ปัญหาที่เกิดขึ้นกับค่าย “มิตซูบิชิ” ทั้งเรื่องยอดขายลดลงอย่างมาก แม้หลักๆ จะเป็นไปตามสภาวะตลาด ปัญหาดีลเลอร์บางรายในภาคเหนือ หรือข่าวลือวิกฤติภายในองค์กร สิ่งเหล่านี้ผู้คนเชื่อว่าเป็นสาเหตุทำให้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในล่าสุด โดยเฉพาะการโยกย้ายผู้บริหารเบอร์หนึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปี ตลอดจนระดับรองลงมา และยังมีการตั้งหน่วยงานใหม่ จนเป็นที่มาของข่าวปรับองค์กรครั้งใหญ่ แต่มาฟังจากปากคำนายใหญ่คนใหม่ของค่ายมิตซูบิในไทย ความจริงเป็นเพราะอะไร? และเขาจะนำพาองค์กรเดินหน้าไปอย่างไร?...
“จริงๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย นอกจากตั้งออฟฟิศใหม่ขึ้นเรียกว่าสำนักพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เพื่อสร้างบริการที่ดีทั้งการขายและบริการหลังการขายให้กับลูกค้ามิตซูบิชิ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับอนาคตของเรา ดังนั้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา การตั้งสำนักงานใหม่ขึ้นมาถือเป็นสิ่งเดียวที่นับเป็นการเปลี่ยนแปลง นอกนั้นเป็นเพียงการสลับตำแหน่งการทำงาน (Rotation) ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่น คือในส่วนของการแต่งตั้งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ 2 คน ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนที่ใหญ่แต่อย่างใด และจะไม่มีมากกว่านี้อีกแล้ว”
เป็นคำชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จาก “โมะริคาซุ ชกคิ” กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือ MMTh พร้อมกับระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสำนักงานใหญ่ เป็นการดำเนินตามแผนงานที่วางไว้ก่อน โดยมีการตั้งสำนักงานใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง เพียงแต่ช่วงที่ชกคิประจำอยู่บริษัทแม่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น ต้องรับผิดชิดชอบดูแลหลายประเทศเกือบครึ่งโลก รวมถึงตลาดในไทยด้วย จึงรับทราบสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นหลังจากเขาเข้ามารับตำแหน่ง
ชกคิยืนยันว่าไทยมีความสำคัญในระดับโลกต่อมิตซูบิชิอย่างมาก จะเห็นว่ากำลังการผลิตที่โรงงานทั้ง 3 แห่งในแหลมฉบัง มีมากกว่าโรงงานแต่ละแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นเสียอีก ซึ่งโรงงานแห่งที่ 1 ผลิตรถยนต์มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และปิกอัพนิสสัน นาวารา รุ่นก่อนให้กับทางนิสสัน มอเตอร์ส และมีไลน์ผลิตรถยนต์นั่งมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ แม้ในรุ่นนี้จะผลิตเพียงส่วนน้อย แต่ปัจจุบันยังดำเนินการผลิตและจำหน่ายต่อไปในตลาด ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 ผลิตปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน และรถพีพีวีรุ่นปาเจโร สปอร์ต ขณะที่โรงงานแห่งที่ 3 ผลิตรถยนต์นั่งอีโคคาร์ มิตซูบิชิ แอททราจ และรุ่นมิราจ
“จะเห็นว่าโรงงานมิตซูบิชิในไทย มีรถที่ผลิตในโรงงานอื่นทั่วโลกไม่มี ทั้งปิกอัพรุ่นไทรทัน รถอเนกประสงค์ปาเจโร สปอร์ต รวมถึงอีโคคาร์อย่างมิตซูบิชิ มิราจ และแอททราจ ซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของฐานผลิตในไทย และล่าสุดมิตซูบิชิได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานใหม่ เพราะเมื่อจะผลิตรุ่นใหม่สามารถปรับสายการผลิตได้อยู่แล้ว โดยยังคงใช้โครงสร้างและพื้นที่เดิมได้ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ลงในรายละเอียดในเรื่องนี้ อาจจะผลิตทั้งสองเฟสพร้อมๆ กัน หรือจะเปลี่ยนอีโคคาร์เฟสแรกโมเดลใหม่ให้เป็นเฟสสองไปเลย เรื่องนี้คงต้องมาพิจารณาต่อไป โดยรัฐบาลกำหนดการเริ่มจำหน่ายอีโคคาร์ 2 ไว้ที่ปี 2560 เราคงจะทำโครงการให้เป็นไปตามกำหนดนั้น แต่ยังไม่ได้สรุปว่าสเปคจะเป็นอย่างไร แต่ต้องเป็นไปตามที่ข้อกำหนดของภาครัฐแน่นอน”
“อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นความสำคัญของตลาดไทย ที่บทบาทถูกวางให้เน้นผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม หรือเซกเม้นท์ ประกอบด้วยปิกอัพ, รถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี หรือพีพีวี อย่างมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และอีโคคาร์ ซึ่งไทยจะเป็นฐานผลิตหลักของรถเหล่านี้ โดยล่าสุดมิตซูบิชิเพิ่งเปิดตัวปิกอัพไทรทันใหม่ ในรุ่นแค็ปและปิกอัพตอนเดียวสู่ตลาดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากเมื่อปลายปีที่แล้วเพิ่งเปิดรุ่นดับเบิลแค็ป ทำให้ปัจจุบันปิกอัพไทรทันใหม่มีผลิตภัณฑ์ครบไลน์ตอบสนองลูกค้าได้แล้ว และในช่วงปลายปีนี้จะมีการเปิดตัวรถพีพีวีรุ่นปาเจโร สปอร์ต ส่วนเร็วๆ นี้ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2015 ปลายเดือนมีนาคมนี้ จะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่มิตซูบิชิ เดลิกา ดี:5 (Mitsubishi Delica D:5) แต่จะเป็นการนำเข้ารถสำเร็จรูปจากญี่ปุ่นมาทำตลาดในไทย ขณะที่รายละเอียดอื่นๆ ต้องรอเปิดตัวอย่างเป็นทางการ”
ทั้งนี้มิตซูบิชิ เดลิกา ดี:5 เป็นรถอเนกประสงค์เอ็มพีวี 7 ที่นั่ง ที่มีการออกแบบรูปลักษณ์ค่อนข้างดุดันกว่ารถประเภทเดียวกันในตลาด โดยมีเครื่องยนต์ให้เลือกทั้งเบนซิน 2.0 และ 2.4 ลิตร แต่รุ่นหลังจะเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เช่นเดียวกับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.3 ลิตร ทั้งหมดส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT 6 สปีด INVEC III และยังมีโหมดสปอร์ตด้วย ซึ่งในไทยคาดว่าจะนำรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 150 แรงม้ามาทำตลาด ในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท
“ความสำคัญของมิตซูบิชิในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการผลิต แต่ยังเป็นเรื่องการขายในประเทศที่เคยเป็นอันดับ 1 ของมิตซูบิชิในทั่วโลกเมื่อปี 2012 แต่ปัจจุบันอยู่อันดับ 5 หรือ 6 แน่นอนในฐานะผู้นำคนใหม่ย่อมได้รับมอบหมายที่จะทำให้บริษัทดีขึ้น แต่เป้าหมายส่วนตัวอยากจะทำให้เอ็มเอ็มทีเอชกลับมาเป็นที่ 1 เหมือนเดิม แน่นอนว่าคงต้องใช้เวลาในการกลับไปจุดนั้น และไม่ใช่เพราะโครงการสนับสนุนรัฐบาลเหมือนครั้งก่อน โดยมองว่าปิกอัพยังมีโอกาสที่จะเพิ่มยอดขายได้อีก”
สำหรับปัจจัยที่จะทำให้มิตซูบิชิประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญต้องมีสินค้าที่มีคุณภาพ มีทีมพัฒนาและวิจัย (R&D) สร้างรถยนต์ที่มีคุณภาพ ตรงนี้เห็นได้จากลูกค้าที่ชอบรถยนต์มิตซูบิชิ ลูกค้าที่เคยใช้จะกลับมาซื้อรถมิตซูบิชิอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปิกอัพไทรทันรุ่นใหม่ล่าสุด ที่มั่นใจจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้า จากคุณภาพของตัวรถทั้งเรื่องของสมรรถนะการขับขี่ การประหยัดน้ำมัน และการออกแบบ รวมถึงมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ และมั่นใจเมื่อผู้บริโภคได้เห็นและสัมผัสสมรรถนะแล้ว จะเป็นที่ตอบรับของลูกค้าอย่างมาก
นอกจากเรื่องสินค้าที่มีคุณภาพ ชกคิบอกว่าสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคู่กันไป เป็นเรื่องการบริการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งการตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เพื่อพัฒนาและเพิ่มยอดการขายรถยนต์ในไทย ไม่เพียงเน้นเรื่องบริการหลังการขายเท่านั้น แต่การขายเองก็ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วย ซึ่งมิตซูบิชิต้องเพิ่มค่า CSI, SSI ให้ดีขึ้น และต้องร่วมมือกับผู้จำหน่ายในการพัฒนาดูแลลูกค้า (Customer Care) อย่างใกล้ชิด
นั่นเป็นทิศทางและแผนงานของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ภายใต้การกุมบังเหียนของนายใหญ่คนใหม่ ที่ผ่านการดูแลตลาดรถในไทยมาแล้ว กับแบรนด์ระดับนำของตลาดปิกอัพอย่าง “อีซูซุ” ซึ่งนอกจากการเสริมแกร่งขององค์กร และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ยังต้องจับตารถเอสยูวีรุ่นอื่นๆ โดยเฉพาะพวก PHEV หรือรถ Plug-in Hybrid อย่างรุ่น “เอาต์แลนเดอร์” (Outlander) ที่มิตซูบิชิมุ่งเน้นในตลาดภูมิภาคนี้ นอกจาก 3 ผลิตภัณฑ์หลักที่กล่าวมา…
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
“จริงๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย นอกจากตั้งออฟฟิศใหม่ขึ้นเรียกว่าสำนักพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เพื่อสร้างบริการที่ดีทั้งการขายและบริการหลังการขายให้กับลูกค้ามิตซูบิชิ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับอนาคตของเรา ดังนั้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา การตั้งสำนักงานใหม่ขึ้นมาถือเป็นสิ่งเดียวที่นับเป็นการเปลี่ยนแปลง นอกนั้นเป็นเพียงการสลับตำแหน่งการทำงาน (Rotation) ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่น คือในส่วนของการแต่งตั้งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ 2 คน ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนที่ใหญ่แต่อย่างใด และจะไม่มีมากกว่านี้อีกแล้ว”
เป็นคำชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จาก “โมะริคาซุ ชกคิ” กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือ MMTh พร้อมกับระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสำนักงานใหญ่ เป็นการดำเนินตามแผนงานที่วางไว้ก่อน โดยมีการตั้งสำนักงานใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง เพียงแต่ช่วงที่ชกคิประจำอยู่บริษัทแม่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น ต้องรับผิดชิดชอบดูแลหลายประเทศเกือบครึ่งโลก รวมถึงตลาดในไทยด้วย จึงรับทราบสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นหลังจากเขาเข้ามารับตำแหน่ง
ชกคิยืนยันว่าไทยมีความสำคัญในระดับโลกต่อมิตซูบิชิอย่างมาก จะเห็นว่ากำลังการผลิตที่โรงงานทั้ง 3 แห่งในแหลมฉบัง มีมากกว่าโรงงานแต่ละแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นเสียอีก ซึ่งโรงงานแห่งที่ 1 ผลิตรถยนต์มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และปิกอัพนิสสัน นาวารา รุ่นก่อนให้กับทางนิสสัน มอเตอร์ส และมีไลน์ผลิตรถยนต์นั่งมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ แม้ในรุ่นนี้จะผลิตเพียงส่วนน้อย แต่ปัจจุบันยังดำเนินการผลิตและจำหน่ายต่อไปในตลาด ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 ผลิตปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน และรถพีพีวีรุ่นปาเจโร สปอร์ต ขณะที่โรงงานแห่งที่ 3 ผลิตรถยนต์นั่งอีโคคาร์ มิตซูบิชิ แอททราจ และรุ่นมิราจ
“จะเห็นว่าโรงงานมิตซูบิชิในไทย มีรถที่ผลิตในโรงงานอื่นทั่วโลกไม่มี ทั้งปิกอัพรุ่นไทรทัน รถอเนกประสงค์ปาเจโร สปอร์ต รวมถึงอีโคคาร์อย่างมิตซูบิชิ มิราจ และแอททราจ ซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของฐานผลิตในไทย และล่าสุดมิตซูบิชิได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานใหม่ เพราะเมื่อจะผลิตรุ่นใหม่สามารถปรับสายการผลิตได้อยู่แล้ว โดยยังคงใช้โครงสร้างและพื้นที่เดิมได้ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ลงในรายละเอียดในเรื่องนี้ อาจจะผลิตทั้งสองเฟสพร้อมๆ กัน หรือจะเปลี่ยนอีโคคาร์เฟสแรกโมเดลใหม่ให้เป็นเฟสสองไปเลย เรื่องนี้คงต้องมาพิจารณาต่อไป โดยรัฐบาลกำหนดการเริ่มจำหน่ายอีโคคาร์ 2 ไว้ที่ปี 2560 เราคงจะทำโครงการให้เป็นไปตามกำหนดนั้น แต่ยังไม่ได้สรุปว่าสเปคจะเป็นอย่างไร แต่ต้องเป็นไปตามที่ข้อกำหนดของภาครัฐแน่นอน”
“อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นความสำคัญของตลาดไทย ที่บทบาทถูกวางให้เน้นผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม หรือเซกเม้นท์ ประกอบด้วยปิกอัพ, รถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี หรือพีพีวี อย่างมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และอีโคคาร์ ซึ่งไทยจะเป็นฐานผลิตหลักของรถเหล่านี้ โดยล่าสุดมิตซูบิชิเพิ่งเปิดตัวปิกอัพไทรทันใหม่ ในรุ่นแค็ปและปิกอัพตอนเดียวสู่ตลาดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากเมื่อปลายปีที่แล้วเพิ่งเปิดรุ่นดับเบิลแค็ป ทำให้ปัจจุบันปิกอัพไทรทันใหม่มีผลิตภัณฑ์ครบไลน์ตอบสนองลูกค้าได้แล้ว และในช่วงปลายปีนี้จะมีการเปิดตัวรถพีพีวีรุ่นปาเจโร สปอร์ต ส่วนเร็วๆ นี้ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2015 ปลายเดือนมีนาคมนี้ จะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่มิตซูบิชิ เดลิกา ดี:5 (Mitsubishi Delica D:5) แต่จะเป็นการนำเข้ารถสำเร็จรูปจากญี่ปุ่นมาทำตลาดในไทย ขณะที่รายละเอียดอื่นๆ ต้องรอเปิดตัวอย่างเป็นทางการ”
ทั้งนี้มิตซูบิชิ เดลิกา ดี:5 เป็นรถอเนกประสงค์เอ็มพีวี 7 ที่นั่ง ที่มีการออกแบบรูปลักษณ์ค่อนข้างดุดันกว่ารถประเภทเดียวกันในตลาด โดยมีเครื่องยนต์ให้เลือกทั้งเบนซิน 2.0 และ 2.4 ลิตร แต่รุ่นหลังจะเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เช่นเดียวกับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.3 ลิตร ทั้งหมดส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT 6 สปีด INVEC III และยังมีโหมดสปอร์ตด้วย ซึ่งในไทยคาดว่าจะนำรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 150 แรงม้ามาทำตลาด ในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท
“ความสำคัญของมิตซูบิชิในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการผลิต แต่ยังเป็นเรื่องการขายในประเทศที่เคยเป็นอันดับ 1 ของมิตซูบิชิในทั่วโลกเมื่อปี 2012 แต่ปัจจุบันอยู่อันดับ 5 หรือ 6 แน่นอนในฐานะผู้นำคนใหม่ย่อมได้รับมอบหมายที่จะทำให้บริษัทดีขึ้น แต่เป้าหมายส่วนตัวอยากจะทำให้เอ็มเอ็มทีเอชกลับมาเป็นที่ 1 เหมือนเดิม แน่นอนว่าคงต้องใช้เวลาในการกลับไปจุดนั้น และไม่ใช่เพราะโครงการสนับสนุนรัฐบาลเหมือนครั้งก่อน โดยมองว่าปิกอัพยังมีโอกาสที่จะเพิ่มยอดขายได้อีก”
สำหรับปัจจัยที่จะทำให้มิตซูบิชิประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญต้องมีสินค้าที่มีคุณภาพ มีทีมพัฒนาและวิจัย (R&D) สร้างรถยนต์ที่มีคุณภาพ ตรงนี้เห็นได้จากลูกค้าที่ชอบรถยนต์มิตซูบิชิ ลูกค้าที่เคยใช้จะกลับมาซื้อรถมิตซูบิชิอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปิกอัพไทรทันรุ่นใหม่ล่าสุด ที่มั่นใจจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้า จากคุณภาพของตัวรถทั้งเรื่องของสมรรถนะการขับขี่ การประหยัดน้ำมัน และการออกแบบ รวมถึงมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ และมั่นใจเมื่อผู้บริโภคได้เห็นและสัมผัสสมรรถนะแล้ว จะเป็นที่ตอบรับของลูกค้าอย่างมาก
นอกจากเรื่องสินค้าที่มีคุณภาพ ชกคิบอกว่าสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคู่กันไป เป็นเรื่องการบริการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งการตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เพื่อพัฒนาและเพิ่มยอดการขายรถยนต์ในไทย ไม่เพียงเน้นเรื่องบริการหลังการขายเท่านั้น แต่การขายเองก็ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วย ซึ่งมิตซูบิชิต้องเพิ่มค่า CSI, SSI ให้ดีขึ้น และต้องร่วมมือกับผู้จำหน่ายในการพัฒนาดูแลลูกค้า (Customer Care) อย่างใกล้ชิด
นั่นเป็นทิศทางและแผนงานของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ภายใต้การกุมบังเหียนของนายใหญ่คนใหม่ ที่ผ่านการดูแลตลาดรถในไทยมาแล้ว กับแบรนด์ระดับนำของตลาดปิกอัพอย่าง “อีซูซุ” ซึ่งนอกจากการเสริมแกร่งขององค์กร และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ยังต้องจับตารถเอสยูวีรุ่นอื่นๆ โดยเฉพาะพวก PHEV หรือรถ Plug-in Hybrid อย่างรุ่น “เอาต์แลนเดอร์” (Outlander) ที่มิตซูบิชิมุ่งเน้นในตลาดภูมิภาคนี้ นอกจาก 3 ผลิตภัณฑ์หลักที่กล่าวมา…
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring