ดร.ดีน กิลลาร์ด หนุ่มใหญ่วัยเกษียณชาวอเมริกันซึ่งพักอาศัยในเมืองไทยมานานกว่า 30 ปี และคุณ “เท็ดดี้” สาลพร หิรัญประดิษฐ์ นักธุรกิจหนุ่มชาวไทยวัย 28 ปี ร่วมแบ่งปันความชื่นชอบหลงใหลในรถอเมริกันคลาสสิคด้วยการอวดโฉมรถเชฟโรเลตสไตล์วินเทจในงานหัวหิน วินเทจ คาร์ พาเหรด
ทั้งสองคนขับรถเชฟโรเลตเข้าร่วมงานวินเทจ คาร์ พาเหรด ที่อำเภอหัวหิน ดร.ดีนขับรถกระบะเชฟโรเลต 3100 รุ่นปี 1955 - 56 ขณะที่คุณเท็ดดี้ขับมัสเซิลคาร์ เชฟโรเลต คามาโร “บัมเบิลบี” รุ่นปี 1987 นอกจากนี้ทั้งคู่ยังมีรถคลาสสิคของเชฟโรเลตอีกหลายคันอย่างเช่นคอร์เวทท์และเป็นเจ้าของรถอีกหลายยี่ห้อ แต่กล่าวตรงกันว่าเชฟโรเลตมีสมรรถนะดีที่สุด
“เครื่องยนต์เชฟโรเลต วี8 มีสมรรถนะที่ทรหดที่สุด สามารถขับขี่ได้ต่อเนื่องยาวนาน” ดร. ดีนในวัย 70 ปีกล่าวถึงรถกระบะเชฟวี่สีแดงสะดุดตาที่ใช้เวลาสามปีครึ่งในการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์แบบโดยเขาได้นำเข้าตัวถังรถกระบะ 3100 และเครื่องยนต์เบนซินคอร์เวทท์รุ่นปี 1989 จากอเมริกา รถกระบะรุ่นนี้ได้รับรางวัลรถที่โดดเด่นที่สุด (Best in Show) จากงานแสดงยานยนต์ประจำปี (Automobile Concours) ครั้งที่ 12
ดร.ดีนทำการปรับปรุงรถกระบะ 3100 ด้วยการใช้ชิ้นส่วนแท้ของเชฟโรเลตซึ่งรวมถึงเกียร์โอเวอร์ไดรฟ์ 700อาร์4 แบบ 4 สปีด หัวฉีดน้ำมัน และระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (LPG) เครื่องยนต์แอล98 ความจุ 5.7 ลิตร ให้กำลัง 350 แรงม้า ระบบลูกสูบเบรกใช้แบบเดียวกันกับคอร์เวทท์ พร้อมเบรกไฟฟ้า พวงมาลัยไฟฟ้า และกระจกปรับไฟฟ้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนเดียวที่ไม่ใช่ของเชฟโรเลตคือมาตรวัดดิจิตอล
เนื่องจากตัวถังต้องมีการนำเข้าจากอเมริกา ห้องโดยสารจึงมีโครงสร้างแบบรถพวงมาลัยซ้าย ดร.ดีนได้ให้ช่างเทคนิคคนไทยทำการเปลี่ยนเป็นพวงมาลัยขวาพร้อมปรับปรุงแผงแดชบอร์ดให้สามารถติดตั้งระบบเครื่องเสียงดีวีดี พวงมาลัยสีแดงใช้ของเชฟโรเลต อิมพาลา รุ่นปี 1959 ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยสีเทาแบบทูโทน หัวเกียร์ดีไซน์หัวกะโหลกทำด้วยเหล็กติดตั้งกับพื้นรถ แผงประตูตกแต่งด้วยอลูมิเนียม บันไดข้างเป็นสแตนเลสปัดเงา และมีโลโก้โบว์ไทซึ่งตัดด้วยเลเซอร์
ดร.ดีนเผยว่ารถเชฟโรเลตรุ่นแรกของเขาเป็นรถคูเป้กระจกสามบานสไตล์วินเทจรุ่นปี 1934 ซึ่งเขาเปลี่ยนให้เป็นรถแต่งฮ็อตร็อดเมื่อครั้งที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา ปัจจุบันเขาขับรถคอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นปี 1980
“ผมมีความสุขกับคอร์เวทท์และทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเชฟโรเลต” ดร.ดีนกล่าว
สำหรับคุณเท็ดดี้ ถึงแม้จะมีอายุน้อยกว่าดร.ดีนกว่า 40 ปี แต่เขามีความหลงใหลในรถวินเทจเชฟโรเลตเช่นกันและเป็นเจ้าของรถหลายรุ่นทั้งเชฟโรเลต อิมพาล่า คอนเวอร์ทิเบิล 1958 เชฟโรเลต อาปาเช่ 1959 และเชฟโรเลต คอร์เวทท์ 1982 รวมถึงคามาโรที่เขาขับมาร่วมงานพาเหรดครั้งนี้
คอร์เวทท์และคามาโรเป็นรถที่คุณเท็ดดี้ใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่ธุรกิจครอบครัวของเขาใช้รถเชฟโรเลต โคโลราโด สำหรับการขนส่งสินค้าไปทั่วประเทศไทยตั้งแต่เชียงใหม่และเชียงรายไปจนถึงสุราษฎร์ธานีและภาคใต้ของประเทศ
“โคโลราโดไปได้ทุกที่ ผมชื่นชอบช่วงล่างของรถเชฟโรเลตอย่างมากทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งให้สมรรถนะที่ดีเยี่ยม มีความนุ่มนวล และสะดวกสบายในการขับขี่ทางไกล” คุณเท็ดดี้กล่าว
คุณเท็ดดี้ได้มีการศึกษาประวัติของคามาโรอย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจซื้อต่อจากเพื่อนของเขา เขาเคยคิดจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์และช่วงล่างของรถญี่ปุ่นแต่ก็เปลี่ยนใจหลังจากได้ทดลองขับรถมัสเซิลคาร์คันนี้ซึ่งมีสมรรถนะเหนือกว่าที่คิดไว้มาก
“ผมซื้อรถอเมริกันแนวคลาสสิกเพราะผมชื่นชอบศิลปะและวัฒนธรรมในอดีต ผมศึกษารถคลาสสิกและผมต้องการสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของยุคนั้นๆ” คุณเท็ดดี้กล่าว “รถแต่ละคันมีเรื่องราว ผมไม่ได้เลือกที่ตัวรถ แต่ผมเลือกเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังของตัวรถ”
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ทั้งสองคนขับรถเชฟโรเลตเข้าร่วมงานวินเทจ คาร์ พาเหรด ที่อำเภอหัวหิน ดร.ดีนขับรถกระบะเชฟโรเลต 3100 รุ่นปี 1955 - 56 ขณะที่คุณเท็ดดี้ขับมัสเซิลคาร์ เชฟโรเลต คามาโร “บัมเบิลบี” รุ่นปี 1987 นอกจากนี้ทั้งคู่ยังมีรถคลาสสิคของเชฟโรเลตอีกหลายคันอย่างเช่นคอร์เวทท์และเป็นเจ้าของรถอีกหลายยี่ห้อ แต่กล่าวตรงกันว่าเชฟโรเลตมีสมรรถนะดีที่สุด
“เครื่องยนต์เชฟโรเลต วี8 มีสมรรถนะที่ทรหดที่สุด สามารถขับขี่ได้ต่อเนื่องยาวนาน” ดร. ดีนในวัย 70 ปีกล่าวถึงรถกระบะเชฟวี่สีแดงสะดุดตาที่ใช้เวลาสามปีครึ่งในการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์แบบโดยเขาได้นำเข้าตัวถังรถกระบะ 3100 และเครื่องยนต์เบนซินคอร์เวทท์รุ่นปี 1989 จากอเมริกา รถกระบะรุ่นนี้ได้รับรางวัลรถที่โดดเด่นที่สุด (Best in Show) จากงานแสดงยานยนต์ประจำปี (Automobile Concours) ครั้งที่ 12
ดร.ดีนทำการปรับปรุงรถกระบะ 3100 ด้วยการใช้ชิ้นส่วนแท้ของเชฟโรเลตซึ่งรวมถึงเกียร์โอเวอร์ไดรฟ์ 700อาร์4 แบบ 4 สปีด หัวฉีดน้ำมัน และระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (LPG) เครื่องยนต์แอล98 ความจุ 5.7 ลิตร ให้กำลัง 350 แรงม้า ระบบลูกสูบเบรกใช้แบบเดียวกันกับคอร์เวทท์ พร้อมเบรกไฟฟ้า พวงมาลัยไฟฟ้า และกระจกปรับไฟฟ้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนเดียวที่ไม่ใช่ของเชฟโรเลตคือมาตรวัดดิจิตอล
เนื่องจากตัวถังต้องมีการนำเข้าจากอเมริกา ห้องโดยสารจึงมีโครงสร้างแบบรถพวงมาลัยซ้าย ดร.ดีนได้ให้ช่างเทคนิคคนไทยทำการเปลี่ยนเป็นพวงมาลัยขวาพร้อมปรับปรุงแผงแดชบอร์ดให้สามารถติดตั้งระบบเครื่องเสียงดีวีดี พวงมาลัยสีแดงใช้ของเชฟโรเลต อิมพาลา รุ่นปี 1959 ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยสีเทาแบบทูโทน หัวเกียร์ดีไซน์หัวกะโหลกทำด้วยเหล็กติดตั้งกับพื้นรถ แผงประตูตกแต่งด้วยอลูมิเนียม บันไดข้างเป็นสแตนเลสปัดเงา และมีโลโก้โบว์ไทซึ่งตัดด้วยเลเซอร์
ดร.ดีนเผยว่ารถเชฟโรเลตรุ่นแรกของเขาเป็นรถคูเป้กระจกสามบานสไตล์วินเทจรุ่นปี 1934 ซึ่งเขาเปลี่ยนให้เป็นรถแต่งฮ็อตร็อดเมื่อครั้งที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา ปัจจุบันเขาขับรถคอร์เวทท์ สติงเรย์ รุ่นปี 1980
“ผมมีความสุขกับคอร์เวทท์และทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเชฟโรเลต” ดร.ดีนกล่าว
สำหรับคุณเท็ดดี้ ถึงแม้จะมีอายุน้อยกว่าดร.ดีนกว่า 40 ปี แต่เขามีความหลงใหลในรถวินเทจเชฟโรเลตเช่นกันและเป็นเจ้าของรถหลายรุ่นทั้งเชฟโรเลต อิมพาล่า คอนเวอร์ทิเบิล 1958 เชฟโรเลต อาปาเช่ 1959 และเชฟโรเลต คอร์เวทท์ 1982 รวมถึงคามาโรที่เขาขับมาร่วมงานพาเหรดครั้งนี้
คอร์เวทท์และคามาโรเป็นรถที่คุณเท็ดดี้ใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่ธุรกิจครอบครัวของเขาใช้รถเชฟโรเลต โคโลราโด สำหรับการขนส่งสินค้าไปทั่วประเทศไทยตั้งแต่เชียงใหม่และเชียงรายไปจนถึงสุราษฎร์ธานีและภาคใต้ของประเทศ
“โคโลราโดไปได้ทุกที่ ผมชื่นชอบช่วงล่างของรถเชฟโรเลตอย่างมากทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งให้สมรรถนะที่ดีเยี่ยม มีความนุ่มนวล และสะดวกสบายในการขับขี่ทางไกล” คุณเท็ดดี้กล่าว
คุณเท็ดดี้ได้มีการศึกษาประวัติของคามาโรอย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจซื้อต่อจากเพื่อนของเขา เขาเคยคิดจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์และช่วงล่างของรถญี่ปุ่นแต่ก็เปลี่ยนใจหลังจากได้ทดลองขับรถมัสเซิลคาร์คันนี้ซึ่งมีสมรรถนะเหนือกว่าที่คิดไว้มาก
“ผมซื้อรถอเมริกันแนวคลาสสิกเพราะผมชื่นชอบศิลปะและวัฒนธรรมในอดีต ผมศึกษารถคลาสสิกและผมต้องการสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของยุคนั้นๆ” คุณเท็ดดี้กล่าว “รถแต่ละคันมีเรื่องราว ผมไม่ได้เลือกที่ตัวรถ แต่ผมเลือกเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังของตัวรถ”
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring