ที่ผ่านมาตลาดหุ้นร้อนแรง ผละผันผวน มีหลายความคิด หลายกระแสเกิดขึ้น คนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ อาจต้องใช้ความระมัดระวังในการเอาเงินเราไปลงทุนด้วย คำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “แมงเม่าบินเข้ากองไฟ” เป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย
การเก็บเงิน และนำเงินเก็บไปลงทุน เพื่อให้มีดอกผล สำหรับเราไว้ใช้ในยามเกษียณอายุเป็นเรื่องที่ต้องคิดไว้ว่าเป็นเป้าหมายของเรา ยิ่งอายุเฉลี่ยของประชากรนับว่าจะยืนยาวมากขึ้น หรือเรียกว่า แก่ง่ายแต่ตายยาก ยิ่งต้องเป็นเรื่องที่ต้องโฟกัสที่เป้าหมายไว้ดี ๆ ให้นิ่งว่าเงินของเรามีเป้าหมายไว้เพื่อทำอะไร
และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน หรืออยู่ในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นช่วงที่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานมากที่สุด รวมทั้งเป็นวัยที่มีรายได้สูงที่สุด อย่างไรก็ตามก็เป็นวัยที่มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ มากที่สุดด้วย ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน หรือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตรแล้ว การจัดสรรเงินออมของคนในวัยกลางคนนี้ ควรจะนำเงินออมไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าคนในวัยหนุ่มสาว หรือวัยของการสร้างครอบครัว เพราะว่าคนในวัยนี้ แม้ว่าจะมีรายได้ที่มากกว่าคนในวัยอื่นๆ แต่ก็มีภาระที่มากกว่าเช่นกัน
ดังนั้น ควรนำเงินออมส่วนใหญ่เก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย เพื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยลงทุนในตราสารหนี้ หรือ ฝากธนาคาร ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 70 และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ก็นำไปลงทุนในตราสารทุนที่เป็นการลงทุนระยะยาว เช่น สมมติว่าคุณมีเงินออมอยู่ 100,000 บาท คุณก็นำเงินจำนวน 70,000 บาท ไปฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ส่วนอีก 30,000 บาท ก็ลงทุนในหุ้นสามัญโดยเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งการลงทุนในหุ้นสามัญนั้นในระยะยาว จะให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ นั่นเอง
การที่ต้องจัดการเรื่องเงินก็เพราะว่าไม่อยากได้ยินหรือรู้สึกว่า “แก่แล้วไม่มีเงินใช้ ลูกหลานก็ไม่เลี้ยง แถมต้องตกเป็นภาระของสังคมอีกต่างหาก รู้อย่างนี้ เก็บเงินไว้ตั้งแต่ตอนมีเงินดีกว่า”
**แล้วจะปล่อยให้ชีวิตต้องเป็นอย่างนั้นทำไม เพราะเราจัดการชีวิตได้ไม่ใช่หรือ**
การเก็บเงิน และนำเงินเก็บไปลงทุน เพื่อให้มีดอกผล สำหรับเราไว้ใช้ในยามเกษียณอายุเป็นเรื่องที่ต้องคิดไว้ว่าเป็นเป้าหมายของเรา ยิ่งอายุเฉลี่ยของประชากรนับว่าจะยืนยาวมากขึ้น หรือเรียกว่า แก่ง่ายแต่ตายยาก ยิ่งต้องเป็นเรื่องที่ต้องโฟกัสที่เป้าหมายไว้ดี ๆ ให้นิ่งว่าเงินของเรามีเป้าหมายไว้เพื่อทำอะไร
และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน หรืออยู่ในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นช่วงที่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานมากที่สุด รวมทั้งเป็นวัยที่มีรายได้สูงที่สุด อย่างไรก็ตามก็เป็นวัยที่มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ มากที่สุดด้วย ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน หรือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตรแล้ว การจัดสรรเงินออมของคนในวัยกลางคนนี้ ควรจะนำเงินออมไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าคนในวัยหนุ่มสาว หรือวัยของการสร้างครอบครัว เพราะว่าคนในวัยนี้ แม้ว่าจะมีรายได้ที่มากกว่าคนในวัยอื่นๆ แต่ก็มีภาระที่มากกว่าเช่นกัน
ดังนั้น ควรนำเงินออมส่วนใหญ่เก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย เพื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยลงทุนในตราสารหนี้ หรือ ฝากธนาคาร ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 70 และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ก็นำไปลงทุนในตราสารทุนที่เป็นการลงทุนระยะยาว เช่น สมมติว่าคุณมีเงินออมอยู่ 100,000 บาท คุณก็นำเงินจำนวน 70,000 บาท ไปฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ส่วนอีก 30,000 บาท ก็ลงทุนในหุ้นสามัญโดยเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งการลงทุนในหุ้นสามัญนั้นในระยะยาว จะให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ นั่นเอง
การที่ต้องจัดการเรื่องเงินก็เพราะว่าไม่อยากได้ยินหรือรู้สึกว่า “แก่แล้วไม่มีเงินใช้ ลูกหลานก็ไม่เลี้ยง แถมต้องตกเป็นภาระของสังคมอีกต่างหาก รู้อย่างนี้ เก็บเงินไว้ตั้งแต่ตอนมีเงินดีกว่า”
**แล้วจะปล่อยให้ชีวิตต้องเป็นอย่างนั้นทำไม เพราะเราจัดการชีวิตได้ไม่ใช่หรือ**