เป็นรถยนต์ที่ความหลงใหลและอารมณ์ต้องการถือครองอยู่เหนือเหตุผลทั้งปวง เมื่อเทียบกับราคาขายระดับ 2-3 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ในตลาดมีตัวเลือกมากมาย แต่สุดท้ายหลายคนก็ไม่ลังเลใจในการควักเงินซื้อ “มินิ” จากประเทศอังกฤษ
“มินิ”ภายใต้หลังคา“บีเอ็มดับเบิลยู”มีศักยภาพมากครับ (BMW ได้เป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 1994 และ “มินิ ใหม่” เริ่มวางขายในปี 2001) ด้วยยอดขายเติบโตขึ้นทุกปีอย่างปีแล้วทั่วโลกขายได้ถึง 3.05 แสนคัน เช่นเดียวกับเมืองไทยที่ล่าสุดได้ประกอบมินิตัวถังเอสยูวีรุ่น “คันทรีแมน” ณ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู จังหวัดระยอง พร้อมทำราคาได้น่าสนใจจึงเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ยอดขายมินิ 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.2557) เติบโตถึง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ถึงวันนี้รถยนต์“มินิ ยุคใหม่”เดินทางเข้าสู่เจเนอเรชันที่3 แน่นอนว่าเริ่มทำตลาดกับตัวถังแฮตช์แบ็ก 3 ประตู F56 เป็นโมเดลแรก (จากนั้นตัวถังใหม่ แฮตช์แบ็ก 5 ประตูจะขายเป็นลำดับถัดมา) โดยแบ่งเป็น 3 ระดับความแรง กับรุ่น “คูเปอร์” วางเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.19 ล้านบาท “คูเปอร์ ดี” วางเครื่องยนต์ดีเซล 3 สูบ 1.5 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.44 ล้านบาท และ “มินิ คูเปอร์ เอส” เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.84 ล้านบาท
ถือว่าน่าสนใจครับกับเครื่องยนต์บล็อกใหม่ที่มินิเลือกนำมาประจำการอยู่ใต้ฝากระโปรงของรถยนต์ทั้งสามรุ่น อย่างคูเปอร์นั้นในเจเนอเรชันที่2เคยใช้แบบ 4 สูบ ขนาด 1.6 ลิตร แต่พอมาเป็นรุ่นใหม่ใช้ขุมพลังที่เล็กลง และเสริมระบบอัดอากาศ ตัวเลขประสิทธิผลก็ไม่ด้อยลงว่าเดิม เช่นเดียวกับ “คูเปอร์ ดี” ที่เดิมเคยใช้ ดีเซล 4 สูบ 2.0 ลิตร ขณะที่ “คูเปอร์ เอส” นั้น แม้จะขยับพิกัดจาก 1.6 ไปหา 2.0 ลิตร ซึ่งแรงกว่าเดิมนะของตาย แต่กลับกลายเป็นว่า กินน้ำมันน้อยลง แถมปล่อยไอเสีย (CO2) ลดลงเมื่อเทียบกับรุ่นเก่าอย่างน่ามหัศจรรย์ (ดูตารางประกอบ)
ที่ผ่านมามินิอาจจะร่วมแบ่งเทคโนโลยี หรือใช้เครื่องยนต์ของชาวบ้าน(ค่ายรถอื่น)มาบ้าง แต่สำหรับ มินิ เจเนอเรชันที่ 3 บีเอ็มดับเบิลยูจัดให้เต็มๆโดยสอดคล้องกับเทคโนโลยี TwinPower Turbo อันหมายรวมถึงการใช้ระบบวาล์วแปรผัน ระบบฉีดจ่ายน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ และระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ Downsizing เครื่องยนต์ยุคใหม่
…เรื่องสมุนไพรต้องไว้ใจหมอเส็ง แต่ถ้าเป็นเรื่องการพัฒนาเครื่องยนต์แล้ว “บีเอ็มดับเบิลยู”ก็เป็นหนึ่งในตองอูไม่แพ้ใครบนโลกนี้ละครับ
ในขณะที่ขนาดตัวถังใหญ่กว่ารุ่นเดิมทุกมิติ ความยาวเพิ่มขึ้น 98 มิลลิเมตร ความกว้างเพิ่ม44 มิลลิเมตร สูงขึ้น 7 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อขยายอีก 28 มิลลิเมตร เช่นเดียวกันกับความกว้างช่วงล้อด้านหน้าเพิ่มขึ้น 42 มิลลิเมตร และด้านหลัง 34 มิลลิเมตร
รูปลักษณ์ภายนอกถ้าจะให้เรียนกันตรงๆ ด้วยการมองเผินๆแทบจะแยกๆไม่ออกว่านี่เป็นมินิ รุ่นใหม่ เพราะโครงสร้างตัวถัง ตลอดจนทรงโคมไฟ และกระจังหน้า ยังออกแบบมาคล้ายๆเดิม แต่ปรับรายละเอียดเล็กน้อย เช่นเดียวกับกรอบไฟท้ายที่ใหญ่เต็มตา แต่รายละเอียดการเรียงหลอดไฟภายในนั้นต่างจาก มินิ เจเนอเรชันที่2 อย่างชัดเจน
เมื่อโยกตัวเข้ามานั่งภายในห้องโดยสาร น่าจะเริ่มเห็นความแตกต่างจากรุ่นเก่าได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างหน้าปัดวงกลมโตตรงกลางที่เป็นเอกลักษณ์ มาพร้อมหน้าจอสีขนาด 8.8 นิ้ว(ในรุ่น คูเปอร์ เอส) ตรงขอบมีเล่นสีสันวูบวาบ (จากเดิมเป็นไมล์วัดความเร็ว) ซึ่งการเปลี่ยนไฟเป็นแสงสีต่างๆยังมีสาระสำคัญในการแจ้งเตือน
อย่างกรณีถอยรถเข้าที่จอด เมื่อระบบควบคุมระยะการจอด (PDC) ทำงาน วงแหวนจะแสดงระยะห่างระหว่างรถกับสิ่งกีดขวางด้านหลังรถ ด้วยการแสดงผลในสีต่างๆตามระยะความใกล้กับสิ่งกีดขวางหลังรถ ได้แก่ สีเขียว เหลือง หรือแดง
ตลอดจนการเปลี่ยนโหมดการขับขี่ที่สามารถเห็นได้จากสีต่างๆ อย่างโหมด Eco เป็นสีเขียว โหมดสปอร์ตจะเป็นสีแดง ขณะเดียวกันหากใช้ระบบนำทางเมื่อรถเข้าใกล้จุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่าไร แถบไฟบนวงแหวนก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย ทั้งนี้ออปชันเปลี่ยนโหมดการขับขี่ และระบบนำทางจะมาในรุ่น คูเปอร์เอส เท่านั้น
เมื่อไล่สายตาลงมาจากหน้าปัดดิสโก้ (รุ่นคูเปอร์ เอส น่าจะเป็น “ดิสโก้ เทค” หรือผับชั้นดีเพราะใช้เครื่องเสียงของ harman/kardon พร้อมขับเสียงด้วยลำโพง 12 ตัว) เราจะเห็นปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์สีแดงดูโดดเด่น ขณะที่คันเกียร์ออกแบบใหม่และใกล้ๆกันมีปุ่มควบคุมเมนูต่างๆของรถ (ฟังเพลง,โทรศัพท์,ระบบนำทาง,ข้อมูลการขับขี่ เป็นต้น) คล้ายๆกับไอ-ไดร์ฟ ของบีเอ็มดับเบิลยู ซึ่งใช้งานง่ายพร้อมแสดงผลชัดเจนดีทีเดียว
ด้านเบาะนั่งยังเป็นไปตามสไตล์มินิ คือออกแบบให้โอบกระชับรับสรีระและสามารถปรับตำแหน่งให้ต่ำเตี้ยได้สุดๆ แต่การปรับระยะต่างๆยังคงต้องใช้มือโยกดันดึงเหมือนเดิม
เรื่องตำแหน่งนั่งและทัศนวิสัยการขับขี่ คงอารมณ์เดิมๆครับ แม้มินิยืนยันว่าจะขยายระยะฐานล้อ แต่การนั่งด้านหน้าและเป็นผู้โดยสารด้านหลังพื้นที่ก็ยังเหลือแบบพอดีตัว ไม่ได้กว้างขวางจนรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ส่วนช่วงล่างการรองรับต้องยอมรับว่า มินิ แฮตช์แบ็ก ประณีประนอมกับพื้นถนนมากขึ้น กล่าวคือไม่เด้งดิบเหมือน มินิ เจเนเชันแรก และเจเนอเรชันที่สองตอนต้นๆ
อาจกล่าวได้ว่า มินิ แฮตช์แบ็ก ใหม่ ช่วงล่างให้ความนุ่มนวลกว่าเดิม แต่ยังคงความหนึบแน่น พร้อมการควบคุมแบบ “โกคาร์ท ฟิลลิ้ง” เอาไว้ ส่วนเรื่องสมรรถนะผู้เขียนได้ลองขับครบทั้ง 3 รุ่น 3 เครื่องยนต์
เริ่มจาก มินิ คูเปอร์ เอส ซึ่งตัวนี้ออปชันจัดเต็มมาครบ ขับในโหมดปกติ (มินิ เรียกโหมด MID) เครื่องยนต์ 4 สูบ 2.0 ลิตร 192 แรงม้า ส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ก็แรงรุ่งพลุ่งพล่านอยู่แล้วครับ แต่ถ้าใครจะขยับไปเป็นโหมดสปอร์ต (เลื่อนปุ่มใกล้ๆกับคันเกียร์) การตอบสนองมาแบบตูมตามกว่าเดิม น้ำหนักพวงมาลัยหนักหน่วงขึ้น เช่นเดียวกับช่วงล่าง ที่คราวนี้แข็งเข้าขั้น รับรู้แรงสะท้านจากพื้นถนนได้เต็มๆ ยิ่งใช้ความเร็วสูงๆ ตัวถังนิ่ง การควบคุมและทะยานไปข่างหน้า มาแบบปราดเปรียว ทรงตัวมั่นคง ทั้งทางตรงและทางโค้ง
อย่างไรก็ตาม นอกจากโหมด MID กับโหมด SPORT สุดโหดแล้ว ผู้ขับยังสามารถปรับเป็นโหมดประหยัดแบบ ECO (มินิ เรียกโหมด GREEN) ที่จะจัดการเครื่องยนต์ และระบบแอร์ ไม่ให้ทำงานหนักเกินไป ไว้เป็นทางเลือกในวัน ชิล ชิล ได้อีกด้วย
ถัดมาเป็นรุ่น คูเปอร์ กับเครื่องยนต์ 3 สูบ 1.5 ลิตร 136 แรงม้า ที่ให้ตัวเลขประสิทธิผลห่างจาก คูเปอร์ เอส เยอะ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพการควบคุม และความปราดเปรียว ในการมุดซ้ายป่ายขวา รวมถึงการทรงตัวในโค้งบนความเร็วสูงๆ จะด้อยกว่า (คูเปอร์ เอส ใช้ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ยาง205/40 R18 ส่วนคูเปอร์ใช้ขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง195/55 R16) แต่ถ้าถามถึงความพอเพียงในการขับขี่รวมๆ ผู้เขียนว่าลงตัวมากๆ ทั้งการออกตัว และจังหวะเร่งความเร็ว การตอบสนองของเครื่องยนต์และเกียร์ดูสมบูรณ์แบบระดับใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
ถัดมาเป็นความท้าทายกับเครื่องยนต์ดีเซล 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตรในมินิ คูเปอร์ ดี การทำงานนุ่มนวล ส่งกำลังต่อเนื่องไหลลื่น เพียงแต่ความจัดจ้านไม่น่าจะสู้พวกคูเปอร์เครื่องยนต์เบนซินได้ โดยเฉพาะช่วงออกตัว หรือหวังเพิ่มอัตราเร่งจากย่านความเร็วต่ำ แรงยังไม่มาตามน้ำหนักเท้าที่กดคันเร่งลงไปนัก...สรุปคือไม่จี๊ดจ๊าด แต่ออกแนวขับสบาย
เหนืออื่นใดมินิ ได้ติดตั้งระบบดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง Automatic Start/Stop มาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานเหมือนกันทั้งสามรุ่น แน่นอนว่าตัวเลขประหยัดน้ำมันสวยๆ และการปล่อยไอเสีย ที่ลดลงระบบนี้มีส่วนสำคัญอย่างมาก ส่วนการขับขี่จริงของผู้เขียน ในรุ่น คูเปอร์ เอส ขับจากกรุงเทพฯไปเพชรบุรี บนความเร็ว 120-140 กม./ชม. เป็นหลักได้ตัวเลข 12.2 กม./ลิตร ส่วนคูเปอร์ ที่ขับในลักษณะคล้ายๆกันได้ผลแถวๆ 14 กม./ลิตร ขณะที่คูเปอร์ ดี (ขับกลับมากรุงเทพฯ)โดดกว่าใครเพื่อนที่ 17.4 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...หากชอบในความโดดเด่นของมินิ และเสน่ห์ที่หาได้ยากจากรถรุ่นไหนๆในโลก ใครมีกำลังทรัพย์ก็จัดไปเถอะครับ ส่วนจะซื้อรุ่นไหนขึ้นอยู่กับว่าท่านขับรถในลักษณะใด? พอใจกับสมรรถนะระดับไหน? ซึ่งมินิรุ่นใหม่ถือว่าชัดเจนดีครับ เพราะคูเปอร์,คูเปอร์ เอส และคูเปอร์ดี ถูกวางตัวให้มีบุคลิกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง….ตัดสินใจไม่ยาก
“มินิ”ภายใต้หลังคา“บีเอ็มดับเบิลยู”มีศักยภาพมากครับ (BMW ได้เป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 1994 และ “มินิ ใหม่” เริ่มวางขายในปี 2001) ด้วยยอดขายเติบโตขึ้นทุกปีอย่างปีแล้วทั่วโลกขายได้ถึง 3.05 แสนคัน เช่นเดียวกับเมืองไทยที่ล่าสุดได้ประกอบมินิตัวถังเอสยูวีรุ่น “คันทรีแมน” ณ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู จังหวัดระยอง พร้อมทำราคาได้น่าสนใจจึงเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ยอดขายมินิ 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.2557) เติบโตถึง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ถึงวันนี้รถยนต์“มินิ ยุคใหม่”เดินทางเข้าสู่เจเนอเรชันที่3 แน่นอนว่าเริ่มทำตลาดกับตัวถังแฮตช์แบ็ก 3 ประตู F56 เป็นโมเดลแรก (จากนั้นตัวถังใหม่ แฮตช์แบ็ก 5 ประตูจะขายเป็นลำดับถัดมา) โดยแบ่งเป็น 3 ระดับความแรง กับรุ่น “คูเปอร์” วางเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.19 ล้านบาท “คูเปอร์ ดี” วางเครื่องยนต์ดีเซล 3 สูบ 1.5 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.44 ล้านบาท และ “มินิ คูเปอร์ เอส” เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร เทอร์โบ ราคา 2.84 ล้านบาท
ถือว่าน่าสนใจครับกับเครื่องยนต์บล็อกใหม่ที่มินิเลือกนำมาประจำการอยู่ใต้ฝากระโปรงของรถยนต์ทั้งสามรุ่น อย่างคูเปอร์นั้นในเจเนอเรชันที่2เคยใช้แบบ 4 สูบ ขนาด 1.6 ลิตร แต่พอมาเป็นรุ่นใหม่ใช้ขุมพลังที่เล็กลง และเสริมระบบอัดอากาศ ตัวเลขประสิทธิผลก็ไม่ด้อยลงว่าเดิม เช่นเดียวกับ “คูเปอร์ ดี” ที่เดิมเคยใช้ ดีเซล 4 สูบ 2.0 ลิตร ขณะที่ “คูเปอร์ เอส” นั้น แม้จะขยับพิกัดจาก 1.6 ไปหา 2.0 ลิตร ซึ่งแรงกว่าเดิมนะของตาย แต่กลับกลายเป็นว่า กินน้ำมันน้อยลง แถมปล่อยไอเสีย (CO2) ลดลงเมื่อเทียบกับรุ่นเก่าอย่างน่ามหัศจรรย์ (ดูตารางประกอบ)
ที่ผ่านมามินิอาจจะร่วมแบ่งเทคโนโลยี หรือใช้เครื่องยนต์ของชาวบ้าน(ค่ายรถอื่น)มาบ้าง แต่สำหรับ มินิ เจเนอเรชันที่ 3 บีเอ็มดับเบิลยูจัดให้เต็มๆโดยสอดคล้องกับเทคโนโลยี TwinPower Turbo อันหมายรวมถึงการใช้ระบบวาล์วแปรผัน ระบบฉีดจ่ายน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ และระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ Downsizing เครื่องยนต์ยุคใหม่
…เรื่องสมุนไพรต้องไว้ใจหมอเส็ง แต่ถ้าเป็นเรื่องการพัฒนาเครื่องยนต์แล้ว “บีเอ็มดับเบิลยู”ก็เป็นหนึ่งในตองอูไม่แพ้ใครบนโลกนี้ละครับ
ในขณะที่ขนาดตัวถังใหญ่กว่ารุ่นเดิมทุกมิติ ความยาวเพิ่มขึ้น 98 มิลลิเมตร ความกว้างเพิ่ม44 มิลลิเมตร สูงขึ้น 7 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อขยายอีก 28 มิลลิเมตร เช่นเดียวกันกับความกว้างช่วงล้อด้านหน้าเพิ่มขึ้น 42 มิลลิเมตร และด้านหลัง 34 มิลลิเมตร
รูปลักษณ์ภายนอกถ้าจะให้เรียนกันตรงๆ ด้วยการมองเผินๆแทบจะแยกๆไม่ออกว่านี่เป็นมินิ รุ่นใหม่ เพราะโครงสร้างตัวถัง ตลอดจนทรงโคมไฟ และกระจังหน้า ยังออกแบบมาคล้ายๆเดิม แต่ปรับรายละเอียดเล็กน้อย เช่นเดียวกับกรอบไฟท้ายที่ใหญ่เต็มตา แต่รายละเอียดการเรียงหลอดไฟภายในนั้นต่างจาก มินิ เจเนอเรชันที่2 อย่างชัดเจน
เมื่อโยกตัวเข้ามานั่งภายในห้องโดยสาร น่าจะเริ่มเห็นความแตกต่างจากรุ่นเก่าได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างหน้าปัดวงกลมโตตรงกลางที่เป็นเอกลักษณ์ มาพร้อมหน้าจอสีขนาด 8.8 นิ้ว(ในรุ่น คูเปอร์ เอส) ตรงขอบมีเล่นสีสันวูบวาบ (จากเดิมเป็นไมล์วัดความเร็ว) ซึ่งการเปลี่ยนไฟเป็นแสงสีต่างๆยังมีสาระสำคัญในการแจ้งเตือน
อย่างกรณีถอยรถเข้าที่จอด เมื่อระบบควบคุมระยะการจอด (PDC) ทำงาน วงแหวนจะแสดงระยะห่างระหว่างรถกับสิ่งกีดขวางด้านหลังรถ ด้วยการแสดงผลในสีต่างๆตามระยะความใกล้กับสิ่งกีดขวางหลังรถ ได้แก่ สีเขียว เหลือง หรือแดง
ตลอดจนการเปลี่ยนโหมดการขับขี่ที่สามารถเห็นได้จากสีต่างๆ อย่างโหมด Eco เป็นสีเขียว โหมดสปอร์ตจะเป็นสีแดง ขณะเดียวกันหากใช้ระบบนำทางเมื่อรถเข้าใกล้จุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่าไร แถบไฟบนวงแหวนก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย ทั้งนี้ออปชันเปลี่ยนโหมดการขับขี่ และระบบนำทางจะมาในรุ่น คูเปอร์เอส เท่านั้น
เมื่อไล่สายตาลงมาจากหน้าปัดดิสโก้ (รุ่นคูเปอร์ เอส น่าจะเป็น “ดิสโก้ เทค” หรือผับชั้นดีเพราะใช้เครื่องเสียงของ harman/kardon พร้อมขับเสียงด้วยลำโพง 12 ตัว) เราจะเห็นปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์สีแดงดูโดดเด่น ขณะที่คันเกียร์ออกแบบใหม่และใกล้ๆกันมีปุ่มควบคุมเมนูต่างๆของรถ (ฟังเพลง,โทรศัพท์,ระบบนำทาง,ข้อมูลการขับขี่ เป็นต้น) คล้ายๆกับไอ-ไดร์ฟ ของบีเอ็มดับเบิลยู ซึ่งใช้งานง่ายพร้อมแสดงผลชัดเจนดีทีเดียว
ด้านเบาะนั่งยังเป็นไปตามสไตล์มินิ คือออกแบบให้โอบกระชับรับสรีระและสามารถปรับตำแหน่งให้ต่ำเตี้ยได้สุดๆ แต่การปรับระยะต่างๆยังคงต้องใช้มือโยกดันดึงเหมือนเดิม
เรื่องตำแหน่งนั่งและทัศนวิสัยการขับขี่ คงอารมณ์เดิมๆครับ แม้มินิยืนยันว่าจะขยายระยะฐานล้อ แต่การนั่งด้านหน้าและเป็นผู้โดยสารด้านหลังพื้นที่ก็ยังเหลือแบบพอดีตัว ไม่ได้กว้างขวางจนรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ส่วนช่วงล่างการรองรับต้องยอมรับว่า มินิ แฮตช์แบ็ก ประณีประนอมกับพื้นถนนมากขึ้น กล่าวคือไม่เด้งดิบเหมือน มินิ เจเนเชันแรก และเจเนอเรชันที่สองตอนต้นๆ
อาจกล่าวได้ว่า มินิ แฮตช์แบ็ก ใหม่ ช่วงล่างให้ความนุ่มนวลกว่าเดิม แต่ยังคงความหนึบแน่น พร้อมการควบคุมแบบ “โกคาร์ท ฟิลลิ้ง” เอาไว้ ส่วนเรื่องสมรรถนะผู้เขียนได้ลองขับครบทั้ง 3 รุ่น 3 เครื่องยนต์
เริ่มจาก มินิ คูเปอร์ เอส ซึ่งตัวนี้ออปชันจัดเต็มมาครบ ขับในโหมดปกติ (มินิ เรียกโหมด MID) เครื่องยนต์ 4 สูบ 2.0 ลิตร 192 แรงม้า ส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ก็แรงรุ่งพลุ่งพล่านอยู่แล้วครับ แต่ถ้าใครจะขยับไปเป็นโหมดสปอร์ต (เลื่อนปุ่มใกล้ๆกับคันเกียร์) การตอบสนองมาแบบตูมตามกว่าเดิม น้ำหนักพวงมาลัยหนักหน่วงขึ้น เช่นเดียวกับช่วงล่าง ที่คราวนี้แข็งเข้าขั้น รับรู้แรงสะท้านจากพื้นถนนได้เต็มๆ ยิ่งใช้ความเร็วสูงๆ ตัวถังนิ่ง การควบคุมและทะยานไปข่างหน้า มาแบบปราดเปรียว ทรงตัวมั่นคง ทั้งทางตรงและทางโค้ง
อย่างไรก็ตาม นอกจากโหมด MID กับโหมด SPORT สุดโหดแล้ว ผู้ขับยังสามารถปรับเป็นโหมดประหยัดแบบ ECO (มินิ เรียกโหมด GREEN) ที่จะจัดการเครื่องยนต์ และระบบแอร์ ไม่ให้ทำงานหนักเกินไป ไว้เป็นทางเลือกในวัน ชิล ชิล ได้อีกด้วย
ถัดมาเป็นรุ่น คูเปอร์ กับเครื่องยนต์ 3 สูบ 1.5 ลิตร 136 แรงม้า ที่ให้ตัวเลขประสิทธิผลห่างจาก คูเปอร์ เอส เยอะ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพการควบคุม และความปราดเปรียว ในการมุดซ้ายป่ายขวา รวมถึงการทรงตัวในโค้งบนความเร็วสูงๆ จะด้อยกว่า (คูเปอร์ เอส ใช้ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ยาง205/40 R18 ส่วนคูเปอร์ใช้ขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง195/55 R16) แต่ถ้าถามถึงความพอเพียงในการขับขี่รวมๆ ผู้เขียนว่าลงตัวมากๆ ทั้งการออกตัว และจังหวะเร่งความเร็ว การตอบสนองของเครื่องยนต์และเกียร์ดูสมบูรณ์แบบระดับใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
ถัดมาเป็นความท้าทายกับเครื่องยนต์ดีเซล 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตรในมินิ คูเปอร์ ดี การทำงานนุ่มนวล ส่งกำลังต่อเนื่องไหลลื่น เพียงแต่ความจัดจ้านไม่น่าจะสู้พวกคูเปอร์เครื่องยนต์เบนซินได้ โดยเฉพาะช่วงออกตัว หรือหวังเพิ่มอัตราเร่งจากย่านความเร็วต่ำ แรงยังไม่มาตามน้ำหนักเท้าที่กดคันเร่งลงไปนัก...สรุปคือไม่จี๊ดจ๊าด แต่ออกแนวขับสบาย
เหนืออื่นใดมินิ ได้ติดตั้งระบบดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง Automatic Start/Stop มาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานเหมือนกันทั้งสามรุ่น แน่นอนว่าตัวเลขประหยัดน้ำมันสวยๆ และการปล่อยไอเสีย ที่ลดลงระบบนี้มีส่วนสำคัญอย่างมาก ส่วนการขับขี่จริงของผู้เขียน ในรุ่น คูเปอร์ เอส ขับจากกรุงเทพฯไปเพชรบุรี บนความเร็ว 120-140 กม./ชม. เป็นหลักได้ตัวเลข 12.2 กม./ลิตร ส่วนคูเปอร์ ที่ขับในลักษณะคล้ายๆกันได้ผลแถวๆ 14 กม./ลิตร ขณะที่คูเปอร์ ดี (ขับกลับมากรุงเทพฯ)โดดกว่าใครเพื่อนที่ 17.4 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...หากชอบในความโดดเด่นของมินิ และเสน่ห์ที่หาได้ยากจากรถรุ่นไหนๆในโลก ใครมีกำลังทรัพย์ก็จัดไปเถอะครับ ส่วนจะซื้อรุ่นไหนขึ้นอยู่กับว่าท่านขับรถในลักษณะใด? พอใจกับสมรรถนะระดับไหน? ซึ่งมินิรุ่นใหม่ถือว่าชัดเจนดีครับ เพราะคูเปอร์,คูเปอร์ เอส และคูเปอร์ดี ถูกวางตัวให้มีบุคลิกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง….ตัดสินใจไม่ยาก