ขณะที่ตลาดรถยนต์ในไทยไตรมาสแรกหดตัวถึง 45.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แน่นอนย่อมมีแนวโน้มฉุดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้ชะลอการเติบโตตามไปด้วย ทว่าบอสใหญ่ ทรอย แช็ปแมน กรรมการบริหาร บริษัท เชลล์แห่งประเทศ จำกัด ผู้ดูแลธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในบ้านเรากลับมองเห็นโอกาส สำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หวังเดินเกมขยายส่วนแบ่งตลาดพรีเมียม ซึ่งยังคงมีทิศทางการเติบโตได้ในระยะยาว
ภาพรวมธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนการใช้น้ำมันหล่อลื่นตามสถิติของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (พ.ร.บ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543) อยู่ที่ประมาณ 380 ล้านลิตรต่อปี และยังมีส่วนที่ไม่ได้บันทึกอยู่ในระบบอีกประมาณ 300 ล้านลิตรต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณรวมทั้งสิ้น คาดว่าประมาณ 680 ล้านลิตรต่อปี โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามประเภทการใช้งาน ได้แก่ รถยนต์ 47% รถบรรทุก 44% และรถจักรยานยนต์ 9%
เป้าหมายการเติบโต
ตอนนี้เชลล์เชื่อมั่นว่าเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีมาร์เก็ตแชร์หรือส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 29% จากตลาดโดยรวมตามมาตรา 7 ส่วนในปีนี้เรามุ่งเป้ายอดขายในกลุ่มน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้เพิ่มขึ้นอีก 50% ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้คือตลาดพรีเมียมที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากสัดส่วน 15-20% ของตลาดรวม และอนาคตภายใน 2-3 ปีต่อจากนี้ ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คาดว่าสัดส่วนตลาดพรีเมียมจะเพิ่มขึ้นเกือบ 30% อย่างแน่นอน
ชูจุดขายเทคโนโลยีใหม่
หนึ่งในกลุยทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายคือ เชลล์จะยังคงมุ่งเน้นในการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาททุกปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำเสนอน้ำมันเครื่องที่เหนือกว่าไปอีกลำดับขั้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้ใช้รถทุกประเภท
อย่างที่เห็นจากการเปิดตัว “เชลล์ เพียวพลัส เทคโนโลยี” นวัตกรรมจากสิทธิบัตรใหม่ล่าสุดสำหรับการผลิตน้ำมันสังเคราะห์จากก๊าซธรรมชาติ ที่ให้ความบริสุทธิ์เหนือกว่าน้ำมันพื้นฐานแบบเดิม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ในเชลล์ เฮลิกส์ อัลตร้า ใหม่ล่าสุด โดยมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการคือ 1.การคงความหนืด (Viscosity) - ความสามารถในการรักษาระดับความหนืดในน้ำมันได้อย่างดีเยี่ยม แม้ในสภาวะการทำงานที่หนักหน่วงและอุณหภูมิสูง ทำให้น้ำมันเครื่องสามารถหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.แรงเสียดทานต่ำ (Reduced Friction) - ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และ 3.อัตราการระเหยต่ำ (Lower Volatility) - ช่วยลดอัตราการพร่องของน้ำมันเครื่อง
เชื่อพิษเศรษฐกิจมีผลแค่ระยะสั้น
หากมองถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนี้ เราเชื่อว่าจะมีผลแค่ระยะสั้น แม้ตลาดรถยนต์ในไทย ช่วงไตรมาสแรกจะปิดยอดขายลดลงถึง 45.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ในระยะยาวยังมีโอกาสการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นยังมีอนาคตที่สดใสแน่นอน
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ภาพรวมธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนการใช้น้ำมันหล่อลื่นตามสถิติของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 (พ.ร.บ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543) อยู่ที่ประมาณ 380 ล้านลิตรต่อปี และยังมีส่วนที่ไม่ได้บันทึกอยู่ในระบบอีกประมาณ 300 ล้านลิตรต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณรวมทั้งสิ้น คาดว่าประมาณ 680 ล้านลิตรต่อปี โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามประเภทการใช้งาน ได้แก่ รถยนต์ 47% รถบรรทุก 44% และรถจักรยานยนต์ 9%
เป้าหมายการเติบโต
ตอนนี้เชลล์เชื่อมั่นว่าเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีมาร์เก็ตแชร์หรือส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 29% จากตลาดโดยรวมตามมาตรา 7 ส่วนในปีนี้เรามุ่งเป้ายอดขายในกลุ่มน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้เพิ่มขึ้นอีก 50% ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้คือตลาดพรีเมียมที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากสัดส่วน 15-20% ของตลาดรวม และอนาคตภายใน 2-3 ปีต่อจากนี้ ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คาดว่าสัดส่วนตลาดพรีเมียมจะเพิ่มขึ้นเกือบ 30% อย่างแน่นอน
ชูจุดขายเทคโนโลยีใหม่
หนึ่งในกลุยทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายคือ เชลล์จะยังคงมุ่งเน้นในการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาททุกปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำเสนอน้ำมันเครื่องที่เหนือกว่าไปอีกลำดับขั้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้ใช้รถทุกประเภท
อย่างที่เห็นจากการเปิดตัว “เชลล์ เพียวพลัส เทคโนโลยี” นวัตกรรมจากสิทธิบัตรใหม่ล่าสุดสำหรับการผลิตน้ำมันสังเคราะห์จากก๊าซธรรมชาติ ที่ให้ความบริสุทธิ์เหนือกว่าน้ำมันพื้นฐานแบบเดิม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ในเชลล์ เฮลิกส์ อัลตร้า ใหม่ล่าสุด โดยมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการคือ 1.การคงความหนืด (Viscosity) - ความสามารถในการรักษาระดับความหนืดในน้ำมันได้อย่างดีเยี่ยม แม้ในสภาวะการทำงานที่หนักหน่วงและอุณหภูมิสูง ทำให้น้ำมันเครื่องสามารถหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.แรงเสียดทานต่ำ (Reduced Friction) - ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และ 3.อัตราการระเหยต่ำ (Lower Volatility) - ช่วยลดอัตราการพร่องของน้ำมันเครื่อง
เชื่อพิษเศรษฐกิจมีผลแค่ระยะสั้น
หากมองถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนี้ เราเชื่อว่าจะมีผลแค่ระยะสั้น แม้ตลาดรถยนต์ในไทย ช่วงไตรมาสแรกจะปิดยอดขายลดลงถึง 45.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ในระยะยาวยังมีโอกาสการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นยังมีอนาคตที่สดใสแน่นอน
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring