ขณะที่โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่กำลังป่วนตลาดบิ๊กไบค์ หลายค่ายต่างกุมขมับกับราคาที่ปรับสูงขึ้น ...แต่ไม่ใช่กับสองล้อจากเมืองผู้ดีอย่างไทรอัมพ์ เมื่อผู้บริหารหนุ่ม “ดอม เหตระกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริทไบค์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์จากประเทศอังกฤษ ยืนยันว่าราคาไม่ใช่คำตอบ อยู่ที่ความพอใจของลูกค้า พร้อมเผยสถิติหลังปรับราคารถแพงขึ้น แต่ยอดขายดีกว่าเดิม!
สถานการณ์หลังปรับภาษี
ตั้งแต่มีผลประกาศบังคับใช้ ไทรอัมพ์ปรับราคาขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3-5 หมื่นบาท แต่สำหรับเครื่องยนต์ที่มีความจุเกิน 1 ลิตร จะปรับเพิ่มถึงหลักแสนบาท ทำให้ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของเราหลังปรับตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ จึงมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 690,000 บาท สำหรับรุ่น Bonneville และไปสิ้นสุดที่ราคา 1,350,000 บาท ในรุ่น Trophy SE
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นมีรถค้างส่งให้ลูกค้าอยู่จำนวน 6 คัน ผมยินดีแบกรับส่วนต่างให้ เพราะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเรา
ผลกระทบยอดขาย
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นหากมองที่ราคา ยกตัวอย่างเมื่อก่อนไทรอัมพ์ รุ่น Bonneville เริ่มต้นขายคันละ 510,000 บาท ในปีนั้นขายได้ 34 คัน แต่ปีที่แล้วก่อนปรับราคาจากภาษีใหม่อยู่ที่ 650,000 บาท ขายได้ 163 คัน ปัญหาที่ตามมาคือ ตกลงราคามีผลหรือไม่ จากบทสรุปยอดขายที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้ ท้ายที่สุดแล้วราคาไม่ใช่ประเด็น เพราะมันเป็นความพึงพอใจ แต่เราต้องควบคุมความพึงพอใจที่ว่าให้ถูกต้องด้วย ควบคู่ไปกับคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์
มุมมองต่อนโยบายรัฐ
สิ่งที่เกิดขึ้นเรามองว่าตัวผู้บริโภคไม่ได้มีความผิด สำหรับรัฐบาลเองก็ต้องการใช้เงินนำมาพัฒนาประเทศ หลังจากที่คืนภาษีตั้งแต่บ้านหลังแรก รถคันแรก หากเปรียบเทียบประเทศนี้คือบริษัท และบริษัทที่ชื่อประเทศไทยจะมีรายได้มาจากอะไร ทั้งนี้ ผมไม่เคยเห็นของมีราคาถูกลง มีแต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ อย่างรถก็ปรับเพิ่มตั้งแต่ 2-7% มันแพงขึ้นทุกปี
ขณะที่ก่อนหน้านี้ การเก็บข้อมูลของภาครัฐผ่านทางกรมขนส่งทางบก มีความละเอียดไม่เพียงพอและทำให้เกิดความสับสน สถิติการขายรถจักรยานยนต์ขนาดต่ำกว่า 150 ซีซี มีจำนวนเท่านี้ ส่วนที่มากกว่า 150 ซีซี ไม่สามารถแจกแจงได้ เช่น 250 ซีซี 500 ซีซี ไปจนถึง 1,000 ซีซี ในแต่ละประเภทมีจำนวนกี่คัน
ความปลอดภัยสำคัญกว่ายอดขาย
สำหรับปีที่แล้วไทรอัมพ์มียอดขาย 163 คัน มูลค่ารวม 118 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าโต 10% หรือมียอดขาย 200 คัน
ส่วนสิ่งที่สำคัญกว่าแต่หลายคนมองข้ามมันคือความปลอดภัย พวกผมไม่เคยมองมอเตอร์ไซค์เป็นของเล่น ผมคิดเสมอว่ากำลังขายรถให้กับลูกชายใครสักคน ให้สามีใครสักคน ให้คุณพ่อของใครสักคน ถ้าเกิดเราคิดสักแต่ว่าขาย แล้วหากเกิดอะไรขึ้นกับลูกค้าเรารับผิดชอบไม่ได้ และทุกสิ่งที่เราสร้างมามันก็จะเสีย เราไม่พยายามผลักดันอะไรบางอย่างที่มันไม่ใช่ออกไป เพราะจากยอดที่เติบโตขึ้นทุกปี แน่นอนเราได้รับการยอมรับ และไม่ใช่แค่ตัวผลิตภัณฑ์ หากเป็นเพราะบุคลากรที่เราสร้างขึ้นมาตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
การแข่งขันดันตลาดโต
ตลาดบิ๊กไบค์ในเมืองไทยส่วนมากชอบซื้อรถใหญ่ ตัวเลือกอย่างพวกพิกัด 600 ซีซี จะไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก แต่เมื่อหลายๆ ปีที่ผ่านมา อย่างการนำเข้ารุ่น Street Triple 675 มันเหมือนเป็นการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ หลายคนชอบบอกว่าซื้อทั้งทีก็เลือกตัวพันซีซีไปเลย แต่เอาเข้าจริงแล้ว แค่นี้ก็พอเพราะว่าขี่สนุกเหมือนกัน
หลังจากนั้น ตัวเลือกที่ตามมาอย่างคาวาซากิ หรือฮอนด้า ก็เริ่มลงมาเล่นในคลาสดังกล่าว ขณะที่ดูคาติก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ทั้งนี้ นอกจากตัวผู้บริโภคจะมีทางออกหรือตัวเลือกมากยิ่งขึ้นแล้ว การแข่งขันที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะช่วยให้ธุรกิจมีการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดด้วย
แผนขยายธุรกิจ
ปี 2013 เป็นอีกปีที่เราพยายามพัฒนาเครือข่าย ด้วยการหาตลาดใหม่ๆ ไม่เฉพาะกับผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ในชีวิตประจำวัน แต่เรากำลังหาคนประเภทแทนที่จะซื้อรถยนต์ขนาดเล็กซิตี้คาร์หรืออีโคคาร์ ลองเปลี่ยนมาขี่บิ๊กไบค์ดูบ้าง เพราะอย่างน้อยที่บ้านก็มีรถยนต์อยู่แล้ว ส่วนโชว์รูมและศูนย์บริการล่าสุดมีที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต (ศูนย์บริการอย่างเดียว) และกำลังเปิดเพิ่มที่ขอนแก่นภายในปีนี้
สถานการณ์หลังปรับภาษี
ตั้งแต่มีผลประกาศบังคับใช้ ไทรอัมพ์ปรับราคาขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3-5 หมื่นบาท แต่สำหรับเครื่องยนต์ที่มีความจุเกิน 1 ลิตร จะปรับเพิ่มถึงหลักแสนบาท ทำให้ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของเราหลังปรับตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ จึงมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 690,000 บาท สำหรับรุ่น Bonneville และไปสิ้นสุดที่ราคา 1,350,000 บาท ในรุ่น Trophy SE
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นมีรถค้างส่งให้ลูกค้าอยู่จำนวน 6 คัน ผมยินดีแบกรับส่วนต่างให้ เพราะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเรา
ผลกระทบยอดขาย
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นหากมองที่ราคา ยกตัวอย่างเมื่อก่อนไทรอัมพ์ รุ่น Bonneville เริ่มต้นขายคันละ 510,000 บาท ในปีนั้นขายได้ 34 คัน แต่ปีที่แล้วก่อนปรับราคาจากภาษีใหม่อยู่ที่ 650,000 บาท ขายได้ 163 คัน ปัญหาที่ตามมาคือ ตกลงราคามีผลหรือไม่ จากบทสรุปยอดขายที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้ ท้ายที่สุดแล้วราคาไม่ใช่ประเด็น เพราะมันเป็นความพึงพอใจ แต่เราต้องควบคุมความพึงพอใจที่ว่าให้ถูกต้องด้วย ควบคู่ไปกับคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์
มุมมองต่อนโยบายรัฐ
สิ่งที่เกิดขึ้นเรามองว่าตัวผู้บริโภคไม่ได้มีความผิด สำหรับรัฐบาลเองก็ต้องการใช้เงินนำมาพัฒนาประเทศ หลังจากที่คืนภาษีตั้งแต่บ้านหลังแรก รถคันแรก หากเปรียบเทียบประเทศนี้คือบริษัท และบริษัทที่ชื่อประเทศไทยจะมีรายได้มาจากอะไร ทั้งนี้ ผมไม่เคยเห็นของมีราคาถูกลง มีแต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ อย่างรถก็ปรับเพิ่มตั้งแต่ 2-7% มันแพงขึ้นทุกปี
ขณะที่ก่อนหน้านี้ การเก็บข้อมูลของภาครัฐผ่านทางกรมขนส่งทางบก มีความละเอียดไม่เพียงพอและทำให้เกิดความสับสน สถิติการขายรถจักรยานยนต์ขนาดต่ำกว่า 150 ซีซี มีจำนวนเท่านี้ ส่วนที่มากกว่า 150 ซีซี ไม่สามารถแจกแจงได้ เช่น 250 ซีซี 500 ซีซี ไปจนถึง 1,000 ซีซี ในแต่ละประเภทมีจำนวนกี่คัน
ความปลอดภัยสำคัญกว่ายอดขาย
สำหรับปีที่แล้วไทรอัมพ์มียอดขาย 163 คัน มูลค่ารวม 118 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าโต 10% หรือมียอดขาย 200 คัน
ส่วนสิ่งที่สำคัญกว่าแต่หลายคนมองข้ามมันคือความปลอดภัย พวกผมไม่เคยมองมอเตอร์ไซค์เป็นของเล่น ผมคิดเสมอว่ากำลังขายรถให้กับลูกชายใครสักคน ให้สามีใครสักคน ให้คุณพ่อของใครสักคน ถ้าเกิดเราคิดสักแต่ว่าขาย แล้วหากเกิดอะไรขึ้นกับลูกค้าเรารับผิดชอบไม่ได้ และทุกสิ่งที่เราสร้างมามันก็จะเสีย เราไม่พยายามผลักดันอะไรบางอย่างที่มันไม่ใช่ออกไป เพราะจากยอดที่เติบโตขึ้นทุกปี แน่นอนเราได้รับการยอมรับ และไม่ใช่แค่ตัวผลิตภัณฑ์ หากเป็นเพราะบุคลากรที่เราสร้างขึ้นมาตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
การแข่งขันดันตลาดโต
ตลาดบิ๊กไบค์ในเมืองไทยส่วนมากชอบซื้อรถใหญ่ ตัวเลือกอย่างพวกพิกัด 600 ซีซี จะไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก แต่เมื่อหลายๆ ปีที่ผ่านมา อย่างการนำเข้ารุ่น Street Triple 675 มันเหมือนเป็นการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ หลายคนชอบบอกว่าซื้อทั้งทีก็เลือกตัวพันซีซีไปเลย แต่เอาเข้าจริงแล้ว แค่นี้ก็พอเพราะว่าขี่สนุกเหมือนกัน
หลังจากนั้น ตัวเลือกที่ตามมาอย่างคาวาซากิ หรือฮอนด้า ก็เริ่มลงมาเล่นในคลาสดังกล่าว ขณะที่ดูคาติก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ทั้งนี้ นอกจากตัวผู้บริโภคจะมีทางออกหรือตัวเลือกมากยิ่งขึ้นแล้ว การแข่งขันที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะช่วยให้ธุรกิจมีการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดด้วย
แผนขยายธุรกิจ
ปี 2013 เป็นอีกปีที่เราพยายามพัฒนาเครือข่าย ด้วยการหาตลาดใหม่ๆ ไม่เฉพาะกับผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ในชีวิตประจำวัน แต่เรากำลังหาคนประเภทแทนที่จะซื้อรถยนต์ขนาดเล็กซิตี้คาร์หรืออีโคคาร์ ลองเปลี่ยนมาขี่บิ๊กไบค์ดูบ้าง เพราะอย่างน้อยที่บ้านก็มีรถยนต์อยู่แล้ว ส่วนโชว์รูมและศูนย์บริการล่าสุดมีที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต (ศูนย์บริการอย่างเดียว) และกำลังเปิดเพิ่มที่ขอนแก่นภายในปีนี้