เปิดบทสรุปจากการสัมภาษณ์ทีมผู้บริหารระดับสูงของ ฉางอาน ออโตโมบิล ที่มาร่วมตอบคำถามของสื่อมวลชนในงานเปิดตัวแบรนด์ของฉางอานในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็น การบุกตลาดต่างประเทศด้วยการตั้งโรงงานครั้งแรกของฉางอาน โดยมีผู้บริหารที่เข้าร่วมดังนี้
นาย จู ฮว๋าหรง ประธานบริษัท Changan Automobile
นาย หลี่ หมิงฉาย รองประธานกรรมการบริหาร Changan Automobile
นาย เคลาส์ ซิซิโอรา รองประธานบริหาร Changan Automobile
นาย เติ้ง เฉิงหาว ประธานบริหาร Deepal Automobile และ
นาย เซิน ซิงฮว๋า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด และกรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซลส์ (ประเทศไทย)
1. ฉางอาน ได้เข้ามาศึกษาตลาดจากกลุ่มผู้บริโภคกว่า 100,000 ราย เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ก่อนที่จะมีการเปิดตัวแบรนด์รถยนต์ในวันนี้ โดยฉางอาน เลือกแบรนด์ ดีพอล (Deepal) เข้ามาทำตลาดในไทยเป็นแบรนด์แรก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เน้นความทันสมัย มีเทคโนโลยีและดีไซน์ที่สอดรับกับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น
2. การเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นอกประเทศจีน เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีของไทยและจีนที่มีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับการมีผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ครบวงจร และการสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐตามนโยบาย 30@30 ช่วยให้ตลาดสามารถเติบโตได้อีก
3. แม้จะไม่มีนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐของไทย ฉางอานมีแผนทำตลาดในไทยอยู่แล้วและเป็นแผนระยะยาวที่ตั้งใจว่าจะทำตลาดไปอีกนานเท่านาน
4. โรงงานประกอบรถยนต์ของฉางอานอยู่ที่จังหวัดระยอง ในนิคม WHA จะมีกำลังการผลิตสูงสุด 100,000 คัน และใช้งบลงทุนทั้งหมด 10,000 ล้านบาท ในเฟสแรก คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2568 ส่วนเฟสต่อไปจะเพิ่มอีก 100,000 คัน โดยได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเรียบร้อยแล้ว
5. โรงงานจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาเพื่อขายในไทยและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่ใช้รถพวงมาลัยขวาทั้งหมด และจะไม่ได้ผลิต Deepal L07 และ S07 ส่วนจะเป็นรุ่นใดนั้น ยังไม่เปิดเผย
6. Deepal L07 และ S07 ที่เปิดตัวในไทยแล้วมียอดจองสิทธิ์เข้ามาแล้วถึง 2,000 คัน แม้จะยังไม่มีการประกาศราคา โดยจะมีการทำตลาดแบรนด์อีก 2 แบรนด์คือ NEVO และ Avatr ในอนาคต
7. เป้าหมายการจำหน่ายหลังจากเปิดตัวจนถึงสิ้นปี 2567 วางเอาไว้ที่ 20,000-30,000 คัน
8. กลยุทธ์หลักเน้นในเรื่องของการบริการหลังการขายเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเรื่องคุณภาพของตัวรถ และราคาที่จับต้องได้ เนื่องจากฉางอานมีการผลิตเป็นจำนวนมากจึงทำให้ต้นทุนต่ำได้ รวมทั้งมีเทคโนโลยีอยู่ในมือตัวเอง
9. การขยายโชว์รูมและศูนย์บริการวางไว้ที่ 40 แห่งภายในปีนี้ และจะขยายเป็น 100 แห่งในปี 2567 โดยจะมีรูปแบบการขายครบทั้งออฟไลน์และออนไลน์
10. นโยบายการสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งที่ดีของรัฐบาล ช่วยให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเปลื่ยนแปลงได้รวดเร็ว ดีต่อโลกในเรื่องของการลดการปล่อยมลพิษ
ถึงบรรทัดนี้ มารอชมกันว่าหลังการเปิดราคาของ Deepal L07 และ S07 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นี้ กระแสตอบรับจะเป็นอย่างไร และฉางอานจะสามารถปักหมุดหมายถาวรในไทยได้หรือไม่ คำตอบสุดท้ายราคาจะเป็นตัวตัดสิน
นาย จู ฮว๋าหรง ประธานบริษัท Changan Automobile
นาย หลี่ หมิงฉาย รองประธานกรรมการบริหาร Changan Automobile
นาย เคลาส์ ซิซิโอรา รองประธานบริหาร Changan Automobile
นาย เติ้ง เฉิงหาว ประธานบริหาร Deepal Automobile และ
นาย เซิน ซิงฮว๋า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด และกรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซลส์ (ประเทศไทย)
1. ฉางอาน ได้เข้ามาศึกษาตลาดจากกลุ่มผู้บริโภคกว่า 100,000 ราย เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ก่อนที่จะมีการเปิดตัวแบรนด์รถยนต์ในวันนี้ โดยฉางอาน เลือกแบรนด์ ดีพอล (Deepal) เข้ามาทำตลาดในไทยเป็นแบรนด์แรก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เน้นความทันสมัย มีเทคโนโลยีและดีไซน์ที่สอดรับกับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น
2. การเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นอกประเทศจีน เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีของไทยและจีนที่มีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับการมีผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ครบวงจร และการสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐตามนโยบาย 30@30 ช่วยให้ตลาดสามารถเติบโตได้อีก
3. แม้จะไม่มีนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐของไทย ฉางอานมีแผนทำตลาดในไทยอยู่แล้วและเป็นแผนระยะยาวที่ตั้งใจว่าจะทำตลาดไปอีกนานเท่านาน
4. โรงงานประกอบรถยนต์ของฉางอานอยู่ที่จังหวัดระยอง ในนิคม WHA จะมีกำลังการผลิตสูงสุด 100,000 คัน และใช้งบลงทุนทั้งหมด 10,000 ล้านบาท ในเฟสแรก คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2568 ส่วนเฟสต่อไปจะเพิ่มอีก 100,000 คัน โดยได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเรียบร้อยแล้ว
5. โรงงานจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาเพื่อขายในไทยและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่ใช้รถพวงมาลัยขวาทั้งหมด และจะไม่ได้ผลิต Deepal L07 และ S07 ส่วนจะเป็นรุ่นใดนั้น ยังไม่เปิดเผย
6. Deepal L07 และ S07 ที่เปิดตัวในไทยแล้วมียอดจองสิทธิ์เข้ามาแล้วถึง 2,000 คัน แม้จะยังไม่มีการประกาศราคา โดยจะมีการทำตลาดแบรนด์อีก 2 แบรนด์คือ NEVO และ Avatr ในอนาคต
7. เป้าหมายการจำหน่ายหลังจากเปิดตัวจนถึงสิ้นปี 2567 วางเอาไว้ที่ 20,000-30,000 คัน
8. กลยุทธ์หลักเน้นในเรื่องของการบริการหลังการขายเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเรื่องคุณภาพของตัวรถ และราคาที่จับต้องได้ เนื่องจากฉางอานมีการผลิตเป็นจำนวนมากจึงทำให้ต้นทุนต่ำได้ รวมทั้งมีเทคโนโลยีอยู่ในมือตัวเอง
9. การขยายโชว์รูมและศูนย์บริการวางไว้ที่ 40 แห่งภายในปีนี้ และจะขยายเป็น 100 แห่งในปี 2567 โดยจะมีรูปแบบการขายครบทั้งออฟไลน์และออนไลน์
10. นโยบายการสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งที่ดีของรัฐบาล ช่วยให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเปลื่ยนแปลงได้รวดเร็ว ดีต่อโลกในเรื่องของการลดการปล่อยมลพิษ
ถึงบรรทัดนี้ มารอชมกันว่าหลังการเปิดราคาของ Deepal L07 และ S07 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นี้ กระแสตอบรับจะเป็นอย่างไร และฉางอานจะสามารถปักหมุดหมายถาวรในไทยได้หรือไม่ คำตอบสุดท้ายราคาจะเป็นตัวตัดสิน