รายงานจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ว่าได้ริเริ่มโครงการสาทรโมเดล ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ที่มีวัตถุประสงค์ในการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด บริหารจัดการโดย กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในฐานะตัวแทนองค์กรซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(WBCSD)
ในโอกาสดังกล่าว มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้สนับสนุนเงิน รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบริหารจัดการโครงการสาทรโมเดล เพื่อลงมือเริ่มทดลองมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร รวมทั้ง เพื่อนำไปพัฒนาแผนแม่บทที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โครงการสาทรโมเดล มีวัตถุประสงค์ในการสร้างแผนแม่บท ที่พัฒนาขึ้นจากมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร ได้แก่ มาตรการควบคุมปริมาณการใช้ถนน และมาตรการจัดการความคล่องตัวด้านจราจร ซึ่งอาศัยการลงมือปฏิบัติไป พร้อมกับการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทของกรุงเทพมหานคร โครงการสาทรโมเดลถือเป็นโครงการที่ต่างจากโครงการอื่น ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านจราจร อันเป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) มาตรการทดลองแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทรประกอบด้วย โครงการรถโรงเรียน (School Bus) มาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) สำหรับมาตรการควบคุมจัดการจราจรได้รวมถึงการลดปัญหาความหนาแน่นของจราจรในบริเวณถนนที่มีลักษณะเป็นคอขวด และการบริหารจัดการสัญญาณไฟจราจรผ่านระบบเครื่องมือควบคุมสัญญาณไฟจราจร ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท โตโยต้า
ทั้งนี้ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) มอบหมายให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับบริษัทสมาชิกอีก 6 บริษัท ได้แก่ ฮอนด้า นิสสัน ฟอร์ด เชลล์ ฟูจิตสึ และ บริดจสโตน ในการแก้ปัญหาการจราจรบนถนนสาทร โดยเริ่มต้นทดลองตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ด้วยการประยุกต์ใช้ 4 มาตรการหลักที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ โตโยต้า ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น
เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “ทางโครงการฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร และสนับสนุนเงินทุนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย นำไปใช้วางแผน และเขียนโครงการพัฒนาโครงการสาทรโมเดล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เมษายน 2558 - ธันวาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสาทรให้ประสบผลสำเร็จ
“สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สาทรโมเดล จะเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาการจราจร และเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่อื่นๆต่อไป” ทานาดะ กล่าวในที่สุด
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ในโอกาสดังกล่าว มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้สนับสนุนเงิน รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบริหารจัดการโครงการสาทรโมเดล เพื่อลงมือเริ่มทดลองมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร รวมทั้ง เพื่อนำไปพัฒนาแผนแม่บทที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โครงการสาทรโมเดล มีวัตถุประสงค์ในการสร้างแผนแม่บท ที่พัฒนาขึ้นจากมาตรการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทร ได้แก่ มาตรการควบคุมปริมาณการใช้ถนน และมาตรการจัดการความคล่องตัวด้านจราจร ซึ่งอาศัยการลงมือปฏิบัติไป พร้อมกับการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทของกรุงเทพมหานคร โครงการสาทรโมเดลถือเป็นโครงการที่ต่างจากโครงการอื่น ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านจราจร อันเป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) มาตรการทดลองแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนสาทรประกอบด้วย โครงการรถโรงเรียน (School Bus) มาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) สำหรับมาตรการควบคุมจัดการจราจรได้รวมถึงการลดปัญหาความหนาแน่นของจราจรในบริเวณถนนที่มีลักษณะเป็นคอขวด และการบริหารจัดการสัญญาณไฟจราจรผ่านระบบเครื่องมือควบคุมสัญญาณไฟจราจร ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท โตโยต้า
ทั้งนี้ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) มอบหมายให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับบริษัทสมาชิกอีก 6 บริษัท ได้แก่ ฮอนด้า นิสสัน ฟอร์ด เชลล์ ฟูจิตสึ และ บริดจสโตน ในการแก้ปัญหาการจราจรบนถนนสาทร โดยเริ่มต้นทดลองตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ด้วยการประยุกต์ใช้ 4 มาตรการหลักที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาที่ โตโยต้า ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น
เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “ทางโครงการฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี (Toyota Mobility Foundation) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร และสนับสนุนเงินทุนทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย นำไปใช้วางแผน และเขียนโครงการพัฒนาโครงการสาทรโมเดล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เมษายน 2558 - ธันวาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสาทรให้ประสบผลสำเร็จ
“สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สาทรโมเดล จะเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาการจราจร และเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่อื่นๆต่อไป” ทานาดะ กล่าวในที่สุด
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring