ข่าวในประเทศ-ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ชี้ พม่ามีศักยภาพในการเป็นฮอตสปอตสำหรับรถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานมากมายกำลังจะเกิดขึ้น ประกอบกับการเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศ ภายหลังจากที่ชาติตะวันตกยุติการคว่ำบาตร
นายมาซากิ ฮอนด้า ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ของพม่าถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตในปี 2554- 2559 (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 21 หรือเท่ากับ 12,700 คัน ในปี 2559
จากยอดจดทะเบียนของรถบรรทุกในพม่า ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศพบว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มเป็น 10,100 คัน ภายในปี 2559 จากปัจจุบันที่มีอยู่เพียง 4,000 คัน ซึ่งตัวเลขการเติบโตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมากจากโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งต้องใช้รถบรรทุกและเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน
สำหรับรถโดยสาร หรือรถบัสนั้น ในปีที่ผ่านมา มีการจดทะเบียนของรถบัสประมาณ 700 คัน และคาดว่าจำนวนรถบัสของประเทศพม่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,600 คันภายในปี 2559 ซึ่งเป็นผลมาจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในประเทศรวมถึงจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางเข้าใปในพม่า
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของผู้ประกอบการรถยนต์ดังกล่าวอยู่ที่ กำลังการซื้อของประเทศพม่าเอง เนื่องจากบริษัทท้องถิ่นของพม่าอาจไม่มีกำลังในการซื้อรถใหม่จากผู้ผลิตญี่ปุ่น หรือยุโรป และหันมาใช้รถมือสองแทน
“บริษัทต่างชาติอาจต้องระมัดระวังในการลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนระเบียบข้อบังคับต่างๆ ภายในประเทศค่อนข้างบ่อย”
นอกจากนี้ นายฮอนด้ายังได้ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันรถบรรทุกที่ใช้ในประเทศพม่าส่วนใหญ่เป็นรถที่นำเข้ามาจาก ประเทศญี่ปุ่น อาทิ นิสสัน ดีเซล และ มิตซูบิชิ ฟูโซ่
“รถบรรทุกมือสองจากญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในพม่าถึงแม้ว่าจะเป็นรุ่นเก่า อย่างปี 2004 ก็ตาม เนื่องจากยังมีความทนทานและจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ในขณะที่รถบรรทุกจากประเทศเกาหลีและประเทศจีนแบบมือหนึ่ง ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรถจากญี่ปุ่น”
ในปี 2554 ประเทศพม่ามีรถที่จดทะเบียนทุกประเภทจำนวน 2.3 ล้านคัน ซึ่งรวมถึงรถยนต์โดยสาร รถมอเตอร์ไซค์ และรถที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยรถที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 81 ของรถทั้งหมดที่จดทะเบียนภายในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นรถยนต์โดยสารซึ่งสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 12 และรถบัสร้อยละ 1
นายมาซากิ ฮอนด้า ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ของพม่าถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตในปี 2554- 2559 (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 21 หรือเท่ากับ 12,700 คัน ในปี 2559
จากยอดจดทะเบียนของรถบรรทุกในพม่า ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศพบว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มเป็น 10,100 คัน ภายในปี 2559 จากปัจจุบันที่มีอยู่เพียง 4,000 คัน ซึ่งตัวเลขการเติบโตดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมากจากโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งต้องใช้รถบรรทุกและเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน
สำหรับรถโดยสาร หรือรถบัสนั้น ในปีที่ผ่านมา มีการจดทะเบียนของรถบัสประมาณ 700 คัน และคาดว่าจำนวนรถบัสของประเทศพม่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,600 คันภายในปี 2559 ซึ่งเป็นผลมาจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในประเทศรวมถึงจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางเข้าใปในพม่า
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของผู้ประกอบการรถยนต์ดังกล่าวอยู่ที่ กำลังการซื้อของประเทศพม่าเอง เนื่องจากบริษัทท้องถิ่นของพม่าอาจไม่มีกำลังในการซื้อรถใหม่จากผู้ผลิตญี่ปุ่น หรือยุโรป และหันมาใช้รถมือสองแทน
“บริษัทต่างชาติอาจต้องระมัดระวังในการลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนระเบียบข้อบังคับต่างๆ ภายในประเทศค่อนข้างบ่อย”
นอกจากนี้ นายฮอนด้ายังได้ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันรถบรรทุกที่ใช้ในประเทศพม่าส่วนใหญ่เป็นรถที่นำเข้ามาจาก ประเทศญี่ปุ่น อาทิ นิสสัน ดีเซล และ มิตซูบิชิ ฟูโซ่
“รถบรรทุกมือสองจากญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในพม่าถึงแม้ว่าจะเป็นรุ่นเก่า อย่างปี 2004 ก็ตาม เนื่องจากยังมีความทนทานและจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ในขณะที่รถบรรทุกจากประเทศเกาหลีและประเทศจีนแบบมือหนึ่ง ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรถจากญี่ปุ่น”
ในปี 2554 ประเทศพม่ามีรถที่จดทะเบียนทุกประเภทจำนวน 2.3 ล้านคัน ซึ่งรวมถึงรถยนต์โดยสาร รถมอเตอร์ไซค์ และรถที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยรถที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 81 ของรถทั้งหมดที่จดทะเบียนภายในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นรถยนต์โดยสารซึ่งสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 12 และรถบัสร้อยละ 1