รวดเร็วเกินคาด เมื่อโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (TMT) จัดการนำเข้า “อัลฟาร์ด” (Alphard) และ “เวลไฟร์” (Vellfire)โฉมใหม่มาขายในเมืองไทยทันที หลังเพิ่งเปิดตัวพร้อมทำตลาดในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
...บริษัทแม่นำเข้าเอง-ขายเองอย่างรวดเร็ว แถมเสริมทัพเวลไฟร์มาสนับสนุนอีกหนึ่งรุ่น เรียกว่าไม่ยอมปล่อยให้เกรย์มาร์เก็ต ปาดหน้าตีกินยอดขายได้สบายเหมือนเคย!
การโมเดลเชนจ์ของ“อัลฟาร์ด”และ “เวลไฟร์” ครั้งนี้ถือว่าน่าสนใจกับการเดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่สาม ซึ่งทั้งสองรุ่นจริงๆก็เป็นรถคันเดียวกัน ต่างกันเพียงหน้าตา ออปชัน และแยกดีลเลอร์ขายในญี่ปุ่น โดย“อัลฟาร์ด” จะขายผ่านเครือข่าย Toyopet ส่วนเวลไฟร์จะขายผ่าน Netz
การทำตลาดในเมืองไทย อัลฟาร์ดมีสองทางเลือกเครื่องยนต์คือตัวท็อป เบนซิน วี6 ขนาด3.5 ลิตร ราคา 4.649 ล้านบาท และรุ่นไฮบริด มอตอร์ไฟฟ้าผสานกับเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร ราคา 3.549 ล้านบาทซึ่งรุ่นนี้จะพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าช่วงไตรมาสสาม (และยังไม่มีรถทดสอบ) ขณะที่เวลไฟร์ มีทางเลือกเดียวคือเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร ราคา3.399 ล้านบาท
หน้าตาแตกต่างกันตามรูปครับ อัลฟาร์ดนั้นออกแนวหรูล้ำ ด้วยแผงกระจังหน้าเด่นชัด ประหลาดแท้ตามสไตล์รถ JDM (ขายในญี่ปุ่น) ส่วนเวลไฟร์ ออกแบบเรียบง่ายลงมานิด เน้นเส้นสายทรงพลัง ดูแข็งแกร่ง ทว่าออปชันในรุ่นแรกจะจัดเต็มกว่า โดยวัดจากเบาะนั่งแถวสองที่โตโยต้าเรียกว่า Excutive Lounge โอ่อ่าอลังการ บุนวมนุ่มหนังนิ่ม พร้อมปรับระดับได้ทุกส่วนการนั่ง ผ่านแผงควบคุมระบบไฟฟ้าที่ฝังตรงที่วางแขน เท่านั้นไม่พอยังมีโต๊ะเล็กๆแบบพับเก็บ-กางออกได้เหมือนบนเครื่องบินมาให้อีกด้วย
เมื่อไล่ดูออปชันเด่นๆของทั้งสองรุ่น โตโยต้าใส่มาไม่ยั้งทั้ง หลังคามูนรูฟคู่ (ทำแยกเป็นสองบานตอนหน้าคนขับและผู้โดยสารหลัง) เครื่องเล่น DVD CD และ MP3 พร้อมช่องต่อ USB iPod AUX รองรับการเชื่อมต่อบลูธูท หน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้วในด้านหน้า พร้อมลำโพงJBL 17 จุดรอบคัน และจอสำหรับผู้โดยสารด้านหลังขนาด 9 นิ้ว พร้อมเครื่องเล่น Blu-Ray (เฉพาะรุ่น 3.5)
ระบบฟอกอากาศแบบ nanoe ปรับแยกอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ 3 โซน แยกอิสระ ซ้าย-ขวา สำหรับด้านหน้าและด้านหลัง ขณะที่ไฟส่องสว่างในห้องโดยสารเป็นแบบซ่อนฝ้าสามารถปรับความสว่างได้ 4 ระดับ เปลี่ยนสีได้ 16 เฉดสี พร้อมไฟอ่านหนังสือส่วนตัว (เฉพาะรุ่น 3.5)
ตลอดจนจอแสดงข้อมูลการขับขี่ MID แบบ TFT ขนาด 4.2 นิ้วและระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ Cruise Control แผงควบคุมการโทร-รับโทรศัพท์ (เฉพาะรุ่น 3.5) และเปิด-ปิด เพลงที่พวงมาลัย ระบบเปิดประตูอัจฉริยะ Smart Entry ระบบนำทางเนวิเกเตอร์ 2 ภาษาไทย/อังกฤษ และกล้องมองหลัง
...ของเล่นเยอะขนาดนี้ คงต้องลองขับสัมผัสนั่งจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ละครับถึงจะได้ใช้หมด?
ข้ามมาดูที่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ซึ่งมีผลโดยตรงกับสมรรถนะของรถกันบ้างครับ อย่างอัลฟาร์ดความยาวตัวรถเพิ่ม 45 มม. (เมื่อเทียบกับโมเดลเดิม) ระยะฐานล้อเพิ่ม 50 มม. ความกว้างเพิ่มขึ้น 20 มม.แต่ความสูงลดลง 10 มม. ขณะที่ช่วงล่างด้านหลังใหม่เป็นแบบอิสระ ปีกนกสองชั้น (Double Wishbone) ต่างจากเดิมที่เป็นทอร์ชันบีม
ประเด็นนี้รู้สึกถึงความต่างจากอัลฟาร์ดรุ่นเดิมชัดเจน การนั่งเป็นผู้โดยสารแถวสองให้การรองรับนุ่มและนิ่ง เบาะนั่งให้ความผ่อนคลายสบายตัวตลอดเส้นทาง
เรื่องของช่วงล่างนั้น การนั่งเป็นผู้โดยสารแถวสองถือว่าสบายที่สุดในรถ ด้วยโครงสร้างเบาะนั่ง และการออกแบบให้ลดแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับกันนะครับหากเราเป็นผู้ขับจะรู้สึกถึงอาการนุ่มโยน ของรถได้มากกว่า
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารเงียบมากๆ พวกเสียงการจราจรภายนอก เสียงจากพื้นถนน ลอดผ่านเข้ามาน้อยมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มวัสดุดูดซับเสียงในหลายๆจุด
การลองขับอัลฟาร์ดรุ่นเครื่องยนต์ วี6 3.5 ลิตร DOHC Dual VVT-iวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 271 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 340 นิวตันเมตรที่ 4,700 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด Super ECTโตโยต้าไม่ได้เซ็ทให้การตอบสนองของคันเร่งรวดเร็วเกินไป ดังนั้นบุคลิกของเรี่ยวแรงจึงมาแบบสุภาพ ไม่ดุดันอย่างที่คิด
...เหมือนแรงดี มีซ่อนอยู่ภายใน ถ้าอยากให้ทำงานคงต้องกดคันเร่งลงไปลึกหน่อย ก็ชัดเจนครับกับการเซ็ทบุคลิกของรถอเนกประสงค์แบบ MPV ถ้าออกแนวสปอร์ตมากไปคงนั่งหัวทิ่มหัวตำกันทั้งคัน
ส่วนเครื่องยนต์ 2.5 ลิตรของเวลไฟร์ ก็เป็น Dual VVT-iให้กำลังสูงสุด 180 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 235 นิวตัน-เมตร ที่ 4,100 รอบต่อนาที แต่หันมาใช้ระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 สปีด ซึ่งเอาเข้าจริงๆผู้เขียนชอบความสมดุลลงตัวของขุมพลังชุดนี้มากกว่าอัลฟาร์ด
อัตราเร่งแซง หรือจังหวะต้องการเพิ่มความเร็วกะทันหัน ทำงานแบบไม่อ้อยอิ่ง ขณะเดียวกันด้วยเครื่องยนต์และเกียร์ที่น้ำหนักเบากว่าอัลฟาร์ด 3.5 กับรถยนต์เครื่องวางหน้า-ขับเคลื่อนล้อหน้า อาจจะส่งผลให้เสถียรภาพควบคุมค่อนข้างนิ่ง หรือเครียดน้อยกว่าการขับอัลฟาร์ด3.5 ครับ
...สรุปคือ เวลไฟร์ 2.5 พละกำลังรวมๆไม่เท่าอัลฟาร์ด 3.5 แต่ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งาน แถมการควบคุมยังเนียนแน่น มั่นใจกว่า
ส่วนอัตราบริโภคน้ำมัน อัลฟาร์ด 3.5 ขับทางไกล บวกผู้ขับและผู้โดยสารรวมเป็น 4 ชีวิต ความเร็วเฉลี่ย 100-120 กม./ชม. ตัวเลขอยู่แถวๆ 8 กม./ลิตร เวลไฟร์ 2.5 เงื่อนไขเดียวกันทำได้ประมาณ 11-12 กม./ลิตร
ด้านระบบเบรกเป็นดิสก์ทั้งสี่ล้อ พร้อมปรับปรุงในเชิงกลไกลและพวกเซ็นเซอร์หม้อลมเบรกและเซ็นเซอร์แม่ปั๊มเบรก ส่งผลให้การชะลอหยุดสั้น แม่นยำและนุ่มนวล เสริมด้วยระบบป้องกันอย่างเบรก ABS (anti lock brake system) ระบบเสริมแรงเบรก BA (brake assist) ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (vehicle stability control) และระบบป้องกันล้อหมุมฟรี TRC (traction control system) ขณะที่ถุงลมนิรภัย SRS Airbag ยังจัดเต็มถึง 9 ตำแหน่ง (ด้านหน้า2,ด้านข้าง2,ม่าน 4 และเข่าคนขับอีก 1)
นั่นเป็นความรู้สึกคร่าวๆหลังการลองขับทั้ง อัลฟาร์ดและเวลไฟร์ เหนืออื่นใดโตโยต้าพยายามย้ำว่าการซื้อรถกับบริษัทแม่หรือดีลเลอร์โตโยต้าอย่างเป็นทางการจะดีกว่าซื้อจากเกรย์มาร์เก็ตแน่นอน เพราะสเปกต่างๆทำมาเพื่อเมืองไทยโดยเฉพาะ และผ่านการทดสอบ homologation เรียบร้อย รวมถึงออปชับการตกแต่งภายนอก-ภายใน เช่นเดียวกับความมั่นใจจากศูนย์บริการของโตโยต้ากว่า 400 แห่งทั่วประเทศ
รวบรัดตัดความ...เป็นอีกกการพัฒนาของฟูลไซส์ MPVโตโยต้า โดยเน้นความพอใจของผู้โดยสารมากกว่าคนขับ ยิ่งได้นั่งเบาะแถวสองจะเพลินเป็นคุณชาย สบายเป็นคุณหญิง ห้องโดยสารเงียบ และลดแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ทว่าหากพิจารณาราคา สมรรถนะการขับ และอัตราบริโภคน้ำมันแล้ว เวลไฟร์ 2.5 ลิตร ดูจะลงตัวกว่า ส่วนอัลฟาร์ดคงต้องมองไปที่รุ่นไฮบริด
...บริษัทแม่นำเข้าเอง-ขายเองอย่างรวดเร็ว แถมเสริมทัพเวลไฟร์มาสนับสนุนอีกหนึ่งรุ่น เรียกว่าไม่ยอมปล่อยให้เกรย์มาร์เก็ต ปาดหน้าตีกินยอดขายได้สบายเหมือนเคย!
การโมเดลเชนจ์ของ“อัลฟาร์ด”และ “เวลไฟร์” ครั้งนี้ถือว่าน่าสนใจกับการเดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่สาม ซึ่งทั้งสองรุ่นจริงๆก็เป็นรถคันเดียวกัน ต่างกันเพียงหน้าตา ออปชัน และแยกดีลเลอร์ขายในญี่ปุ่น โดย“อัลฟาร์ด” จะขายผ่านเครือข่าย Toyopet ส่วนเวลไฟร์จะขายผ่าน Netz
การทำตลาดในเมืองไทย อัลฟาร์ดมีสองทางเลือกเครื่องยนต์คือตัวท็อป เบนซิน วี6 ขนาด3.5 ลิตร ราคา 4.649 ล้านบาท และรุ่นไฮบริด มอตอร์ไฟฟ้าผสานกับเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร ราคา 3.549 ล้านบาทซึ่งรุ่นนี้จะพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าช่วงไตรมาสสาม (และยังไม่มีรถทดสอบ) ขณะที่เวลไฟร์ มีทางเลือกเดียวคือเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร ราคา3.399 ล้านบาท
รุ่น | โฉมเก่า | โฉมปัจจุบัน |
อัลฟาร์ด | 3.5L | 3.5L |
2.4L Hybrid | 2.5L Hybrid | |
เวลไฟร์ | ไม่มีขาย | 2.5L |
หน้าตาแตกต่างกันตามรูปครับ อัลฟาร์ดนั้นออกแนวหรูล้ำ ด้วยแผงกระจังหน้าเด่นชัด ประหลาดแท้ตามสไตล์รถ JDM (ขายในญี่ปุ่น) ส่วนเวลไฟร์ ออกแบบเรียบง่ายลงมานิด เน้นเส้นสายทรงพลัง ดูแข็งแกร่ง ทว่าออปชันในรุ่นแรกจะจัดเต็มกว่า โดยวัดจากเบาะนั่งแถวสองที่โตโยต้าเรียกว่า Excutive Lounge โอ่อ่าอลังการ บุนวมนุ่มหนังนิ่ม พร้อมปรับระดับได้ทุกส่วนการนั่ง ผ่านแผงควบคุมระบบไฟฟ้าที่ฝังตรงที่วางแขน เท่านั้นไม่พอยังมีโต๊ะเล็กๆแบบพับเก็บ-กางออกได้เหมือนบนเครื่องบินมาให้อีกด้วย
เมื่อไล่ดูออปชันเด่นๆของทั้งสองรุ่น โตโยต้าใส่มาไม่ยั้งทั้ง หลังคามูนรูฟคู่ (ทำแยกเป็นสองบานตอนหน้าคนขับและผู้โดยสารหลัง) เครื่องเล่น DVD CD และ MP3 พร้อมช่องต่อ USB iPod AUX รองรับการเชื่อมต่อบลูธูท หน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้วในด้านหน้า พร้อมลำโพงJBL 17 จุดรอบคัน และจอสำหรับผู้โดยสารด้านหลังขนาด 9 นิ้ว พร้อมเครื่องเล่น Blu-Ray (เฉพาะรุ่น 3.5)
ระบบฟอกอากาศแบบ nanoe ปรับแยกอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ 3 โซน แยกอิสระ ซ้าย-ขวา สำหรับด้านหน้าและด้านหลัง ขณะที่ไฟส่องสว่างในห้องโดยสารเป็นแบบซ่อนฝ้าสามารถปรับความสว่างได้ 4 ระดับ เปลี่ยนสีได้ 16 เฉดสี พร้อมไฟอ่านหนังสือส่วนตัว (เฉพาะรุ่น 3.5)
ตลอดจนจอแสดงข้อมูลการขับขี่ MID แบบ TFT ขนาด 4.2 นิ้วและระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ Cruise Control แผงควบคุมการโทร-รับโทรศัพท์ (เฉพาะรุ่น 3.5) และเปิด-ปิด เพลงที่พวงมาลัย ระบบเปิดประตูอัจฉริยะ Smart Entry ระบบนำทางเนวิเกเตอร์ 2 ภาษาไทย/อังกฤษ และกล้องมองหลัง
...ของเล่นเยอะขนาดนี้ คงต้องลองขับสัมผัสนั่งจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ละครับถึงจะได้ใช้หมด?
ข้ามมาดูที่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ซึ่งมีผลโดยตรงกับสมรรถนะของรถกันบ้างครับ อย่างอัลฟาร์ดความยาวตัวรถเพิ่ม 45 มม. (เมื่อเทียบกับโมเดลเดิม) ระยะฐานล้อเพิ่ม 50 มม. ความกว้างเพิ่มขึ้น 20 มม.แต่ความสูงลดลง 10 มม. ขณะที่ช่วงล่างด้านหลังใหม่เป็นแบบอิสระ ปีกนกสองชั้น (Double Wishbone) ต่างจากเดิมที่เป็นทอร์ชันบีม
ประเด็นนี้รู้สึกถึงความต่างจากอัลฟาร์ดรุ่นเดิมชัดเจน การนั่งเป็นผู้โดยสารแถวสองให้การรองรับนุ่มและนิ่ง เบาะนั่งให้ความผ่อนคลายสบายตัวตลอดเส้นทาง
เรื่องของช่วงล่างนั้น การนั่งเป็นผู้โดยสารแถวสองถือว่าสบายที่สุดในรถ ด้วยโครงสร้างเบาะนั่ง และการออกแบบให้ลดแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับกันนะครับหากเราเป็นผู้ขับจะรู้สึกถึงอาการนุ่มโยน ของรถได้มากกว่า
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารเงียบมากๆ พวกเสียงการจราจรภายนอก เสียงจากพื้นถนน ลอดผ่านเข้ามาน้อยมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มวัสดุดูดซับเสียงในหลายๆจุด
การลองขับอัลฟาร์ดรุ่นเครื่องยนต์ วี6 3.5 ลิตร DOHC Dual VVT-iวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 271 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 340 นิวตันเมตรที่ 4,700 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด Super ECTโตโยต้าไม่ได้เซ็ทให้การตอบสนองของคันเร่งรวดเร็วเกินไป ดังนั้นบุคลิกของเรี่ยวแรงจึงมาแบบสุภาพ ไม่ดุดันอย่างที่คิด
...เหมือนแรงดี มีซ่อนอยู่ภายใน ถ้าอยากให้ทำงานคงต้องกดคันเร่งลงไปลึกหน่อย ก็ชัดเจนครับกับการเซ็ทบุคลิกของรถอเนกประสงค์แบบ MPV ถ้าออกแนวสปอร์ตมากไปคงนั่งหัวทิ่มหัวตำกันทั้งคัน
ส่วนเครื่องยนต์ 2.5 ลิตรของเวลไฟร์ ก็เป็น Dual VVT-iให้กำลังสูงสุด 180 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 235 นิวตัน-เมตร ที่ 4,100 รอบต่อนาที แต่หันมาใช้ระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 สปีด ซึ่งเอาเข้าจริงๆผู้เขียนชอบความสมดุลลงตัวของขุมพลังชุดนี้มากกว่าอัลฟาร์ด
อัตราเร่งแซง หรือจังหวะต้องการเพิ่มความเร็วกะทันหัน ทำงานแบบไม่อ้อยอิ่ง ขณะเดียวกันด้วยเครื่องยนต์และเกียร์ที่น้ำหนักเบากว่าอัลฟาร์ด 3.5 กับรถยนต์เครื่องวางหน้า-ขับเคลื่อนล้อหน้า อาจจะส่งผลให้เสถียรภาพควบคุมค่อนข้างนิ่ง หรือเครียดน้อยกว่าการขับอัลฟาร์ด3.5 ครับ
...สรุปคือ เวลไฟร์ 2.5 พละกำลังรวมๆไม่เท่าอัลฟาร์ด 3.5 แต่ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งาน แถมการควบคุมยังเนียนแน่น มั่นใจกว่า
ส่วนอัตราบริโภคน้ำมัน อัลฟาร์ด 3.5 ขับทางไกล บวกผู้ขับและผู้โดยสารรวมเป็น 4 ชีวิต ความเร็วเฉลี่ย 100-120 กม./ชม. ตัวเลขอยู่แถวๆ 8 กม./ลิตร เวลไฟร์ 2.5 เงื่อนไขเดียวกันทำได้ประมาณ 11-12 กม./ลิตร
ด้านระบบเบรกเป็นดิสก์ทั้งสี่ล้อ พร้อมปรับปรุงในเชิงกลไกลและพวกเซ็นเซอร์หม้อลมเบรกและเซ็นเซอร์แม่ปั๊มเบรก ส่งผลให้การชะลอหยุดสั้น แม่นยำและนุ่มนวล เสริมด้วยระบบป้องกันอย่างเบรก ABS (anti lock brake system) ระบบเสริมแรงเบรก BA (brake assist) ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (vehicle stability control) และระบบป้องกันล้อหมุมฟรี TRC (traction control system) ขณะที่ถุงลมนิรภัย SRS Airbag ยังจัดเต็มถึง 9 ตำแหน่ง (ด้านหน้า2,ด้านข้าง2,ม่าน 4 และเข่าคนขับอีก 1)
นั่นเป็นความรู้สึกคร่าวๆหลังการลองขับทั้ง อัลฟาร์ดและเวลไฟร์ เหนืออื่นใดโตโยต้าพยายามย้ำว่าการซื้อรถกับบริษัทแม่หรือดีลเลอร์โตโยต้าอย่างเป็นทางการจะดีกว่าซื้อจากเกรย์มาร์เก็ตแน่นอน เพราะสเปกต่างๆทำมาเพื่อเมืองไทยโดยเฉพาะ และผ่านการทดสอบ homologation เรียบร้อย รวมถึงออปชับการตกแต่งภายนอก-ภายใน เช่นเดียวกับความมั่นใจจากศูนย์บริการของโตโยต้ากว่า 400 แห่งทั่วประเทศ
รวบรัดตัดความ...เป็นอีกกการพัฒนาของฟูลไซส์ MPVโตโยต้า โดยเน้นความพอใจของผู้โดยสารมากกว่าคนขับ ยิ่งได้นั่งเบาะแถวสองจะเพลินเป็นคุณชาย สบายเป็นคุณหญิง ห้องโดยสารเงียบ และลดแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ทว่าหากพิจารณาราคา สมรรถนะการขับ และอัตราบริโภคน้ำมันแล้ว เวลไฟร์ 2.5 ลิตร ดูจะลงตัวกว่า ส่วนอัลฟาร์ดคงต้องมองไปที่รุ่นไฮบริด