ขึ้นชื่อว่าโตโยต้าแล้ว ใครเลยจะคิดว่าพวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคนี้ ที่โตโยต้าคือผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในอันดับต้นๆ ของโลก
แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว…
ไซออน (Scion) กลายเป็นรอยด่างพร้อยในการทำธุรกิจรถยนต์ของพวกเขา
โตโยต้าสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาเพื่อ เป็นทางออกของปัญหาของ Gen Y เพราะไม่ว่าจะเป็นแบรนด์โตโยต้า หรือเล็กซัส กลุ่มลูกค้าของพวกเขาคือ กลุ่ม Gen X หรือไม่ก็ BabyBoomer ซึ่งนับวันมีแต่อายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเหมือนกับพวกไม้ใกล้ฝั่ง ขณะเดียวกันโตโยต้ากลับไม่มีรถยนต์เอาใจวัยรุ่นเหมือนกับคู่แข่ง ซึ่งนั่นทำให้พวกเขากังวลว่า เมื่อถึงยุคที่ Gen Y กลายเป็นลูกค้ากลุ่มหลักบังลังก์ของพวกเขาจะสั่นคลอน
ไซออนเลยถูกส่งเข้ามาทำตลาด…ภายใต้แนวคิดเดียวกับที่โตโยต้าเคยทำกับเล็กซัส นั่นคือ จับเอารถยนต์ ของโตโยต้าที่เป็นเวอร์ชัน JDM มีขายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นมาตีตราใหม่
นั่นคือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 13 ปีที่แล้ว และไซออนก็ทำท่าว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าชาวอเมริกัน เพราะหน้าตาของเจ้า Bb และ WiLL ที่ถูกส่งมาขายในชื่อ xB และ xA โดนใจคนที่นี่ และโตโยต้าเองก็ไม่ต้องลง ทุนทำ R&D พัฒนารถยนต์ขึ้นใหม่ แถมการขายก็อาศัยช่องทางของดีลเลอร์ของตัวเองในเมืองลุงแซมกว่า 1,000 แห่งในการวางขายสินค้าและเซอร์วิส
อายุเฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าไซออนอยู่ที่ 36 ปีซึ่งเป็นช่วงอายุที่โตโยต้าถวิลหา หลังจากที่อายุเฉลี่ย ส่วนใหญ่ของทั้งแบรนด์โตโยต้า และเล็กซัสอยู่ที่ 40 ปีปลายๆ ทั้งนั้น และ 70% ของคนที่เป็นลูกค้าไซออน คือ คนที่ไม่เคยซื้อรถยนต์ของโตโยต้ามาก่อน
สัญญาณแห่งความล้มเหลวของไซออนก่อขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เมื่อยอดขายของพวกเขาร่วงลงมาอยู่ที่ 45,000 กว่าคันในปี 2010 จากเดิมที่ขายต่อปีสูงสุดก 170,000 คันในปี 2006 โดยหลังจากปี 2008 พวกเขาก็ไม่เคยได้สัมผัสกับยอดขายต่อปีในระดับเลข 6 หลักอีกเลยทั้งที่จำนวนรุ่นรถยนต์ที่ขายบนโชว์รูมมีเพิ่มขึ้น
ว่ากันว่าเหตุผลหลักของการที่โตโยต้าตัดสินใจยุติบทบาทของไซออนคือ ยอดขายที่ร่วงอย่างหนัก โดยปี 2015 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ขายแบบเต็มปี พวกเขาขายรถไปได้ 56,167 คันจากรุ่นรถยนต์ 7 รุ่น หรือมากกว่าปี 2004 ซึ่งป็นการขายแบบเต็มปี และมีรถยนต์เพียง 3 รุ่น (แต่กลับมียอดขายมากกว่าปี 2015 เกือบเท่าตัว)
แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว…
ไซออน (Scion) กลายเป็นรอยด่างพร้อยในการทำธุรกิจรถยนต์ของพวกเขา
โตโยต้าสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาเพื่อ เป็นทางออกของปัญหาของ Gen Y เพราะไม่ว่าจะเป็นแบรนด์โตโยต้า หรือเล็กซัส กลุ่มลูกค้าของพวกเขาคือ กลุ่ม Gen X หรือไม่ก็ BabyBoomer ซึ่งนับวันมีแต่อายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเหมือนกับพวกไม้ใกล้ฝั่ง ขณะเดียวกันโตโยต้ากลับไม่มีรถยนต์เอาใจวัยรุ่นเหมือนกับคู่แข่ง ซึ่งนั่นทำให้พวกเขากังวลว่า เมื่อถึงยุคที่ Gen Y กลายเป็นลูกค้ากลุ่มหลักบังลังก์ของพวกเขาจะสั่นคลอน
ไซออนเลยถูกส่งเข้ามาทำตลาด…ภายใต้แนวคิดเดียวกับที่โตโยต้าเคยทำกับเล็กซัส นั่นคือ จับเอารถยนต์ ของโตโยต้าที่เป็นเวอร์ชัน JDM มีขายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นมาตีตราใหม่
นั่นคือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 13 ปีที่แล้ว และไซออนก็ทำท่าว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าชาวอเมริกัน เพราะหน้าตาของเจ้า Bb และ WiLL ที่ถูกส่งมาขายในชื่อ xB และ xA โดนใจคนที่นี่ และโตโยต้าเองก็ไม่ต้องลง ทุนทำ R&D พัฒนารถยนต์ขึ้นใหม่ แถมการขายก็อาศัยช่องทางของดีลเลอร์ของตัวเองในเมืองลุงแซมกว่า 1,000 แห่งในการวางขายสินค้าและเซอร์วิส
อายุเฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าไซออนอยู่ที่ 36 ปีซึ่งเป็นช่วงอายุที่โตโยต้าถวิลหา หลังจากที่อายุเฉลี่ย ส่วนใหญ่ของทั้งแบรนด์โตโยต้า และเล็กซัสอยู่ที่ 40 ปีปลายๆ ทั้งนั้น และ 70% ของคนที่เป็นลูกค้าไซออน คือ คนที่ไม่เคยซื้อรถยนต์ของโตโยต้ามาก่อน
สัญญาณแห่งความล้มเหลวของไซออนก่อขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เมื่อยอดขายของพวกเขาร่วงลงมาอยู่ที่ 45,000 กว่าคันในปี 2010 จากเดิมที่ขายต่อปีสูงสุดก 170,000 คันในปี 2006 โดยหลังจากปี 2008 พวกเขาก็ไม่เคยได้สัมผัสกับยอดขายต่อปีในระดับเลข 6 หลักอีกเลยทั้งที่จำนวนรุ่นรถยนต์ที่ขายบนโชว์รูมมีเพิ่มขึ้น
ว่ากันว่าเหตุผลหลักของการที่โตโยต้าตัดสินใจยุติบทบาทของไซออนคือ ยอดขายที่ร่วงอย่างหนัก โดยปี 2015 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ขายแบบเต็มปี พวกเขาขายรถไปได้ 56,167 คันจากรุ่นรถยนต์ 7 รุ่น หรือมากกว่าปี 2004 ซึ่งป็นการขายแบบเต็มปี และมีรถยนต์เพียง 3 รุ่น (แต่กลับมียอดขายมากกว่าปี 2015 เกือบเท่าตัว)