ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนจากประเทศไทยเข้าสัมภาษณ์ทีมผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เกี่ยวกับแผนงานต่างๆ ของทางฮุนได มอเตอร์ ทั้งในระดับโลกและแผนการทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ได้เข้าร่วมสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ
ทิศทางการพัฒนา “BEV” “FCEV”
ภาพจำของลูกค้าฮุนไดชาวไทยคือ รถอเนกประสงค์ 11 ที่นั่ง อย่าง H1 และล่าสุด สตาเรีย ที่สร้างยอดขายเป็นกอบเป็นกำให้กับฮุนได มอเตอร์ ประเทศไทย แต่เมื่อมาถึงประเทศเกาหลี รถบนท้องถนนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นรถแบรนด์ ฮุนได หลากหลายรูปแบบทั้ง ซีดาน, เอสยูวี, อเนกประสงค์, รถบัส, รถบรรทุก และรถเก๋งเล็ก
ซึ่งยอดขายของฮุนไดในเกาหลีนั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ราว 42% ยอดขายราว 700,000 คัน/ปี ขณะที่ เกีย ซึ่งเป็นแบรนด์ในกลุ่มของ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ครองส่วนแบ่งตลาด 37% จากตลาดรวมทั้งหมดราว 1,600,000 คัน/ต่อปีของเกาหลี เรียกได้ว่าเป็นผู้นำของตลาด
ทั้งนี้พื้นที่แรกที่ฮุนไดเปิดให้เข้าชมคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนา โดยมีสิ่งที่น่าสนใจเริ่มต้นด้วยการโชว์เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า(EV)ที่เป็นรถบัสสำหรับขนส่งมวลชน พร้อมระบบขับขี่อัตโนมัติที่พัฒนาถึงระดับ 4 สามารถขับได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่แต่อย่างใด มีระบบเซ็นเซอร์และเรดาห์พร้อมกล้องติดตั้งรอบคัน
อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญคือ ฟิวเซลล์ (FCEV) หรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน ฮุนไดสามารถผลิตและออกจำหน่ายรถบัสพลังงานไฮโดรเจนได้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีจำหน่ายถึง 2 รุ่นด้วยกัน วิ่งได้ระยะทางไกล 700-800 กม./การเติมเต็มหนึ่งครั้ง มีสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจำนวน 220 แห่งแล้วในปัจจุบัน และมีเป้าหมายการขายรุ่นละ 400 คัน/ปี
เทคโนโลยีไฮโดรเจนของฮุนได มีลักษณะการทำงานแบบเดียวกับของโตโยต้า กล่าวคือ ใช้พลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาสร้างกระแสไฟฟ้า แล้วนำไฟฟ้าที่ได้ไปให้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน แต่จะมีความแตกต่างในเชิงโครงสร้างของตัวถังและจัดสรรนำพลังงานไปใช้ ฮุนไดออกแบบให้ถังไฮโดรเจนอยู่ทางด้านบนหลังคาเพื่อให้มีพื้นที่ด้านล่างในการเก็บสัมภาระ
สำหรับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของฮุนได ที่เราเห็นในศูนย์วิจัยแห่งนี้มีมากกว่า 100 คัน ขณะที่พื้นที่สำหรับการทดสอบเป็นสนามที่มีขนาดใหญ่ระดับ 80 เอเคอร์ มีการจำลองพื้นผิวต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวหิน กระเบื้อง รวมถึงพื้นผิวที่เป็นถนนโบราณในแถบยุโรปด้วย เรียกว่าเมื่อได้เห็นทั้งหมด สร้างความเชื่อมั่นให้เราได้ว่า ฮุนไดมีระบบการพัฒนารถยนต์ที่เทียบเท่ากับแบรนด์ในระดับโลกไม่ว่าจะเป็นโตโยต้าหรือโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป
ทั้งนี้เมื่อได้สอบถามกับทีมพัฒนายานยนต์ของฮุนได เป็นที่ชัดเจนว่า รถยนต์ไฟฟ้าคืออนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฮุนไดมีเทคโนโลยีอยู่ในระดับต้นๆ เหนือกว่าแบรนด์สัญชาติตะวันตกและญี่ปุ่นบางแบรนด์อีกด้วย
ตั้งบริษัทใหม่ลุยไทย
สำหรับแผนการทำตลาดในประเทศไทย ข้อมูลเบื้องต้นที่ทีมผู้บริหารเปิดเผยได้คือ มีการตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจะมีการทำตลาดรถยนต์ในช่วงเริ่มต้น 3 รุ่น ได้แก่ สตาเรีย, เครต้า และสตาร์เกเซอร์ พร้อมกับเตรียมที่จะทำตลาดอีก 2 รุ่น คือ ไอโอนิค 5 และ พาลิเสด รวมทั้งหมด 5 รุ่น แต่ 2 รุ่นที่ยังไม่เปิดตัวอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อให้ทำราคาแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
เป้าหมายและทิศทาง ฮุนไดระบุว่า จะแถลงให้ทรายเมื่อมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นในช่วงเดือนเมษายน 2566 อย่างไรก็ตามจะมีการนำรถ 3 รุ่นดังกล่าวเข้าร่วมจัดแสดงในงานบางกอกอินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ด้วย
สิ่งที่ฮุนได มอเตอร์ นำเสนอแก่สื่อมวลชนในคราวนี้คือทิศทางในระดับโลก ฮุนได มีแนวคิดเรื่องของ smart city ที่มีการจัดวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ดูแลตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐานของสังคม เนื่องจากฮุนได มิได้เป็นเพียงบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่มีหลากหลายธุรกิจที่อยู่ภายใต้ร่วมเงาของฮุนได เช่น ธุรกิจเหล็ก, การเงิน, การก่อสร้าง, ไอที และโรงแรม เป็นต้น
ตัดภาพกลับมาเฉพาะในส่วนของ ฮุนได มอเตอร์ ในเชิงของเทคโนโลยี ถือว่าก้าวหน้าไม่แพ้ผู้ผลิตแบรนด์ใดดังรายละเอียดข้างต้น แต่สำหรับเมืองไทย จะมีสิทธิ์ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยจากฮุนไดบ้างหรือไม่ คำตอบที่เราได้รับคือ มีโอกาสเป็นอย่างสูง โดยปัจจัยสำคัญมากจากนโยบายภาครัฐ
“เรากำลังเจรจากับทางภาครัฐของไทย เพื่อหาบทสรุปของเงื่อนไขที่ดีในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของไทย เราทราบถึงเงื่อนเวลาและกำลังพิจารณาทุกความเป็นไปได้ เพื่อที่จะทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงเรายังมีการศึกษาการสร้างรถปิกอัพไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเราทราบดีว่า รถปิกอัพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย” ทีมผู้บริหารของฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี กล่าว
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน การเข้ามาทำตลาดในไทย มิใช่มุ่งหวังการขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของการตอบแทนและการดูแลสังคมตามทิศทางของนโยบายหลักอีกด้วย ส่วนเรื่องของเม็ดเงินลงทุน ยังไม่สามารถเปิดเผยจำนวนได้เช่นเดียวกัน
ส่วนสิ่งสำคัญที่เปิดเผยได้ขณะนี้คือ 2 กลยุทธ์หลักที่จะนำมาใช้ประการแรก คือ การดูแลลูกค้าเก่าพร้อมปรับปรุงบริการหลังการขายให้ดีขึ้น เพราะลูกค้าทุกคนต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ขณะที่อีกกลยุทธ์สำคัญคือการตั้งราคาให้เหมาะสมกับตลาดของประเทศไทย รวมถึงจะมีการรีแบรนด์ฮุนได ในประเทศไทยใหม่อีกด้วย
“เราหวังที่จะได้ประกาศข่าวดีกับคนไทยทุกคนในเข้ามาทำตลาดคราวนี้ อาจจะเป็นการตั้งโรงงานในประเทศไทย หรือในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขเขตการค้าเสรีอาเซียน ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เราเปิดรับทุกข้อเสนอ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด ซึ่งผลประโยชน์จะไปตกแก่ลูกค้าที่ได้ใช้รถคุณภาพดีในราคาเหมาะสม” ทีมผู้บริหารของฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี กล่าว
อนึ่ง บริษัท ที่ฮุนได มอเตอร์ จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย มีรายงานข่าวระบุว่ามีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 601,000,300 บาท แสดงให้เห็นถึงทิศทางที่ชัดเจนว่า มีความเป็นไปได้สูงในการเตรียมการเพื่อจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญของการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ในโครงการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ต้องทำทุกอย่างให้ครบถ้วนภายในปี 2566 นี้ด้วย
แม้ว่าจะไม่มีคำกล่าวยืนยันใดๆ จากทีมฝ่ายบริหารของฮุนได มอเตอร์ ถึงเป้าหมายและแผนการ แต่จากการพูดคุยกับทีมผู้บริหารหลากหลายท่านทำให้รับทราบและพอจะสรุปได้ว่าการเข้ามาทำตลาดเมืองไทยของ ฮุนได มอเตอร์ คราวนี้ ไม่ได้มาเพื่อขายหลักพันคัน/ปี เหมือนที่ผ่านมา เพราะในระดับโลก ฮุนได มอเตอร์ คือผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายติดอันดับ 1 ใน 5 ของยอดขายรวมทั่วโลก ดังนั้น ขอให้ลูกค้าชาวไทยเชื่อมั่นในฮุนไดได้
“สำหรับแบรนด์รถยนต์ เกีย แม้เราจะอยู่ภายใต้เครือเดียวกัน แต่การบริหารงานและการทำตลาดแยกทุกอย่างแบบชัดเจน การเข้าทำตลาดในเมืองไทยของฮุนได จึงไม่เกี่ยวข้องกับ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เกียของไทย ถ้าจะให้เรียกแบบเข้าใจง่ายๆ ความสัมพันธ์ของฮุนไดและเกีย เป็นมากกว่าศัตรู (More Than Enemy)” Kim Seon Seob Executive Vice President Head of Global Operation Division, Head of Hyundai Motor Asia Strategic Region of Hyundai Motor Company
ถึงบรรทัดนี้ ต้องจับตาดู ก้าวที่สำคัญของ ฮุนได ในการปักหมุดหมายที่ประเทศไทย หากฮุนได ตัดสินใจเลือกตั้งโรงงานในเมืองไทย รับประกันได้ว่า ผลประโยชน์จะตกแก่ลูกค้าชาวไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมีตัวเลือกมากขึ้น รวมถึงรถที่เราได้สัมผัสแต่ละคันนั้น เป็นตำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมฮุนไดจึงขายดีมากในยุโรป”
ทิศทางการพัฒนา “BEV” “FCEV”
ภาพจำของลูกค้าฮุนไดชาวไทยคือ รถอเนกประสงค์ 11 ที่นั่ง อย่าง H1 และล่าสุด สตาเรีย ที่สร้างยอดขายเป็นกอบเป็นกำให้กับฮุนได มอเตอร์ ประเทศไทย แต่เมื่อมาถึงประเทศเกาหลี รถบนท้องถนนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นรถแบรนด์ ฮุนได หลากหลายรูปแบบทั้ง ซีดาน, เอสยูวี, อเนกประสงค์, รถบัส, รถบรรทุก และรถเก๋งเล็ก
ซึ่งยอดขายของฮุนไดในเกาหลีนั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ราว 42% ยอดขายราว 700,000 คัน/ปี ขณะที่ เกีย ซึ่งเป็นแบรนด์ในกลุ่มของ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ครองส่วนแบ่งตลาด 37% จากตลาดรวมทั้งหมดราว 1,600,000 คัน/ต่อปีของเกาหลี เรียกได้ว่าเป็นผู้นำของตลาด
ทั้งนี้พื้นที่แรกที่ฮุนไดเปิดให้เข้าชมคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนา โดยมีสิ่งที่น่าสนใจเริ่มต้นด้วยการโชว์เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า(EV)ที่เป็นรถบัสสำหรับขนส่งมวลชน พร้อมระบบขับขี่อัตโนมัติที่พัฒนาถึงระดับ 4 สามารถขับได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่แต่อย่างใด มีระบบเซ็นเซอร์และเรดาห์พร้อมกล้องติดตั้งรอบคัน
อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญคือ ฟิวเซลล์ (FCEV) หรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน ฮุนไดสามารถผลิตและออกจำหน่ายรถบัสพลังงานไฮโดรเจนได้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีจำหน่ายถึง 2 รุ่นด้วยกัน วิ่งได้ระยะทางไกล 700-800 กม./การเติมเต็มหนึ่งครั้ง มีสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจำนวน 220 แห่งแล้วในปัจจุบัน และมีเป้าหมายการขายรุ่นละ 400 คัน/ปี
เทคโนโลยีไฮโดรเจนของฮุนได มีลักษณะการทำงานแบบเดียวกับของโตโยต้า กล่าวคือ ใช้พลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาสร้างกระแสไฟฟ้า แล้วนำไฟฟ้าที่ได้ไปให้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน แต่จะมีความแตกต่างในเชิงโครงสร้างของตัวถังและจัดสรรนำพลังงานไปใช้ ฮุนไดออกแบบให้ถังไฮโดรเจนอยู่ทางด้านบนหลังคาเพื่อให้มีพื้นที่ด้านล่างในการเก็บสัมภาระ
สำหรับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของฮุนได ที่เราเห็นในศูนย์วิจัยแห่งนี้มีมากกว่า 100 คัน ขณะที่พื้นที่สำหรับการทดสอบเป็นสนามที่มีขนาดใหญ่ระดับ 80 เอเคอร์ มีการจำลองพื้นผิวต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวหิน กระเบื้อง รวมถึงพื้นผิวที่เป็นถนนโบราณในแถบยุโรปด้วย เรียกว่าเมื่อได้เห็นทั้งหมด สร้างความเชื่อมั่นให้เราได้ว่า ฮุนไดมีระบบการพัฒนารถยนต์ที่เทียบเท่ากับแบรนด์ในระดับโลกไม่ว่าจะเป็นโตโยต้าหรือโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป
ทั้งนี้เมื่อได้สอบถามกับทีมพัฒนายานยนต์ของฮุนได เป็นที่ชัดเจนว่า รถยนต์ไฟฟ้าคืออนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฮุนไดมีเทคโนโลยีอยู่ในระดับต้นๆ เหนือกว่าแบรนด์สัญชาติตะวันตกและญี่ปุ่นบางแบรนด์อีกด้วย
ตั้งบริษัทใหม่ลุยไทย
สำหรับแผนการทำตลาดในประเทศไทย ข้อมูลเบื้องต้นที่ทีมผู้บริหารเปิดเผยได้คือ มีการตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจะมีการทำตลาดรถยนต์ในช่วงเริ่มต้น 3 รุ่น ได้แก่ สตาเรีย, เครต้า และสตาร์เกเซอร์ พร้อมกับเตรียมที่จะทำตลาดอีก 2 รุ่น คือ ไอโอนิค 5 และ พาลิเสด รวมทั้งหมด 5 รุ่น แต่ 2 รุ่นที่ยังไม่เปิดตัวอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อให้ทำราคาแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
เป้าหมายและทิศทาง ฮุนไดระบุว่า จะแถลงให้ทรายเมื่อมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นในช่วงเดือนเมษายน 2566 อย่างไรก็ตามจะมีการนำรถ 3 รุ่นดังกล่าวเข้าร่วมจัดแสดงในงานบางกอกอินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ด้วย
สิ่งที่ฮุนได มอเตอร์ นำเสนอแก่สื่อมวลชนในคราวนี้คือทิศทางในระดับโลก ฮุนได มีแนวคิดเรื่องของ smart city ที่มีการจัดวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ดูแลตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐานของสังคม เนื่องจากฮุนได มิได้เป็นเพียงบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่มีหลากหลายธุรกิจที่อยู่ภายใต้ร่วมเงาของฮุนได เช่น ธุรกิจเหล็ก, การเงิน, การก่อสร้าง, ไอที และโรงแรม เป็นต้น
ตัดภาพกลับมาเฉพาะในส่วนของ ฮุนได มอเตอร์ ในเชิงของเทคโนโลยี ถือว่าก้าวหน้าไม่แพ้ผู้ผลิตแบรนด์ใดดังรายละเอียดข้างต้น แต่สำหรับเมืองไทย จะมีสิทธิ์ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยจากฮุนไดบ้างหรือไม่ คำตอบที่เราได้รับคือ มีโอกาสเป็นอย่างสูง โดยปัจจัยสำคัญมากจากนโยบายภาครัฐ
“เรากำลังเจรจากับทางภาครัฐของไทย เพื่อหาบทสรุปของเงื่อนไขที่ดีในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของไทย เราทราบถึงเงื่อนเวลาและกำลังพิจารณาทุกความเป็นไปได้ เพื่อที่จะทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงเรายังมีการศึกษาการสร้างรถปิกอัพไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเราทราบดีว่า รถปิกอัพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย” ทีมผู้บริหารของฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี กล่าว
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน การเข้ามาทำตลาดในไทย มิใช่มุ่งหวังการขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของการตอบแทนและการดูแลสังคมตามทิศทางของนโยบายหลักอีกด้วย ส่วนเรื่องของเม็ดเงินลงทุน ยังไม่สามารถเปิดเผยจำนวนได้เช่นเดียวกัน
ส่วนสิ่งสำคัญที่เปิดเผยได้ขณะนี้คือ 2 กลยุทธ์หลักที่จะนำมาใช้ประการแรก คือ การดูแลลูกค้าเก่าพร้อมปรับปรุงบริการหลังการขายให้ดีขึ้น เพราะลูกค้าทุกคนต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ขณะที่อีกกลยุทธ์สำคัญคือการตั้งราคาให้เหมาะสมกับตลาดของประเทศไทย รวมถึงจะมีการรีแบรนด์ฮุนได ในประเทศไทยใหม่อีกด้วย
“เราหวังที่จะได้ประกาศข่าวดีกับคนไทยทุกคนในเข้ามาทำตลาดคราวนี้ อาจจะเป็นการตั้งโรงงานในประเทศไทย หรือในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขเขตการค้าเสรีอาเซียน ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เราเปิดรับทุกข้อเสนอ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด ซึ่งผลประโยชน์จะไปตกแก่ลูกค้าที่ได้ใช้รถคุณภาพดีในราคาเหมาะสม” ทีมผู้บริหารของฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี กล่าว
อนึ่ง บริษัท ที่ฮุนได มอเตอร์ จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย มีรายงานข่าวระบุว่ามีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 601,000,300 บาท แสดงให้เห็นถึงทิศทางที่ชัดเจนว่า มีความเป็นไปได้สูงในการเตรียมการเพื่อจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญของการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ในโครงการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ต้องทำทุกอย่างให้ครบถ้วนภายในปี 2566 นี้ด้วย
แม้ว่าจะไม่มีคำกล่าวยืนยันใดๆ จากทีมฝ่ายบริหารของฮุนได มอเตอร์ ถึงเป้าหมายและแผนการ แต่จากการพูดคุยกับทีมผู้บริหารหลากหลายท่านทำให้รับทราบและพอจะสรุปได้ว่าการเข้ามาทำตลาดเมืองไทยของ ฮุนได มอเตอร์ คราวนี้ ไม่ได้มาเพื่อขายหลักพันคัน/ปี เหมือนที่ผ่านมา เพราะในระดับโลก ฮุนได มอเตอร์ คือผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายติดอันดับ 1 ใน 5 ของยอดขายรวมทั่วโลก ดังนั้น ขอให้ลูกค้าชาวไทยเชื่อมั่นในฮุนไดได้
“สำหรับแบรนด์รถยนต์ เกีย แม้เราจะอยู่ภายใต้เครือเดียวกัน แต่การบริหารงานและการทำตลาดแยกทุกอย่างแบบชัดเจน การเข้าทำตลาดในเมืองไทยของฮุนได จึงไม่เกี่ยวข้องกับ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เกียของไทย ถ้าจะให้เรียกแบบเข้าใจง่ายๆ ความสัมพันธ์ของฮุนไดและเกีย เป็นมากกว่าศัตรู (More Than Enemy)” Kim Seon Seob Executive Vice President Head of Global Operation Division, Head of Hyundai Motor Asia Strategic Region of Hyundai Motor Company
ถึงบรรทัดนี้ ต้องจับตาดู ก้าวที่สำคัญของ ฮุนได ในการปักหมุดหมายที่ประเทศไทย หากฮุนได ตัดสินใจเลือกตั้งโรงงานในเมืองไทย รับประกันได้ว่า ผลประโยชน์จะตกแก่ลูกค้าชาวไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมีตัวเลือกมากขึ้น รวมถึงรถที่เราได้สัมผัสแต่ละคันนั้น เป็นตำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมฮุนไดจึงขายดีมากในยุโรป”