ข่าวในประเทศ - ดี เอฟ เอ็ม รุกหนักตลาดยานยนต์ไทย ปลื้มยอดขายไตรมาสแรกปีนี้โตขึ้น 50 % ผลจากภาวะน้ำมันแพง ดันสุดตัวโชว์รถมินิทรัคตีตลาดกลุ่มเอสเอ็มอี พร้อมผลักแผนการตลาดใต้แนวคิด“ดีจริง “ดี เอฟ เอ็ม”
นายพิทยา ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี เอฟ เอ็ม มินิทรั๊ค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กภายใต้แบรนด์ ดี เอฟ เอ็ม หรือ ตง ฟง มอเตอร์ กล่าวว่า ในปี 2554 ทางดี เอฟ เอ็ม ได้รับอานิสงส์จากปัจจัยบวก อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งเงื่อนไขในการเช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่ดีขึ้น ส่งผลให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นใน 4 เดือนแรก เปรียบเทียบจากปีที่แล้ว มีเปอร์เซ็นการเติบโตดีขึ้นมากถึง 50 % เมื่อเทียบจากตัวเลขยอดจำหน่ายของปี 2553 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในปีนี้ยังคงมุ่งเป้าหมายผู้บริโภคเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งคาดว่าจากปัจจัยบวกต่าง ๆ และแผนการตลาดในเชิงรุก จะส่งผลให้ ดี เอฟ เอ็ม สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดรถยนต์ในไทยได้มากขึ้น โดยปีนี้มุ่งเป้ายอดจำหน่ายไว้ที่ 3,000 คัน
“ด้วยนโยบายการทำตลาดของ ดี เอฟ เอ็ม ทั้งในเรื่องความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านมาตรฐานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความพร้อมของศูนย์บริการ การสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ และการบริการประทับใจหลังการขาย โดยล่าสุด ดี เอฟ เอ็ม ได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทย ส่งเงื่อนไขพิเศษในการออกรถ ดี เอฟ เอ็ม ง่าย ๆ โดยดาวน์เริ่มต้นเพียง 20 % จากเดิม 25-30 % ซึ่ง คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศที่เป็นกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจ SMEs สามารถเลือกซื้อ ดี เอฟ เอ็ม ได้สะดวกยิ่งขึ้น”
สำหรับแผนการตลาดปี 2554 ดี เอฟ เอ็ม มีแผนที่จะทำกิจกรรมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการจำหน่าย รวมทั้งให้การสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งทุกวันนี้มี ความพร้อมด้านโชว์รูม และศูนย์บริการมากขึ้น ทั้งนี้ปี 2554 ดี เอฟ เอ็ม รุกการตลาดอย่างมั่นคงภายใต้แนวคิดใหม่ “Real User’s Guarantee” (การการันตีจากผู้ใช้จริง) โดยการนำเสนอรถ ดี เอฟ เอ็ม ที่ดัดแปลงให้เข้ากับการใช้งานของกลุ่ม ธุรกิจ SME ชูความเหมาะสมและลงตัวระหว่างความต้องการของลูกค้าและสมรรถนะของตัวรถ ดี เอฟ เอ็ม พร้อมรีแบรนด์สโลแกนการตลาดใหม่ “ ดีจริง ดี เอฟ เอ็ม ” ให้ออกสู่สายตาผู้บริโภคมากขึ้น
นอกจากนี้ ดี เอฟ เอ็มจะตกแต่งโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายให้เป็นลักษณะเดียวกันตามแนวคิดดังกล่าวทั่วประเทศ ควบคู่กับแผนการรุกขยายโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น อาทิ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น
นายพิทยา ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี เอฟ เอ็ม มินิทรั๊ค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กภายใต้แบรนด์ ดี เอฟ เอ็ม หรือ ตง ฟง มอเตอร์ กล่าวว่า ในปี 2554 ทางดี เอฟ เอ็ม ได้รับอานิสงส์จากปัจจัยบวก อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งเงื่อนไขในการเช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่ดีขึ้น ส่งผลให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นใน 4 เดือนแรก เปรียบเทียบจากปีที่แล้ว มีเปอร์เซ็นการเติบโตดีขึ้นมากถึง 50 % เมื่อเทียบจากตัวเลขยอดจำหน่ายของปี 2553 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในปีนี้ยังคงมุ่งเป้าหมายผู้บริโภคเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งคาดว่าจากปัจจัยบวกต่าง ๆ และแผนการตลาดในเชิงรุก จะส่งผลให้ ดี เอฟ เอ็ม สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดรถยนต์ในไทยได้มากขึ้น โดยปีนี้มุ่งเป้ายอดจำหน่ายไว้ที่ 3,000 คัน
“ด้วยนโยบายการทำตลาดของ ดี เอฟ เอ็ม ทั้งในเรื่องความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านมาตรฐานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความพร้อมของศูนย์บริการ การสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ และการบริการประทับใจหลังการขาย โดยล่าสุด ดี เอฟ เอ็ม ได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทย ส่งเงื่อนไขพิเศษในการออกรถ ดี เอฟ เอ็ม ง่าย ๆ โดยดาวน์เริ่มต้นเพียง 20 % จากเดิม 25-30 % ซึ่ง คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศที่เป็นกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจ SMEs สามารถเลือกซื้อ ดี เอฟ เอ็ม ได้สะดวกยิ่งขึ้น”
สำหรับแผนการตลาดปี 2554 ดี เอฟ เอ็ม มีแผนที่จะทำกิจกรรมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการจำหน่าย รวมทั้งให้การสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งทุกวันนี้มี ความพร้อมด้านโชว์รูม และศูนย์บริการมากขึ้น ทั้งนี้ปี 2554 ดี เอฟ เอ็ม รุกการตลาดอย่างมั่นคงภายใต้แนวคิดใหม่ “Real User’s Guarantee” (การการันตีจากผู้ใช้จริง) โดยการนำเสนอรถ ดี เอฟ เอ็ม ที่ดัดแปลงให้เข้ากับการใช้งานของกลุ่ม ธุรกิจ SME ชูความเหมาะสมและลงตัวระหว่างความต้องการของลูกค้าและสมรรถนะของตัวรถ ดี เอฟ เอ็ม พร้อมรีแบรนด์สโลแกนการตลาดใหม่ “ ดีจริง ดี เอฟ เอ็ม ” ให้ออกสู่สายตาผู้บริโภคมากขึ้น
นอกจากนี้ ดี เอฟ เอ็มจะตกแต่งโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายให้เป็นลักษณะเดียวกันตามแนวคิดดังกล่าวทั่วประเทศ ควบคู่กับแผนการรุกขยายโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น อาทิ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น