“อมตะ” มั่นใจกฎกันสำรอง 30% ไม่กระทบแผนการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1,000 ล้านบาท เผยกำลังอยู่ระหว่างเลือกบลจ.มาบริหารกองทุน คาดรู้ผลแน่ชัดภายในไตรมาส 1 ตั้งเป้ากองทุนจะให้ผลตอบแทนได้กว่า 10% ต่อปี
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ รองประธานอาวุโส บริษัท อมตะ คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า ถึงแม้ปัจจุบันมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังมีผลต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) โดยเฉพาะกองทุนที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งใหม่ แต่บริษัทยังคงแผนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เนื่องจากบริษัทประเมินว่ามาตราการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะผลการบังคับใช้กฎดังกล่าวนั้นในปัจจุบันไม่ได้มีความเข้มงวดเหมือนในช่วงที่ออกกฎหมายในช่วงแรก ๆ ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จะเข้ามาเป็นผู้จัดการกองทุนอยู่ประมาณ 3 ราย โดยคาดว่าจะทราบผลชัดเจนว่าบลจ.ใดจะได้เป็นผู้จัดการกองทุนดังกล่าวไม่เกินไตรมาส 1 ของปี 2551 เช่นกัน
สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจะตั้งขึ้นมานั้น บริษัทจะนำโรงงานที่ปล่อยให้เช่าในนิคมอมตะนคร ที่อยู่ในบริษัทอมตะซัมมิต เรดี้ บลิวท์ จำกัด (Amta Summit Ready Built) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทฯ เข้าจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนดังกล่าวจะมีขนาดกองทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่ากองทุนดังกล่าวจะสามารถให้ผลตอบแทนได้กว่า 10% ต่อปี
ส่วนแผนการทำงานในธุรกิจโรงงานโรงงานปล่อยเช่าในนิคมอมตะซิตี้ในปี 2551 บริษัทเตรียมแผนที่จะขยายการก่อสร้างโรงงานให้เช่า เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 โรงงาน หรือมีพื้นที่โรงงานเช่าเพิ่มอีกกว่า 10,000 ตารางเมตร รวมถึงจะมีการเพิ่มทุนจดเบียนอีก 100 ล้านบาท
“หลังจากที่บริษัทได้ก่อตั้ง บริษัท อมตะซัมมิต เรดี้ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงงานปล่อยเช่าในนิคมอมตะนคร ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับด้วยดี ทำให้ในปัจจุบันมีนักลงทุนเข้ามาเช่าโรงงานตั้งฐานผลิตสินค้าแล้วกว่า 40 โรงงาน คิดเป็นพื้นที่ปล่อยเช่า 40,000 กว่าตารางเมตร (ตรม.)ระดับราคาค่าเช่าต่อตารางเมตรที่ 180-190 บาท” นายวิบูลย์กล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจโรงงานปล่อยให้เช่าในนิคมอมตะซิตี้นั้น ปัจจุบันบริษัทจะมีกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องการโรงงานที่มีพื้นที่ประมาณ 2,000-3,000 ตารางเมตร ซึ่งตรงกับขนาดของโรงงานที่บริษัทปล่อยเช่า โดยคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย
อนึ่ง ในไตรมาส 4/50 บริษัทฯ คาดว่าจะขายที่ดินได้เพิ่มจากเดิมอีก 800 ไร่ ซึ่งเทียบเท่ากับ 9 เดือนแรกที่ผ่านมาที่ทำได้ 800 ไร่ เนื่องจากมีปัจจัยบวกเรื่องการเลือกตั้งที่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดการตัดสินใจซื้อที่ดินมากขึ้น โดยในขณะนี้ ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแบ่งเป็นนักลงทุนจากประเทศจีนอาจจะมากถึง 600 ไร่ ขณะที่ญี่ปุ่น 300 ไร่ ที่เหลือจากประเทศยุโรปและอเมริกา
โดยล่าสุดบริษัทฯ สามารถทำยอดขายที่ดินได้ 1.6 พันไร่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1.5-1.7 พันไร่ ดังนั้นเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหลือของปีบริษัทฯ มีโอกาสสูงที่จะทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้อีก จนอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดี ในเชิงรายได้ก็ยังคงเชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 5.5-6 พันล้านบาทเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการบันทึกยอดขายที่ดินรับรู้ได้ทันภายในปีนี้
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ รองประธานอาวุโส บริษัท อมตะ คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า ถึงแม้ปัจจุบันมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังมีผลต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) โดยเฉพาะกองทุนที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งใหม่ แต่บริษัทยังคงแผนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เนื่องจากบริษัทประเมินว่ามาตราการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะผลการบังคับใช้กฎดังกล่าวนั้นในปัจจุบันไม่ได้มีความเข้มงวดเหมือนในช่วงที่ออกกฎหมายในช่วงแรก ๆ ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จะเข้ามาเป็นผู้จัดการกองทุนอยู่ประมาณ 3 ราย โดยคาดว่าจะทราบผลชัดเจนว่าบลจ.ใดจะได้เป็นผู้จัดการกองทุนดังกล่าวไม่เกินไตรมาส 1 ของปี 2551 เช่นกัน
สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจะตั้งขึ้นมานั้น บริษัทจะนำโรงงานที่ปล่อยให้เช่าในนิคมอมตะนคร ที่อยู่ในบริษัทอมตะซัมมิต เรดี้ บลิวท์ จำกัด (Amta Summit Ready Built) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทฯ เข้าจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนดังกล่าวจะมีขนาดกองทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายว่ากองทุนดังกล่าวจะสามารถให้ผลตอบแทนได้กว่า 10% ต่อปี
ส่วนแผนการทำงานในธุรกิจโรงงานโรงงานปล่อยเช่าในนิคมอมตะซิตี้ในปี 2551 บริษัทเตรียมแผนที่จะขยายการก่อสร้างโรงงานให้เช่า เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 โรงงาน หรือมีพื้นที่โรงงานเช่าเพิ่มอีกกว่า 10,000 ตารางเมตร รวมถึงจะมีการเพิ่มทุนจดเบียนอีก 100 ล้านบาท
“หลังจากที่บริษัทได้ก่อตั้ง บริษัท อมตะซัมมิต เรดี้ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงงานปล่อยเช่าในนิคมอมตะนคร ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับด้วยดี ทำให้ในปัจจุบันมีนักลงทุนเข้ามาเช่าโรงงานตั้งฐานผลิตสินค้าแล้วกว่า 40 โรงงาน คิดเป็นพื้นที่ปล่อยเช่า 40,000 กว่าตารางเมตร (ตรม.)ระดับราคาค่าเช่าต่อตารางเมตรที่ 180-190 บาท” นายวิบูลย์กล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจโรงงานปล่อยให้เช่าในนิคมอมตะซิตี้นั้น ปัจจุบันบริษัทจะมีกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องการโรงงานที่มีพื้นที่ประมาณ 2,000-3,000 ตารางเมตร ซึ่งตรงกับขนาดของโรงงานที่บริษัทปล่อยเช่า โดยคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย
อนึ่ง ในไตรมาส 4/50 บริษัทฯ คาดว่าจะขายที่ดินได้เพิ่มจากเดิมอีก 800 ไร่ ซึ่งเทียบเท่ากับ 9 เดือนแรกที่ผ่านมาที่ทำได้ 800 ไร่ เนื่องจากมีปัจจัยบวกเรื่องการเลือกตั้งที่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดการตัดสินใจซื้อที่ดินมากขึ้น โดยในขณะนี้ ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแบ่งเป็นนักลงทุนจากประเทศจีนอาจจะมากถึง 600 ไร่ ขณะที่ญี่ปุ่น 300 ไร่ ที่เหลือจากประเทศยุโรปและอเมริกา
โดยล่าสุดบริษัทฯ สามารถทำยอดขายที่ดินได้ 1.6 พันไร่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1.5-1.7 พันไร่ ดังนั้นเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหลือของปีบริษัทฯ มีโอกาสสูงที่จะทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้อีก จนอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดี ในเชิงรายได้ก็ยังคงเชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 5.5-6 พันล้านบาทเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการบันทึกยอดขายที่ดินรับรู้ได้ทันภายในปีนี้