ตอนนี้สำหรับนักลงทุนแล้วคงไม่มีคำไหนแสลงหูไปกว่าคำว่า “ซับไพรม์” ที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงในสหรัฐอเมริกาจนกลายเป็น Hamburger Crisis ลุกลามไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับตลาดหุ้นที่ตอบสนองต่อข่าวดีและข่าวร้ายต่างๆ ได้รวดเร็วกว่าระบบการเงินอื่น
ขณะนี้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกากำลังเดินเข้าสู่ภาวะตลาดหมีอย่างชัดเจน ดัชนีดาวโจนส์ในเดือนมกราคม ปี 2550 ลดลงไป 4.63% แต่ดูเหมือนตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศยุโรปกลับตื่นตกใจมากกว่า ในเดือนแรกของปี ดัชนี SET Index ลดลง 8.61% ดัชนีฮั่งเส็ง ลดลง 15.67% ดัชนี Straits Times ของสิงคโปร์ ลดลง 14.37% ดัชนีเซ็นเซคส์ BSE 30 ของตลาดเกิดใหม่อย่างอินเดียลดลง 13.00% ดัชนีเซียงไฮ้ ลดลง 16.69% ส่วนดัชนีสำคัญของยุโรปอย่าง FTSE 100 ก็ลดลง 8.94% และดัชนี DAX ลดลงถึง 15.07%
สาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำเช่นนี้ แม้ซับไพร์มจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลก แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ของเศรษฐกิจสหรัฐ และเป็นประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและอเมริกาใต้ ทำให้เกิดความกังวลว่าเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐซบเซาและน่าจะเรื้อรังไปอย่างน้อย 1-2 ปี กำลังซื้อของคนอเมริกันที่ลดลง จะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเทียบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในครั้งนี้กับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่เริ่มจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ลุกลามไปยังภาคการเงินและส่งผลต่อไปยังเศรษฐกิจทั้งระบบ แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่อย่างเทียบกันไม่ได้ของไทยกับสหรัฐ และความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนักการเงินสหรัฐที่นำสินเชื่อซับไพร์มมาเล่นแร่แปรธาตุหลายชั้นกลายเป็นสินค้าการเงินชนิดใหม่ไปขายให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก จนทำให้ขนาดของตราสารการเงินที่เริ่มจากสินเชื่อซับไพร์มมีขนาดเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทั้งที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันไม่เพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงจากปัญหาฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา!!
ในวันนี้ไม่มีใครรู้ถึงขนาดความเสียหายที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดจากซับไพรม์ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อบัตรเครดิตของคนอเมริกันที่เริ่มมีรายงานข่าวความเสียหายของการผิดนัดชำระออกมาบ้างแล้ว
ตั้งแต่ไตรมาสที่3 ปี 2550 ที่แผลวิกฤตซับไพรม์ถูกเปิดออก ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองข่าวร้ายเป็นระยะ นักการเงินหลายคนออกมาเตือนในตอนนั้นว่านี่ยังเป็นเพียงแค่เสียงปะทัดเท่านั้น แต่สินเชื่อซับไพรม์ที่เป็นระเบิดลูกใหญ่จะทยอยครบกำหนดจะค่อยๆ เปิดเผยมูลค่าความเสียหายให้เห็นเรื่อยๆ จนถึงกลางปี 2551 ในช่วงแรกของปัญหามีนักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์หลายกลุ่มเชื่อกันว่าผู้คุมกฎการเงินโลกอย่างสหรัฐจะเอาอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้น ทว่าเมื่อนักการเงินที่มีอิทธิพลต่อโลก 3 คนอย่าง อลัน กรีนแสปน เบน เบอร์นันเก้ และ จอร์จ โซรอส ได้ออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐในครั้งนี้รุนแรงและยิ่งใหญ่เกินกว่าจะคาดเดาได้ และยิ่งตอกย้ำชัดเจนเมื่อ รัฐบาลบุชได้ประกาศใช้นโยบายภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ไล่เลี่ยกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้ประกาศลดดอกเบี้ยลงถึง 1.25% ในการประชุมสองครั้งติดๆ กัน จาก 4.25% เหลือ 3.0% เพื่อสร้างสภาพคล่องในระบบการเงินและลดแรงตื่นกลัวของตลาดหุ้นสหรัฐจากวิกฤตซับไพร์ม ก็ได้ตอกย้ำความน่ากลัวของวิกฤตครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี
ตลาดหุ้นที่ตกต่ำอย่างหนักในเดือนมกราคม ทำให้เกิดคำถามว่าในช่วงวิกฤตเช่นนี้ ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นในตลาดอื่นทั่วโลกไม่น่าลงทุนแล้วใช่หรือไม่
เนื่องจากการลงทุนในหุ้นเป็นวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มค่าของเงินออมให้สามารถชนะเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี เพราะให้ผลตอบแทนที่สูงแม้จะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารการเงินอื่น จึงถือได้ว่าการลงทุนในหุ้นทั้งในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก ยังเป็นสิ่งจำเป็นหากยังต้องการรักษามูลค่าและเพิ่มค่าของเงินออม ตราบที่ยังไม่มีตราสารใดให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้ในระยะยาวมาทดแทน
แต่สิ่งที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาเป็นอันดับแรกก็คือ วัตถุประสงค์ของการลงทุนว่าต้องการลงทุนในหุ้นเพื่ออะไร เพราะวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนที่แตกต่างกัน เช่น มุ่งหวังให้เป็นเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ หรือเป็นเงินเหลือเก็บที่ไม่มีวัตถุประสงค์การใช้และต้องการเพิ่มมูลค่า เป็นต้น
การลงทุนในหุ้นส่วนที่เป็นเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ ถ้าเป็นผู้ที่มีอายุน้อย มีช่วงเวลาทำงานหารายได้อีกมาก ระยะเวลาการลงทุนในหุ้นจะมากตาม สามารถลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่สูงได้ ปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้นครั้งนี้จึงนับได้ว่าเป็นผลกระทบช่วงสั้นๆ เมื่อเทียบกับอายุการลงทุนในหุ้นที่เหลืออีกหลายสิบปี การทยอยลงทุนทีละน้อยในช่วงนี้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้กลับเป็นโอกาสเก็บราคาหุ้นหรือ NAV กองทุนหุ้นถูกๆ เข้ามาไว้ในพอร์ตได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่มีอายุมากเหลือเวลาทำงานอีกไม่นานจะเกษียณ การจัดพอร์ตเงินเก็บส่วนนี้จำเป็นที่ต้องลดสัดส่วนของหุ้นลง ซึ่งสำหรับผู้ที่วางแผนการออมเพื่อเกษียณมาเป็นอย่างดีแล้วสัดส่วนของเงินลงทุนในหุ้นจะยังเหลืออีกไม่มาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อพอร์ตน้อยมาก เช่น กรณีเหลือหุ้นในพอร์ตเพียง 10% สมมุติว่าวิกฤตซับไพรม์ส่งผลให้หุ้นในพอร์ตขาดทุน 20% พอร์ตโดยรวมก็จะหายไปเพียง 2% เท่านั้น (ยังไม่นับว่ามีผลตอบแทนจากเงินลงทุนส่วนอื่น เช่นตราสารหนี้มาชดเชย อีกด้วย)
จะเห็นได้ว่าหากจัดสรรเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณไว้อย่างเหมาะสมแล้ว การตกต่ำของตลาดหุ้นทั่วโลกในวันนี้จะไม่สร้างความเสียหายกับพอร์ตของนักลงทุนจนส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของการเก็บเงินได้ การจัดสัดส่วนของเงินลงทุนที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
กรณีการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาก่อนว่าจะซื้อหุ้น ขายหุ้น หรืออยู่เฉยๆ ก็คือข้อจำกัดและพฤติกรรมการลงทุนของแต่ละคน เช่น หากเป็นนักลงทุนที่มีความรู้ ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอยู่เป็นประจำ ชอบลงทุนระยะยาว สามารถใช้ช่วงเวลานี้ค่อยๆ ทยอยเลือกซื้อหุ้น หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเข้าสะสมไว้ในพอร์ตได้ ส่วนนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นระยะสั้นๆ มีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดได้ ช่วงที่ตลาดผันผวนเช่นนี้ ถือว่าเป็นช่วงยากของการลงทุน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงจังหวะของการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นโดยตรงได้เป็นอย่างดี เพราะราคาหุ้นมีความอ่อนไหวต่อข่าว ราคาจะผันผวนเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากกว่าภาวะตลาดปกติ มีจังหวะของการซื้อขายทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็ต้องพึงตระหนักไว้เสมอว่า การลงทุนแบบนี้นักลงทุนมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในระยะยาวด้วยเช่นกัน
แต่สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีเวลาศึกษาการลงทุนในหุ้นและข่าวสารต่างๆ ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลหรือไม่สามารถลงทุนในหุ้นโดยตรงได้ การลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสมที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลติดตามข่าวสาร และคัดเลือกหุ้นที่เหมาะสมกับการลงทุนให้จะเหมาะสมกว่าการลงทุนเองโดยตรง
ขณะนี้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกากำลังเดินเข้าสู่ภาวะตลาดหมีอย่างชัดเจน ดัชนีดาวโจนส์ในเดือนมกราคม ปี 2550 ลดลงไป 4.63% แต่ดูเหมือนตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศยุโรปกลับตื่นตกใจมากกว่า ในเดือนแรกของปี ดัชนี SET Index ลดลง 8.61% ดัชนีฮั่งเส็ง ลดลง 15.67% ดัชนี Straits Times ของสิงคโปร์ ลดลง 14.37% ดัชนีเซ็นเซคส์ BSE 30 ของตลาดเกิดใหม่อย่างอินเดียลดลง 13.00% ดัชนีเซียงไฮ้ ลดลง 16.69% ส่วนดัชนีสำคัญของยุโรปอย่าง FTSE 100 ก็ลดลง 8.94% และดัชนี DAX ลดลงถึง 15.07%
สาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำเช่นนี้ แม้ซับไพร์มจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลก แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ของเศรษฐกิจสหรัฐ และเป็นประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและอเมริกาใต้ ทำให้เกิดความกังวลว่าเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐซบเซาและน่าจะเรื้อรังไปอย่างน้อย 1-2 ปี กำลังซื้อของคนอเมริกันที่ลดลง จะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเทียบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในครั้งนี้กับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่เริ่มจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ลุกลามไปยังภาคการเงินและส่งผลต่อไปยังเศรษฐกิจทั้งระบบ แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่อย่างเทียบกันไม่ได้ของไทยกับสหรัฐ และความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนักการเงินสหรัฐที่นำสินเชื่อซับไพร์มมาเล่นแร่แปรธาตุหลายชั้นกลายเป็นสินค้าการเงินชนิดใหม่ไปขายให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก จนทำให้ขนาดของตราสารการเงินที่เริ่มจากสินเชื่อซับไพร์มมีขนาดเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทั้งที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันไม่เพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงจากปัญหาฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา!!
ในวันนี้ไม่มีใครรู้ถึงขนาดความเสียหายที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดจากซับไพรม์ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อบัตรเครดิตของคนอเมริกันที่เริ่มมีรายงานข่าวความเสียหายของการผิดนัดชำระออกมาบ้างแล้ว
ตั้งแต่ไตรมาสที่3 ปี 2550 ที่แผลวิกฤตซับไพรม์ถูกเปิดออก ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองข่าวร้ายเป็นระยะ นักการเงินหลายคนออกมาเตือนในตอนนั้นว่านี่ยังเป็นเพียงแค่เสียงปะทัดเท่านั้น แต่สินเชื่อซับไพรม์ที่เป็นระเบิดลูกใหญ่จะทยอยครบกำหนดจะค่อยๆ เปิดเผยมูลค่าความเสียหายให้เห็นเรื่อยๆ จนถึงกลางปี 2551 ในช่วงแรกของปัญหามีนักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์หลายกลุ่มเชื่อกันว่าผู้คุมกฎการเงินโลกอย่างสหรัฐจะเอาอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้น ทว่าเมื่อนักการเงินที่มีอิทธิพลต่อโลก 3 คนอย่าง อลัน กรีนแสปน เบน เบอร์นันเก้ และ จอร์จ โซรอส ได้ออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐในครั้งนี้รุนแรงและยิ่งใหญ่เกินกว่าจะคาดเดาได้ และยิ่งตอกย้ำชัดเจนเมื่อ รัฐบาลบุชได้ประกาศใช้นโยบายภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ไล่เลี่ยกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้ประกาศลดดอกเบี้ยลงถึง 1.25% ในการประชุมสองครั้งติดๆ กัน จาก 4.25% เหลือ 3.0% เพื่อสร้างสภาพคล่องในระบบการเงินและลดแรงตื่นกลัวของตลาดหุ้นสหรัฐจากวิกฤตซับไพร์ม ก็ได้ตอกย้ำความน่ากลัวของวิกฤตครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี
ตลาดหุ้นที่ตกต่ำอย่างหนักในเดือนมกราคม ทำให้เกิดคำถามว่าในช่วงวิกฤตเช่นนี้ ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นในตลาดอื่นทั่วโลกไม่น่าลงทุนแล้วใช่หรือไม่
เนื่องจากการลงทุนในหุ้นเป็นวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มค่าของเงินออมให้สามารถชนะเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี เพราะให้ผลตอบแทนที่สูงแม้จะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารการเงินอื่น จึงถือได้ว่าการลงทุนในหุ้นทั้งในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก ยังเป็นสิ่งจำเป็นหากยังต้องการรักษามูลค่าและเพิ่มค่าของเงินออม ตราบที่ยังไม่มีตราสารใดให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้ในระยะยาวมาทดแทน
แต่สิ่งที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาเป็นอันดับแรกก็คือ วัตถุประสงค์ของการลงทุนว่าต้องการลงทุนในหุ้นเพื่ออะไร เพราะวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนที่แตกต่างกัน เช่น มุ่งหวังให้เป็นเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ หรือเป็นเงินเหลือเก็บที่ไม่มีวัตถุประสงค์การใช้และต้องการเพิ่มมูลค่า เป็นต้น
การลงทุนในหุ้นส่วนที่เป็นเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ ถ้าเป็นผู้ที่มีอายุน้อย มีช่วงเวลาทำงานหารายได้อีกมาก ระยะเวลาการลงทุนในหุ้นจะมากตาม สามารถลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่สูงได้ ปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้นครั้งนี้จึงนับได้ว่าเป็นผลกระทบช่วงสั้นๆ เมื่อเทียบกับอายุการลงทุนในหุ้นที่เหลืออีกหลายสิบปี การทยอยลงทุนทีละน้อยในช่วงนี้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้กลับเป็นโอกาสเก็บราคาหุ้นหรือ NAV กองทุนหุ้นถูกๆ เข้ามาไว้ในพอร์ตได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่มีอายุมากเหลือเวลาทำงานอีกไม่นานจะเกษียณ การจัดพอร์ตเงินเก็บส่วนนี้จำเป็นที่ต้องลดสัดส่วนของหุ้นลง ซึ่งสำหรับผู้ที่วางแผนการออมเพื่อเกษียณมาเป็นอย่างดีแล้วสัดส่วนของเงินลงทุนในหุ้นจะยังเหลืออีกไม่มาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อพอร์ตน้อยมาก เช่น กรณีเหลือหุ้นในพอร์ตเพียง 10% สมมุติว่าวิกฤตซับไพรม์ส่งผลให้หุ้นในพอร์ตขาดทุน 20% พอร์ตโดยรวมก็จะหายไปเพียง 2% เท่านั้น (ยังไม่นับว่ามีผลตอบแทนจากเงินลงทุนส่วนอื่น เช่นตราสารหนี้มาชดเชย อีกด้วย)
จะเห็นได้ว่าหากจัดสรรเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณไว้อย่างเหมาะสมแล้ว การตกต่ำของตลาดหุ้นทั่วโลกในวันนี้จะไม่สร้างความเสียหายกับพอร์ตของนักลงทุนจนส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของการเก็บเงินได้ การจัดสัดส่วนของเงินลงทุนที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
กรณีการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาก่อนว่าจะซื้อหุ้น ขายหุ้น หรืออยู่เฉยๆ ก็คือข้อจำกัดและพฤติกรรมการลงทุนของแต่ละคน เช่น หากเป็นนักลงทุนที่มีความรู้ ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอยู่เป็นประจำ ชอบลงทุนระยะยาว สามารถใช้ช่วงเวลานี้ค่อยๆ ทยอยเลือกซื้อหุ้น หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเข้าสะสมไว้ในพอร์ตได้ ส่วนนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นระยะสั้นๆ มีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดได้ ช่วงที่ตลาดผันผวนเช่นนี้ ถือว่าเป็นช่วงยากของการลงทุน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงจังหวะของการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นโดยตรงได้เป็นอย่างดี เพราะราคาหุ้นมีความอ่อนไหวต่อข่าว ราคาจะผันผวนเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากกว่าภาวะตลาดปกติ มีจังหวะของการซื้อขายทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็ต้องพึงตระหนักไว้เสมอว่า การลงทุนแบบนี้นักลงทุนมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในระยะยาวด้วยเช่นกัน
แต่สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีเวลาศึกษาการลงทุนในหุ้นและข่าวสารต่างๆ ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลหรือไม่สามารถลงทุนในหุ้นโดยตรงได้ การลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสมที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลติดตามข่าวสาร และคัดเลือกหุ้นที่เหมาะสมกับการลงทุนให้จะเหมาะสมกว่าการลงทุนเองโดยตรง