หุ้นกลุ่มสื่อสารปีนี้ภาพรวมสดใส ผู้จัดการกองทุนสนใจเก็บเข้าพอร์ตเพิ่มขึ้น หวังช่วยสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดี เหตุรับอานิสงส์จากปัจจัยการเมืองและความคืบหน้าในเรื่องการขอใบอุนญาตใหม่ที่ช่วยสนับสนุน ผลักดันให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการเติบโตของหุ้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมว่า หุ้นกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นในปีนี้ เนื่องจากในภาพรวมถือว่ากลุ่มธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคมและสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค (consumption) น่าจะมีการขยายตัวตามการใช้งานและความต้องการของประชาชน อีกทั้งต้องยอมรับว่าในปีนี้ถือเป็นรอบของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทได้ทำการลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้รัฐบาลใหม่มีนโยบายในเรื่องประชานิยมซึ่งจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่รากหญ้า ดังนั้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารฯ จะได้รับอานิสงส์ในเรื่องดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามจากการติดตามข้อมูลมาโดยตลอดพบว่าหุ้นกลุ่มนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเช่นกันรวมทั้งหุ้นของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT และ
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ที่มีแนวโน้มการเติบดีขึ้น ดูได้จากผลประกอบการที่ผ่านมา และแนวโน้มของธุรกิจ
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า หุ้นกลุ่มสื่อสารถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุนมาเก็บไว้ในพอร์ต เพราะนอกจากที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีแล้ว การที่พรรคพลังปาระชาชนมาเป็นรัฐบาล และการที่อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาประเทศไทย เพื่อสู้คดีความล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหุ้นกลุ่มนี้ในระยะสั้นอีกด้วย โดยเฉพาะหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่า หุ้นกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น ในเรื่องต้นทุนได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของค่าเงินบาท เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าเสื่อมของค่าอุปกรณ์คมนาคมซึ่งเป็นการนำเข้า จึงทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดลง ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมมีการเติบโตสอดคล้องกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มดังกล่าวยังได้รับข้อดีในเรื่องต้นทุนจากใบอนุญาตใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงประมาณ 7% และต้นทุนจากการใช้ความถี่ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา รวมทั้งเงินลงทุนในเรื่อง 3G ที่จะลดลงอย่างน้อยประมาณ 20%
“ในไตรมาสที่ผ่านมา กลุ่มสื่อสารมีการเติบตีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในเรื่องของค่าใช่จ่ายด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น แม้มีความกังวลว่าอุตสาหกรรมใกล้ถึงภาวะอิ่มตัว แต่เรายังเชื่อว่าโดยภาพรวมรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงเติบโตตามทิศทางของ GDP ต่อไป”นักวิเคราะห์ กล่าว
สำหรับในภาพรวม ADVANC มีความโดดเด่นที่สุด เนื่องจากมีความพร้อมในด้านเงินลงทุนในธุรกิจ 3G มากว่ารายอื่น รองลงมาได้แก่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ที่เชื่อว่ามีความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มได้อย่างไม่มีปัญหาเพื่อนำมาลงทุนในธุรกิจดังกล่าว แต่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE จะเป็นบริษัทที่ประสบปัญหาในเรื่องนี้มากที่สุด โดยอาจต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อส่วนได้เสียของ TRUE ใน TrueMove ลดลงได้
ทั้งนี้ราคาหลักทรัพย์ของกลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม มีการปรับตัวค่อนข้างด้อยกว่าตลาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2549 -2550) โดยสาเหตุสำคัญมาจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับแก้เนื้อหาของสัญญาร่วมการงาน หรือสัญญาสัมปทานในอดีต ท่ามกลางกระแสของการตรวจสอบความถูกต้องของการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ขณะเดียวกันอายุของสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการแต่ละลายที่ลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกังวลต่อการลงทุนและการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์
อย่างไรก็ตามคาดว่าความกังวลดังกล่าวจะลดลงเนื่องจากการออกใบอนุญาตในการดำเนินงานใหม่ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้จริงไม่เกินไตรมาส2/2552 ขณะเดียวกันการที่ผู้ให้บริการทุกรายยื่นขอจัดสรรความถี่ใหม่ พร้อมขอใบอนุญาตให้ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แม้จะไม่เกิดผลดีจากการออกใบอนุญาตใหม่ แม้จะไม่เกิดผลดีขึ้นมาได้จริง แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เหมาะสม ซึ่งจะเอื้อต่อการดำเนินงานของเอกชนมากขึ้น ประกอบกับท่าทีของ ทีโอที และกสท.ที่อ่อนลงและค่อนข้างจะเป็นมิตรต่อเอกชนมากขึ้น ตจะเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในระยะนับจากนี้
“ในช่วงต้นปืที่ผ่านมา DTAC มีผลประกอบการทีออกมาอย่างโดดเด่น เนื่องจากไม่มีรายการพิเศษ ประกอบโปรโมชั่นค่าบริการที่เหนี่ยวนำให้เกิดการโทรในโครงการข่ายมากขึ้น และลดการโทรนอกเครือข่าย ช่วยให้ค่าใช้จ่าย IC ลดลง ส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจัยต่อจากนี้ของกลุ่มสื่อสารจะอยู่ที่รายงานเรื่อง3G ในเดือนมีนาคมนี้ และการใช้เวลารับฟังความคิดเห็นในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2551 ก่อนจะสรุปกฏเกณฑ์เพื่อการออกใบอนุญาตและการให้บริการ 3 G ซึ่งตรงนี้จะทำให้ ADVANC มีความโดดเด่นขึ้นมากสุด”
ขณะที่ SATTEL คาดว่ารายได้ของ iPSATR จะมีรายการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราที่รวมดเร็วจากยอดขาย UT ที่เพิ่มขึ้นอีก 1 แสนชุดในปีนี้ หรือเท่าตัวจากผู้ใช้ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับอัตราการใช้งานแบนด์วิชที่จะเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 12% อีกทั้งในช่วงนี้ บริษัทอยู่ระหว่างขยายโครงข่ายภาคพื้นดินไอพีสตาร์เพิ่มอีก 5 แห่งในอินเดีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ เกาหลี อินโดนิเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มาการใช้อินเตอร์ในการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ภายในครึ่งปีแรกนี้ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าธุรกิจของบริษัทในครึ่งปีหลังจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
นอกจากนี้การหมดอายุของดาวเทียม ไทยคม 1 และ ไทยคม 2 ที่ใกล้หมดอายุลงในช่วงธันวาคม ปี 2551 และ กรกฎาคม ปี 2552 จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก เนื่องจากพื้นที่การให้บริการของทั้ง 2 ดาวเทียมอยู่ในขอบเขตของดาวเทียมไทยคม 5 ขณะเดียวกันจะดีขึ้นจากต้นทุนในเรื่องค่าเสื่อมราคาที่จะปรับตัวลดลง
นายเจิดพันธุ์ นิธยายน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการเติบโตของหุ้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมว่า หุ้นกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นในปีนี้ เนื่องจากในภาพรวมถือว่ากลุ่มธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคมและสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค (consumption) น่าจะมีการขยายตัวตามการใช้งานและความต้องการของประชาชน อีกทั้งต้องยอมรับว่าในปีนี้ถือเป็นรอบของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทได้ทำการลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้รัฐบาลใหม่มีนโยบายในเรื่องประชานิยมซึ่งจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่รากหญ้า ดังนั้นกลุ่มธุรกิจสื่อสารฯ จะได้รับอานิสงส์ในเรื่องดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามจากการติดตามข้อมูลมาโดยตลอดพบว่าหุ้นกลุ่มนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเช่นกันรวมทั้งหุ้นของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT และ
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ที่มีแนวโน้มการเติบดีขึ้น ดูได้จากผลประกอบการที่ผ่านมา และแนวโน้มของธุรกิจ
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า หุ้นกลุ่มสื่อสารถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุนมาเก็บไว้ในพอร์ต เพราะนอกจากที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีแล้ว การที่พรรคพลังปาระชาชนมาเป็นรัฐบาล และการที่อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาประเทศไทย เพื่อสู้คดีความล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหุ้นกลุ่มนี้ในระยะสั้นอีกด้วย โดยเฉพาะหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่า หุ้นกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น ในเรื่องต้นทุนได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของค่าเงินบาท เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าเสื่อมของค่าอุปกรณ์คมนาคมซึ่งเป็นการนำเข้า จึงทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดลง ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมมีการเติบโตสอดคล้องกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มดังกล่าวยังได้รับข้อดีในเรื่องต้นทุนจากใบอนุญาตใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงประมาณ 7% และต้นทุนจากการใช้ความถี่ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา รวมทั้งเงินลงทุนในเรื่อง 3G ที่จะลดลงอย่างน้อยประมาณ 20%
“ในไตรมาสที่ผ่านมา กลุ่มสื่อสารมีการเติบตีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในเรื่องของค่าใช่จ่ายด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น แม้มีความกังวลว่าอุตสาหกรรมใกล้ถึงภาวะอิ่มตัว แต่เรายังเชื่อว่าโดยภาพรวมรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงเติบโตตามทิศทางของ GDP ต่อไป”นักวิเคราะห์ กล่าว
สำหรับในภาพรวม ADVANC มีความโดดเด่นที่สุด เนื่องจากมีความพร้อมในด้านเงินลงทุนในธุรกิจ 3G มากว่ารายอื่น รองลงมาได้แก่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ที่เชื่อว่ามีความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มได้อย่างไม่มีปัญหาเพื่อนำมาลงทุนในธุรกิจดังกล่าว แต่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE จะเป็นบริษัทที่ประสบปัญหาในเรื่องนี้มากที่สุด โดยอาจต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อส่วนได้เสียของ TRUE ใน TrueMove ลดลงได้
ทั้งนี้ราคาหลักทรัพย์ของกลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม มีการปรับตัวค่อนข้างด้อยกว่าตลาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2549 -2550) โดยสาเหตุสำคัญมาจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับแก้เนื้อหาของสัญญาร่วมการงาน หรือสัญญาสัมปทานในอดีต ท่ามกลางกระแสของการตรวจสอบความถูกต้องของการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ขณะเดียวกันอายุของสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการแต่ละลายที่ลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกังวลต่อการลงทุนและการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์
อย่างไรก็ตามคาดว่าความกังวลดังกล่าวจะลดลงเนื่องจากการออกใบอนุญาตในการดำเนินงานใหม่ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้จริงไม่เกินไตรมาส2/2552 ขณะเดียวกันการที่ผู้ให้บริการทุกรายยื่นขอจัดสรรความถี่ใหม่ พร้อมขอใบอนุญาตให้ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แม้จะไม่เกิดผลดีจากการออกใบอนุญาตใหม่ แม้จะไม่เกิดผลดีขึ้นมาได้จริง แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เหมาะสม ซึ่งจะเอื้อต่อการดำเนินงานของเอกชนมากขึ้น ประกอบกับท่าทีของ ทีโอที และกสท.ที่อ่อนลงและค่อนข้างจะเป็นมิตรต่อเอกชนมากขึ้น ตจะเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในระยะนับจากนี้
“ในช่วงต้นปืที่ผ่านมา DTAC มีผลประกอบการทีออกมาอย่างโดดเด่น เนื่องจากไม่มีรายการพิเศษ ประกอบโปรโมชั่นค่าบริการที่เหนี่ยวนำให้เกิดการโทรในโครงการข่ายมากขึ้น และลดการโทรนอกเครือข่าย ช่วยให้ค่าใช้จ่าย IC ลดลง ส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจัยต่อจากนี้ของกลุ่มสื่อสารจะอยู่ที่รายงานเรื่อง3G ในเดือนมีนาคมนี้ และการใช้เวลารับฟังความคิดเห็นในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2551 ก่อนจะสรุปกฏเกณฑ์เพื่อการออกใบอนุญาตและการให้บริการ 3 G ซึ่งตรงนี้จะทำให้ ADVANC มีความโดดเด่นขึ้นมากสุด”
ขณะที่ SATTEL คาดว่ารายได้ของ iPSATR จะมีรายการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราที่รวมดเร็วจากยอดขาย UT ที่เพิ่มขึ้นอีก 1 แสนชุดในปีนี้ หรือเท่าตัวจากผู้ใช้ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับอัตราการใช้งานแบนด์วิชที่จะเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 12% อีกทั้งในช่วงนี้ บริษัทอยู่ระหว่างขยายโครงข่ายภาคพื้นดินไอพีสตาร์เพิ่มอีก 5 แห่งในอินเดีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ เกาหลี อินโดนิเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มาการใช้อินเตอร์ในการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ภายในครึ่งปีแรกนี้ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าธุรกิจของบริษัทในครึ่งปีหลังจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
นอกจากนี้การหมดอายุของดาวเทียม ไทยคม 1 และ ไทยคม 2 ที่ใกล้หมดอายุลงในช่วงธันวาคม ปี 2551 และ กรกฎาคม ปี 2552 จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก เนื่องจากพื้นที่การให้บริการของทั้ง 2 ดาวเทียมอยู่ในขอบเขตของดาวเทียมไทยคม 5 ขณะเดียวกันจะดีขึ้นจากต้นทุนในเรื่องค่าเสื่อมราคาที่จะปรับตัวลดลง