เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา “ASTVผู้จัดการMotoring” ได้รับจดหมายเชิญจากค่ายสองล้อเก่าแก่แบรนด์ดังในอดีตจากอเมริกา ให้ร่วมเดินทางข้ามทวีปไปไกลถึงดินแดนกีวี เพื่อทำความรู้จักและลองขี่ครุยเซอร์โมเดลใหม่ “อินเดียน สเกาต์” (Indian Scout) ซึ่งจ่อคิวเตรียมทำตลาดในเมืองไทยช่วงปลายปีนี้
หลังใช้เวลาเดินทางนานกว่า 12 ชั่วโมง คำถามแรกที่ผู้เขียนรู้สึกสงสัยและตั้งใจจะเอ่ยถามกับทีมงานของโพลาริส อินดัสทรีส์ (Polaris Industries ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลแบรนด์อินเดียน) ว่าในเมื่อเป็นยี่ห้อรถจักรยานยนต์สัญชาติอเมริกัน เหตุใดถึงไม่จัดกิจกรรมเทสไรด์ที่ประเทศบ้านเกิด และมีความจำเป็นอะไรถึงต้องมาจัดขึ้นที่นี่
เหมือนทีมงานจะรู้ใจ ชิงตัดหน้าให้ข้อมูลก่อนช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยซ้ำว่า หากเป็นโมเดลอื่นจะไม่เจาะจงสถานที่ทดสอบมากนัก แต่สำหรับรุ่นสเกาต์ต้องมาที่ประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น เพราะที่นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชื่อเสียงและเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณของวีรบุรุษที่เป็นตำนาน อันเป็นความภาคภูมิใจของนักบิดชาวกีวีทุกคน
นั่นคือ “เบิร์ต มันโร” กับการโมดิฟายสองล้อคู่ใจของตัวเอง “อินเดียน สเกาต์” รุ่นปี 1920ให้สามารถบันทึกสถิติวิ่งได้เร็วที่สุดในโลก (คลิ๊กอ่านตำนาน “เบิร์ต มันโร” )
ฟังแล้วอึ้ง แต่นี่เรื่องจริง และนับเป็นอีกหนึ่งจุดขาย ซึ่งนอกจากความเก่าแก่ของแบรนด์ที่เริ่มทำตลาดตั้งแต่ปี 1901 หรือมีมานานกว่า 100 ปีแล้ว สำหรับรุ่นนี้ยังมีเรื่องราวให้กล่าวถึงแล้วรู้สึกชื่นชมและมีส่วนร่วมไปกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมันได้อีกด้วย
โดยการกลับมาของโมเดลสร้างชื่อกระฉ่อนโลกในเวอร์ชันปี 2015 “อินเดียน สเกาต์” ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดให้เป็นเบอร์หนึ่งของอเมริกันครุยเซอร์ เปิดตัวและเริ่มทำตลาดที่เมืองลุงแซมไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยราคาเริ่มต้น 10,999 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.6 แสนบาท)
ด้านแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ อาทิ เครื่องยนต์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ใช้เฟรมผลิตจากอลูมิเนียมน้ำหนักเบาและออกแบบโครงสร้าง 3 ชิ้น ทำให้หากเกิดอุบัติเหตุสามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะจุดได้ ผสานความคลาสสิกที่มีคุณค่าโดยเฉพาะชื่อรุ่นและท่านั่งที่คงเดิมแบบต้นตำรับ พร้อมกับวัตถุประสงค์ต้องการให้นักบิดสามารถใช้งานได้หลากหลาย ในที่สุดจึงตกผลึกเป็นความโดดเด่น 3 ประการคือ น้ำหนักเบา จุดศูนย์ถ่วงเบาะนั่งต่ำ และปิดท้ายด้วยการควบคุมที่คล่องตัวดีที่สุดในกลุ่มคู่แข่งครุยเซอร์พิกัดนี้
โดยในวันแรกเมื่อจบการแนะนำผลิตภัณฑ์ สื่อมวลชน 6 ชีวิต จาก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และไต้หวันอีก 2 คน ต่างแยกย้ายกันพักผ่อนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมขี่ทดสอบในวันรุ่งขึ้น ซึ่งกำหนดการเดิมต้องล้อหมุนกันตั้งแต่เช้า แต่สภาพฟ้าฝนไม่เป็นใจจึงเลื่อนออกไปเกือบเที่ยง
แม้ว่าพื้นผิวถนนที่นี่จะค่อนข้างดี แต่หลังจากฝนเพิ่งหยุดไม่นานทำให้ถนนหนทางยังเปียกแฉะ โดยในช่วง 10 กิโลเมตรแรกจึงใช้ความเร็วได้ไม่มากนัก เหมือนเป็นการปรับตัวและทำความรู้จัก พร้อมกับการสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้เสียมากกว่า
เริ่มจากการเสียบกุญแจสตาร์ทที่ด้านซ้ายของเครื่องยนต์ เสียงคำรามของท่อไอเสียเบากว่าที่คิดไว้ หน้าปัดแสดงสถานะต่างๆ ทรงกลมขอบชุมโครเมียมเงาวับ ด้านในบอกรายละเอียดความเร็วแบบอนาล็อกหน่วยเป็นกิโลเมตรหรือไมล์ ไฟแสดงตำแหน่งเกียร์ว่าง ไฟเตือนระดับน้ำมันเชื้อเพลิง (ไม่มีเกจแสดงระดับน้ำมัน) ไฟสูง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ABS และไฟเตือนระบบการทำงานเครื่องยนต์
ขณะที่ตรงกลางหน้าจอสี่เหลี่ยมสามารถเลือกดูข้อมูลต่างๆ แบบดิจิตอล ประกอบด้วยระยะทางรวม ทริปวัดระยะการเดินทาง อุณหภูมิเครื่องยนต์ รอบเครื่องยนต์ (RPM) โดยกดเลื่อนจากตำแหน่งไฟขอทางหรือ Pass ที่แฮนด์ฝั่งซ้าย (ไฟ Pass ไม่มี) ซึ่งเลือกดูได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนนาฬิกาจะแสดงตลอดเวลา
สำรวจต่อเนื่องที่ปุ่มควบคุมของแฮนด์ทั้งสองข้าง ขวามีสวิตซ์ออฟรันและปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ ด้านซ้ายมีไฟเลี้ยว ไฟสูง-ต่ำ แตร ไฟฉุกเฉิน และปุ่มเลือกดูค่าต่างๆ ในตำแหน่งไฟขอทาง และหากพิจารณาความละเอียดของชิ้นงานหรือการประกอบ ด้านวัสดุคุณภาพดูจะไม่หนีจากแบรนด์ยุโรปหรือบิ๊กไบค์จากแดนปลาดิบที่ตอนนี้ประกอบในบ้านเรามากนัก บางส่วนด้อยบางส่วนเด่น ยกตัวอย่างเบาะนั่งเห็นได้ชัดว่าทางฝั่งมะกันทำได้ประณีตกว่า ส่วนการเก็บซ่อนสายไฟบางจุดยังทำได้ไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในภาพรวมก็ถือว่าสูสีกันอยู่
ส่วนของท่านั่งตำแหน่งแฮนด์ค่อนข้างห่างลำตัว เช่นเดียวกับพักเท้าซึ่งเหมือนออกแบบมารองรับนักบิดไซส์ฝรั่งเป็นหลัก ขณะที่เบาะนั่งนุ่มสบายแต่ไม่นิ่มจนรู้สึกยวบ หรือนั่งแล้วผ่อนคลายอารมณ์คล้ายโซฟาตัวโปรดที่บ้าน พร้อมด้วยการออกแบบให้มีส่วนเว้าเป็นพนักพิงสามารถรองรับบั้นท้ายได้กระชับ และจากท่านั่งที่ผู้ขี่ต้องโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เมื่อรวมกับจุดศูนย์ถ่วงต่ำและตัวรถน้ำหนักเบา จึงทำให้เกิดความมั่นใจสำหรับการควบคุมตัวรถได้อย่างคล่องตัว
เกี่ยวกับสภาพเส้นทางทดสอบที่เมืองโอ๊คแลนด์บนเกาะตอนเหนือของนิวซีแลนด์ ส่วนใหญ่จะโอบล้อมด้วยภูเขาทำให้มีทางตรงน้อย และต้องเจอทั้งโค้งสั้นและยาวตลอดเส้นทาง ซึ่งเป็นข้อดีให้สังเกตการทำงานของระบบช่วงล่างและการยึดเกาะของยาง โดยผลที่ออกมาก็มีความประทับใจ จากระยะฐานล้อยาวมีความมั่นคงและเสถียรภาพในการเข้าโค้ง ส่วนการทำงานของโช้กหน้าและหลังแม้ว่าจะซับแรงกระแทกได้ดี แต่คาดว่าเซตมาเน้นนั่งสบายมากกว่าซิ่ง เพราะบางจังหวะยังออกอาการให้ต้องผ่อนคันเร่งอยู่บ้างเหมือนกัน
ขณะที่ขุมพลังเครื่องยนต์ 4 จังหวะ สองสูบวี ขนาด 1,130 ซีซี. ระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ 6 สปีด ให้กำลังสูงสุด 100 แรงม้า ที่ 8,100 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 97.7 นิวตัน-เมตร ที่ 5,900 รอบต่อนาที จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ปรับการฉีดแบบควบคุมส่วนผสมอัตโนมัติหรือ Closed Loop
การตอบสนองของอัตราเร่งทำได้จี๊ดจ๊าดดีมาก นับเป็นครุยเซอร์ที่แฝงสมรรถนะแบบสปอร์ต เมื่อถนนเริ่มแห้งขบวนทดสอบจึงขยับความเร็วเพิ่มขึ้น ช่วงหัวขบวนจากเดิมวิ่ง 100 กม./ชม. ขยับเป็น 130 กม./ชม. รถยังนิ่งควบคุมได้ไม่มีปัญหา โดยบางช่วงลองไปอยู่ท้ายขบวนทิ้งระยะห่างเพื่อทำความเร็วถึง 150 กม./ชม. การคอนโทรลตัวรถยังคงทำได้มั่นใจเช่นเดิม
สำหรับระบบห้ามล้อ แรงดึงของเอ็นจิ้นเบรกรู้สึกค่อนข้างชัดเจน ส่วนการทำงานของ ABS การตอบสนองกำลังดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ขณะที่สิ่งสำคัญด้านอุณหภูมิความร้อนเครื่องยนต์ ด้วยสภาพอากาศที่นี่แทบจะไม่รู้สึกถึงไอความร้อนที่แผดรังสีขึ้นมา ซึ่งหากนำไปใช้งานที่เมืองไทยจะเป็นอย่างไร คงต้องรอการทดลองขี่กันอีกครั้งหนึ่ง
สิ้นสุดทริปทดสอบในระยะทางรวมประมาณ 190 กม. จากการสัมผัส “อินเดียน สเกาต์” แทบจะไม่มีข้อติ ยกเว้นอย่างเดียวสำหรับท่านั่งที่ไม่ค่อยถูกใจไซส์เอเชียเท่าไรนัก เพราะสื่อต่างประเทศที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ต่างสรุปไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะเห็นแล้วชอบ ลองแล้วรัก ยิ่งเทียบราคาจำหน่ายที่อเมริกา น่ายกขันหมากไปสู่ขอเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อมาทำตลาดในไทยต้องเจอกำแพงภาษีโน่นนี่นั่นเข้าไป ล่าสุดได้ข่าวว่าเตรียมเปิดตัวและเริ่มรับจองแล้วด้วยราคาเริ่มต้น 849,000 บาท
เห็นตัวเลขแบบนี้ ดูท่ากว่าจะมีงานวิวาห์คงอีกนาน!
***แจกบัตรฟรี! ผู้อ่านท่านใดสนใจเข้าชมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31” หรือมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2014 ณ อิมแพค ชานเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี วันที่ 29 พ.ย.-10 ธ.ค.นี้ สามารถมารับบัตรได้คนละ 4 ใบ ที่บ้านพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. โทร 02-629-4488 มารับช่วงเวลาทำการ 8.00-18.00 น. บัตรมีจำนวนจำกัด***
ทัศนะจากสื่อต่างประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน)
<<<<<<<<<< Isfandiari M.Djunaidi - News & Features Editor Motor Plus
ผมชอบแนวคิดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับอินเดียน สเกาต์ โดยเฉพาะการใช้เครื่องยนต์ใหม่ รวมถึงกล้าดีไซน์รูปลักษณ์ให้มีความทันสมัย อย่างการใช้เฟรมแบบแยกส่วน หากเกิดอุบัติเหตุคุณไม่ต้องเปลี่ยนทั้งชิ้น สามารถแยกเปลี่ยนเฉพาะจุดได้ โดยมันบ่งบอกถึงความยืดหยุ่นที่อินเดียนมีมากกว่าคู่แข่ง และด้วยการไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ซึ่งจะกลายเป็นจุดขายที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์เก่าแก่ที่กลับมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง
โดยหลังจากลองขี่แล้วประทับใจพละกำลังเครื่องยนต์ที่รู้สึกถึงความแรง และด้วยน้ำหนักตัวรถที่เบา จึงทำให้การตอบสนองของมันทำได้อย่างน่าทึ่ง ผมคิดว่าจะสามารถทำตลาดทั่วโลกได้ประสบความสำเร็จแน่นอน แต่สำหรับนักบิดไซส์เอเชียคงต้องปรับตำแหน่งของแฮนด์บาร์และตำแหน่งวางเท้ากันใหม่ เนื่องจากยังไม่ค่อยลงตัวนักกับสรีระที่แตกต่างกัน
สำหรับความคาดหวังให้อินเดียนมาตั้งโรงงานในอาเซียน ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ เนื่องจากตลาดในภูมิภาคนี้กำลังเติบโต หากเกิดขึ้นจริง พวกเขา(อินเดียน) จะทำราคาที่สามารถแข่งขันได้
Faisal Shah - Editor In Chief Fast Bikes Magazine Malaysia >>>>>>>>>>
สเกาต์สร้างความประหลาดใจมาก เพราะคุณคงไม่เคยเห็นรถสไตล์ครุยเซอร์แบบอเมริกัน ติดตั้งเครื่องยนต์แบบที่ใช้การระบายความร้อนด้วยน้ำมาก่อน และมันจะเป็นยุคใหม่ของรถประเภทนี้ ส่วนด้านสมรรถนะมันเร็วและแรงอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากสามารถใช้รอบเครื่องยนต์ช่วงเรดไลน์ได้สูงถึง 9,000 รอบต่อนาทีเลยทีเดียว รวมถึงมีการตอบสนองของเบรกที่ดี ควบคุมง่าย เข้าโค้งได้เยี่ยม
เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างฮาเลย์ที่ผมเคยขี่อย่างรุ่นสปอร์ตเตอร์ ผมเทใจให้ทางอินเดียนมากกว่า เพราะด้วยท่านั่งที่สบายและต่ำ รูปทรงที่ทันสมัยแบบโมเดิร์น แต่คงความคลาสสิกแบบต้นตำรับ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นรถที่ดีมากรุ่นหนึ่งสำหรับผม
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมทุกอย่างจะดี แต่ที่ผมไม่ชอบคือตำแหน่งที่วางเท้ามันค่อนข้างห่างจากลำตัวผู้ขี่ไปหน่อย จุดนี้อาจจะเป็นปัญหาในการทำตลาดฝั่งเอเชียก็เป็นได้
<<<<<<<<<< Kavin Liew - Editor Motor Culture Asia Magazine
ผมชอบรูปทรงของมันที่มีความทันสมัย และนี่เป็นครั้งแรกที่ได้ลองขี่รถประเภทครุยเซอร์ ปกติผมคุ้นเคยกับรถสปอร์ตซึ่งมันรู้สึกกระชับมากกว่า แต่พอได้ลองขี่รถคันใหญ่แบบนี้ก็รู้สึกสนุกดีเหมือนกัน
ตอนแรกคิดว่าจะมีปัญหาในการบังคับตัวรถ ด้วยความสูงของผมเพียง 170 ซม. แต่ก็ไม่เกิดขึ้นเลย และเชื่อว่าสำหรับผู้หญิงที่มีสรีระบอบบางก็สามารถขี่ได้เช่นกัน เพราะท่านั่งควบคุมง่าย จุดศูนย์ถ่วงต่ำ น้ำหนักเบา คิดว่าโมเดลนี้จะตอบโจทย์ได้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะนักบิดหน้าใหม่ที่ต้องการหาครุยเซอร์ดีไซน์ร่วมสมัยสักคัน และคันนี้น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี
Singer Ho - Founder Jorsindo Motor Club (www.jorsindo.com) >>>>>>>>>
ผมชอบความแรงระดับ 100 แรงม้า ให้กำลังดีในรอบต่ำ และขี่สนุกในรอบสูง จับคู่กับน้ำหนักตัวรถที่ไม่มากนัก ซึ่งให้การตอบสนองแรงบิดที่อเมริกันครุยเซอร์ควรจะมี อีกทั้งท่านั่งสบายควบคุมง่าย มันเหมาะสำหรับนักบิดหน้าใหม่ ตำแหน่งเบาะนั่งต่ำ เท้ายันพื้นได้มั่นใจ ความแรงเครื่องยนต์ไหลต่อเนื่อง รอบต่ำขี่ง่ายไม่กระตุก การตอบสนองของเบรกดีกว่าที่ผมเคยสัมผัสในรุ่นที่เป็นคู่แข่ง
แต่ใช่ว่าจะดีทั้งหมดสำหรับนักบิดไซส์เอเชีย แฮนด์บาร์ไกลตัวไปหน่อย ที่วางขาห่างหรือยื่นไปข้างหน้ามากไปนิด ซึ่งมันค่อนข้างลำบากในการจัดท่าทางการขี่ ตรงข้ามกับไซส์ฝรั่งหรือฝั่งตะวันตกผมว่ามันเหมาะสมดีแล้ว
สรุปว่าเป็นรุ่นที่ดีสำหรับการเริ่มต้นของนักบิดในอาเซียน ด้วยราคาค่าตัวหากใช้ตัวเลขที่อเมริกาเป็นเกณฑ์ ผมว่าน่าสนใจมาก แต่ต้องดูกันอีกครั้งว่า เมื่อวางจำหน่ายในแต่ละประเทศที่มีกำแพงภาษีแตกต่างกัน จะต้องบวกเพิ่มไปอีกเท่าไร
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
หลังใช้เวลาเดินทางนานกว่า 12 ชั่วโมง คำถามแรกที่ผู้เขียนรู้สึกสงสัยและตั้งใจจะเอ่ยถามกับทีมงานของโพลาริส อินดัสทรีส์ (Polaris Industries ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลแบรนด์อินเดียน) ว่าในเมื่อเป็นยี่ห้อรถจักรยานยนต์สัญชาติอเมริกัน เหตุใดถึงไม่จัดกิจกรรมเทสไรด์ที่ประเทศบ้านเกิด และมีความจำเป็นอะไรถึงต้องมาจัดขึ้นที่นี่
เหมือนทีมงานจะรู้ใจ ชิงตัดหน้าให้ข้อมูลก่อนช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยซ้ำว่า หากเป็นโมเดลอื่นจะไม่เจาะจงสถานที่ทดสอบมากนัก แต่สำหรับรุ่นสเกาต์ต้องมาที่ประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น เพราะที่นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชื่อเสียงและเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณของวีรบุรุษที่เป็นตำนาน อันเป็นความภาคภูมิใจของนักบิดชาวกีวีทุกคน
นั่นคือ “เบิร์ต มันโร” กับการโมดิฟายสองล้อคู่ใจของตัวเอง “อินเดียน สเกาต์” รุ่นปี 1920ให้สามารถบันทึกสถิติวิ่งได้เร็วที่สุดในโลก (คลิ๊กอ่านตำนาน “เบิร์ต มันโร” )
ฟังแล้วอึ้ง แต่นี่เรื่องจริง และนับเป็นอีกหนึ่งจุดขาย ซึ่งนอกจากความเก่าแก่ของแบรนด์ที่เริ่มทำตลาดตั้งแต่ปี 1901 หรือมีมานานกว่า 100 ปีแล้ว สำหรับรุ่นนี้ยังมีเรื่องราวให้กล่าวถึงแล้วรู้สึกชื่นชมและมีส่วนร่วมไปกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมันได้อีกด้วย
โดยการกลับมาของโมเดลสร้างชื่อกระฉ่อนโลกในเวอร์ชันปี 2015 “อินเดียน สเกาต์” ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดให้เป็นเบอร์หนึ่งของอเมริกันครุยเซอร์ เปิดตัวและเริ่มทำตลาดที่เมืองลุงแซมไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยราคาเริ่มต้น 10,999 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.6 แสนบาท)
ด้านแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ อาทิ เครื่องยนต์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ใช้เฟรมผลิตจากอลูมิเนียมน้ำหนักเบาและออกแบบโครงสร้าง 3 ชิ้น ทำให้หากเกิดอุบัติเหตุสามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะจุดได้ ผสานความคลาสสิกที่มีคุณค่าโดยเฉพาะชื่อรุ่นและท่านั่งที่คงเดิมแบบต้นตำรับ พร้อมกับวัตถุประสงค์ต้องการให้นักบิดสามารถใช้งานได้หลากหลาย ในที่สุดจึงตกผลึกเป็นความโดดเด่น 3 ประการคือ น้ำหนักเบา จุดศูนย์ถ่วงเบาะนั่งต่ำ และปิดท้ายด้วยการควบคุมที่คล่องตัวดีที่สุดในกลุ่มคู่แข่งครุยเซอร์พิกัดนี้
โดยในวันแรกเมื่อจบการแนะนำผลิตภัณฑ์ สื่อมวลชน 6 ชีวิต จาก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และไต้หวันอีก 2 คน ต่างแยกย้ายกันพักผ่อนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมขี่ทดสอบในวันรุ่งขึ้น ซึ่งกำหนดการเดิมต้องล้อหมุนกันตั้งแต่เช้า แต่สภาพฟ้าฝนไม่เป็นใจจึงเลื่อนออกไปเกือบเที่ยง
แม้ว่าพื้นผิวถนนที่นี่จะค่อนข้างดี แต่หลังจากฝนเพิ่งหยุดไม่นานทำให้ถนนหนทางยังเปียกแฉะ โดยในช่วง 10 กิโลเมตรแรกจึงใช้ความเร็วได้ไม่มากนัก เหมือนเป็นการปรับตัวและทำความรู้จัก พร้อมกับการสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้เสียมากกว่า
เริ่มจากการเสียบกุญแจสตาร์ทที่ด้านซ้ายของเครื่องยนต์ เสียงคำรามของท่อไอเสียเบากว่าที่คิดไว้ หน้าปัดแสดงสถานะต่างๆ ทรงกลมขอบชุมโครเมียมเงาวับ ด้านในบอกรายละเอียดความเร็วแบบอนาล็อกหน่วยเป็นกิโลเมตรหรือไมล์ ไฟแสดงตำแหน่งเกียร์ว่าง ไฟเตือนระดับน้ำมันเชื้อเพลิง (ไม่มีเกจแสดงระดับน้ำมัน) ไฟสูง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ABS และไฟเตือนระบบการทำงานเครื่องยนต์
ขณะที่ตรงกลางหน้าจอสี่เหลี่ยมสามารถเลือกดูข้อมูลต่างๆ แบบดิจิตอล ประกอบด้วยระยะทางรวม ทริปวัดระยะการเดินทาง อุณหภูมิเครื่องยนต์ รอบเครื่องยนต์ (RPM) โดยกดเลื่อนจากตำแหน่งไฟขอทางหรือ Pass ที่แฮนด์ฝั่งซ้าย (ไฟ Pass ไม่มี) ซึ่งเลือกดูได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนนาฬิกาจะแสดงตลอดเวลา
สำรวจต่อเนื่องที่ปุ่มควบคุมของแฮนด์ทั้งสองข้าง ขวามีสวิตซ์ออฟรันและปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ ด้านซ้ายมีไฟเลี้ยว ไฟสูง-ต่ำ แตร ไฟฉุกเฉิน และปุ่มเลือกดูค่าต่างๆ ในตำแหน่งไฟขอทาง และหากพิจารณาความละเอียดของชิ้นงานหรือการประกอบ ด้านวัสดุคุณภาพดูจะไม่หนีจากแบรนด์ยุโรปหรือบิ๊กไบค์จากแดนปลาดิบที่ตอนนี้ประกอบในบ้านเรามากนัก บางส่วนด้อยบางส่วนเด่น ยกตัวอย่างเบาะนั่งเห็นได้ชัดว่าทางฝั่งมะกันทำได้ประณีตกว่า ส่วนการเก็บซ่อนสายไฟบางจุดยังทำได้ไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในภาพรวมก็ถือว่าสูสีกันอยู่
ส่วนของท่านั่งตำแหน่งแฮนด์ค่อนข้างห่างลำตัว เช่นเดียวกับพักเท้าซึ่งเหมือนออกแบบมารองรับนักบิดไซส์ฝรั่งเป็นหลัก ขณะที่เบาะนั่งนุ่มสบายแต่ไม่นิ่มจนรู้สึกยวบ หรือนั่งแล้วผ่อนคลายอารมณ์คล้ายโซฟาตัวโปรดที่บ้าน พร้อมด้วยการออกแบบให้มีส่วนเว้าเป็นพนักพิงสามารถรองรับบั้นท้ายได้กระชับ และจากท่านั่งที่ผู้ขี่ต้องโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เมื่อรวมกับจุดศูนย์ถ่วงต่ำและตัวรถน้ำหนักเบา จึงทำให้เกิดความมั่นใจสำหรับการควบคุมตัวรถได้อย่างคล่องตัว
เกี่ยวกับสภาพเส้นทางทดสอบที่เมืองโอ๊คแลนด์บนเกาะตอนเหนือของนิวซีแลนด์ ส่วนใหญ่จะโอบล้อมด้วยภูเขาทำให้มีทางตรงน้อย และต้องเจอทั้งโค้งสั้นและยาวตลอดเส้นทาง ซึ่งเป็นข้อดีให้สังเกตการทำงานของระบบช่วงล่างและการยึดเกาะของยาง โดยผลที่ออกมาก็มีความประทับใจ จากระยะฐานล้อยาวมีความมั่นคงและเสถียรภาพในการเข้าโค้ง ส่วนการทำงานของโช้กหน้าและหลังแม้ว่าจะซับแรงกระแทกได้ดี แต่คาดว่าเซตมาเน้นนั่งสบายมากกว่าซิ่ง เพราะบางจังหวะยังออกอาการให้ต้องผ่อนคันเร่งอยู่บ้างเหมือนกัน
ขณะที่ขุมพลังเครื่องยนต์ 4 จังหวะ สองสูบวี ขนาด 1,130 ซีซี. ระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ 6 สปีด ให้กำลังสูงสุด 100 แรงม้า ที่ 8,100 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 97.7 นิวตัน-เมตร ที่ 5,900 รอบต่อนาที จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ปรับการฉีดแบบควบคุมส่วนผสมอัตโนมัติหรือ Closed Loop
การตอบสนองของอัตราเร่งทำได้จี๊ดจ๊าดดีมาก นับเป็นครุยเซอร์ที่แฝงสมรรถนะแบบสปอร์ต เมื่อถนนเริ่มแห้งขบวนทดสอบจึงขยับความเร็วเพิ่มขึ้น ช่วงหัวขบวนจากเดิมวิ่ง 100 กม./ชม. ขยับเป็น 130 กม./ชม. รถยังนิ่งควบคุมได้ไม่มีปัญหา โดยบางช่วงลองไปอยู่ท้ายขบวนทิ้งระยะห่างเพื่อทำความเร็วถึง 150 กม./ชม. การคอนโทรลตัวรถยังคงทำได้มั่นใจเช่นเดิม
สำหรับระบบห้ามล้อ แรงดึงของเอ็นจิ้นเบรกรู้สึกค่อนข้างชัดเจน ส่วนการทำงานของ ABS การตอบสนองกำลังดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ขณะที่สิ่งสำคัญด้านอุณหภูมิความร้อนเครื่องยนต์ ด้วยสภาพอากาศที่นี่แทบจะไม่รู้สึกถึงไอความร้อนที่แผดรังสีขึ้นมา ซึ่งหากนำไปใช้งานที่เมืองไทยจะเป็นอย่างไร คงต้องรอการทดลองขี่กันอีกครั้งหนึ่ง
สิ้นสุดทริปทดสอบในระยะทางรวมประมาณ 190 กม. จากการสัมผัส “อินเดียน สเกาต์” แทบจะไม่มีข้อติ ยกเว้นอย่างเดียวสำหรับท่านั่งที่ไม่ค่อยถูกใจไซส์เอเชียเท่าไรนัก เพราะสื่อต่างประเทศที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ต่างสรุปไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะเห็นแล้วชอบ ลองแล้วรัก ยิ่งเทียบราคาจำหน่ายที่อเมริกา น่ายกขันหมากไปสู่ขอเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อมาทำตลาดในไทยต้องเจอกำแพงภาษีโน่นนี่นั่นเข้าไป ล่าสุดได้ข่าวว่าเตรียมเปิดตัวและเริ่มรับจองแล้วด้วยราคาเริ่มต้น 849,000 บาท
เห็นตัวเลขแบบนี้ ดูท่ากว่าจะมีงานวิวาห์คงอีกนาน!
***แจกบัตรฟรี! ผู้อ่านท่านใดสนใจเข้าชมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31” หรือมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2014 ณ อิมแพค ชานเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี วันที่ 29 พ.ย.-10 ธ.ค.นี้ สามารถมารับบัตรได้คนละ 4 ใบ ที่บ้านพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. โทร 02-629-4488 มารับช่วงเวลาทำการ 8.00-18.00 น. บัตรมีจำนวนจำกัด***
ทัศนะจากสื่อต่างประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน)
<<<<<<<<<< Isfandiari M.Djunaidi - News & Features Editor Motor Plus
ผมชอบแนวคิดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับอินเดียน สเกาต์ โดยเฉพาะการใช้เครื่องยนต์ใหม่ รวมถึงกล้าดีไซน์รูปลักษณ์ให้มีความทันสมัย อย่างการใช้เฟรมแบบแยกส่วน หากเกิดอุบัติเหตุคุณไม่ต้องเปลี่ยนทั้งชิ้น สามารถแยกเปลี่ยนเฉพาะจุดได้ โดยมันบ่งบอกถึงความยืดหยุ่นที่อินเดียนมีมากกว่าคู่แข่ง และด้วยการไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ซึ่งจะกลายเป็นจุดขายที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์เก่าแก่ที่กลับมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง
โดยหลังจากลองขี่แล้วประทับใจพละกำลังเครื่องยนต์ที่รู้สึกถึงความแรง และด้วยน้ำหนักตัวรถที่เบา จึงทำให้การตอบสนองของมันทำได้อย่างน่าทึ่ง ผมคิดว่าจะสามารถทำตลาดทั่วโลกได้ประสบความสำเร็จแน่นอน แต่สำหรับนักบิดไซส์เอเชียคงต้องปรับตำแหน่งของแฮนด์บาร์และตำแหน่งวางเท้ากันใหม่ เนื่องจากยังไม่ค่อยลงตัวนักกับสรีระที่แตกต่างกัน
สำหรับความคาดหวังให้อินเดียนมาตั้งโรงงานในอาเซียน ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ เนื่องจากตลาดในภูมิภาคนี้กำลังเติบโต หากเกิดขึ้นจริง พวกเขา(อินเดียน) จะทำราคาที่สามารถแข่งขันได้
Faisal Shah - Editor In Chief Fast Bikes Magazine Malaysia >>>>>>>>>>
สเกาต์สร้างความประหลาดใจมาก เพราะคุณคงไม่เคยเห็นรถสไตล์ครุยเซอร์แบบอเมริกัน ติดตั้งเครื่องยนต์แบบที่ใช้การระบายความร้อนด้วยน้ำมาก่อน และมันจะเป็นยุคใหม่ของรถประเภทนี้ ส่วนด้านสมรรถนะมันเร็วและแรงอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากสามารถใช้รอบเครื่องยนต์ช่วงเรดไลน์ได้สูงถึง 9,000 รอบต่อนาทีเลยทีเดียว รวมถึงมีการตอบสนองของเบรกที่ดี ควบคุมง่าย เข้าโค้งได้เยี่ยม
เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างฮาเลย์ที่ผมเคยขี่อย่างรุ่นสปอร์ตเตอร์ ผมเทใจให้ทางอินเดียนมากกว่า เพราะด้วยท่านั่งที่สบายและต่ำ รูปทรงที่ทันสมัยแบบโมเดิร์น แต่คงความคลาสสิกแบบต้นตำรับ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นรถที่ดีมากรุ่นหนึ่งสำหรับผม
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมทุกอย่างจะดี แต่ที่ผมไม่ชอบคือตำแหน่งที่วางเท้ามันค่อนข้างห่างจากลำตัวผู้ขี่ไปหน่อย จุดนี้อาจจะเป็นปัญหาในการทำตลาดฝั่งเอเชียก็เป็นได้
<<<<<<<<<< Kavin Liew - Editor Motor Culture Asia Magazine
ผมชอบรูปทรงของมันที่มีความทันสมัย และนี่เป็นครั้งแรกที่ได้ลองขี่รถประเภทครุยเซอร์ ปกติผมคุ้นเคยกับรถสปอร์ตซึ่งมันรู้สึกกระชับมากกว่า แต่พอได้ลองขี่รถคันใหญ่แบบนี้ก็รู้สึกสนุกดีเหมือนกัน
ตอนแรกคิดว่าจะมีปัญหาในการบังคับตัวรถ ด้วยความสูงของผมเพียง 170 ซม. แต่ก็ไม่เกิดขึ้นเลย และเชื่อว่าสำหรับผู้หญิงที่มีสรีระบอบบางก็สามารถขี่ได้เช่นกัน เพราะท่านั่งควบคุมง่าย จุดศูนย์ถ่วงต่ำ น้ำหนักเบา คิดว่าโมเดลนี้จะตอบโจทย์ได้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะนักบิดหน้าใหม่ที่ต้องการหาครุยเซอร์ดีไซน์ร่วมสมัยสักคัน และคันนี้น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี
Singer Ho - Founder Jorsindo Motor Club (www.jorsindo.com) >>>>>>>>>
ผมชอบความแรงระดับ 100 แรงม้า ให้กำลังดีในรอบต่ำ และขี่สนุกในรอบสูง จับคู่กับน้ำหนักตัวรถที่ไม่มากนัก ซึ่งให้การตอบสนองแรงบิดที่อเมริกันครุยเซอร์ควรจะมี อีกทั้งท่านั่งสบายควบคุมง่าย มันเหมาะสำหรับนักบิดหน้าใหม่ ตำแหน่งเบาะนั่งต่ำ เท้ายันพื้นได้มั่นใจ ความแรงเครื่องยนต์ไหลต่อเนื่อง รอบต่ำขี่ง่ายไม่กระตุก การตอบสนองของเบรกดีกว่าที่ผมเคยสัมผัสในรุ่นที่เป็นคู่แข่ง
แต่ใช่ว่าจะดีทั้งหมดสำหรับนักบิดไซส์เอเชีย แฮนด์บาร์ไกลตัวไปหน่อย ที่วางขาห่างหรือยื่นไปข้างหน้ามากไปนิด ซึ่งมันค่อนข้างลำบากในการจัดท่าทางการขี่ ตรงข้ามกับไซส์ฝรั่งหรือฝั่งตะวันตกผมว่ามันเหมาะสมดีแล้ว
สรุปว่าเป็นรุ่นที่ดีสำหรับการเริ่มต้นของนักบิดในอาเซียน ด้วยราคาค่าตัวหากใช้ตัวเลขที่อเมริกาเป็นเกณฑ์ ผมว่าน่าสนใจมาก แต่ต้องดูกันอีกครั้งว่า เมื่อวางจำหน่ายในแต่ละประเทศที่มีกำแพงภาษีแตกต่างกัน จะต้องบวกเพิ่มไปอีกเท่าไร
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring