จากผลผลิตแรกที่ถูกเปิดตัวออกมาในงานแฟรงค์เฟิร์ต มอเตอร์โชว์ 2009 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในตอนนี้ ออดี้นำเสนอผลผลิตที่ 2 ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ต่อเนื่องจากต้นแบบพลังไฟฟ้าอย่างรุ่น e-Tron ออกมาแล้ว โดยนำจัดแสดงครั้งแรกในงานดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ 2010 เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สื่งที่น่าสนใจสำหรับต้นแบบรุ่นนี้ คือ ข่าวลือที่ว่า งานออกแบบตัวรถเชื่อว่าน่าจะถูกนำมาใช้ในการผลิตจริง และส่วนใหญ่ (อีกเช่นกัน) เห็นพ้องว่า ถ้ามีการผลิตจริง ก็น่าจะเป็นโมเดลเชนจ์ของสปอร์ตรุ่น TT ซึ่งรุ่นที่กำลังขายอยู่ในปัจจุบัน หรือเจนเนอเรชันที่ 2 ก็อยู่ในช่วงปลายของอายุตลาดแล้ว เพราะขายกันมาตั้งแต่ปี 2006 โน่น ถึงตอนนี้ก็น่าจะใกล้เวลาของการเปลี่ยนโฉม หรือโมเดลเชนจ์กันแล้ว
นอกจากความคล้ายคลึงของรูปแบบแล้ว ขนาดของตัวรถก็ถือว่าใกล้เคียงกับ TT เช่นกัน เพราะ e-Tron เวอร์ชันที่ 2 มาพร้อมกับความยาวในระดับ 3,930 มิลลิเมตร สั้นจากรุ่นเดิม 330 มิลลิเมตร กว้าง 1,780 มิลลิเมตร สูง 1,220 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,430 มิลลิเมตร หรือสั้นกว่าเอ8 ใหมเพียง 220 มิลลิเมตรเท่านั้น
ในส่วนของห้องโดยสารก็ถูกปรับปรุงโดยอิงอยู่บนพื้นฐานเดิม โดยจุดเด่นอยู่ที่กระจกมองข้าง ซึ่งเปลี่ยนเป็นกล้องวีดีโอในการรับภาพและแสดงผลทางหน้าจอขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน แต่อยู่ด้านในของแผงประตู ส่วนมาตรวัดรอบเครื่องยนต์และความเร็วเป็นแบบดวงกลมคู่ และแทรกกลางด้วยมอนิเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบนำทาง
ขณะที่น้ำหนักตัวรถอยู่ที่ 1,350 กิโลกรัม เพราะจากการใช้โครงสร้างตัวถังที่ผลิตจากอะลูมิเนียม หรือ ASF-Audi Space Frame ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ e-Tron รุ่นแรก ในรุ่นใหม่นี้เบาขึ้น 250 กิโลกรัม
สำหรับสเปกของต้นแบบใหม่รุ่นนี้มากับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวรับหน้าที่ขับเคลื่อนเพลาหน้าและหลังอย่างละตัว โดยมีกำลังขับเคลื่อนรวมกัน 204 แรงม้า (น้อยกว่ารุ่นแรก ซึ่งอยู่ที่ 313 แรงม้า) แต่แรงบิดมหาศาลที่ 269.8 กก.-ม.เลยทีเดียว (รุ่นเดิม 458.5 กก.-ม.) ซึ่งทำให้ระบบนี้ดูแล้วมีความเป็นไปได้ในการผลิตออกขายจริงในอนาคตมากกว่าเวอร์ชันแรก
e-Tron ตอบสนองต่อการขับดีขึ้น ใช้เวลา 5.9 วินาทีสำหรับอัตราเร่ง 0-96 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถแล่นทำระยะทางได้ 250 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อเสียบปลั๊ก 230 V ใช้เวลาในการชาร์จเต็มถัง 11 ชั่วโมง ส่วนการขับเคลื่อนเป็นแบบ 4 ล้อตลอดเวลาเพียงแต่ว่าเพลาหลังจะรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนมากกว่าโดยมีอัตราส่วนการขับเคลื่อนระหว่างเพลาหน้าและหลัง 40:60%
ต้องรอดูกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วโปรเจ็กต์นี้จะเป็นร่างจำแลงสำหรับพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้กับออดี้ TT ใหม่เจนเนอเรชันที่ 3 หรือว่าจะเป็นโปรเจ็กต์รถสปอร์ตพลังไฟฟ้าที่ออดี้ผลิตขึ้นมาแข่งขันกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ที่จะผลิต SLS AMG รุ่นพลังไฟฟ้าออกมาขายในปี 2015...
อย่างไรก็ตาม สื่งที่น่าสนใจสำหรับต้นแบบรุ่นนี้ คือ ข่าวลือที่ว่า งานออกแบบตัวรถเชื่อว่าน่าจะถูกนำมาใช้ในการผลิตจริง และส่วนใหญ่ (อีกเช่นกัน) เห็นพ้องว่า ถ้ามีการผลิตจริง ก็น่าจะเป็นโมเดลเชนจ์ของสปอร์ตรุ่น TT ซึ่งรุ่นที่กำลังขายอยู่ในปัจจุบัน หรือเจนเนอเรชันที่ 2 ก็อยู่ในช่วงปลายของอายุตลาดแล้ว เพราะขายกันมาตั้งแต่ปี 2006 โน่น ถึงตอนนี้ก็น่าจะใกล้เวลาของการเปลี่ยนโฉม หรือโมเดลเชนจ์กันแล้ว
นอกจากความคล้ายคลึงของรูปแบบแล้ว ขนาดของตัวรถก็ถือว่าใกล้เคียงกับ TT เช่นกัน เพราะ e-Tron เวอร์ชันที่ 2 มาพร้อมกับความยาวในระดับ 3,930 มิลลิเมตร สั้นจากรุ่นเดิม 330 มิลลิเมตร กว้าง 1,780 มิลลิเมตร สูง 1,220 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,430 มิลลิเมตร หรือสั้นกว่าเอ8 ใหมเพียง 220 มิลลิเมตรเท่านั้น
ในส่วนของห้องโดยสารก็ถูกปรับปรุงโดยอิงอยู่บนพื้นฐานเดิม โดยจุดเด่นอยู่ที่กระจกมองข้าง ซึ่งเปลี่ยนเป็นกล้องวีดีโอในการรับภาพและแสดงผลทางหน้าจอขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน แต่อยู่ด้านในของแผงประตู ส่วนมาตรวัดรอบเครื่องยนต์และความเร็วเป็นแบบดวงกลมคู่ และแทรกกลางด้วยมอนิเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบนำทาง
ขณะที่น้ำหนักตัวรถอยู่ที่ 1,350 กิโลกรัม เพราะจากการใช้โครงสร้างตัวถังที่ผลิตจากอะลูมิเนียม หรือ ASF-Audi Space Frame ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ e-Tron รุ่นแรก ในรุ่นใหม่นี้เบาขึ้น 250 กิโลกรัม
สำหรับสเปกของต้นแบบใหม่รุ่นนี้มากับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวรับหน้าที่ขับเคลื่อนเพลาหน้าและหลังอย่างละตัว โดยมีกำลังขับเคลื่อนรวมกัน 204 แรงม้า (น้อยกว่ารุ่นแรก ซึ่งอยู่ที่ 313 แรงม้า) แต่แรงบิดมหาศาลที่ 269.8 กก.-ม.เลยทีเดียว (รุ่นเดิม 458.5 กก.-ม.) ซึ่งทำให้ระบบนี้ดูแล้วมีความเป็นไปได้ในการผลิตออกขายจริงในอนาคตมากกว่าเวอร์ชันแรก
e-Tron ตอบสนองต่อการขับดีขึ้น ใช้เวลา 5.9 วินาทีสำหรับอัตราเร่ง 0-96 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถแล่นทำระยะทางได้ 250 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อเสียบปลั๊ก 230 V ใช้เวลาในการชาร์จเต็มถัง 11 ชั่วโมง ส่วนการขับเคลื่อนเป็นแบบ 4 ล้อตลอดเวลาเพียงแต่ว่าเพลาหลังจะรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนมากกว่าโดยมีอัตราส่วนการขับเคลื่อนระหว่างเพลาหน้าและหลัง 40:60%
ต้องรอดูกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วโปรเจ็กต์นี้จะเป็นร่างจำแลงสำหรับพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้กับออดี้ TT ใหม่เจนเนอเรชันที่ 3 หรือว่าจะเป็นโปรเจ็กต์รถสปอร์ตพลังไฟฟ้าที่ออดี้ผลิตขึ้นมาแข่งขันกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ที่จะผลิต SLS AMG รุ่นพลังไฟฟ้าออกมาขายในปี 2015...