บลจ.เอ็มเอฟซี ทยอยยุบรวมกองทุนเก่าที่ราคาหน่วยลงทุนต่ำกว่า 10 บาท หวังโยกเงินมาใส่กองทุนหลักเพื่อดันเอ็นเอวีโตเพิ่ม อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหาร คาดประมาณ 2-3ปี แล้วเสร็จ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย ขณะเดียวกันเชื่อในอนาคตก.ล.ต.จะผ่อนปรนเกณฑ์ต่างชาติถือหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ได้ไม่เกิน 49% แน่
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) เปิดเผยถึงผลดำเนินงานของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นในช่วงแรกตั้งแต่พ.ศ.2518 ว่าผลดำเนินของกองทุนเหล่านี้เป็นไปตามสภาวะปกติของผู้จัดการกองทุนที่เปิดดำเนินงานมาถึง 33 ปี จึงมีกองทุนระหว่างระยะเวลาที่ดำเนินงานออกเยอะมาก โดย ณ ปัจจุบันบริษัทมีกองทุนรวมทั้งสิ้น 80 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมในประเทศจำนวน 60 กองทุน และกองทุนต่างประเทศจำนวน 20 กองทุน ซึ่งกองทุนในช่วงการดำเนินธุรกิจของบริษัทในช่วงแรกนั้นมีอยู่หลายกองทุนแต่ล้วนทำผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหน่วยและบริษัทได้ดี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตภาวะเศรษฐกิจปี 2540 กองทุนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกันทำให้ผลตอบแทน และผลการดำเนินงานในบางกองทุนไม่เป็นไปดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ขณะเดียวกันหลังจากผ่านพ้นวิกฤตปัญหาทางเศรษฐกิจมา กองทุนเหล่านี้เริ่มฟื้นตัว และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี เพียงแต่ว่าตัวเลขการเติบของมูลค่าหน่วยลงทุนยังต่ำกว่า 10.00 บาท โดยบริษัทได้ทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่นักลักทุนมาโดยตลอด แต่ยังติดขัดในเรื่องจังหวะขั้นตอน วัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาคือ ต้องการให้นักลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับผลกระทบน้อยสุดจากการแก้ไข ซึ่งวิธีที่บริษัทดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือการยุบรวมกองทุนเหล่านี้จากหลายกองมาเป็นกองเดียวกันนั่นเอง
สำหรับ การยุบรวมกองทุนเก่าเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุมัติจากู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งรายย่อย และสถาบันด้วย เพราะบางกองทุนหากมีการยุบรวมแล้ว อาจจะมีผู้ถือหน่วยบางรายสูญเสียผลประโยชน์ได้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้จำเป็นต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน แม้อาจจะดูล่าช้าไปบ้างก็ตาม
ส่วนเป้าหมายหลักในการแก้ไขเรื่องดังกล่าว บริษัทมีแผนที่จะยุบรวมกองทุนรวมเก่าเหล่าเข้าไปรวมกับหน่วยลงทุนในกองทุนหลักแทน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนที่ดีเพิ่ม โดยในอนาคตเรื่องนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแผนงานที่บริษัทวางเป้าหมายไว้ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกองทุนภายใต้การบริหารน้อยลง แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
“แผนดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนนั้นๆ ก่อน บริษัทจึงจะสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นเรื่องนี้จะล่าช้า หรือรวดเร็วขึ้นต้องขึ้นอยู่กับการพิจาณาของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นอันดับแรก เนื่องจากบางกองทุนมีรายใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นไว้มาก ซึ่งหากทำการยุบรวมเค้าอาจต้องทำการตัดทิ้ง หรือยอมเสียผลประโยชน์ในบางส่วนที่จะได้รับออกไป ดังนั้นจึงทำให้เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เวลา แต่การดำเนินงานในส่วนนี้เราเริ่มทำมาได้ประมาณ 6 –7 เดือนมาแล้ว ซึ่งได้มีบางกองทุนที่ทำการยุบรวมกับกองทุนหลักไปแล้วเช่นกัน ประมาณ 2-3 กองทุน”นายพิชิต กล่าว
นายพิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การยุบรวมกองทุนนอกจากจะคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หากสามารถทำได้จริงยังเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนของบริษัทด้วย เนื่องการจัดตั้งกองทุนทุกประเภทหรือทุกกองทุนล้วนมีค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารกองทุนนั้นๆทั้งสิ้น ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะมีมูลค่าโครงการเท่าไรก็ตาม ดังนั้นถ้าสามารถยุบรวมกองทุนได้จะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ตั้งเป้าที่จะทำการยุบรวมกองทุนเก่าให้ได้ประมาณปี 3-4 กองทุน และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีในการยุบรวมกองทุนเก่าเหล่านี้ให้แล้วเสร็จ ขณะเดียวกันบริษัทขอยืนยันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนเหล่านี้ว่า บริษัทไม่ได้เพิกเฉยต่อกองทุนเหล่านี้ โดยยังคงบริหารและคอยดูแลผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหน่วยดังเช่นแรกเริ่มการจัดตั้งกองทุนในครั้งแรกเหมือนเดิม
ต่างชาติถือกองอสังหาฯ49%ไม่น่าวิตก
ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอขายการจัดสรรและการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) โดยกำหนดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติไว้ไม่เกิน 49% ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดเพื่อไม่ให้มีการใช้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นช่องทางหลีกเลี่ยงกฏหมายเกี่ยวกับที่ดินนั้น กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ดีและมีเรื่องที่เป็นอุปสรรค โดยในส่วนเรื่องดีคือ จะทำให้ผลถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนอุปสรรค หมายถึงเรื่องการจำกัดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในอสังหาริมทรัพย็ได้ไม่เกิน 49% ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำหรับผู้จัดตั้งกองทุนในเรื่องการหาแหล่งระดมทุนนั่นเอง
ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็น กองทุนจะมีลักษณะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ดูแลและบริหารโครงการ ดังนั้นในเรื่องความกังวลว่านักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นมากเกินไปนั้น หรืออาศัยกองทุนประเภทนี้เป็นช่องทางหลักเลี่ยงกฏหมายจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าวิตก และเชื่อว่าต่อไปในอนาคตก.ล.ต.จะหาทางแก้ไข หรือผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวแน่
“ผมคิดว่าก.ล.ต.มีเหตุผลในการกำหนดเกณฑ์เรื่องนี้อยู่ แต่เชื่อว่าในระยะยาวเรื่องดังกล่าวจะถูกทำการผ่อนปรนแน่ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดต่างประเทศย่อมที่จะไม่มีสิทธิหุ้นได้เกิน 50%”
ส่วนการอนุญาตให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กู้ยืมเงินได้ไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเพื่อใช้ในการดำเนินการต่างๆนั้น นายพิชิต กล่าวว่า การกู้ยืมเงินอาจจะช่วยทำให้กองทุนได้รับผลตอบแทนดีขึ้น แต่ต้องขึ้นส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้ กับผลตอบแทนกองทุนด้วย เพราะส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาเฉลี่ยาต่อผู้ถือหน่วยลงทุนนั่นเอง
ขณะเดียวกัน บริษัทประเมินว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศมีความน่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศได้ปรับตัวลดลง เพราะปัญหาซับไพรม์ แต่ทุกอย่างต้องอยุ่กับการตัดสินใจของผู้ลงทุนด้วย เนื่องจากผู้ลงทุนบางรายอาจมีความกังวลในปัญหาดังกล่าวอยู่มาก
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ บริษัทพร้อมที่จะเดินหน้าจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งจะเป็นกองขนาดเล็กแทน เพื่ออาศัยฐานนักลงทุนในประเทศในการระดมทุนเป็นหลักมูลค่าประมาณ 1,000 – 1,500 ล้านบาท เพราะการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศช่วงนี้ยังไม่สามารถทำไม่ได้ในระยะเวลาสั้น ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่นั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องรอการปลดล็อกมาตรการกันสำรอง30%จากภาครัฐบาลนั่นเอง
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) เปิดเผยถึงผลดำเนินงานของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นในช่วงแรกตั้งแต่พ.ศ.2518 ว่าผลดำเนินของกองทุนเหล่านี้เป็นไปตามสภาวะปกติของผู้จัดการกองทุนที่เปิดดำเนินงานมาถึง 33 ปี จึงมีกองทุนระหว่างระยะเวลาที่ดำเนินงานออกเยอะมาก โดย ณ ปัจจุบันบริษัทมีกองทุนรวมทั้งสิ้น 80 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมในประเทศจำนวน 60 กองทุน และกองทุนต่างประเทศจำนวน 20 กองทุน ซึ่งกองทุนในช่วงการดำเนินธุรกิจของบริษัทในช่วงแรกนั้นมีอยู่หลายกองทุนแต่ล้วนทำผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหน่วยและบริษัทได้ดี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตภาวะเศรษฐกิจปี 2540 กองทุนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกันทำให้ผลตอบแทน และผลการดำเนินงานในบางกองทุนไม่เป็นไปดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ขณะเดียวกันหลังจากผ่านพ้นวิกฤตปัญหาทางเศรษฐกิจมา กองทุนเหล่านี้เริ่มฟื้นตัว และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี เพียงแต่ว่าตัวเลขการเติบของมูลค่าหน่วยลงทุนยังต่ำกว่า 10.00 บาท โดยบริษัทได้ทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่นักลักทุนมาโดยตลอด แต่ยังติดขัดในเรื่องจังหวะขั้นตอน วัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาคือ ต้องการให้นักลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับผลกระทบน้อยสุดจากการแก้ไข ซึ่งวิธีที่บริษัทดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือการยุบรวมกองทุนเหล่านี้จากหลายกองมาเป็นกองเดียวกันนั่นเอง
สำหรับ การยุบรวมกองทุนเก่าเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุมัติจากู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งรายย่อย และสถาบันด้วย เพราะบางกองทุนหากมีการยุบรวมแล้ว อาจจะมีผู้ถือหน่วยบางรายสูญเสียผลประโยชน์ได้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้จำเป็นต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน แม้อาจจะดูล่าช้าไปบ้างก็ตาม
ส่วนเป้าหมายหลักในการแก้ไขเรื่องดังกล่าว บริษัทมีแผนที่จะยุบรวมกองทุนรวมเก่าเหล่าเข้าไปรวมกับหน่วยลงทุนในกองทุนหลักแทน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนที่ดีเพิ่ม โดยในอนาคตเรื่องนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแผนงานที่บริษัทวางเป้าหมายไว้ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกองทุนภายใต้การบริหารน้อยลง แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
“แผนดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนนั้นๆ ก่อน บริษัทจึงจะสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นเรื่องนี้จะล่าช้า หรือรวดเร็วขึ้นต้องขึ้นอยู่กับการพิจาณาของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นอันดับแรก เนื่องจากบางกองทุนมีรายใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นไว้มาก ซึ่งหากทำการยุบรวมเค้าอาจต้องทำการตัดทิ้ง หรือยอมเสียผลประโยชน์ในบางส่วนที่จะได้รับออกไป ดังนั้นจึงทำให้เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เวลา แต่การดำเนินงานในส่วนนี้เราเริ่มทำมาได้ประมาณ 6 –7 เดือนมาแล้ว ซึ่งได้มีบางกองทุนที่ทำการยุบรวมกับกองทุนหลักไปแล้วเช่นกัน ประมาณ 2-3 กองทุน”นายพิชิต กล่าว
นายพิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การยุบรวมกองทุนนอกจากจะคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หากสามารถทำได้จริงยังเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนของบริษัทด้วย เนื่องการจัดตั้งกองทุนทุกประเภทหรือทุกกองทุนล้วนมีค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารกองทุนนั้นๆทั้งสิ้น ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะมีมูลค่าโครงการเท่าไรก็ตาม ดังนั้นถ้าสามารถยุบรวมกองทุนได้จะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ตั้งเป้าที่จะทำการยุบรวมกองทุนเก่าให้ได้ประมาณปี 3-4 กองทุน และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีในการยุบรวมกองทุนเก่าเหล่านี้ให้แล้วเสร็จ ขณะเดียวกันบริษัทขอยืนยันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนเหล่านี้ว่า บริษัทไม่ได้เพิกเฉยต่อกองทุนเหล่านี้ โดยยังคงบริหารและคอยดูแลผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหน่วยดังเช่นแรกเริ่มการจัดตั้งกองทุนในครั้งแรกเหมือนเดิม
ต่างชาติถือกองอสังหาฯ49%ไม่น่าวิตก
ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอขายการจัดสรรและการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) โดยกำหนดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติไว้ไม่เกิน 49% ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดเพื่อไม่ให้มีการใช้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นช่องทางหลีกเลี่ยงกฏหมายเกี่ยวกับที่ดินนั้น กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ดีและมีเรื่องที่เป็นอุปสรรค โดยในส่วนเรื่องดีคือ จะทำให้ผลถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนอุปสรรค หมายถึงเรื่องการจำกัดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในอสังหาริมทรัพย็ได้ไม่เกิน 49% ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำหรับผู้จัดตั้งกองทุนในเรื่องการหาแหล่งระดมทุนนั่นเอง
ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็น กองทุนจะมีลักษณะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ดูแลและบริหารโครงการ ดังนั้นในเรื่องความกังวลว่านักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นมากเกินไปนั้น หรืออาศัยกองทุนประเภทนี้เป็นช่องทางหลักเลี่ยงกฏหมายจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าวิตก และเชื่อว่าต่อไปในอนาคตก.ล.ต.จะหาทางแก้ไข หรือผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวแน่
“ผมคิดว่าก.ล.ต.มีเหตุผลในการกำหนดเกณฑ์เรื่องนี้อยู่ แต่เชื่อว่าในระยะยาวเรื่องดังกล่าวจะถูกทำการผ่อนปรนแน่ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดต่างประเทศย่อมที่จะไม่มีสิทธิหุ้นได้เกิน 50%”
ส่วนการอนุญาตให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กู้ยืมเงินได้ไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเพื่อใช้ในการดำเนินการต่างๆนั้น นายพิชิต กล่าวว่า การกู้ยืมเงินอาจจะช่วยทำให้กองทุนได้รับผลตอบแทนดีขึ้น แต่ต้องขึ้นส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้ กับผลตอบแทนกองทุนด้วย เพราะส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาเฉลี่ยาต่อผู้ถือหน่วยลงทุนนั่นเอง
ขณะเดียวกัน บริษัทประเมินว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศมีความน่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศได้ปรับตัวลดลง เพราะปัญหาซับไพรม์ แต่ทุกอย่างต้องอยุ่กับการตัดสินใจของผู้ลงทุนด้วย เนื่องจากผู้ลงทุนบางรายอาจมีความกังวลในปัญหาดังกล่าวอยู่มาก
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ บริษัทพร้อมที่จะเดินหน้าจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งจะเป็นกองขนาดเล็กแทน เพื่ออาศัยฐานนักลงทุนในประเทศในการระดมทุนเป็นหลักมูลค่าประมาณ 1,000 – 1,500 ล้านบาท เพราะการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศช่วงนี้ยังไม่สามารถทำไม่ได้ในระยะเวลาสั้น ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่นั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องรอการปลดล็อกมาตรการกันสำรอง30%จากภาครัฐบาลนั่นเอง