ข่าวในประเทศ - ค่ายรถแห่ร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 ทั้งหน้าใหม่ ฟอร์ด, เชฟโรเลต และมาสด้า รวมถึงรายเก่าโตโยต้า, ซูซูกิ และนิสสัน ต่างประกาศพร้อมเข้าร่วม ขณะที่ฮอนด้ากำลังคุยอย่างใกล้ชิด และมิตซูบิชิเจรจาขอรวมมูลค่าการลงทุนเก่าด้วย เหตุทุ่มโครงการแรกมากถึง 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนสภาวะตลาดรถต้นปีร่วงหนัก หวังงานมอเตอร์โชว์ช่วยดันยอด
ยุคลธร วิเศษโกสิน ประธานฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ดในประเทศไทยให้หลากหลาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าครอบคลุม ฟอร์ดจึงได้ตัดสินใจยื่นขอร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่2 (Eco Car Phase2) ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา
“การเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ของฟอร์ด เชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมองเป็นโอกาสของผู้บริโภคในการได้ใช้รถที่ดี ราคาเป็นเจ้าของได้ง่าย และที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความสำคัญต่อฟอร์ด ในฐานะศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคนี้ ส่วนการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ ฟอร์ดได้คาดการณ์ไว้และปกติตลาดจะลดลงในช่วงนี้อยู่แล้ว เพราะส่วนหนึ่งลูกค้าจะรองานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนมีนาคม จึงหวังว่าตลาดจะกลับมาหลังจากนี้ไป แม้สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อไหร่”
มาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองของไทย แต่เจนเนอรัล มอเตอร์ส(GM) ยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องในประเทศไทย แม้สภาวะตลาดชะลอตัวและมีความไม่ชัดเจนทางการเมืองช่วงนี้ก็ตาม
“ล่าสุดจีเอ็มตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่2 นั่นแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของในตลาดประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของจีเอ็มในภูมิภาคเอเชีย โดยเรามองภาพรวมระยะยาวและเห็นโอกาสที่ดี จึงได้ตัดสินใจประกาศลงทุนโครงการอีโคคาร์ ส่วนตลาดรถยนต์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1.1 ล้านคัน จากเดิมประเมินไว้ 1.2 ล้านคัน แต่ปกติช่วงงานมอเตอร์โชว์ยอดขายจะสูงขึ้น ถึงอย่างนั้นคงไม่สามารถดึงภาพรวมตลาดได้ตลอดทั้งปี”
โชอิชิ ยูกิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะยื่นเพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมในโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องของความต้องการของตลาดรถยนต์ และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และเชื่อว่าไม่มีใครที่เสนอโครงการเข้ามาโดยไม่ได้ทำการศึกษาอย่างชัดเจน
“แต่ปัญหาของการยื่นรับส่งเสริมอีโคคาร์ ระยะที่2 แม้จะยื่นภายในกำหนด 31 มี.ค.ตามกำหนด แต่บีโอไอและรัฐบาลเองไม่สามารถอนุมัติโครงการนี้ได้ เนื่องจากบอร์ดบีโอไอหมดอายุไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และรัฐบาลรักษาการณ์แต่งตั้งบอร์ดใหม่ไม่ได้ ทำให้บีโอไอไม่สามาถอนุมัติโครงการที่มูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาท หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปทำให้กระทบกับข้อกำหนดการผลิตที่ 1 แสนคัน ภายในปี 2562”
วิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 โตโยต้าได้ตัดสินใจว่าจะส่งเอกสาร เพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าโตโยต้าจะเข้าร่วมอีโคคาร์โครงการแรกแล้วก็ตาม เพราะหากมองในเรื่องของตลาดและการเติบโต ถือว่ามีความน่าสนใจ ทำให้โตโยต้าตัดสินใจร่วมขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม
วัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าซูซูกิจะเข้าอีโคคาร์โครงการแรกอยู่แล้ว แต่การที่รัฐบาลเปิดเฟส2 ออกมา บริษัทฯ ยังสนใจเข้าขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อเนื่อง และเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายพร้อมที่จะจองสิทธิ์เพื่อลงทุนเช่นกัน และระยะเวลาที่กำหนดต้องผลิตภายในปี 2562 เป็นระยะเวลาที่สามารถดำเนินการได้
“สิ่งที่เป็นกังวลน่าจะเป็นปริมาณรถกลุ่มนี้จะล้นตลาดหรือไม่ และประเด็นในเรื่องของการผลิต 1 แสนคันต่อปีนั้นอาจจะยังมีข้อสงสัยอยู่ แต่ยังมองว่าตลาดรถยนต์ในไทยจะเปลี่ยนไป การซื้อรถคันเดียวเพื่อใช้งานทุกอย่างคงน้อยลง หันมาใช้รถยนต์ตามความต้องการที่แท้จริงมากขึ้น ทำให้ตลาดอีโคคาร์ ระยะที่2 น่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”
พิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ (COO) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฮอนด้ากำลังมีการพูดคุยกับภาครัฐเกี่ยวกับโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 และได้มีการสะท้อนและรับฟังสิ่งต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เหลือประมาณสัปดาห์หนึ่งยังมีเวลาพอ ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในไทยไม่ส่งผลต่อแผนงานหลักๆ ของฮอนด้า อาจจะมีส่งผลกระทบในเรื่องของระยะเวลาการดำเนินงาน และเกี่ยวกับความน่าสนใจต่อการลงทุนลดลง
เช่นเดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส ฝ่ายตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า นิสสันยังคงศึกษาในรายละเอียดของโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 แต่จากการพิจารณามีแนวโน้มจะยื่นขอรับสงเสริมการลงทุนเพิ่มเติมจากโครงการแรก เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเปิดกว้างเงื่อนไข และการให้สิทธิประโยชน์ส่งผลดีต่อผู้บริโภค โดยเชื่อว่า 5 บริษัทเดิมที่ดำเนินการในอีโคคาร์โครงการแรกจะยื่นขอรับส่งเสริมทั้งหมด
มาซะฮิโกะ อูเอะกิ ประธานกรรมการและซีอีโอ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 มิตซูบิชิยังไม่ตัดสินใจลงทุนหรือไม่ กำลังรอข้อสรุปสุดท้ายจากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทแม่รับทราบกำหนดยื่นวันสุดท้ายอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งที่ทำให้บริษัทยังไม่สรุปชัดเจน เพราะอีโคคาร์โครงการแรกได้ลงทุนมูลค่ามากถึง 1.6 หมื่นล้าน มากกว่าข้อกำหนดการลงทุนขั้นต่ำของอีโคคาร์ทั้งสองระยะรวมกันเสียอีก มิตซูบิชิจึงอยากจะรวมการลงทุนโครงการแรกเข้าไป และบีโอไอดูเหมือนจะเข้าใจ แต่ยังไม่ให้คำตอบที่ชัดเจนกลับมา
ยุคลธร วิเศษโกสิน ประธานฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ดในประเทศไทยให้หลากหลาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าครอบคลุม ฟอร์ดจึงได้ตัดสินใจยื่นขอร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่2 (Eco Car Phase2) ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา
“การเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ของฟอร์ด เชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมองเป็นโอกาสของผู้บริโภคในการได้ใช้รถที่ดี ราคาเป็นเจ้าของได้ง่าย และที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความสำคัญต่อฟอร์ด ในฐานะศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคนี้ ส่วนการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ ฟอร์ดได้คาดการณ์ไว้และปกติตลาดจะลดลงในช่วงนี้อยู่แล้ว เพราะส่วนหนึ่งลูกค้าจะรองานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนมีนาคม จึงหวังว่าตลาดจะกลับมาหลังจากนี้ไป แม้สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อไหร่”
มาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองของไทย แต่เจนเนอรัล มอเตอร์ส(GM) ยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องในประเทศไทย แม้สภาวะตลาดชะลอตัวและมีความไม่ชัดเจนทางการเมืองช่วงนี้ก็ตาม
“ล่าสุดจีเอ็มตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่2 นั่นแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของในตลาดประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของจีเอ็มในภูมิภาคเอเชีย โดยเรามองภาพรวมระยะยาวและเห็นโอกาสที่ดี จึงได้ตัดสินใจประกาศลงทุนโครงการอีโคคาร์ ส่วนตลาดรถยนต์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1.1 ล้านคัน จากเดิมประเมินไว้ 1.2 ล้านคัน แต่ปกติช่วงงานมอเตอร์โชว์ยอดขายจะสูงขึ้น ถึงอย่างนั้นคงไม่สามารถดึงภาพรวมตลาดได้ตลอดทั้งปี”
โชอิชิ ยูกิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะยื่นเพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมในโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องของความต้องการของตลาดรถยนต์ และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และเชื่อว่าไม่มีใครที่เสนอโครงการเข้ามาโดยไม่ได้ทำการศึกษาอย่างชัดเจน
“แต่ปัญหาของการยื่นรับส่งเสริมอีโคคาร์ ระยะที่2 แม้จะยื่นภายในกำหนด 31 มี.ค.ตามกำหนด แต่บีโอไอและรัฐบาลเองไม่สามารถอนุมัติโครงการนี้ได้ เนื่องจากบอร์ดบีโอไอหมดอายุไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และรัฐบาลรักษาการณ์แต่งตั้งบอร์ดใหม่ไม่ได้ ทำให้บีโอไอไม่สามาถอนุมัติโครงการที่มูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาท หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปทำให้กระทบกับข้อกำหนดการผลิตที่ 1 แสนคัน ภายในปี 2562”
วิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 โตโยต้าได้ตัดสินใจว่าจะส่งเอกสาร เพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าโตโยต้าจะเข้าร่วมอีโคคาร์โครงการแรกแล้วก็ตาม เพราะหากมองในเรื่องของตลาดและการเติบโต ถือว่ามีความน่าสนใจ ทำให้โตโยต้าตัดสินใจร่วมขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม
วัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าซูซูกิจะเข้าอีโคคาร์โครงการแรกอยู่แล้ว แต่การที่รัฐบาลเปิดเฟส2 ออกมา บริษัทฯ ยังสนใจเข้าขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อเนื่อง และเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายพร้อมที่จะจองสิทธิ์เพื่อลงทุนเช่นกัน และระยะเวลาที่กำหนดต้องผลิตภายในปี 2562 เป็นระยะเวลาที่สามารถดำเนินการได้
“สิ่งที่เป็นกังวลน่าจะเป็นปริมาณรถกลุ่มนี้จะล้นตลาดหรือไม่ และประเด็นในเรื่องของการผลิต 1 แสนคันต่อปีนั้นอาจจะยังมีข้อสงสัยอยู่ แต่ยังมองว่าตลาดรถยนต์ในไทยจะเปลี่ยนไป การซื้อรถคันเดียวเพื่อใช้งานทุกอย่างคงน้อยลง หันมาใช้รถยนต์ตามความต้องการที่แท้จริงมากขึ้น ทำให้ตลาดอีโคคาร์ ระยะที่2 น่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”
พิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ (COO) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฮอนด้ากำลังมีการพูดคุยกับภาครัฐเกี่ยวกับโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 และได้มีการสะท้อนและรับฟังสิ่งต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เหลือประมาณสัปดาห์หนึ่งยังมีเวลาพอ ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในไทยไม่ส่งผลต่อแผนงานหลักๆ ของฮอนด้า อาจจะมีส่งผลกระทบในเรื่องของระยะเวลาการดำเนินงาน และเกี่ยวกับความน่าสนใจต่อการลงทุนลดลง
เช่นเดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส ฝ่ายตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า นิสสันยังคงศึกษาในรายละเอียดของโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 แต่จากการพิจารณามีแนวโน้มจะยื่นขอรับสงเสริมการลงทุนเพิ่มเติมจากโครงการแรก เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเปิดกว้างเงื่อนไข และการให้สิทธิประโยชน์ส่งผลดีต่อผู้บริโภค โดยเชื่อว่า 5 บริษัทเดิมที่ดำเนินการในอีโคคาร์โครงการแรกจะยื่นขอรับส่งเสริมทั้งหมด
มาซะฮิโกะ อูเอะกิ ประธานกรรมการและซีอีโอ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 มิตซูบิชิยังไม่ตัดสินใจลงทุนหรือไม่ กำลังรอข้อสรุปสุดท้ายจากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทแม่รับทราบกำหนดยื่นวันสุดท้ายอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งที่ทำให้บริษัทยังไม่สรุปชัดเจน เพราะอีโคคาร์โครงการแรกได้ลงทุนมูลค่ามากถึง 1.6 หมื่นล้าน มากกว่าข้อกำหนดการลงทุนขั้นต่ำของอีโคคาร์ทั้งสองระยะรวมกันเสียอีก มิตซูบิชิจึงอยากจะรวมการลงทุนโครงการแรกเข้าไป และบีโอไอดูเหมือนจะเข้าใจ แต่ยังไม่ให้คำตอบที่ชัดเจนกลับมา