ลุ้นจนเหนื่อย รอจนล้า สำหรับการเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ของโตโยต้า จากที่เคยคาดว่าจะมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วก็เงียบ พองาน“บางกอกมอเตอร์โชว์ 2015” ก็หาย จนสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา โตโยต้าได้ฤกษ์จัดงานระดับ “เวิล์ด พรีเมียร์ ลอนซ์” หรือเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในโลกที่ไบเทค บางนา(เป็นศูนย์กลาง) พร้อมผุดอีเวนต์ใหญ่ในหัวเมืองหลักทั่วประเทศ
ต้องยอมรับว่าช่วง 1-2 เดือนก่อนการเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ของโตโยต้า ตลาดปิกอัพที่ซบซึมจากพิษเศรษฐกิจอยู่แล้ว ยิ่งเงียบเข้าไปใหญ่ นั่นเพราะหลายคนต่างรอดูก่อนว่าพี่ใหญ่ในวงการจะจัดหนักอัดเต็มขนาดไหน และพลอยทำให้ยอดขายของค่ายอื่นๆเงียบไปด้วย
ทว่าทันทีที่มีรถลงตลาด ผู้บริโภคได้เห็นของจริงรับรู้สเปกรายละเอียด ต่างก็โล่งกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์โตโยต้าเอง ส่วนหนึ่งเพราะ“วีโก้”รุ่นเก่าก็เคลียร์สต็อกง่าย (พร้อมอัดโปรโมชัน) ส่วนคู่แข่งก็วัดกันไปเลยว่า ลูกค้าชอบใจของใคร ก็ไปซื้อคันนั้น
สำหรับปิกอัพรุ่นใหม่ของโตโยต้า ยังใช้ชื่อไฮลักซ์ในการทำตลาดทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยจะมีซับเนม “รีโว่” ต่อท้าย ใครที่เคยติดปากว่า “วีโก้” ๆๆๆ มาเป็น 10 ปี ถึงเวลาต้องเรียกชื่อใหม่ให้ทันสมัยแล้วนะครับ
คิดง่ายๆว่า “รีโว่” หรือ Revo มาจากคำเต็มว่า Revolution ที่หมายถึงการ “ปฎิวัติ” นัยว่า รถยนต์รุ่นนี้จะเข้ามาปฎิวัติวงการปิกอัพของเมืองไทยและของโลก ตามสโลแกนทางการตลาด “ไฮลักซ์ รีโว่ ปฏิวัติทุกมิติ แห่งกระบะอนาคต”
เห็นท่านประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย “เคียวอิจิ ทานาดะ” คุยว่า รีโว่พัฒนาใหม่ในทุกตารางนิ้วกันเลยทีเดียว!!!
...แล้วอะไรใหม่บ้าง พัฒนากันเป็นตารางนิ้วจริงหรือ?
- เครื่องยนต์ใหม่
เริ่มจากหัวใจหลักซึ่งโตโยต้ามากับหลักการ Downsizing พัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลง แต่คงไว้ด้วยสมรรถนะ พร้อมปล่อยไอเสียและกินน้ำมันน้อยลง ดังนั้นถ้าเทียบง่ายๆ เครื่องยนต์ดีเซลใหม่ขนาด 2.4 ลิตร รหัส 2GD จะมาแทนขนาด 2.5 ลิตร รหัส 2KD ส่วนบล็อก 2.8 ลิตร รหัส 1GD จะมาแทนขนาด 3.0 ลิตร รหัส 1KD
ทั้งนี้โตโยต้าเคลมว่าเครื่องยนต์ใหม่ทั้งสองบล็อกจะประหยัดน้ำมันกว่าของเก่าประมาณ 10% ส่วนแรงม้า-แรงบิด นั้นดีกว่าแน่ๆ โดยเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.4 ลิตร DOHC พร้อมเทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า (2.5 ลิตรเดิม 144แรงม้า) ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 400 นิวตัน-เมตร (2.5 ลิตรเดิม 343 นิวตัน-เมตร) ที่ 1,600 - 2,000 รอบต่อนาที
ขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.8 ลิตร DOHC พร้อมเทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า (3.0 ลิตรเดิม 171 แรงม้า) ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตัน-เมตร (3.0 ลิตรเดิม 360 นิวตัน-เมตร) ที่ 1,600 - 2,000 รอบต่อนาที
สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องยนต์ ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ ระบบคอมมอนเรลใหม่ให้แรงดันน้ำมันได้สูงสุดถึง 220 MPa ด้วยการเปลี่ยนปั๊มน้ำมันแรงดันสูง หันมาใช้หัวฉีดจาก 7 รูเป็น 8 รู ในบล็อก 2.4 ลิตร และ 8 รู เป็น 9 รู ในบล็อก 2.8 ลิตร พร้อมปรับปรุงเทอร์โบแปรผัน และ EGR วาล์ว ขณะเดียวกันเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ทั้งสองบล็อกยังหันมาใช้โซ่ไทม์มิ่งแทนสายพานไทม์มิ่งเป็นตัวขับเพลาลูกเบี้ยวทั้งด้านไอดีและไอเสีย พร้อมโรลเลอร์ ร็อกเกอร์อาร์มที่ออกแบบให้ช่วยลดแรงเสียดทานในจังหวะการเปิด-ปิดวาล์ว พร้อมระบบปรับตั้งวาล์วอัตโนมัติ
- เกียร์ 6 สปีดใหม่
ด้านระบบส่งกำลัง โตโยต้าใช้เกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 6 สปีด เพื่อรองรับแรงบิดมหาศาลของเครื่องยนต์ พร้อมถ่ายทอดกำลังลงสู่ล้อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเกียร์อัตโนมัติปรับจูนระบบควบคุมอิเลกทรอนิกส์ใหม่ มีระบบควบคุมการตอบสนองเร็วเมื่อปล่อยคันเร่ง-เหยียบคันเร่ง และออกแบบให้มีอัตราทดเกียร์สูง
ขณะที่เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ออกแบบจานกดคลัทช์ใหม่ ช่วยลดแรงในการเหยียบแป้นคลัทช์โดยการเสริมแรงผลักที่ปลายหวีคลัทช์ นอกจากนี้ยังเสริมระบบ iMT (intelligent Manual Transmission) เพื่อรักษารอบเครื่องยนต์ให้สัมพันธ์กับเกียร์ พร้อมให้ความนุ่มนวลและปลอดภัย(โตโยต้าบอกว่าระบบนี้จะช่วยให้รถไม่ค่อยดับในจังหวะเข้าเกียร์ เหยียบคลัทช์ ออกตัว)
- โครงสร้างแชสซีส์ใหม่,ระบบกันสะเทือนใหม่
ด้านแชสซีส์ โตโยต้าย้ำหนักแน่นว่าเป็นการพัฒนาใหม่ ไม่ได้นำของเก่ามาย้อมแมว โดยแฟรมมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งความสูงของแชสซีส์มีการวัดให้เห็นว่า มากกว่าแชสซีส์ของวีโก้ ประมาณ 2 เซนติเมตร (วัดตรงช่วงกลางแชสซีส์) เป็น 15 เซนติเมตร ส่วนความกว้าง(หน้าตัด) ยังเท่าเดิมที่ 9 เซนติเมตร พร้อมปรับจุดยึดต่างๆใหม่ สอดคล้องกับโครงสร้างช่วงล่างอื่นๆอย่างเพลาหลังที่ใหญ่ขึ้น แหนบยาวขึ้น และใช้โช้คอัพตัวใหญ่ขึ้น ขณะที่รุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อเปลี่ยนใช้ชุดเกียร์ทรานเฟอร์ใหม่ และเฟืองท้ายแบบ Diff Lock ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
สิ่งที่โตโยต้าใส่ให้เป็นมาตรฐานในทุกรุ่น ไล่ตั้งแต่ ระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ หรูหราตามสมัยนิยมด้วยไฟ Daytime Running Light (ในรุ่นท็อปๆใช้หลอด LED แต่บางรุ่นก็ใช้แบบหลอดไส้ธรรมดา) ไฟตัดหมอกหลัง ไฟเบรกดวงที่สาม LED ระบบเบรก ABS EBD แลถุงลมนิรภัย 3 ลูก คือ คู่หน้าฝั่งคนขับกับผู้โดยสาร และถุงลมป้องกันหัวเข่าฝั่งคนขับ
ส่วนของเล่นใหม่ๆที่ผู้เขียนเห็นในตัวถังดับเบิ้ลแค็บ(ที่ได้ลองขับ) มีทั้ง สวิตช์เลือกโหมดการขับขี่ Eco และ Power ระบบดับเครื่องยนต์เมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) ปุ่มกดสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์(Push Start) หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วที่ดูดีมีสกุลมากๆ และมีช่องต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ AC 220V ในกล่องตรงคอนโซลกลาง มีกล่องเก็บของพร้อมรักษาความเย็นที่คอนโซลหน้า(ฝั่งผู้โดยสาร) ช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง และกล้องมองหลัง (สะท้อนภาพมาที่หน้าจอ 7 นิ้ว)
ความปลอดภัยเต็มขั้นด้วย ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (Traction Control) ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (Vehicle Stability Control) ระบบป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-force Distribution) ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ระบบควบคุมการส่ายของส่วนพ่วงท้าย TSC (Trailer Sway Control) ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC(Hill-start assist control) ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน DAC (Downhill Assist Control) และถุงลมนิรภัย 7 จุด
***สมรรถนะที่ยกระดับพร้อมให้ความมั่นใจ
การลองขับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ใหม่ ผู้เขียนได้ 2 รุ่นของตัวถังดับเบิ้ลแคบมาเป็นพาหนะ คือตัวท็อป เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ราคา 1.139 ล้านบาท และตัวขับเคลื่อนสองล้อยกสูง พรีรันเนอร์ เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร เกียร์ธรรมดา ราคา 9.25 แสนบาทเรียกว่าได้ลองระบบขับเคลื่อนใหม่ครบละครับ
การพัฒนาที่ชัดเจนของไฮลักซ์ รีโว่ เห็นจะเป็นช่วงล่าง การควบคุม ที่ดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาจากวีโก้ ด้วยการปรับโครงสร้างตามที่เกริ่นไปด้านบนกับระบบรองรับหน้าแบบปีกนกคู่ คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังยังเป็นแหนบแผ่นซ้อน ประกบล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว และยางแบบออลเทอร์เรน
ช่วงล่างแน่นจริง จังหวะเข้า - ออกโค้งหนึบหนับมั่นใจ แต่ช่วงผ่านถนนแย่ๆ พื้นขุรขระมีอาการเด้งสะเทือนให้รับรู้อยู่พอสมควร ซึ่งระบบรองรับนี้ยังให้ความมั่นใจที่ดีกับพวงมาลัยแบบแรคแอนด์เนียน ที่หน่วงแน่น(ถ้าผู้หญิงอาจจะบ่นว่าหนักมือ) ไร้อาการว่อกแว่ก ถ้าเทียบกับวีโก้ต้องบอกว่าคมน้อยกว่า แต่ในภาพรวมของการควบคุมรีโว่ให้ความมั่นใจที่ดีมาก
ด้านเบรกหน้าดิสก์หลังดรัม มีการปรับปรุงทั้งหม้อลมเบรก ชุดคาลิบเปอร์ และชุดกระบอกเบรก ดรัมเบรกหลัง ขณะที่รีโว่เครื่องยนต์เบนซิน จะมีชุดสร้างสูญญากาศอินเจกเตอร์หม้อลมเบรกมา ซึ่งจะมาช่วยทำงานในกรณีที่สูญญากาศภายในหม้อลมเบรกไม่เพียงพอ
…สรุปประสิทธิภาพของช่วงล่าง การควบคุม และระบบเบรก ดีกว่าวีโก้เดิมแบบรู้สึกได้ ส่วนเรื่องของการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร ประเด็นนี้ยังอยู่ในระดับพอใช้ ไม่ได้ดีกว่าใครในตลาด หรือโดดเด่นกว่าจนนำไปคุยได้
สมรรถนะจากเครื่องยนต์ดีเซล 2.4 ลิตร แรงบิดระดับ 400 นิวตันเมตร นี่ไม่น้อยนะครับ ยิ่งประกบเกียร์ธรรมดาชุดนี้ ขับมันมือสนุกเท้า พลังจัดให้ตั้งแต่รอบต่ำ หรือแถวๆ 1,800 - 2,000 รอบ ก็ดีดเด้งเร่งดีแล้วครับ ขณะที่จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ สับคล่องเข้าง่ายกว่า วีโก้(พรีรันเนอร์เดิม) เพียงแต่พอเป็น 6 เกียร์ อาจจะมีงงๆในตำแหน่งเกียร์บ้างหากยังไม่คุ้นชิน (ประเด็นนี้ฝากให้โตโยต้า พิจารณาเรื่องโชว์ไฟบอกตำแหน่งเกียร์ที่หน้าปัดจะดีมาก) บนความเร็ว 120 กม./ชม. ที่เกียร์สูงสุด รอบยังอยู่แค่ 1,900 รอบเท่านั้นครับ
อัตราบริโภคน้ำมันในรุ่นนี้ จากการทดสอบเส้นพิษณุโลก น้ำหนาว ชุมแพ มุ่งหน้าอุดรธานี มีช่วงขึ้นลงเขา และใช้ความเร็วสูง(มาก) หน้าจอแสดงตัวเลขอยู่ประมาณ 13 กม./ลิตร
ส่วนตัวท็อปเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติที่ผู้เขียนได้ขับในช่วงหลัง กับแรงบิดระดับ 450 นิวตัน-เมตร ตอนแรกคาดว่าจะพลุ่งพล่านปานจรวด แต่เอาเข้าจริงบุคลิกไม่ได้เกรี้ยวกราดขนาดนั้น
กล่าวคือเรี่ยวแรงนั้นดีว่าเครื่องดีเซล 2.4 ลิตรแน่ๆ พร้อมให้กำลังฉุดดึงตั้งแต่รอบต่ำ แต่ลักษณะของการปลดปล่อยจะออกมาแบบนวลต่อเนื่อง แต่ไม่ถึงดุดันรุนแรงครับ ขณะที่อัตราบริโภคน้ำมันที่ได้เห็นในทริปนี้กลับทำได้ใกล้เคียงกับพรีรันเนอร์ 2.4 เพราะช่วงนี้ขับกันช้ากว่าช่วงแรก โดยใช้ความเร็วนิ่งๆประมาณ 80-100 กม./ชม.
สำหรับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ มีให้เลือก 3 ตัวถัง 33 รุ่นย่อย โดยรุ่นดับเบิ้ลแค็บและซิงเกิลแค็บ มีรถพร้อมส่งมอบแล้ว แต่รุ่นตอนครึ่งหรือสมาร์ทแค็บ จะเริ่มส่งมอบได้ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนนี้
รวบรัดตัดความ...หน้าตาอาจจะไม่โดดเด่น ขับรถตามๆกันไปยังนึกว่าเป็นวีโก้ตัวเก่า (โดยเฉพาะด้านหลัง) แต่ภายในสวยขึ้นชัดเจน ด้วยวัสดุคุณภาพและเสริมออปชันใหม่ๆเพื่อช่วยให้ชีวิตดีขึ้น(แต่ราคาก็สูงขึ้นตาม) โดยพรีรันเนอร์เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร ประกบเกียร์ธรรมดา ขับสนุก แรงดี ส่วนรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ การตอบสนองไม่ถึงกับพุ่งกระชากจนหลังติดเบาะ บุคลิกไม่ดุดันอย่างที่คิด แต่ยังให้พลังเนียนๆมาเต็มตั้งแต่รอบต่ำ การควบคุมและช่วงล่างให้ความมั่นใจขึ้นมากเมื่อเทียบกับวีโก้ และสมดุลดีกว่าหลายยี่ห้อในตลาด หรือเทียบกับฟอร์ด เรนเจอร์ ต้องบอกว่าไม่เป็นรอง...ไปลองขับดูแล้วคุณจะลืมความวาบหวิวของวีโก้ไปเลย
แจกบัตร “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน 2015” (Bangkok International Auto Salon 2015) คนละ 4 ใบ มารับได้ที่บ้านพระอาทิตย์ วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทำการ 8.30-18.00น. ติดต่อรับได้ที่โอเปอเรเตอร์ เบอร์ 02-629-4488 โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายนนี้ ที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2-3 เมืองทองธานี
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ต้องยอมรับว่าช่วง 1-2 เดือนก่อนการเปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ของโตโยต้า ตลาดปิกอัพที่ซบซึมจากพิษเศรษฐกิจอยู่แล้ว ยิ่งเงียบเข้าไปใหญ่ นั่นเพราะหลายคนต่างรอดูก่อนว่าพี่ใหญ่ในวงการจะจัดหนักอัดเต็มขนาดไหน และพลอยทำให้ยอดขายของค่ายอื่นๆเงียบไปด้วย
ทว่าทันทีที่มีรถลงตลาด ผู้บริโภคได้เห็นของจริงรับรู้สเปกรายละเอียด ต่างก็โล่งกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์โตโยต้าเอง ส่วนหนึ่งเพราะ“วีโก้”รุ่นเก่าก็เคลียร์สต็อกง่าย (พร้อมอัดโปรโมชัน) ส่วนคู่แข่งก็วัดกันไปเลยว่า ลูกค้าชอบใจของใคร ก็ไปซื้อคันนั้น
สำหรับปิกอัพรุ่นใหม่ของโตโยต้า ยังใช้ชื่อไฮลักซ์ในการทำตลาดทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยจะมีซับเนม “รีโว่” ต่อท้าย ใครที่เคยติดปากว่า “วีโก้” ๆๆๆ มาเป็น 10 ปี ถึงเวลาต้องเรียกชื่อใหม่ให้ทันสมัยแล้วนะครับ
คิดง่ายๆว่า “รีโว่” หรือ Revo มาจากคำเต็มว่า Revolution ที่หมายถึงการ “ปฎิวัติ” นัยว่า รถยนต์รุ่นนี้จะเข้ามาปฎิวัติวงการปิกอัพของเมืองไทยและของโลก ตามสโลแกนทางการตลาด “ไฮลักซ์ รีโว่ ปฏิวัติทุกมิติ แห่งกระบะอนาคต”
เห็นท่านประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย “เคียวอิจิ ทานาดะ” คุยว่า รีโว่พัฒนาใหม่ในทุกตารางนิ้วกันเลยทีเดียว!!!
...แล้วอะไรใหม่บ้าง พัฒนากันเป็นตารางนิ้วจริงหรือ?
- เครื่องยนต์ใหม่
เริ่มจากหัวใจหลักซึ่งโตโยต้ามากับหลักการ Downsizing พัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลง แต่คงไว้ด้วยสมรรถนะ พร้อมปล่อยไอเสียและกินน้ำมันน้อยลง ดังนั้นถ้าเทียบง่ายๆ เครื่องยนต์ดีเซลใหม่ขนาด 2.4 ลิตร รหัส 2GD จะมาแทนขนาด 2.5 ลิตร รหัส 2KD ส่วนบล็อก 2.8 ลิตร รหัส 1GD จะมาแทนขนาด 3.0 ลิตร รหัส 1KD
ทั้งนี้โตโยต้าเคลมว่าเครื่องยนต์ใหม่ทั้งสองบล็อกจะประหยัดน้ำมันกว่าของเก่าประมาณ 10% ส่วนแรงม้า-แรงบิด นั้นดีกว่าแน่ๆ โดยเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.4 ลิตร DOHC พร้อมเทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า (2.5 ลิตรเดิม 144แรงม้า) ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 400 นิวตัน-เมตร (2.5 ลิตรเดิม 343 นิวตัน-เมตร) ที่ 1,600 - 2,000 รอบต่อนาที
ขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.8 ลิตร DOHC พร้อมเทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า (3.0 ลิตรเดิม 171 แรงม้า) ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตัน-เมตร (3.0 ลิตรเดิม 360 นิวตัน-เมตร) ที่ 1,600 - 2,000 รอบต่อนาที
สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องยนต์ ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ ระบบคอมมอนเรลใหม่ให้แรงดันน้ำมันได้สูงสุดถึง 220 MPa ด้วยการเปลี่ยนปั๊มน้ำมันแรงดันสูง หันมาใช้หัวฉีดจาก 7 รูเป็น 8 รู ในบล็อก 2.4 ลิตร และ 8 รู เป็น 9 รู ในบล็อก 2.8 ลิตร พร้อมปรับปรุงเทอร์โบแปรผัน และ EGR วาล์ว ขณะเดียวกันเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ทั้งสองบล็อกยังหันมาใช้โซ่ไทม์มิ่งแทนสายพานไทม์มิ่งเป็นตัวขับเพลาลูกเบี้ยวทั้งด้านไอดีและไอเสีย พร้อมโรลเลอร์ ร็อกเกอร์อาร์มที่ออกแบบให้ช่วยลดแรงเสียดทานในจังหวะการเปิด-ปิดวาล์ว พร้อมระบบปรับตั้งวาล์วอัตโนมัติ
- เกียร์ 6 สปีดใหม่
ด้านระบบส่งกำลัง โตโยต้าใช้เกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 6 สปีด เพื่อรองรับแรงบิดมหาศาลของเครื่องยนต์ พร้อมถ่ายทอดกำลังลงสู่ล้อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเกียร์อัตโนมัติปรับจูนระบบควบคุมอิเลกทรอนิกส์ใหม่ มีระบบควบคุมการตอบสนองเร็วเมื่อปล่อยคันเร่ง-เหยียบคันเร่ง และออกแบบให้มีอัตราทดเกียร์สูง
ขณะที่เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ออกแบบจานกดคลัทช์ใหม่ ช่วยลดแรงในการเหยียบแป้นคลัทช์โดยการเสริมแรงผลักที่ปลายหวีคลัทช์ นอกจากนี้ยังเสริมระบบ iMT (intelligent Manual Transmission) เพื่อรักษารอบเครื่องยนต์ให้สัมพันธ์กับเกียร์ พร้อมให้ความนุ่มนวลและปลอดภัย(โตโยต้าบอกว่าระบบนี้จะช่วยให้รถไม่ค่อยดับในจังหวะเข้าเกียร์ เหยียบคลัทช์ ออกตัว)
- โครงสร้างแชสซีส์ใหม่,ระบบกันสะเทือนใหม่
ด้านแชสซีส์ โตโยต้าย้ำหนักแน่นว่าเป็นการพัฒนาใหม่ ไม่ได้นำของเก่ามาย้อมแมว โดยแฟรมมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งความสูงของแชสซีส์มีการวัดให้เห็นว่า มากกว่าแชสซีส์ของวีโก้ ประมาณ 2 เซนติเมตร (วัดตรงช่วงกลางแชสซีส์) เป็น 15 เซนติเมตร ส่วนความกว้าง(หน้าตัด) ยังเท่าเดิมที่ 9 เซนติเมตร พร้อมปรับจุดยึดต่างๆใหม่ สอดคล้องกับโครงสร้างช่วงล่างอื่นๆอย่างเพลาหลังที่ใหญ่ขึ้น แหนบยาวขึ้น และใช้โช้คอัพตัวใหญ่ขึ้น ขณะที่รุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อเปลี่ยนใช้ชุดเกียร์ทรานเฟอร์ใหม่ และเฟืองท้ายแบบ Diff Lock ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
สิ่งที่โตโยต้าใส่ให้เป็นมาตรฐานในทุกรุ่น ไล่ตั้งแต่ ระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ หรูหราตามสมัยนิยมด้วยไฟ Daytime Running Light (ในรุ่นท็อปๆใช้หลอด LED แต่บางรุ่นก็ใช้แบบหลอดไส้ธรรมดา) ไฟตัดหมอกหลัง ไฟเบรกดวงที่สาม LED ระบบเบรก ABS EBD แลถุงลมนิรภัย 3 ลูก คือ คู่หน้าฝั่งคนขับกับผู้โดยสาร และถุงลมป้องกันหัวเข่าฝั่งคนขับ
ส่วนของเล่นใหม่ๆที่ผู้เขียนเห็นในตัวถังดับเบิ้ลแค็บ(ที่ได้ลองขับ) มีทั้ง สวิตช์เลือกโหมดการขับขี่ Eco และ Power ระบบดับเครื่องยนต์เมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) ปุ่มกดสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์(Push Start) หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วที่ดูดีมีสกุลมากๆ และมีช่องต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ AC 220V ในกล่องตรงคอนโซลกลาง มีกล่องเก็บของพร้อมรักษาความเย็นที่คอนโซลหน้า(ฝั่งผู้โดยสาร) ช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง และกล้องมองหลัง (สะท้อนภาพมาที่หน้าจอ 7 นิ้ว)
ความปลอดภัยเต็มขั้นด้วย ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (Traction Control) ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (Vehicle Stability Control) ระบบป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-force Distribution) ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ระบบควบคุมการส่ายของส่วนพ่วงท้าย TSC (Trailer Sway Control) ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC(Hill-start assist control) ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน DAC (Downhill Assist Control) และถุงลมนิรภัย 7 จุด
***สมรรถนะที่ยกระดับพร้อมให้ความมั่นใจ
การลองขับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ใหม่ ผู้เขียนได้ 2 รุ่นของตัวถังดับเบิ้ลแคบมาเป็นพาหนะ คือตัวท็อป เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ราคา 1.139 ล้านบาท และตัวขับเคลื่อนสองล้อยกสูง พรีรันเนอร์ เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร เกียร์ธรรมดา ราคา 9.25 แสนบาทเรียกว่าได้ลองระบบขับเคลื่อนใหม่ครบละครับ
การพัฒนาที่ชัดเจนของไฮลักซ์ รีโว่ เห็นจะเป็นช่วงล่าง การควบคุม ที่ดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาจากวีโก้ ด้วยการปรับโครงสร้างตามที่เกริ่นไปด้านบนกับระบบรองรับหน้าแบบปีกนกคู่ คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังยังเป็นแหนบแผ่นซ้อน ประกบล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว และยางแบบออลเทอร์เรน
ช่วงล่างแน่นจริง จังหวะเข้า - ออกโค้งหนึบหนับมั่นใจ แต่ช่วงผ่านถนนแย่ๆ พื้นขุรขระมีอาการเด้งสะเทือนให้รับรู้อยู่พอสมควร ซึ่งระบบรองรับนี้ยังให้ความมั่นใจที่ดีกับพวงมาลัยแบบแรคแอนด์เนียน ที่หน่วงแน่น(ถ้าผู้หญิงอาจจะบ่นว่าหนักมือ) ไร้อาการว่อกแว่ก ถ้าเทียบกับวีโก้ต้องบอกว่าคมน้อยกว่า แต่ในภาพรวมของการควบคุมรีโว่ให้ความมั่นใจที่ดีมาก
ด้านเบรกหน้าดิสก์หลังดรัม มีการปรับปรุงทั้งหม้อลมเบรก ชุดคาลิบเปอร์ และชุดกระบอกเบรก ดรัมเบรกหลัง ขณะที่รีโว่เครื่องยนต์เบนซิน จะมีชุดสร้างสูญญากาศอินเจกเตอร์หม้อลมเบรกมา ซึ่งจะมาช่วยทำงานในกรณีที่สูญญากาศภายในหม้อลมเบรกไม่เพียงพอ
…สรุปประสิทธิภาพของช่วงล่าง การควบคุม และระบบเบรก ดีกว่าวีโก้เดิมแบบรู้สึกได้ ส่วนเรื่องของการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร ประเด็นนี้ยังอยู่ในระดับพอใช้ ไม่ได้ดีกว่าใครในตลาด หรือโดดเด่นกว่าจนนำไปคุยได้
สมรรถนะจากเครื่องยนต์ดีเซล 2.4 ลิตร แรงบิดระดับ 400 นิวตันเมตร นี่ไม่น้อยนะครับ ยิ่งประกบเกียร์ธรรมดาชุดนี้ ขับมันมือสนุกเท้า พลังจัดให้ตั้งแต่รอบต่ำ หรือแถวๆ 1,800 - 2,000 รอบ ก็ดีดเด้งเร่งดีแล้วครับ ขณะที่จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ สับคล่องเข้าง่ายกว่า วีโก้(พรีรันเนอร์เดิม) เพียงแต่พอเป็น 6 เกียร์ อาจจะมีงงๆในตำแหน่งเกียร์บ้างหากยังไม่คุ้นชิน (ประเด็นนี้ฝากให้โตโยต้า พิจารณาเรื่องโชว์ไฟบอกตำแหน่งเกียร์ที่หน้าปัดจะดีมาก) บนความเร็ว 120 กม./ชม. ที่เกียร์สูงสุด รอบยังอยู่แค่ 1,900 รอบเท่านั้นครับ
อัตราบริโภคน้ำมันในรุ่นนี้ จากการทดสอบเส้นพิษณุโลก น้ำหนาว ชุมแพ มุ่งหน้าอุดรธานี มีช่วงขึ้นลงเขา และใช้ความเร็วสูง(มาก) หน้าจอแสดงตัวเลขอยู่ประมาณ 13 กม./ลิตร
ส่วนตัวท็อปเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติที่ผู้เขียนได้ขับในช่วงหลัง กับแรงบิดระดับ 450 นิวตัน-เมตร ตอนแรกคาดว่าจะพลุ่งพล่านปานจรวด แต่เอาเข้าจริงบุคลิกไม่ได้เกรี้ยวกราดขนาดนั้น
กล่าวคือเรี่ยวแรงนั้นดีว่าเครื่องดีเซล 2.4 ลิตรแน่ๆ พร้อมให้กำลังฉุดดึงตั้งแต่รอบต่ำ แต่ลักษณะของการปลดปล่อยจะออกมาแบบนวลต่อเนื่อง แต่ไม่ถึงดุดันรุนแรงครับ ขณะที่อัตราบริโภคน้ำมันที่ได้เห็นในทริปนี้กลับทำได้ใกล้เคียงกับพรีรันเนอร์ 2.4 เพราะช่วงนี้ขับกันช้ากว่าช่วงแรก โดยใช้ความเร็วนิ่งๆประมาณ 80-100 กม./ชม.
สำหรับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ มีให้เลือก 3 ตัวถัง 33 รุ่นย่อย โดยรุ่นดับเบิ้ลแค็บและซิงเกิลแค็บ มีรถพร้อมส่งมอบแล้ว แต่รุ่นตอนครึ่งหรือสมาร์ทแค็บ จะเริ่มส่งมอบได้ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนนี้
ชื่อรุ่น Hilux REVO ที่วางจำหน่าย | ราคา(บาท) |
มาตรฐาน | 569,000-675,000 |
สมาร์ทแค็บ | 619,000-899,000 |
ดับเบิ้ลแค็บ | 725,000-1,139,000 |
รวบรัดตัดความ...หน้าตาอาจจะไม่โดดเด่น ขับรถตามๆกันไปยังนึกว่าเป็นวีโก้ตัวเก่า (โดยเฉพาะด้านหลัง) แต่ภายในสวยขึ้นชัดเจน ด้วยวัสดุคุณภาพและเสริมออปชันใหม่ๆเพื่อช่วยให้ชีวิตดีขึ้น(แต่ราคาก็สูงขึ้นตาม) โดยพรีรันเนอร์เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร ประกบเกียร์ธรรมดา ขับสนุก แรงดี ส่วนรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ การตอบสนองไม่ถึงกับพุ่งกระชากจนหลังติดเบาะ บุคลิกไม่ดุดันอย่างที่คิด แต่ยังให้พลังเนียนๆมาเต็มตั้งแต่รอบต่ำ การควบคุมและช่วงล่างให้ความมั่นใจขึ้นมากเมื่อเทียบกับวีโก้ และสมดุลดีกว่าหลายยี่ห้อในตลาด หรือเทียบกับฟอร์ด เรนเจอร์ ต้องบอกว่าไม่เป็นรอง...ไปลองขับดูแล้วคุณจะลืมความวาบหวิวของวีโก้ไปเลย
แจกบัตร “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน 2015” (Bangkok International Auto Salon 2015) คนละ 4 ใบ มารับได้ที่บ้านพระอาทิตย์ วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทำการ 8.30-18.00น. ติดต่อรับได้ที่โอเปอเรเตอร์ เบอร์ 02-629-4488 โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายนนี้ ที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2-3 เมืองทองธานี
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring