สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) แถลงจุดยืนข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้ามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมเร่งจับมือเอกชนพัฒนาเครือข่ายชาร์จไฟร่วมกันเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่ มีการเเบ่งการทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย ได้เเก่ ฝ่ายเลขานุการ, ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย, ฝ่ายวิชาการ, ฝ่ายอุตสาหกรรมและฝ่ายส่งเสริมการใช้ ทุกฝ่ายล้วนมีการทำงาน ด้วยวิสัยทัศน์เดียวกันคือ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่จะช่วยลดปัญหามลพิษในท้องถนน
มุ่งเน้นให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรม การผลิต พัฒนาและวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้มีความเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันในตลาดสากลได้มากขึ้น
“เราทราบถึงความยากในการใช้งานแอพลิเคชันของผู้ให้บริการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีแอพลิเคชันของตัวเอง ทำให้ต้องมีการโหลดแอพต่างๆ มาใช้อย่างมากมาย ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟได้สะดวกขึ้นจึงมีแนวคิดในการสร้างเครือข่ายร่วมที่จะพัฒนาแอพลิเคชันเพียงชุดเดียวและสามารถชาร์จได้ทุกเครือข่าย ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับทุกผู้ประกอบการรวมถึงการไฟฟ้าด้วย” นายกฤษฎา กล่าว
สำหรับทิศทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่ สมาคมฯจะยังคงสานต่อ 8 ข้อเสนอ เเนะเเนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันได้เเก่
1.การจัดทำแผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า (EV Roadmap) แบบบูรณาการ
2.การพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อไฟฟ้าเเละรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี 3. การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เช่นการส่งเสริมให้ประชาชนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสมผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การลดภาษีส่วนบุคคล/นิติบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
4.การส่งเสริมการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
5.การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเเละการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
6.การจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง
7.การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า
8.การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่ มีการเเบ่งการทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย ได้เเก่ ฝ่ายเลขานุการ, ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย, ฝ่ายวิชาการ, ฝ่ายอุตสาหกรรมและฝ่ายส่งเสริมการใช้ ทุกฝ่ายล้วนมีการทำงาน ด้วยวิสัยทัศน์เดียวกันคือ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่จะช่วยลดปัญหามลพิษในท้องถนน
มุ่งเน้นให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรม การผลิต พัฒนาและวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้มีความเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันในตลาดสากลได้มากขึ้น
“เราทราบถึงความยากในการใช้งานแอพลิเคชันของผู้ให้บริการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีแอพลิเคชันของตัวเอง ทำให้ต้องมีการโหลดแอพต่างๆ มาใช้อย่างมากมาย ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟได้สะดวกขึ้นจึงมีแนวคิดในการสร้างเครือข่ายร่วมที่จะพัฒนาแอพลิเคชันเพียงชุดเดียวและสามารถชาร์จได้ทุกเครือข่าย ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับทุกผู้ประกอบการรวมถึงการไฟฟ้าด้วย” นายกฤษฎา กล่าว
สำหรับทิศทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่ สมาคมฯจะยังคงสานต่อ 8 ข้อเสนอ เเนะเเนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันได้เเก่
1.การจัดทำแผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า (EV Roadmap) แบบบูรณาการ
2.การพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อไฟฟ้าเเละรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี 3. การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เช่นการส่งเสริมให้ประชาชนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสมผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การลดภาษีส่วนบุคคล/นิติบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
4.การส่งเสริมการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
5.การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเเละการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
6.การจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง
7.การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า
8.การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า