ข่าวในประเทศ - ตลาดรถยังขายกระจาย จบไตรมาสแรกปิดยอด 279,272 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายในไตรมาสแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 17.0% เหตุคนไทยแห่ซื้อรถใหม่มากขึ้น ตัวเลขชี้รถกระบะโตสวนทางรถยนต์
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมีนาคม 2555 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 110,928คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 40,305 คัน ลดลง 3.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 70,168 คัน เพิ่มขึ้น 36.7% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนต์นี้ จำนวน 61,737 คัน เพิ่มขึ้น 40.0%
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 110,928 คัน เป็นยอดขายต่อเดือนที่สูงสุดของสถิติยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยและเป็นครั้งแรกที่ตลาดรถยนต์มียอดขายต่อเดือนมากกว่า 100,000 คัน ด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 19.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นที่แนะนำในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการเร่งกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ ทำให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 70,168 คัน เพิ่มขึ้น 36.7% ส่วนตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 40,305 คัน ลดลง 3.3% อันเป็นผลมาจากผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตหลังจากได้รับผลกระทบจากอุทุกภัย
ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรก มีปริมาณการขาย 279,272 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายในไตรมาสแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 17.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีจากเงินทุนไหลเข้า ประกอบกับความต้องการของตลาดที่มีอยู่สูงและความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 33.5% แต่ทั้งนี้ตลาดรถยนต์นั่งยังมีอัตราการเติบโตลดลง 4.6% เนื่องจากกำลังการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์เพิ่งเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายน เติบโตต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการสั่งซื้อของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงงานมอเตอร์โชว์ ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด กำลังการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งสามารถเพิ่มการส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าค้างจองได้มากขึ้น ตลอดจนนโยบายรถยนต์คันแรกของภาครัฐ ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์
ยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมีนาคม 2555 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 110,928คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 40,305 คัน ลดลง 3.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 70,168 คัน เพิ่มขึ้น 36.7% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนต์นี้ จำนวน 61,737 คัน เพิ่มขึ้น 40.0%
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 110,928 คัน เป็นยอดขายต่อเดือนที่สูงสุดของสถิติยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยและเป็นครั้งแรกที่ตลาดรถยนต์มียอดขายต่อเดือนมากกว่า 100,000 คัน ด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 19.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นที่แนะนำในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการเร่งกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ ทำให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 70,168 คัน เพิ่มขึ้น 36.7% ส่วนตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 40,305 คัน ลดลง 3.3% อันเป็นผลมาจากผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตหลังจากได้รับผลกระทบจากอุทุกภัย
ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรก มีปริมาณการขาย 279,272 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายในไตรมาสแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 17.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีจากเงินทุนไหลเข้า ประกอบกับความต้องการของตลาดที่มีอยู่สูงและความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 33.5% แต่ทั้งนี้ตลาดรถยนต์นั่งยังมีอัตราการเติบโตลดลง 4.6% เนื่องจากกำลังการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์เพิ่งเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายน เติบโตต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการสั่งซื้อของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงงานมอเตอร์โชว์ ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด กำลังการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งสามารถเพิ่มการส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าค้างจองได้มากขึ้น ตลอดจนนโยบายรถยนต์คันแรกของภาครัฐ ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์
ยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด
ยี่ห้อ | มีนาคม 2555 | มีนาคม 2554 | มกราคม-มีนาคม 2555 |
โตโยต้า | 45,604 | 36,140 | 121,189 |
อีซูซุ | 20,590 | 16,022 | 49,764 |
นิสสัน | 12,698 | 10,196 | 27,392 |
มิตซูบิชิ | 8,815 | 6,372 | 23,881 |
มาสด้า | 6,001 | 3,584 | 14,264 |
ฮอนด้า | 1,806 | 10,413 | 2,735 |
ฮีโน่ | 1,593 | 1,069 | 3,798 |
ซูซูกิ | 946 | 642 | 2,180 |
มิตซูบิชิ-ฟูโซ่ | 225 | 59 | 447 |
ซูบารุ | 12 | 29 | 23 |
นิสสัน-ดีเซล | 3 | 14 | 7 |
รวมรถญี่ปุ่น | 98,293 | 84,540 | 245,680 |
เชฟโรเลต | 6,301 | 2,701 | 15,302 |
ฟอร์ด | 3,312 | 2,578 | 9,968 |
โปรตอน | 623 | 597 | 1,338 |
ฮุนได | 527 | 427 | 1,356 |
บีเอ็มดับเบิลยู | 455 | 310 | 1,227 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 440 | 476 | 1,246 |
ทาทา | 401 | 655 | 1,286 |
ดีเอฟเอ็ม | 149 | 136 | 470 |
วอลโว่ | 131 | 160 | 460 |
เกีย | 79 | 56 | 282 |
โฟล์คสวาเกน | 37 | 87 | 143 |
วู่หลิง | 28 | 27 | 90 |
เปอโยต์ | 8 | 11 | 39 |
ยี่ห้ออื่นๆ | 144 | 247 | 385 |
รวมทั้งหมด | 110,928 | 93,008 | 279,272 |
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ยี่ห้อ | มีนาคม 2555 | มีนาคม 2554 | มกราคม-มีนาคม 2555 |
โตโยต้า | 19,865 | 17,221 | 51,211 |
นิสสัน | 9,904 | 6,844 | 21,203 |
มาสด้า | 3,578 | 2,535 | 10,629 |
ฮอนด้า | 1,745 | 9,561 | 2,600 |
มิตซู | 237 | 657 | 882 |
ซูซูกิ | 179 | 283 | 423 |
ซูบารุ | 7 | 23 | 17 |
รวมรถญี่ปุ่น | 35,515 | 37,124 | 86,965 |
ฟอร์ด | 1,875 | 1,588 | 6,533 |
เชฟโรเลต | 1.578 | 1,312 | 4,375 |
โปรตอน | 623 | 597 | 1,338 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 408 | 466 | 1,183 |
วอลโว่ | 103 | 59 | 264 |
เกีย | 76 | 38 | 221 |
ฮุนได | 16 | 4 | 40 |
เปอโยต์ | 8 | 11 | 39 |
โฟล์คสวาเกน | 5 | 31 | 42 |
บีเอ็มดับเบิลยู | 0 | 264 | 0 |
ยี่ห้ออื่น | 98 | 198 | 271 |
รวมทั้งหมด | 40,305 | 41,692 | 101,271 |
ยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน
ยี่ห้อ | มีนาคม 2555 | มีนาคม 2554 | มกราคม-มีนาคม2555 |
โตโยต้า | 23,852 | 16,988 | 65,018 |
อีซูซุ | 18,974 | 14,531 | 46,011 |
มิตซูบิชิ | 8,578 | 5,715 | 22,999 |
เชฟโรเลต | 3,562 | 985 | 7,905 |
นิสสัน | 2,673 | 3,259 | 5,994 |
มาสด้า | 2,422 | 1,046 | 3,633 |
ฟอร์ด | 1,386 | 951 | 3,285 |
ทาทา | 290 | 631 | 1,028 |
รวมทั้งหมด | 61,737 | 44,106 | 155.873 |