ใครคิดว่าเศรษฐีจะไม่เกิดอาการจุกอกเมื่อต้องต้องเจอกับบิลค่าน้ำมันที่มีตัวเลขแพงขึ้นเรื่อยๆ แถมยิ่งขับรถใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะต้องขับแวะปั๊มบ่อย ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงทศวรรษที่ 2010 ความต้องการรถยนต์ที่มีทั้งความประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง นั่นก็เลยทำให้โรลล์ส-รอยซ์ ผู้ผลิตรถยนต์หรูสัญชาติอังกฤษในเครือบีเอ็มดับเบิลยูจำเป็นต้องเดินตามกระแสบ้างในการรับมือกับตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก
ผลคือ ต้นแบบรุ่น 102EX Electric Car ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า ซึ่งโปรเจ็กต์นี้คนวงในของค่าย RR รู้จักกันในอีกชื่อว่า EE หรือ Experimental Electric ซึ่งเป็นการนำรถยนต์ระดับหรูไฮเอนด์รุ่นแฟนธอมมาดัดแปลงให้เป็นต้นแบบสำหรับจัดแสดงเพื่อทดลองกับระบบการขับเคลื่อนในรูปแบบไฟฟ้า และถือว่างานของโรลส์-รอยซ์เป็นรถยนต์ระดับไฮเอนด์รุ่นแรกที่หันมาจับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า
ทาง RR บอกว่าถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกในคลาส GKL++ Segment (รถยนต์หรูที่มีราคาเกิน 200,000 ปอนด์ หรือ 10 ล้านบาท) ที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า และตัวแพ็คของแบตเตอรี่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนก็ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับรถยนต์พลังไฟฟ้าสำหรับแล่นบนถนนเลยทีเดียว
สำหรับต้นแบบรุ่นนี้เป็นรถยนต์พลังไฟฟ้าแท้ๆ ไม่ใช่พวก E-REV ซึ่งใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในรับหน้าที่ในการช่วยชาร์จกระแสไฟฟ้า โดยเมื่อเปิดฝากระโปรงด้านหน้าขึ้นมา เครื่องยนต์วี12 ขนาด 6,750 ซีซีแบบหายใจเองที่เคยรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนตัวถังขนาดใหญ่ของแฟนธอมถูกถอดออกไป และแทนที่ด้วยชุดแพ็คแบตเตอรี่แบบ NCM (Lithium-Nickel-Cobalt-Manganese-Oxide) ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวถูกวางอยู่ที่เพลาท้ายเพื่อรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนแบบล้อหลัง
มอเตอร์แต่ละตัวผลิตกำลังออกมาได้ 145 กิโลวัตต์ หรือ 197 แรงม้า ซึ่งนั่นทำให้ 102EX ขับเคลื่อนด้วยกำลังเต็มที่ในระดับ 290 กิโลวัตต์ หรือ 394 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุดในระดับ 81.5 กก.-ม. เหนือระดับกว่าแรงบิดที่ได้รับจากเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 73.3 กก.-ม. แถมยังมาที่ช่วงรอบเครื่องยนต์ที่ 3,500 รอบ/นาที ต่างจากแรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้าที่มาในลักษณะช่วงรอบกว้างตอบสนองได้ในทั้งช่วงความเร็วต่ำ และความเร็วสูง
แม้จะเป็นรถยนต์ระดับหรูคันโตและมีน้ำหนักมากถึงจะใช้โครงสร้างตัวถังที่ผลิตจากอะลูมิเนียมเพื่อลดน้ำหนักก็เถอะ แต่ 102EX สามารถแล่นทำระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งได้ถึง 200 กิโลเมตร ส่วนสมรรถนะของตัวรถก็ต้องมีด้อยไปบ้าง ใช้เวลาต่ำกว่า 8 วินาทีสำหรับการทำอัตราเร่ง 0-96 กิโลเมตร/ชั่วโมง (รุ่นธรรมดาของแฟนธอมทำได้ 5.7 วินาที) และความเร็วสูงสุดถูกจำกัดเอาไว้ที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แม้โรลส์-รอยซ์บอกว่า ยังเป็นแค่โปรเจ็กต์ทดลอง ไม่ได้วางแผนว่าจะมีการผลิตขายจริงอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่ไม่แน่เมื่อระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะแท่นชาร์จสาธารณะถูกติดตั้งและเอื้อประโยชน์ให้กับความสะดวกในการขับรถยนต์พลังไฟฟ้ามากขึ้น ถึงตอนนั้น เราอาจจะได้เห็นรถยนต์ระดับหรูแบบไฮเอนด์อย่างโรลส์-รอยซ์เมินเครื่องยนต์สันดาปภายใน และหันมาขับด้วยระบบไฟฟ้าก็เป็นได้
ผลคือ ต้นแบบรุ่น 102EX Electric Car ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า ซึ่งโปรเจ็กต์นี้คนวงในของค่าย RR รู้จักกันในอีกชื่อว่า EE หรือ Experimental Electric ซึ่งเป็นการนำรถยนต์ระดับหรูไฮเอนด์รุ่นแฟนธอมมาดัดแปลงให้เป็นต้นแบบสำหรับจัดแสดงเพื่อทดลองกับระบบการขับเคลื่อนในรูปแบบไฟฟ้า และถือว่างานของโรลส์-รอยซ์เป็นรถยนต์ระดับไฮเอนด์รุ่นแรกที่หันมาจับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า
ทาง RR บอกว่าถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกในคลาส GKL++ Segment (รถยนต์หรูที่มีราคาเกิน 200,000 ปอนด์ หรือ 10 ล้านบาท) ที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า และตัวแพ็คของแบตเตอรี่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนก็ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับรถยนต์พลังไฟฟ้าสำหรับแล่นบนถนนเลยทีเดียว
สำหรับต้นแบบรุ่นนี้เป็นรถยนต์พลังไฟฟ้าแท้ๆ ไม่ใช่พวก E-REV ซึ่งใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในรับหน้าที่ในการช่วยชาร์จกระแสไฟฟ้า โดยเมื่อเปิดฝากระโปรงด้านหน้าขึ้นมา เครื่องยนต์วี12 ขนาด 6,750 ซีซีแบบหายใจเองที่เคยรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนตัวถังขนาดใหญ่ของแฟนธอมถูกถอดออกไป และแทนที่ด้วยชุดแพ็คแบตเตอรี่แบบ NCM (Lithium-Nickel-Cobalt-Manganese-Oxide) ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวถูกวางอยู่ที่เพลาท้ายเพื่อรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนแบบล้อหลัง
มอเตอร์แต่ละตัวผลิตกำลังออกมาได้ 145 กิโลวัตต์ หรือ 197 แรงม้า ซึ่งนั่นทำให้ 102EX ขับเคลื่อนด้วยกำลังเต็มที่ในระดับ 290 กิโลวัตต์ หรือ 394 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุดในระดับ 81.5 กก.-ม. เหนือระดับกว่าแรงบิดที่ได้รับจากเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 73.3 กก.-ม. แถมยังมาที่ช่วงรอบเครื่องยนต์ที่ 3,500 รอบ/นาที ต่างจากแรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้าที่มาในลักษณะช่วงรอบกว้างตอบสนองได้ในทั้งช่วงความเร็วต่ำ และความเร็วสูง
แม้จะเป็นรถยนต์ระดับหรูคันโตและมีน้ำหนักมากถึงจะใช้โครงสร้างตัวถังที่ผลิตจากอะลูมิเนียมเพื่อลดน้ำหนักก็เถอะ แต่ 102EX สามารถแล่นทำระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งได้ถึง 200 กิโลเมตร ส่วนสมรรถนะของตัวรถก็ต้องมีด้อยไปบ้าง ใช้เวลาต่ำกว่า 8 วินาทีสำหรับการทำอัตราเร่ง 0-96 กิโลเมตร/ชั่วโมง (รุ่นธรรมดาของแฟนธอมทำได้ 5.7 วินาที) และความเร็วสูงสุดถูกจำกัดเอาไว้ที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แม้โรลส์-รอยซ์บอกว่า ยังเป็นแค่โปรเจ็กต์ทดลอง ไม่ได้วางแผนว่าจะมีการผลิตขายจริงอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่ไม่แน่เมื่อระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะแท่นชาร์จสาธารณะถูกติดตั้งและเอื้อประโยชน์ให้กับความสะดวกในการขับรถยนต์พลังไฟฟ้ามากขึ้น ถึงตอนนั้น เราอาจจะได้เห็นรถยนต์ระดับหรูแบบไฮเอนด์อย่างโรลส์-รอยซ์เมินเครื่องยนต์สันดาปภายใน และหันมาขับด้วยระบบไฟฟ้าก็เป็นได้