ประสบความสำเร็จงดงาม สำหรับโครงการไอเอ็มวี (IMV Project -Innovative International Multi-Purpose Vehicle) ที่เปิดตัวในปี 2547 พร้อมรถยนต์ใหม่ 3 รุ่น ประกอบด้วยปิกอัพ “ไฮลักซ์ วีโก้” รถอเนกประสงค์สไตล์เอสยูวี “ฟอร์จูนเนอร์” และเอ็มพีวี “อินโนวา”
โดยโปรเจกต์นี้ถือเป็นโมเดลในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจโตโยต้าในภูมิภาคอาเซียน และสร้างเม็ดเงินผลกำไรกลับไปยังโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น แบบเป็นกอบเป็นกำ...แน่นอนว่าไทยถือเป็นฐานผลิตสำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้ดอกผลผลิบานตามแผน
ในแง่โปรดักต์ที่ใช้พื้นฐานการผลิตร่วมกัน หรืออิงแชสซีส์-ชิ้นส่วนของปิกอัพ “ไฮลักซ์ วีโก้” ต่อยอดพัฒนา และแยกขายตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศ ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนต่อหน่วยการผลิตที่คุ้มสุดคุ้ม
…คนไทยนิยมปิกอัพก็ว่ากันไป แต่ถ้าเป็นอินโดนีเซียแล้ว ต้องอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวีเท่านั้นถึงจะโดนใจ (ใช้พื้นฐานอะไรก็สุดแล้วแต่)
อย่างไรก็ตามคล้อยหลังการเปิดตัว “ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์” และ “ฟอร์จูนเนอร์” บิ๊กไมเนอร์เชนจ์ไม่นาน โตโยต้าจัดการส่ง“อินโนวา ใหม่” ออกมาตามคิวปฎิบัติของรถโครงการไอเอ็มวี
“อินโนวา ใหม่” นำเข้าทั้งคันจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งรุ่นไมเนอร์เชนจ์นี้ ปรับเปลี่ยนเพิ่มความสดใหม่ในหลายๆจุด ไล่ตั้งแต่ ฝากระโปรง โคมไฟหน้า กระจัง กันชน ไฟตัดหมอก ด้านหลังโฉบเฉี่ยวด้วยสปอยเลอร์หลังคา ปรับรายละเอียดของโคมไฟท้ายใหม่ (กรอบเดิม) และเพิ่มทริมโครเมียมเหนือแผ่นป้ายทะเบียนให้ดูโดดเด่น คล้ายกับฟอร์จูนเนอร์ (ทีมดูแลโปรเจกต์ทีมเดียวกัน) พร้อมล้ออัลลอยด์ 15 นิ้วลายใหม่
ภายในอารมณ์เดียวกับฟอร์จูนเนอร์ ทั้งพวงมาลัยมัลติฟังก์ชันวงใหม่ แผงควบคุม เรือนไมล์ คันเกียร์ ปุ่มต่างๆปรับให้ทันสมัย แต่ต่างกันตรงสีของลายไม้ ด้านชุดบันเทิงในรุ่นท็อป 2.0Vจัดระดับเครื่องเล่น DVD MP3หนึ่งแผ่น ช่องต่อ USB AUXระบบบลูทูธเชื่อมโทรศัพท์ พร้อมจอทัชสกรีน LCD ด้านหน้าขนาด 6.1 นิ้ว
นอกจากนี้ยังฝังจอ LCD ขนาด 10.2 นิ้วไว้บนหลังคา ขับพลังเสียงด้วยลำโพง 6 ตัว และเย็นฉ่ำตลอดการเดินทางด้วยช่องแอร์คู่ เพื่อความสุนทรีย์สำหรับผู้โดยสารแถว 2 และ3
สำหรับการเข้า-ออกห้องโดยสารขึ้นลงสบายระดับเอ็มพีวีทั่วไป และไม่ถึงกับปีนป่ายเหมือนฟอร์จูนเนอร์ ในตำแหน่งผู้ขับทัศนวิสัยด้านหน้ากว้างไกล แต่ด้านหลังบอดแคบตามโครงสร้าง ต้องอาศัยการมุมมองกระจกข้างเสริมช่วย ขณะที่ผู้โดยสารแถวสองยืดแข้งขาสบายเบาะหนังนั่งนุ่มรองรับได้ดี ส่วนเบาะนั่งแถวสามอาจจะเหมาะกับเด็กน้อยที่มีความคล่องตัวมากกว่า
แต่กระนั้นกรณีไม่มีผู้โดยสารเบาะแถวสามสามารถพับเกี่ยวเก็บขึ้นไปด้านข้างเพื่อเพิ่มพื้นที่สำภาระได้เหมือน ฟอร์จูนเนอร์ ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนมองว่าโตโยต้าเล่นง่ายไปนิด
ในส่วนของความบันเทิงต่างๆระหว่างการขับขี่ ถือว่าโอเคนะครับ ยิ่งมีช่องเสียบ USB ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ส่วนการเล่นหนังแผ่น DVD จอภาพคมชัดพอสมควรสำหรับผู้โดยสารแถว 2 และ3 ขณะที่จอด้านหน้าหมดสิทธิ์ดูเพราะคุณต้องดึงเบรกมือเท่านั้นภาพถึงจะแสดงให้เห็น
ขุมพลังสำหรับ“อินโนวา ใหม่” มีเฉพาะเบนซินเท่านั้น ส่วนดีเซล 1KD ที่เคยวางในรุ่นเก่ายังไม่มีแผนทำตลาด โดยเครื่องยนต์ 1TR-FE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว VVT-i ขนาด 1998 ซีซี ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร ให้กำลังสูงสุด 136 แรงม้า ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 182 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังสู่ล้อหลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด
ผู้เขียนได้อินโนวา รุ่น 2.0V (ราคา1.079 ล้านบาท) เป็นพาหนะไปหัวหิน พร้อมผู้โดยสารรวม 4 คน บวกสำภาระ ต้องบอกว่าการตอบสนองการขับขี่ค่อนข้างอืด อัตราเร่งเนิบช้า ขณะที่รอบดีดสูงขึ้นแต่ตัวรถไม่ได้ขยับตามใจนัก จังหวะเร่งแซงต้องคิกดาวน์หวังพละกำลังฉุดดึง
แน่นอนว่าน้ำหนักรถ น้ำหนักคน สำภาระรวมแล้วร่วม2 ตัน ทำให้พลังเร่งมาช้า ทั้งย่านความเร็วกลาง ตลอดจนความเร็วปลายก็ไม่ได้ไหลแล่นฉิว
พวงมาลัยน้ำหนักเบา แต่คมกริบ อารมณ์เหมือนวีโก้ตัวแรก ทำให้การควบคุมช่วงการขับขี่ความเร็วสูงต้องใช้สมาธิพอสมควร 100-120 กม./ชม. มือต้องจับพวงมาลัยแน่น กำเครียดพอสมควร
โครงสร้างแบบบอดี้ออนเฟรม พร้อมปรับช่วงล่างให้นุ่มขึ้น ลดความกระด้างลงแบบรู้สึกได้ ซึ่งการนั่งในตำแหน่งผู้ขับพร้อมผู้โดยสารให้การรองรับขับสบายพอสมควร แต่ในส่วนของผู้โดยสารแถวสองจะรับรู้ถึงการโยกโยนในจังหวะทางตรง และเหวี่ยงแกว่งช่วงเข้าโค้งอยู่มากโข
ในส่วนของเบรกหน้าดิสก์ หลังดรัม ปรับประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนพอใจทั้งจังหวะและระยะเบรก ที่ตอบสนองน้ำหนักการกดแป็นเบรก ให้การชะลอหยุดตามคาด
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันหลังจากขับนอกเมืองเป็นหลัก ใช้ความเร็วเฉลี่ย 120 กม./ชม. หรือบางช่วงขับทางยาวๆ ผู้เขียนก็เพิ่มความเร็วขึ้นไปเกิน 140-160 กม./ชม.จนสุดท้ายได้ตัวเลข 9.0-9.5 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “อินโนวา ไมเนอร์เชนจ์” ขับเฉื่อย เอื่อยไม่เร่งรีบ ช่วงล่างปรับให้นุ่มนวลมากขึ้น ตอบสนองสภาพถนนเมืองไทย แต่ความกว้างขวางอเนกประสงค์ พร้อมออปชัน ถือเป็นจุดเด่นที่จัดให้ไม่ได้ขาดสำหรับรถครอบครัว...ปีนี้โตโยต้าตั้งเป้าขายอินโนวาประมาณ 4,000 คัน ซึ่งดูสถานการณ์แล้วน่าจะเกลี้ยงตามโควต้า
โดยโปรเจกต์นี้ถือเป็นโมเดลในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจโตโยต้าในภูมิภาคอาเซียน และสร้างเม็ดเงินผลกำไรกลับไปยังโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น แบบเป็นกอบเป็นกำ...แน่นอนว่าไทยถือเป็นฐานผลิตสำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้ดอกผลผลิบานตามแผน
ในแง่โปรดักต์ที่ใช้พื้นฐานการผลิตร่วมกัน หรืออิงแชสซีส์-ชิ้นส่วนของปิกอัพ “ไฮลักซ์ วีโก้” ต่อยอดพัฒนา และแยกขายตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศ ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนต่อหน่วยการผลิตที่คุ้มสุดคุ้ม
…คนไทยนิยมปิกอัพก็ว่ากันไป แต่ถ้าเป็นอินโดนีเซียแล้ว ต้องอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวีเท่านั้นถึงจะโดนใจ (ใช้พื้นฐานอะไรก็สุดแล้วแต่)
อย่างไรก็ตามคล้อยหลังการเปิดตัว “ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์” และ “ฟอร์จูนเนอร์” บิ๊กไมเนอร์เชนจ์ไม่นาน โตโยต้าจัดการส่ง“อินโนวา ใหม่” ออกมาตามคิวปฎิบัติของรถโครงการไอเอ็มวี
“อินโนวา ใหม่” นำเข้าทั้งคันจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งรุ่นไมเนอร์เชนจ์นี้ ปรับเปลี่ยนเพิ่มความสดใหม่ในหลายๆจุด ไล่ตั้งแต่ ฝากระโปรง โคมไฟหน้า กระจัง กันชน ไฟตัดหมอก ด้านหลังโฉบเฉี่ยวด้วยสปอยเลอร์หลังคา ปรับรายละเอียดของโคมไฟท้ายใหม่ (กรอบเดิม) และเพิ่มทริมโครเมียมเหนือแผ่นป้ายทะเบียนให้ดูโดดเด่น คล้ายกับฟอร์จูนเนอร์ (ทีมดูแลโปรเจกต์ทีมเดียวกัน) พร้อมล้ออัลลอยด์ 15 นิ้วลายใหม่
ภายในอารมณ์เดียวกับฟอร์จูนเนอร์ ทั้งพวงมาลัยมัลติฟังก์ชันวงใหม่ แผงควบคุม เรือนไมล์ คันเกียร์ ปุ่มต่างๆปรับให้ทันสมัย แต่ต่างกันตรงสีของลายไม้ ด้านชุดบันเทิงในรุ่นท็อป 2.0Vจัดระดับเครื่องเล่น DVD MP3หนึ่งแผ่น ช่องต่อ USB AUXระบบบลูทูธเชื่อมโทรศัพท์ พร้อมจอทัชสกรีน LCD ด้านหน้าขนาด 6.1 นิ้ว
นอกจากนี้ยังฝังจอ LCD ขนาด 10.2 นิ้วไว้บนหลังคา ขับพลังเสียงด้วยลำโพง 6 ตัว และเย็นฉ่ำตลอดการเดินทางด้วยช่องแอร์คู่ เพื่อความสุนทรีย์สำหรับผู้โดยสารแถว 2 และ3
สำหรับการเข้า-ออกห้องโดยสารขึ้นลงสบายระดับเอ็มพีวีทั่วไป และไม่ถึงกับปีนป่ายเหมือนฟอร์จูนเนอร์ ในตำแหน่งผู้ขับทัศนวิสัยด้านหน้ากว้างไกล แต่ด้านหลังบอดแคบตามโครงสร้าง ต้องอาศัยการมุมมองกระจกข้างเสริมช่วย ขณะที่ผู้โดยสารแถวสองยืดแข้งขาสบายเบาะหนังนั่งนุ่มรองรับได้ดี ส่วนเบาะนั่งแถวสามอาจจะเหมาะกับเด็กน้อยที่มีความคล่องตัวมากกว่า
แต่กระนั้นกรณีไม่มีผู้โดยสารเบาะแถวสามสามารถพับเกี่ยวเก็บขึ้นไปด้านข้างเพื่อเพิ่มพื้นที่สำภาระได้เหมือน ฟอร์จูนเนอร์ ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนมองว่าโตโยต้าเล่นง่ายไปนิด
ในส่วนของความบันเทิงต่างๆระหว่างการขับขี่ ถือว่าโอเคนะครับ ยิ่งมีช่องเสียบ USB ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ส่วนการเล่นหนังแผ่น DVD จอภาพคมชัดพอสมควรสำหรับผู้โดยสารแถว 2 และ3 ขณะที่จอด้านหน้าหมดสิทธิ์ดูเพราะคุณต้องดึงเบรกมือเท่านั้นภาพถึงจะแสดงให้เห็น
ขุมพลังสำหรับ“อินโนวา ใหม่” มีเฉพาะเบนซินเท่านั้น ส่วนดีเซล 1KD ที่เคยวางในรุ่นเก่ายังไม่มีแผนทำตลาด โดยเครื่องยนต์ 1TR-FE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว VVT-i ขนาด 1998 ซีซี ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร ให้กำลังสูงสุด 136 แรงม้า ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 182 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังสู่ล้อหลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด
ผู้เขียนได้อินโนวา รุ่น 2.0V (ราคา1.079 ล้านบาท) เป็นพาหนะไปหัวหิน พร้อมผู้โดยสารรวม 4 คน บวกสำภาระ ต้องบอกว่าการตอบสนองการขับขี่ค่อนข้างอืด อัตราเร่งเนิบช้า ขณะที่รอบดีดสูงขึ้นแต่ตัวรถไม่ได้ขยับตามใจนัก จังหวะเร่งแซงต้องคิกดาวน์หวังพละกำลังฉุดดึง
แน่นอนว่าน้ำหนักรถ น้ำหนักคน สำภาระรวมแล้วร่วม2 ตัน ทำให้พลังเร่งมาช้า ทั้งย่านความเร็วกลาง ตลอดจนความเร็วปลายก็ไม่ได้ไหลแล่นฉิว
พวงมาลัยน้ำหนักเบา แต่คมกริบ อารมณ์เหมือนวีโก้ตัวแรก ทำให้การควบคุมช่วงการขับขี่ความเร็วสูงต้องใช้สมาธิพอสมควร 100-120 กม./ชม. มือต้องจับพวงมาลัยแน่น กำเครียดพอสมควร
โครงสร้างแบบบอดี้ออนเฟรม พร้อมปรับช่วงล่างให้นุ่มขึ้น ลดความกระด้างลงแบบรู้สึกได้ ซึ่งการนั่งในตำแหน่งผู้ขับพร้อมผู้โดยสารให้การรองรับขับสบายพอสมควร แต่ในส่วนของผู้โดยสารแถวสองจะรับรู้ถึงการโยกโยนในจังหวะทางตรง และเหวี่ยงแกว่งช่วงเข้าโค้งอยู่มากโข
ในส่วนของเบรกหน้าดิสก์ หลังดรัม ปรับประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนพอใจทั้งจังหวะและระยะเบรก ที่ตอบสนองน้ำหนักการกดแป็นเบรก ให้การชะลอหยุดตามคาด
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันหลังจากขับนอกเมืองเป็นหลัก ใช้ความเร็วเฉลี่ย 120 กม./ชม. หรือบางช่วงขับทางยาวๆ ผู้เขียนก็เพิ่มความเร็วขึ้นไปเกิน 140-160 กม./ชม.จนสุดท้ายได้ตัวเลข 9.0-9.5 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “อินโนวา ไมเนอร์เชนจ์” ขับเฉื่อย เอื่อยไม่เร่งรีบ ช่วงล่างปรับให้นุ่มนวลมากขึ้น ตอบสนองสภาพถนนเมืองไทย แต่ความกว้างขวางอเนกประสงค์ พร้อมออปชัน ถือเป็นจุดเด่นที่จัดให้ไม่ได้ขาดสำหรับรถครอบครัว...ปีนี้โตโยต้าตั้งเป้าขายอินโนวาประมาณ 4,000 คัน ซึ่งดูสถานการณ์แล้วน่าจะเกลี้ยงตามโควต้า