร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปี 2549
นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน(13มี.ค.) ตลาดตราสารหนี้ BEX ได้จัดสัมมนา “Taiwan Fixed-Income Market: Experiences” ในวันที่ 13 - 14 มีนาคม ณ โรงแรมคอนราด โดยเชิญคณะผู้แทนจาก Gretai Securities Market มาเป็นวิทยากร เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง โดยเฉพาะด้านโครงสร้าง กลไก กฏระเบียบ ระบบการชำระราคาและส่งมอบ รวมทั้ง ตลาดซื้อคืน นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายเพื่อหาแนวทางจัดตั้งสถาบันวิจัยตราสารหนี้ไทย อันเป็นปัจจัยเสริมทางโครงสร้างที่สำคัญของตลาดตราสารหนี้ ไทยด้วย
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับนายเติ้ง เหยียน ลู่ (Daung-Yen Lu) ประธาน Gretai Securities Market ซึ่งเป็น ตลาดรองตราสารหนี้ไต้หวันในวันนี้ (13 มี.ค. 2551) เปิดเผยว่า การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง BEX กับ Gretai จะเน้นความร่วมมือพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยและไต้หวันระยะยาว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงองค์ความรู้ พัฒนาระบบการซื้อขาย โครงการวิจัย และโครงการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรม (Training Exchange) ซึ่งกรอบความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ทั้ง 2 ตลาดได้รับข้อมูลและผลประโยชน์ร่วมกันในทุกด้าน
“ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่จะนำประสบการณ์ แนวทางและองค์ความรู้สู่ความสำเร็จของตลาดตราสารหนี้ไต้หวันมาประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกเสาหลักที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย” นายปกรณ์กล่าว
นายเติ้ง เหยียน ลู่ ประธาน Gretai Securities Market กล่าวว่า ความร่วมมือของ 2 พันธมิตรในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในอนาคต โดยเฉพาะประเทศไทยที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนไต้หวันรู้จักและสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และตลาดตราสารหนี้ไทยมากขึ้น
สำหรับ ตลาดตราสารหนี้ไต้หวัน เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย มีมูลค่าการซื้อขายในตลาดรองโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ยประมาณ 2.8 แสนล้านบาทต่อวัน โดยตลาดตราสารหนี้ไต้หวันขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพราะมีกลไกและโครงสร้างตลาดตราสารหนี้ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังมีตลาดซื้อคืน (Repo-market) ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบที่สนับสนุนทั้งด้าน อุปสงค์ อุปทาน โครงสร้างการซื้อขาย และนโยบายภาครัฐที่เอื้อต่อการพัฒนา เช่น นโยบายภาษี เป็นต้น
ทั้งนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยมีพัฒนาการมากว่า 15 ปี โดยเริ่มจากการซื้อขายนอกตลาด หรือซื้อขายโดยการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่เรียกกันว่า โอทีซี ต่อมาตลาดตราสารหนี้ BEX ได้จัดทำระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์รองรับการซื้อขายสำหรับนักลงทุนบุคคลและสถาบัน โดยปัจจุบันมีมูลค่าตราสารหนี้จดทะเบียนใน BEX รวม 3.8 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 45 ของจีดีพี เติบโตร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปี 2549
นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน(13มี.ค.) ตลาดตราสารหนี้ BEX ได้จัดสัมมนา “Taiwan Fixed-Income Market: Experiences” ในวันที่ 13 - 14 มีนาคม ณ โรงแรมคอนราด โดยเชิญคณะผู้แทนจาก Gretai Securities Market มาเป็นวิทยากร เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง โดยเฉพาะด้านโครงสร้าง กลไก กฏระเบียบ ระบบการชำระราคาและส่งมอบ รวมทั้ง ตลาดซื้อคืน นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายเพื่อหาแนวทางจัดตั้งสถาบันวิจัยตราสารหนี้ไทย อันเป็นปัจจัยเสริมทางโครงสร้างที่สำคัญของตลาดตราสารหนี้ ไทยด้วย