ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
ในการเลือกลงทุนกับกองทุนรวม ปรัชญาการลงทุนของทางกองทุนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท่านนักลงทุนอาจนำมาใช้พิจารณาเพื่อการตัดสินใจลงทุน เพราะปรัชญาการลงทุนจะเป็นเหมือนเสาหลักที่จะกำหนดแนวทางการดำเนินงาน รูปแบบการลงทุน กระบวนการลงทุน รวมทั้งนโยบายการลงทุนบางส่วน
ปรัชญาการลงทุนคืออะไร
ปรัชญาการลงทุนคือแนวทาง หรือวินัยหลักที่เลือกใช้ในการลงทุน ซึ่งรวมถึงแนวคิดและความเชื่อ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการบริหารจัดการลงทุน ถ้าในระดับนักลงทุนทั่วไป อาจมีปรัชญาการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งท่านนักลงทุนบางท่านอาจมีปรัชญาการลงทุนง่ายๆ ตัวอย่างเช่น นักลงทุนชื่อก้องโลกอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ มีปรัชญาการลงทุนง่ายๆเพียง 2 ข้อ คือ กฎข้อที่หนึ่ง: อย่ายอมเสียเงิน และกฎข้อที่สอง: อย่าลืมกฎข้อ 1
สำหรับกองทุนรวม ปรัชญาการลงทุนของกองทุนรวมจะมีผลอย่างมากต่อการกำหนดระบบการดำเนินงานของกองทุนรวม เพราะปรัชญาการลงทุนจะบ่งบอกว่าบริษัทจัดการกองทุนยึดแนวทางใดหรือมีความเชี่ยวชาญในด้านใด John R. Minahan ได้ให้นิยามของปรัชญาการลงทุนซึ่งมีหลายนิยามดังนี้
- หลักความเชื่อเกี่ยวกับระบบราคาหลักทรัพย์ และปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาหลักทรัพย์ผิดไปจากราคาที่ควรจะเป็น
- หลักความเชื่อเกี่ยวกับข้อได้เปรียบของผู้จัดการกองทุน ที่สามารถหามูลค่าที่ควรจะเป็นได้
- สมมุติฐานที่สามารถทำให้ความเชื่อข้างต้นนี้ นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า benchmark
และ Minahan ได้แนะนำว่าการกำหนดปรัชญาการลงทุนควรมีหลักดังนี้
- ทราบว่าปรัชญาการลงทุนที่กำหนด อยู่ในส่วนใดของทฤษฎีตลาดทุน
- ต้องสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้
- มีจุดยืนที่แน่นอน โดยที่การเปลี่ยนแปลงใดๆไม่มีผลต่อจุดยืนหลัก
เมื่อทางกองทุนกำหนดปรัชญาการลงทุนแล้ว ผลที่จะตามมาก็คือ กระบวนการลงทุนที่สอดคล้องกับปรัชญาการลงทุน ตัวอย่างเช่น สำหรับกองทุนที่มีปรัชญาการลงทุนแบบ value investor มักจะมีกระบวนการลงทุนแบบ bottom-up กล่าวคือ มีการคัดสรรหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานตรงตามมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น มี P/E B/V ต่ำ แต่ผลตอบแทนเงินปันผลสูง จากนั้น ผู้จัดการกองทุน และ/หรือ นักวิเคราะห์ เข้าทำการเยี่ยมชมบริษัทที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อจัดทำบทวิเคราะห์ และนำเสนอต่อคณะกรรมการลงทุน เพื่อขออนุมัติให้อยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าปรัชญาการลงทุน เป็นจุดเริ่มของการสร้างรูปแบบและกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่ง
การที่บริษัทมีปรัชญาการลงทุนที่ชัดเจนและเหมาะสม และปฏิบัติตามปรัชญาการลงทุนอย่างจริงจัง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริษัท กล่าวคือ พนักงานในบริษัทจะทราบว่าแนวทางการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นไปในทิศทางใด ระบบและขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อทุกคนทราบแนวทาง ระบบ และขั้นตอนต่างๆ การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ ปรัชญาการลงทุนที่ดี และนำไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ดี จะช่วยลดผลกระทบในกรณีที่บริษัทสูญเสียบุคลากรด้วย เพราะถึงแม้บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญได้ลาออกไป แต่ระบบที่ดีจะช่วยรักษาระดับผลงานที่ดีไว้ได้
จะเห็นได้ว่า ปรัชญาการลงทุน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการลงทุน และจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างวินัยการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั่วไป นอกจากนี้ ปรัชญาการลงทุนที่ดี ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกระบวนการลงทุนที่ดี และจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กองทุนในระยะยาว
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
ในการเลือกลงทุนกับกองทุนรวม ปรัชญาการลงทุนของทางกองทุนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท่านนักลงทุนอาจนำมาใช้พิจารณาเพื่อการตัดสินใจลงทุน เพราะปรัชญาการลงทุนจะเป็นเหมือนเสาหลักที่จะกำหนดแนวทางการดำเนินงาน รูปแบบการลงทุน กระบวนการลงทุน รวมทั้งนโยบายการลงทุนบางส่วน
ปรัชญาการลงทุนคืออะไร
ปรัชญาการลงทุนคือแนวทาง หรือวินัยหลักที่เลือกใช้ในการลงทุน ซึ่งรวมถึงแนวคิดและความเชื่อ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการบริหารจัดการลงทุน ถ้าในระดับนักลงทุนทั่วไป อาจมีปรัชญาการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งท่านนักลงทุนบางท่านอาจมีปรัชญาการลงทุนง่ายๆ ตัวอย่างเช่น นักลงทุนชื่อก้องโลกอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ มีปรัชญาการลงทุนง่ายๆเพียง 2 ข้อ คือ กฎข้อที่หนึ่ง: อย่ายอมเสียเงิน และกฎข้อที่สอง: อย่าลืมกฎข้อ 1
สำหรับกองทุนรวม ปรัชญาการลงทุนของกองทุนรวมจะมีผลอย่างมากต่อการกำหนดระบบการดำเนินงานของกองทุนรวม เพราะปรัชญาการลงทุนจะบ่งบอกว่าบริษัทจัดการกองทุนยึดแนวทางใดหรือมีความเชี่ยวชาญในด้านใด John R. Minahan ได้ให้นิยามของปรัชญาการลงทุนซึ่งมีหลายนิยามดังนี้
- หลักความเชื่อเกี่ยวกับระบบราคาหลักทรัพย์ และปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาหลักทรัพย์ผิดไปจากราคาที่ควรจะเป็น
- หลักความเชื่อเกี่ยวกับข้อได้เปรียบของผู้จัดการกองทุน ที่สามารถหามูลค่าที่ควรจะเป็นได้
- สมมุติฐานที่สามารถทำให้ความเชื่อข้างต้นนี้ นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า benchmark
และ Minahan ได้แนะนำว่าการกำหนดปรัชญาการลงทุนควรมีหลักดังนี้
- ทราบว่าปรัชญาการลงทุนที่กำหนด อยู่ในส่วนใดของทฤษฎีตลาดทุน
- ต้องสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้
- มีจุดยืนที่แน่นอน โดยที่การเปลี่ยนแปลงใดๆไม่มีผลต่อจุดยืนหลัก
เมื่อทางกองทุนกำหนดปรัชญาการลงทุนแล้ว ผลที่จะตามมาก็คือ กระบวนการลงทุนที่สอดคล้องกับปรัชญาการลงทุน ตัวอย่างเช่น สำหรับกองทุนที่มีปรัชญาการลงทุนแบบ value investor มักจะมีกระบวนการลงทุนแบบ bottom-up กล่าวคือ มีการคัดสรรหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานตรงตามมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น มี P/E B/V ต่ำ แต่ผลตอบแทนเงินปันผลสูง จากนั้น ผู้จัดการกองทุน และ/หรือ นักวิเคราะห์ เข้าทำการเยี่ยมชมบริษัทที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อจัดทำบทวิเคราะห์ และนำเสนอต่อคณะกรรมการลงทุน เพื่อขออนุมัติให้อยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าปรัชญาการลงทุน เป็นจุดเริ่มของการสร้างรูปแบบและกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่ง
การที่บริษัทมีปรัชญาการลงทุนที่ชัดเจนและเหมาะสม และปฏิบัติตามปรัชญาการลงทุนอย่างจริงจัง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริษัท กล่าวคือ พนักงานในบริษัทจะทราบว่าแนวทางการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นไปในทิศทางใด ระบบและขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อทุกคนทราบแนวทาง ระบบ และขั้นตอนต่างๆ การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ ปรัชญาการลงทุนที่ดี และนำไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ดี จะช่วยลดผลกระทบในกรณีที่บริษัทสูญเสียบุคลากรด้วย เพราะถึงแม้บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญได้ลาออกไป แต่ระบบที่ดีจะช่วยรักษาระดับผลงานที่ดีไว้ได้
จะเห็นได้ว่า ปรัชญาการลงทุน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการลงทุน และจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างวินัยการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั่วไป นอกจากนี้ ปรัชญาการลงทุนที่ดี ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกระบวนการลงทุนที่ดี และจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กองทุนในระยะยาว
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ