ข่าวในประเทศ - “MOTOR EXPO” เดินหน้าแถลงแนวคิดปี 2014 มุ่งต้อนรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC สร้างเวทีผนวกความสามัคคี 10 ประเทศสมาชิก มุ่งสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ภายใต้แนวคิด “ก้าวเคียงกัน ยานยนต์อาเซียน (MOVING FORWARD TOGETHER…ASEAN AUTOS)”
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31" หรือ The 31st Thailand International Motor Expo 2014 เปิดเผยว่า งานปีนี้ผู้จัดต้องการให้เป็นเวทีต้อนรับปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงซึ่งจะเกิดเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ นั่นคือการเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY) อันนำมาซึ่งความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับการส่งเสริมให้อยู่ภายใต้ฐานการผลิตและตลาดเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบกันในภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นับว่ามีศักยภาพสูงสุด สามารถผลิตรถยนต์ได้ถึงปีละกว่า 2 ล้านคัน ซึ่งครึ่งหนึ่งส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกในประเภท รถเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน หรือพิคอัพ และรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์
ส่วนอินโดนีเซีย ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับสอง และมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐส่งเสริมการผลิตรถยนต์ราคาประหยัดรักษาสิ่งแวดล้อม ตามด้วย มาเลเซีย มีขนาดอุตสาหกรรมยานยนต์ใหญ่เป็นอันดับสาม โดยร้อยละ 90 เป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รวมถึงรถยนต์แห่งชาติที่ทั่วโลกรู้จักดี
ด้านฟิลิปปินส์ แม้จะผลิตรถยนต์ปีละไม่ถึง 1 แสนคัน แต่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของอาเซียน ขณะที่เวียดนาม ได้รับความสนใจลงทุนจากผู้ผลิตจีนหลายรายเพื่อใช้เป็นฐานประกอบรถยนต์พาณิชย์ประเภทต่าง ๆ ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ
“ผมเชื่อว่าศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ในทุกประเทศดังกล่าว จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลังการเปิด AEC ด้วยปัจจัยหลายประการ อาทิ การเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรี การปรับลดและยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกัน การเชื่อมโยง “ห่วงโซ่อุปทาน” หรือเครือข่ายสินค้าและบริการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแรงงานมีฝีมือ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ประกอบการเกิดความคล่องตัวในการจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร และบุคลากร”
ยิ่งกว่านั้น จำนวนประชากรรวมในภูมิภาคที่สูงถึงกว่า 600 ล้านคน บวกกับการคาดหมายว่า ภายในปี 2561 ตลาดยานยนต์อาเซียนจะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคันต่อปี ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก จะดึงดูดให้ผู้ผลิตรายใหญ่ตัดสินใจเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อต้นทุนด้านการผลิตและการจัดการของผู้ประกอบการลดลง ราคาจำหน่ายยานยนต์จะอยู่ในระดับที่คุ้มค่ากว่าเดิม เมื่อการถ่ายทอดโนว์ฮาวเป็นไปอย่างไร้ข้อจำกัดมาตรฐานและเทคโนโลยีการผลิตจะสูงขึ้น และเมื่อปลอดกำแพงภาษีในตลาดจะมียานยนต์ประเภทต่างๆ ให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
“สำหรับตลาดรถยนต์ของไทยในปี 2557 นี้ คาดว่าการเติบโตจะลดลงราว 10 % โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง หากยืดเยื้อจะส่งผลให้ความต้องการผู้บริโภคชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ผมยังมองในเชิงบวกว่าเมื่อเข้า สู่ไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 ตลาดจะค่อยๆ ปรับตัวสู่ภาวะปกติ และความต้องการผู้บริโภคจะทะยานขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 พอดี” ขวัญชัย กล่าว
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31" หรือ The 31st Thailand International Motor Expo 2014 เปิดเผยว่า งานปีนี้ผู้จัดต้องการให้เป็นเวทีต้อนรับปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงซึ่งจะเกิดเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ นั่นคือการเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY) อันนำมาซึ่งความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับการส่งเสริมให้อยู่ภายใต้ฐานการผลิตและตลาดเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบกันในภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นับว่ามีศักยภาพสูงสุด สามารถผลิตรถยนต์ได้ถึงปีละกว่า 2 ล้านคัน ซึ่งครึ่งหนึ่งส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกในประเภท รถเพื่อการพาณิชย์ขนาด 1 ตัน หรือพิคอัพ และรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์
ส่วนอินโดนีเซีย ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับสอง และมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐส่งเสริมการผลิตรถยนต์ราคาประหยัดรักษาสิ่งแวดล้อม ตามด้วย มาเลเซีย มีขนาดอุตสาหกรรมยานยนต์ใหญ่เป็นอันดับสาม โดยร้อยละ 90 เป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รวมถึงรถยนต์แห่งชาติที่ทั่วโลกรู้จักดี
ด้านฟิลิปปินส์ แม้จะผลิตรถยนต์ปีละไม่ถึง 1 แสนคัน แต่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของอาเซียน ขณะที่เวียดนาม ได้รับความสนใจลงทุนจากผู้ผลิตจีนหลายรายเพื่อใช้เป็นฐานประกอบรถยนต์พาณิชย์ประเภทต่าง ๆ ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ
“ผมเชื่อว่าศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ในทุกประเทศดังกล่าว จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลังการเปิด AEC ด้วยปัจจัยหลายประการ อาทิ การเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรี การปรับลดและยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกัน การเชื่อมโยง “ห่วงโซ่อุปทาน” หรือเครือข่ายสินค้าและบริการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแรงงานมีฝีมือ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ประกอบการเกิดความคล่องตัวในการจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร และบุคลากร”
ยิ่งกว่านั้น จำนวนประชากรรวมในภูมิภาคที่สูงถึงกว่า 600 ล้านคน บวกกับการคาดหมายว่า ภายในปี 2561 ตลาดยานยนต์อาเซียนจะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคันต่อปี ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก จะดึงดูดให้ผู้ผลิตรายใหญ่ตัดสินใจเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อต้นทุนด้านการผลิตและการจัดการของผู้ประกอบการลดลง ราคาจำหน่ายยานยนต์จะอยู่ในระดับที่คุ้มค่ากว่าเดิม เมื่อการถ่ายทอดโนว์ฮาวเป็นไปอย่างไร้ข้อจำกัดมาตรฐานและเทคโนโลยีการผลิตจะสูงขึ้น และเมื่อปลอดกำแพงภาษีในตลาดจะมียานยนต์ประเภทต่างๆ ให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
“สำหรับตลาดรถยนต์ของไทยในปี 2557 นี้ คาดว่าการเติบโตจะลดลงราว 10 % โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง หากยืดเยื้อจะส่งผลให้ความต้องการผู้บริโภคชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ผมยังมองในเชิงบวกว่าเมื่อเข้า สู่ไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 ตลาดจะค่อยๆ ปรับตัวสู่ภาวะปกติ และความต้องการผู้บริโภคจะทะยานขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 พอดี” ขวัญชัย กล่าว