ข่าวในประเทศ-สถาบันยานยนต์ประเมิน 3 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมยานยนต์จะขาดแคลนแรงงานกว่า 3 แสนคน หลังจากขยายตัวแบบก้าวกระโดด หนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพ รองรับเออีซีและทุนข้ามชาติย้ายฐาน เผยค่ายรถเบอร์ 2 ของโลก “โฟล์คสวาเกน” กำลังศึกษาโอกาสเข้ามาลงทุนในไทย
ดร.ปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวในงานสัมมนา “ปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารชิ้นส่วนยานยนต์ปีงบประมาณ 2555” ว่า ปัจจุบันไทยกำลังปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี(AEC) โดยในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทยถือเป็นอับดับหนึ่งของภูมิภาคนี้ และเชื่อว่าการเข้าสู่เออีซีจะเป็นผลบวกกับไทยมากกว่า ขณะเดียวกันอินโดนีเซียและมาเลเซียก็เป็นคู่แข่งที่สำคัญ
“ไทยมีจุดแข็งในเรื่องของผู้ผลิตชิ้นส่วน และโดยเฉพาะเรื่องของซัพพลายเชน ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์จากทั่วโลก และยังคงมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง แต่จุดอ่อนอยู่ที่การพัฒนาระบบบริหารการผลิต รวมถึงการขาดแคลนแรงงานฝีมือและทั่วไป ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไทยมากกว่า 2.1-2.3 ล้านคัน ทำให้ตอนนี้ผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานกว่า 1 แสนคน และในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะมีการผลิตเพิ่มเป็น 3 ล้านคัน และจะทำให้การขาดแคลนแรงงานเพิ่มถึง 3 แสนคน”
ดังนั้นเพื่อเตรียมรับการเข้าสู่เออีซี และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี (SME) ในไทย จำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมรองรับ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบการผลิต และฝีมือแรงงาน แต่ยังต้องพัฒนาทักษะภาษาหรือการสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ เพราะหากไม่ปรับตัวตรงนี้ การเปิดเออีซีจะส่งผลกระทบต่อวิศวกรคนไทยและช่างเทคนิคได้ แต่หากผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้ อนาคตย่อมสามารถขยายไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศได้ด้วย
ในส่วนสถาบันยานยนต์ได้มีการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง และโครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประจำปีนี้ที่เพิ่งปิดไป ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 75 โรงงาน ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายนนี้ สามารถพัฒนาบุคลากรในโรงงานจำนวนกว่า 1,400 คน-วิชา และสถานประกอบการสามารถพัฒนาระบบและกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) ในสายการผลิตต้นแบบ Model Line ได้ไม่น้อยกว่า 15%
ดร.ปฏิมากล่าวต่อว่า การสร้างความพร้อมให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน จะทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการสร้างงาน และลดปัญหาแรงงานได้ แต่ขณะเดียวกันต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย โดยเร็วๆ นี้สถาบันยานยนต์จะได้พูดคุยหาทางออก ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต รวมถึงการเข้าสู่เออีซีในอีก 3 ปีข้างหน้า
“หากผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่เออีซี หรือบริษัทข้ามชาติย้ายการลงทุนมาไทย ทั้งจากญี่ปุ่น หรือยุโรป ซึ่งขณะนี้บริษัทรถอันดับ 2 ของโลก ที่ไม่มีฐานการผลิตในไทย ได้ตั้งหน่วยงานศึกษาโอกาสเข้ามาลงทุนในไทย โดยดูสถานที่ตั้งโรงงาน ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่จะรองรับ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ แน่นอนหากบริษัทรถยนต์รายนี้เข้ามาลงทุน ย่อมจะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในไทยขยายตัวอย่างมาก และบรรลุเป้าหมายผลิตรถ 3 ล้านคัน หรือติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกได้ไม่ยาก จากปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 15” ดร.ปฏิมากล่าว
ทั้งนี้ตามรายงานข่าว บริษัทรถที่มียอดการผลิตรถยนต์สิ้นสุดเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา อันดับหนึ่งเป็นเจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม(GM) และอันดับสองเป็นกลุ่มโฟล์คสวาเกนที่ไม่มีฐานการผลิตในไทย และอันดับสามค่ายโตโยต้า
ดร.ปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวในงานสัมมนา “ปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารชิ้นส่วนยานยนต์ปีงบประมาณ 2555” ว่า ปัจจุบันไทยกำลังปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี(AEC) โดยในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทยถือเป็นอับดับหนึ่งของภูมิภาคนี้ และเชื่อว่าการเข้าสู่เออีซีจะเป็นผลบวกกับไทยมากกว่า ขณะเดียวกันอินโดนีเซียและมาเลเซียก็เป็นคู่แข่งที่สำคัญ
“ไทยมีจุดแข็งในเรื่องของผู้ผลิตชิ้นส่วน และโดยเฉพาะเรื่องของซัพพลายเชน ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์จากทั่วโลก และยังคงมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง แต่จุดอ่อนอยู่ที่การพัฒนาระบบบริหารการผลิต รวมถึงการขาดแคลนแรงงานฝีมือและทั่วไป ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไทยมากกว่า 2.1-2.3 ล้านคัน ทำให้ตอนนี้ผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานกว่า 1 แสนคน และในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะมีการผลิตเพิ่มเป็น 3 ล้านคัน และจะทำให้การขาดแคลนแรงงานเพิ่มถึง 3 แสนคน”
ดังนั้นเพื่อเตรียมรับการเข้าสู่เออีซี และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี (SME) ในไทย จำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมรองรับ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบการผลิต และฝีมือแรงงาน แต่ยังต้องพัฒนาทักษะภาษาหรือการสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ เพราะหากไม่ปรับตัวตรงนี้ การเปิดเออีซีจะส่งผลกระทบต่อวิศวกรคนไทยและช่างเทคนิคได้ แต่หากผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้ อนาคตย่อมสามารถขยายไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศได้ด้วย
ในส่วนสถาบันยานยนต์ได้มีการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง และโครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประจำปีนี้ที่เพิ่งปิดไป ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 75 โรงงาน ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายนนี้ สามารถพัฒนาบุคลากรในโรงงานจำนวนกว่า 1,400 คน-วิชา และสถานประกอบการสามารถพัฒนาระบบและกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) ในสายการผลิตต้นแบบ Model Line ได้ไม่น้อยกว่า 15%
ดร.ปฏิมากล่าวต่อว่า การสร้างความพร้อมให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน จะทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการสร้างงาน และลดปัญหาแรงงานได้ แต่ขณะเดียวกันต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย โดยเร็วๆ นี้สถาบันยานยนต์จะได้พูดคุยหาทางออก ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต รวมถึงการเข้าสู่เออีซีในอีก 3 ปีข้างหน้า
“หากผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่เออีซี หรือบริษัทข้ามชาติย้ายการลงทุนมาไทย ทั้งจากญี่ปุ่น หรือยุโรป ซึ่งขณะนี้บริษัทรถอันดับ 2 ของโลก ที่ไม่มีฐานการผลิตในไทย ได้ตั้งหน่วยงานศึกษาโอกาสเข้ามาลงทุนในไทย โดยดูสถานที่ตั้งโรงงาน ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่จะรองรับ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ แน่นอนหากบริษัทรถยนต์รายนี้เข้ามาลงทุน ย่อมจะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในไทยขยายตัวอย่างมาก และบรรลุเป้าหมายผลิตรถ 3 ล้านคัน หรือติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกได้ไม่ยาก จากปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 15” ดร.ปฏิมากล่าว
ทั้งนี้ตามรายงานข่าว บริษัทรถที่มียอดการผลิตรถยนต์สิ้นสุดเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา อันดับหนึ่งเป็นเจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม(GM) และอันดับสองเป็นกลุ่มโฟล์คสวาเกนที่ไม่มีฐานการผลิตในไทย และอันดับสามค่ายโตโยต้า