ปี 2555 ต้องถือเป็นปีประวัติศาสตร์ของวงการยานยนต์ไทย โดยสาเหตุหลักมาจากโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ที่นอกจากจะดันยอดขายรวมให้โตกระฉูดแล้ว อีกแง่หนึ่งก็ทำให้ตลาดป่วนและบิดเบี้ยวไปพร้อมๆ กัน
“ฮอนด้า”หนึ่งในค่ายรถยนต์ที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการดังกล่าว ที่สำคัญ เพิ่งฟื้นกำลังผลิตได้เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา.... “พิทักษ์ พฤทธิสาริกร” รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จะมาสรุปสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฮอนด้าในรอบปี
- หลังฟื้นฟูโรงงานจากน้ำท่วม?
รวมๆ แล้ว เราหยุดการผลิตไปประมาณ 5 เดือน (พ.ย.2554-มี.ค.2555) คือ โดนน้ำท่วมไป 2 เดือน และใช้เวลาฟื้นฟูโรงงานอีก 3 เดือน โดยจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ถือว่า ฮอนด้ากลับมาเริ่มผลิตได้เร็วมาก ที่สำคัญ ยังเดินเครื่องเต็มที่ทั้ง 2 ไลน์ และทำงาน 2 กะ แถมเพิ่มการทำงานนอกเวลา ส่งผลให้บางเดือนเราผลิตรถได้เกือบ 30,000 คัน
“ด้วยกำลังใจที่มีให้กัน เราย้ำว่า ต้องกลับมาอย่างแข็งแรง และแกร่งกว่าเดิม ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วจากกระบวนการทำงาน และมีผลลัพธ์ (ยอดขาย) ออกมาชัดเจน”
- การเปิดตัวรถและยอดขายในปีนี้?
ปีนี้ฮอนด้าเปิดตัวรถใหม่ 10 รุ่น (นำเข้าจากญี่ปุ่น 3 รุ่น) ถือว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับระยะเวลา 8-9 เดือน ขณะที่ยอดขายสะสมล่าสุดถึงเดือนพฤศจิกายนทำได้ 1.5 แสนคัน ซึ่งเราเริ่มผลิตรถและขายอย่างจริงจัง ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาเท่านั้น ส่วนยอดขายรวมถึงสิ้นปีนี้จะทำได้ 1.7 แสนคัน โตเกิน 100% เมื่อเทียบกับปี 2554 พร้อมครองส่วนแบ่งตลาด 12-13%
- มียอดค้างส่งมอบเท่าไหร่?
เรายังมียอดค้างส่งมอบรถให้ลูกค้าอีกกว่า 1 แสนคัน หรือประมาณ 6 เดือน โดยเก๋งรุ่นซิตี้ และ ซิตี้ ซีเอ็นจี มียอดค้างส่งมากที่สุด ทั้งนี้ บริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตจาก 1,000 คันต่อวัน เป็น 1,100 คันต่อวัน หวังตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุด
“ซิตี้ ซีเอ็นจี ได้การตอบรับดีเกินความคาดหมาย ขณะที่น้องใหม่อย่าง บริโอ้ อเมซ แม้ภายในปีนี้ยังส่งมอบได้ไม่มากแต่คาดว่ายอดจองจะเกิน 20,000 คันแน่นอน (เปิดตัวเพียง 2 เดือน)”
- ประเมินสถานการณ์ปีหน้า?
ความต้องการรถในกลุ่มโครงการรถยนต์คันแรกจะน้อยลง เพราะดึงดีมานด์ล่วงหน้ามาใช้ก่อนหลายปี แต่กระนั้นฮอนด้ายังมีแผนรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้ายอดขายรวมไว้ 2 แสนคัน จากตลาดรวม 1.2 ล้านคัน
นอกจากนี้ เราจะเพิ่มโชว์รูมศูนย์บริการจากปัจจุบัน 165 แห่ง เป็น 200 แห่งในปีหน้า และมีแผนลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิตเป็น1,200 คันต่อวัน (จะเพิ่มได้ช่วงไตรมาส 4ของปี 2556)เพื่อรองรับตลาดในประเทศและส่งออก
- กรณี “วีออส ใหม่” โมเดลปี 2013 ได้สิทธิ์โครงการรถยนต์คันแรก?
ค่อนข้างสร้างความประหลาดใจให้กับฮอนด้าและค่ายรถยนต์อื่นๆ ดังนั้น จึงทำหนังสือขอคำชี้แจงไปยังกรมสรรพสามิต ทั้งในนามกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และในนาม ฮอนด้า ออโตโมบิล โดยแย้งไปว่ารถรุ่นดังกล่าวเข้าเกณฑ์ได้อย่างไร และผิดกับเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตแจ้งให้ทุกค่ายรถยนต์ทราบในวันที่ 29 พฤศจิกายนหรือไม่ ในประเด็นต้องมีการจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด และต้องไม่ใช่รถต้นแบบที่นำมาแสดงเพื่อจองเท่านั้น
“มันไม่ใช่เรื่องรถรุ่นไหนจะได้สิทธิ์รถคันแรกเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องความเชื่อมั่นในหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลให้มา โดยค่ายรถยนต์ต้องวางแผนล่วงหน้ากันเป็นปีๆ ดังนั้น ถ้าแนวทางไม่นิ่ง สุดท้ายหลักเกณฑ์พลิกได้ ย่อมส่งผลให้ค่ายรถยนต์ขาดความมั่นใจ มีผลกับการวางแผนงานในอนาคต”
- อยากเรียกร้องความเป็นธรรมกับรัฐบาล?
เราไม่ได้เรียกร้องอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่สะท้อนความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งเราต้องมีคำตอบให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ เพราะต้องมีการวางแผนร่วมกัน แต่ถ้าหากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมาแล้วสามารถพลิกแพลงได้ ทุกคนจะทำงานยาก
เมื่อเปิด AEC เราต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ บนพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันคือต้นทุนแฝง ดังนั้น ถ้าความเชื่อมั่นในรัฐบาลไม่มากพอ ค่ายรถจะต้องทำงานด้วยการมีแผน 2 แผน 3 หรือเผื่อเลือก นั่นหมายถึงความสูญเปล่า และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการทำงานปกติ
- ความเห็นเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่?
ฮอนด้าเห็นด้วยในหลักการ และการให้ระยะเวลาเตรียมตัว 3 ปี ที่แม้จะดูโหดเกินไปสำหรับค่ายรถยนต์ แต่ฮอนด้ายอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมาในแนวทางนี้แล้ว ไม่ควรแบ่งการจัดเก็บตามเทคโนโลยีหรือประเภทรถยนต์ กล่าวคือ ควรจะใช้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บเพียงอย่างเดียว รวมถึงพิจารณาประเภทการใช้งานของรถ ซึ่งรถประเภทเดียวกันก็ขอให้ใช้เกณฑ์เดียวกัน อย่างเอสยูวี (ซีอาร์-วี) และ พีพีวี (ฟอร์จูนเนอร์, ปาเจโร่ สปอร์ต) เพื่อความเป็นธรรมและลดความซ้ำซ้อน
“ฮอนด้า”หนึ่งในค่ายรถยนต์ที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการดังกล่าว ที่สำคัญ เพิ่งฟื้นกำลังผลิตได้เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา.... “พิทักษ์ พฤทธิสาริกร” รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จะมาสรุปสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฮอนด้าในรอบปี
- หลังฟื้นฟูโรงงานจากน้ำท่วม?
รวมๆ แล้ว เราหยุดการผลิตไปประมาณ 5 เดือน (พ.ย.2554-มี.ค.2555) คือ โดนน้ำท่วมไป 2 เดือน และใช้เวลาฟื้นฟูโรงงานอีก 3 เดือน โดยจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ถือว่า ฮอนด้ากลับมาเริ่มผลิตได้เร็วมาก ที่สำคัญ ยังเดินเครื่องเต็มที่ทั้ง 2 ไลน์ และทำงาน 2 กะ แถมเพิ่มการทำงานนอกเวลา ส่งผลให้บางเดือนเราผลิตรถได้เกือบ 30,000 คัน
“ด้วยกำลังใจที่มีให้กัน เราย้ำว่า ต้องกลับมาอย่างแข็งแรง และแกร่งกว่าเดิม ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วจากกระบวนการทำงาน และมีผลลัพธ์ (ยอดขาย) ออกมาชัดเจน”
- การเปิดตัวรถและยอดขายในปีนี้?
ปีนี้ฮอนด้าเปิดตัวรถใหม่ 10 รุ่น (นำเข้าจากญี่ปุ่น 3 รุ่น) ถือว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับระยะเวลา 8-9 เดือน ขณะที่ยอดขายสะสมล่าสุดถึงเดือนพฤศจิกายนทำได้ 1.5 แสนคัน ซึ่งเราเริ่มผลิตรถและขายอย่างจริงจัง ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาเท่านั้น ส่วนยอดขายรวมถึงสิ้นปีนี้จะทำได้ 1.7 แสนคัน โตเกิน 100% เมื่อเทียบกับปี 2554 พร้อมครองส่วนแบ่งตลาด 12-13%
- มียอดค้างส่งมอบเท่าไหร่?
เรายังมียอดค้างส่งมอบรถให้ลูกค้าอีกกว่า 1 แสนคัน หรือประมาณ 6 เดือน โดยเก๋งรุ่นซิตี้ และ ซิตี้ ซีเอ็นจี มียอดค้างส่งมากที่สุด ทั้งนี้ บริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตจาก 1,000 คันต่อวัน เป็น 1,100 คันต่อวัน หวังตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุด
“ซิตี้ ซีเอ็นจี ได้การตอบรับดีเกินความคาดหมาย ขณะที่น้องใหม่อย่าง บริโอ้ อเมซ แม้ภายในปีนี้ยังส่งมอบได้ไม่มากแต่คาดว่ายอดจองจะเกิน 20,000 คันแน่นอน (เปิดตัวเพียง 2 เดือน)”
- ประเมินสถานการณ์ปีหน้า?
ความต้องการรถในกลุ่มโครงการรถยนต์คันแรกจะน้อยลง เพราะดึงดีมานด์ล่วงหน้ามาใช้ก่อนหลายปี แต่กระนั้นฮอนด้ายังมีแผนรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้ายอดขายรวมไว้ 2 แสนคัน จากตลาดรวม 1.2 ล้านคัน
นอกจากนี้ เราจะเพิ่มโชว์รูมศูนย์บริการจากปัจจุบัน 165 แห่ง เป็น 200 แห่งในปีหน้า และมีแผนลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิตเป็น1,200 คันต่อวัน (จะเพิ่มได้ช่วงไตรมาส 4ของปี 2556)เพื่อรองรับตลาดในประเทศและส่งออก
- กรณี “วีออส ใหม่” โมเดลปี 2013 ได้สิทธิ์โครงการรถยนต์คันแรก?
ค่อนข้างสร้างความประหลาดใจให้กับฮอนด้าและค่ายรถยนต์อื่นๆ ดังนั้น จึงทำหนังสือขอคำชี้แจงไปยังกรมสรรพสามิต ทั้งในนามกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และในนาม ฮอนด้า ออโตโมบิล โดยแย้งไปว่ารถรุ่นดังกล่าวเข้าเกณฑ์ได้อย่างไร และผิดกับเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตแจ้งให้ทุกค่ายรถยนต์ทราบในวันที่ 29 พฤศจิกายนหรือไม่ ในประเด็นต้องมีการจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด และต้องไม่ใช่รถต้นแบบที่นำมาแสดงเพื่อจองเท่านั้น
“มันไม่ใช่เรื่องรถรุ่นไหนจะได้สิทธิ์รถคันแรกเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องความเชื่อมั่นในหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลให้มา โดยค่ายรถยนต์ต้องวางแผนล่วงหน้ากันเป็นปีๆ ดังนั้น ถ้าแนวทางไม่นิ่ง สุดท้ายหลักเกณฑ์พลิกได้ ย่อมส่งผลให้ค่ายรถยนต์ขาดความมั่นใจ มีผลกับการวางแผนงานในอนาคต”
- อยากเรียกร้องความเป็นธรรมกับรัฐบาล?
เราไม่ได้เรียกร้องอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่สะท้อนความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งเราต้องมีคำตอบให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ เพราะต้องมีการวางแผนร่วมกัน แต่ถ้าหากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมาแล้วสามารถพลิกแพลงได้ ทุกคนจะทำงานยาก
เมื่อเปิด AEC เราต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ บนพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันคือต้นทุนแฝง ดังนั้น ถ้าความเชื่อมั่นในรัฐบาลไม่มากพอ ค่ายรถจะต้องทำงานด้วยการมีแผน 2 แผน 3 หรือเผื่อเลือก นั่นหมายถึงความสูญเปล่า และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการทำงานปกติ
- ความเห็นเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่?
ฮอนด้าเห็นด้วยในหลักการ และการให้ระยะเวลาเตรียมตัว 3 ปี ที่แม้จะดูโหดเกินไปสำหรับค่ายรถยนต์ แต่ฮอนด้ายอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมาในแนวทางนี้แล้ว ไม่ควรแบ่งการจัดเก็บตามเทคโนโลยีหรือประเภทรถยนต์ กล่าวคือ ควรจะใช้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บเพียงอย่างเดียว รวมถึงพิจารณาประเภทการใช้งานของรถ ซึ่งรถประเภทเดียวกันก็ขอให้ใช้เกณฑ์เดียวกัน อย่างเอสยูวี (ซีอาร์-วี) และ พีพีวี (ฟอร์จูนเนอร์, ปาเจโร่ สปอร์ต) เพื่อความเป็นธรรมและลดความซ้ำซ้อน