ในที่สุดประเทศไทยก็ได้มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว หลังจากเมื่อเย็นวานนี้(6ก.พ.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ซึ่งหลายฝ่ายกำลังเฝ้ารอคอยชมฝีมือคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ว่าจะงัดเอายาขนานไหนมาแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังอาจเป็นปัญหาคาใจ หรืออาจจะสร้างข้อขัดข้องใจให้กับประชาชนในภายหลัง นั่นคือ ทรัพย์สิน-สมบัติเงินทองต่างๆ โดยเฉพาะหุ้นของตัวรัฐมนตรีนั่นเอง เพราะเรื่องดังกล่าวสามารถโยกคลอนเก้าอี้รัฐมนตรีที่นั่งอยู่ได้ หากพบว่าการส่งบัญชีทรัพย์สินมีการซุกซ่อน หรือแฝงนัยสำคัญเอาไว้เป็นปริศนา ซึ่งได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับหลายๆคน ในรัฐบาลชุดก่อนๆ รวมถึงผู้นำประเทศในอดีต
คำถามข้อต่อไป "แล้วจะมีวิธีใดล่ะ ที่จะจัดการปัญหาดังกล่าวได้?" คำตอบสำหรับเรื่องนี้ วันนี้ทีมงาน ผู้จัดการกองทุน ขอเสนอทางเลือกให้แก่นักการเมืองทุกท่าน ไม่เฉพาะแต่ตัวรัฐมนตรี นั่นคือ.....หากมีเงิน ทองมากมาย มีหุ้นเป็นล้านๆตัวแล้วไม่อุ่นใจ กลัวจะโดนซักฟอก ก็มาฝากไว้กับบริษัทจัดการกองทุน เพื่อนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์)จะดีกว่า เพราะดูเหมือนนี่คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด มากกว่าการโยกหุ้น โยกเงินไปฝากภรรยา ฝากญาติ หรือคนขับรถ เพราะยังงัยท้ายที่สุดก็ต้องโดนผู้ตรวจสอบ หรือมือดีนำเรื่องนี้มาโจมตี
การโอนหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือรัฐมนตรีในส่วนที่เกินจากร้อยละ 5 ตามที่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี มาให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะเป็นการสร้างความโปร่งใสให้กับสังคมได้รับรู้ และส่งผลดีต่อการปกครอง รวมถึงผลดีต่อรัฐมนตรีเองที่ไม่จำเป็นต้องเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทน ซึ่งทางหลายบลจ.มีความพร้อมที่จะเข้าไปบริหารในส่วนนี้ให้ แต่อย่างไรก็ตามข้อตกลงที่จะให้บริษัทเข้าไปดูแลในเรื่องนี้จะต้องมาจากความพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย และกองไพรเวทฟันด์เองก็มีเงื่อนไข และกรอบในการลงทุนอยู่เช่นกัน
"การโอนหุ้นจากรัฐมนตรีในส่วนที่เกินจากจำนวน 5% ตามที่ พ.ร.บ. การจัดการหุ้นของรัฐมนตรี มาจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคลนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้มีความโปร่งใส และไม่เป็นการเสียโอกาสได้รับผลตอบแทนในขณะที่ตนต้องกลายเป็นผู้ที่เสียสละเข้าไปทำงานให้กับบ้านเมือง แต่การลงทุนนี้จะต้องเกิดจากความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งต้องมีการตกลงลายละเอียดอีกครั้ง อีกทั้งบลจ.จะไม่ตกลงกับลูกค้าในกรณีที่ผิดไปจากที่พ.ร.บ.มีการกำหนดไว้”แหล่งข่าววงการกองทุนรวม ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแง่ธุรกิจแล้วทางบลจ.ไม่ได้มีเป้าหมายเป็นพิเศษในการเข้าไปดูแลกองทุนประเภทนี้ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นลูกค้าที่เข้าถึงได้ยากมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพสูงก็ตาม แต่ก็พร้อมยินดีที่จะทำให้หากจะรัฐมนตรีคนใดที่ต้องการโชว์ความบริสุทธิ์แสดงความต้องการเข้ามา โดยการบริหารเงินในส่วนของไพรเวทฟันด์นั้นจะมีเงื่อนไขตามเดิมไม่ได้มีอะไรพิเศษเพิ่มเติมเข้ามามากกว่ากองไพรเวทฟันด์ทั่วไปที่ดูแลอยู่
สำหรับ การตรวจสอบการบริหารของกองไพรเวทฟันด์นั้น เรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีทั้งหลายไม่ต้องกังวล เพราะทางคณะกรรมการหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะมีมาตรการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา โดยบริษัทจัดการกองทุนมีหน้าที่จะต้องแจ้งให้ก.ล.ต.ทราบในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปลงทุนของกองทุนดังกล่าวอยู่เสมอ เรียกได้ว่าโปร่งใสสุดๆ และเชื่อว่ากองทุนลักษณะนี้จะมีเกณฑ์การตรวจสอบที่พิเศษมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีหลายบลจ.ที่สนใจและพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆของภาครัฐไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. หรือหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ หากมีลูกค้าประเภทนี้เข้ามาอยู่ในความดูแล
"การถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นเกินร้อยละ 5 ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และถ้าอยากให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องนี้เชื่อว่าจะมีหลายบลจ.ที่พร้อมจะดำเนินการให้ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดแสดงความต้องการมาถึงบริษัท ซึ่งที่ผ่านมากลับมีการโอนให้ลูก หรือบุคคลที่ใกล้ชิดแทนเท่ากับเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ไม่โปร่งใส หรือเรียกได้ว่า หาคนทำเป็นตัวอย่างที่ดีได้ยาก แต่ถ้ามีมาจริงก็ต้องยกนิ้วให้กับฮีโร่คนแรกเลย"แหล่งข่าว กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้มีหลายบริษัทจัดการกองทุนที่แสดงความสนใจและพร้อมที่จะเข้ามารับบริหารการลงทุนในหุ้นของนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น แต่ทุกบลจ.ล้วนตั้งเงื่อนไขไว้ว่าจะต้องมีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อให้บลจ.สามารถดูแลเองได้ทั้งหมดในเรื่องของการลงทุน และสามารถสับเปลี่ยนซื้อขายได้ตามสถานการณ์ตามข้อตกลง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรายงานทุกอย่างให้กับผู้ลงทุน หรือรัฐมนตรีท่านนั้นทราบอยู่ตลอดเวลา
"การบริหารจัดการหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การบริหารเราจะมีอำนาจเต็มที่ เช่นถ้าเข้าถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เราก็สามารถขายหุ้นตัวนี้แล้วนำไปซื้ออันอื่นได้ รัฐมนตรีจะต้องยอมรับในข้อตกของเรา ซึ่งเราจะทำให้ดีที่สุด หลังจากหุ้นทุกตัวถูกโอนเป็นชื่อของเรา และเขาก็มีหน้าที่แจ้งป.ป.ช. ว่ามีเงินให้บลจ.บริหารให้เท่านั้น"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 มีใจความสำคัญระบุว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือบริษัท ในกรณีที่เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบได้ไม่เกินร้อยละ 5 หรือรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น
ขณะที่ มาตรา 5 มีใจความสำคัญระบุว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 5 ตามมาตราที่ 4 จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ทราบภายใน 30 วัน และดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลที่มีอำนาจจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฏหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 90 วัน
สุดท้ายนี้ แนวทางดังกล่าว จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคล แต่สิ่งที่ประชาชนปราถนานั่นคือ การมีรัฐมนตรีที่ขาวสะอาด ไม่มีเจตนาแฝงในทางทุจริต หากสิ่งใดที่ผู้ปวารณาตนขอเป็นผู้เสียสละทำทุกอย่างเพื่อชาติบ้านเมือง ปราณนาที่จะชนะใจมหาชนแล้ว ก็ควรไม่สร้างสิ่งติดขัด หรือค้างคาใจให้สังคมสงสัยไว้ด้วย ดังนั้น การฝากเงินกับผู้จัดการกองทุนให้บริหารแทน น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่จะเข้ามาบริหารบ้านเมือง
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังอาจเป็นปัญหาคาใจ หรืออาจจะสร้างข้อขัดข้องใจให้กับประชาชนในภายหลัง นั่นคือ ทรัพย์สิน-สมบัติเงินทองต่างๆ โดยเฉพาะหุ้นของตัวรัฐมนตรีนั่นเอง เพราะเรื่องดังกล่าวสามารถโยกคลอนเก้าอี้รัฐมนตรีที่นั่งอยู่ได้ หากพบว่าการส่งบัญชีทรัพย์สินมีการซุกซ่อน หรือแฝงนัยสำคัญเอาไว้เป็นปริศนา ซึ่งได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับหลายๆคน ในรัฐบาลชุดก่อนๆ รวมถึงผู้นำประเทศในอดีต
คำถามข้อต่อไป "แล้วจะมีวิธีใดล่ะ ที่จะจัดการปัญหาดังกล่าวได้?" คำตอบสำหรับเรื่องนี้ วันนี้ทีมงาน ผู้จัดการกองทุน ขอเสนอทางเลือกให้แก่นักการเมืองทุกท่าน ไม่เฉพาะแต่ตัวรัฐมนตรี นั่นคือ.....หากมีเงิน ทองมากมาย มีหุ้นเป็นล้านๆตัวแล้วไม่อุ่นใจ กลัวจะโดนซักฟอก ก็มาฝากไว้กับบริษัทจัดการกองทุน เพื่อนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์)จะดีกว่า เพราะดูเหมือนนี่คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด มากกว่าการโยกหุ้น โยกเงินไปฝากภรรยา ฝากญาติ หรือคนขับรถ เพราะยังงัยท้ายที่สุดก็ต้องโดนผู้ตรวจสอบ หรือมือดีนำเรื่องนี้มาโจมตี
การโอนหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือรัฐมนตรีในส่วนที่เกินจากร้อยละ 5 ตามที่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี มาให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะเป็นการสร้างความโปร่งใสให้กับสังคมได้รับรู้ และส่งผลดีต่อการปกครอง รวมถึงผลดีต่อรัฐมนตรีเองที่ไม่จำเป็นต้องเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทน ซึ่งทางหลายบลจ.มีความพร้อมที่จะเข้าไปบริหารในส่วนนี้ให้ แต่อย่างไรก็ตามข้อตกลงที่จะให้บริษัทเข้าไปดูแลในเรื่องนี้จะต้องมาจากความพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย และกองไพรเวทฟันด์เองก็มีเงื่อนไข และกรอบในการลงทุนอยู่เช่นกัน
"การโอนหุ้นจากรัฐมนตรีในส่วนที่เกินจากจำนวน 5% ตามที่ พ.ร.บ. การจัดการหุ้นของรัฐมนตรี มาจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคลนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้มีความโปร่งใส และไม่เป็นการเสียโอกาสได้รับผลตอบแทนในขณะที่ตนต้องกลายเป็นผู้ที่เสียสละเข้าไปทำงานให้กับบ้านเมือง แต่การลงทุนนี้จะต้องเกิดจากความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งต้องมีการตกลงลายละเอียดอีกครั้ง อีกทั้งบลจ.จะไม่ตกลงกับลูกค้าในกรณีที่ผิดไปจากที่พ.ร.บ.มีการกำหนดไว้”แหล่งข่าววงการกองทุนรวม ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแง่ธุรกิจแล้วทางบลจ.ไม่ได้มีเป้าหมายเป็นพิเศษในการเข้าไปดูแลกองทุนประเภทนี้ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นลูกค้าที่เข้าถึงได้ยากมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพสูงก็ตาม แต่ก็พร้อมยินดีที่จะทำให้หากจะรัฐมนตรีคนใดที่ต้องการโชว์ความบริสุทธิ์แสดงความต้องการเข้ามา โดยการบริหารเงินในส่วนของไพรเวทฟันด์นั้นจะมีเงื่อนไขตามเดิมไม่ได้มีอะไรพิเศษเพิ่มเติมเข้ามามากกว่ากองไพรเวทฟันด์ทั่วไปที่ดูแลอยู่
สำหรับ การตรวจสอบการบริหารของกองไพรเวทฟันด์นั้น เรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีทั้งหลายไม่ต้องกังวล เพราะทางคณะกรรมการหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะมีมาตรการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา โดยบริษัทจัดการกองทุนมีหน้าที่จะต้องแจ้งให้ก.ล.ต.ทราบในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปลงทุนของกองทุนดังกล่าวอยู่เสมอ เรียกได้ว่าโปร่งใสสุดๆ และเชื่อว่ากองทุนลักษณะนี้จะมีเกณฑ์การตรวจสอบที่พิเศษมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีหลายบลจ.ที่สนใจและพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆของภาครัฐไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. หรือหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ หากมีลูกค้าประเภทนี้เข้ามาอยู่ในความดูแล
"การถือกรรมสิทธิ์ในหุ้นเกินร้อยละ 5 ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และถ้าอยากให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องนี้เชื่อว่าจะมีหลายบลจ.ที่พร้อมจะดำเนินการให้ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดแสดงความต้องการมาถึงบริษัท ซึ่งที่ผ่านมากลับมีการโอนให้ลูก หรือบุคคลที่ใกล้ชิดแทนเท่ากับเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ไม่โปร่งใส หรือเรียกได้ว่า หาคนทำเป็นตัวอย่างที่ดีได้ยาก แต่ถ้ามีมาจริงก็ต้องยกนิ้วให้กับฮีโร่คนแรกเลย"แหล่งข่าว กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้มีหลายบริษัทจัดการกองทุนที่แสดงความสนใจและพร้อมที่จะเข้ามารับบริหารการลงทุนในหุ้นของนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น แต่ทุกบลจ.ล้วนตั้งเงื่อนไขไว้ว่าจะต้องมีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อให้บลจ.สามารถดูแลเองได้ทั้งหมดในเรื่องของการลงทุน และสามารถสับเปลี่ยนซื้อขายได้ตามสถานการณ์ตามข้อตกลง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรายงานทุกอย่างให้กับผู้ลงทุน หรือรัฐมนตรีท่านนั้นทราบอยู่ตลอดเวลา
"การบริหารจัดการหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การบริหารเราจะมีอำนาจเต็มที่ เช่นถ้าเข้าถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เราก็สามารถขายหุ้นตัวนี้แล้วนำไปซื้ออันอื่นได้ รัฐมนตรีจะต้องยอมรับในข้อตกของเรา ซึ่งเราจะทำให้ดีที่สุด หลังจากหุ้นทุกตัวถูกโอนเป็นชื่อของเรา และเขาก็มีหน้าที่แจ้งป.ป.ช. ว่ามีเงินให้บลจ.บริหารให้เท่านั้น"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 มีใจความสำคัญระบุว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือบริษัท ในกรณีที่เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบได้ไม่เกินร้อยละ 5 หรือรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น
ขณะที่ มาตรา 5 มีใจความสำคัญระบุว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 5 ตามมาตราที่ 4 จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ทราบภายใน 30 วัน และดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลที่มีอำนาจจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฏหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 90 วัน
สุดท้ายนี้ แนวทางดังกล่าว จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคล แต่สิ่งที่ประชาชนปราถนานั่นคือ การมีรัฐมนตรีที่ขาวสะอาด ไม่มีเจตนาแฝงในทางทุจริต หากสิ่งใดที่ผู้ปวารณาตนขอเป็นผู้เสียสละทำทุกอย่างเพื่อชาติบ้านเมือง ปราณนาที่จะชนะใจมหาชนแล้ว ก็ควรไม่สร้างสิ่งติดขัด หรือค้างคาใจให้สังคมสงสัยไว้ด้วย ดังนั้น การฝากเงินกับผู้จัดการกองทุนให้บริหารแทน น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่จะเข้ามาบริหารบ้านเมือง