ข่าวในประเทศ - “มิตซูบิชิ” ยืนยันใช้ไทยฐานผลิตรถเล็กแน่นอน ย้ำ “อีโคคาร์” ยังเป็นโครงการหลักในการพิจารณาลงทุน และกำลังอยู่ในขั้นตอนลงรายละเอียดเสนอบีโอไอ คาดได้ข้อสรุปภายในมีนาคม 2553 แต่พร้อมยืดหยุ่นปรับโครงการให้เหมาะสม โดยพิจารณาสิทธิประโยชน์อื่นๆ หรือดูผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้อง และสามารถต่อยอดได้ เช่นโครงการรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้มีการพูดคุย กับคณะรัฐมนตรีของไทยในโอกาสที่ไปเยือนญี่ปุ่น
โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำให้ยอดขายในประเทศและส่งออกลดลง แต่ปัจจุบันแนวโน้มเริ่มกลับปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมิตซูบิชิได้มีการปรับการผลิตเพิ่มเป็น 2 กะ และการที่ตลาดมีสัญญาณบวก จึงเตรียมจ้างงานเพิ่มเติมเป็น 1,300 อัตรา ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
“ขณะที่แผนงานอื่นๆ ของมิตซูบิชิยังเป็นไปตามแผน และบางโครงการปรับเวลาให้เร็วขึ้น เช่นการเปิดตัวมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ โฉมใหม่ ส่วนโครงการอีโคคาร์ที่บริษัทยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ตอนนี้ก็อยู่ในกระบวนการทำรายละเอียด และศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปและยื่นแผนลงทุนกับบีโอไอ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2553 ตามกำหนดที่บีโอไอได้เลื่อนให้กับผู้ประกอบการแน่นอน”
นายมูราฮาชิกล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่มิตซูบิชิยังไม่สรุปรายละเอียด ในการลงทุนโครงการอีโคคาร์ได้ตามกำหนดเดิมพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ เพราะต้องการพิจารณาองค์ประกอบหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขโครงการอีโคคาร์ ตลาดที่จะรองรับ และผลิตภัณฑ์ของมิตซูบิชิ ให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย
“มิตซูบิชิยืนยันจะลงทุนผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในไทยแน่นอน และโครงการอีโคคาร์เป็นเป้าหมายหลักในการพิจารณาลงทุนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นโครงการที่เหมาะสมสอดคล้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่ถือว่าดีพอสมควร หากเทียบกับรถยนต์นั่งอื่นๆ รวมถึงโอกาสทางการตลาดด้วย แต่เราก็ต้องดูความเป็นไปได้ในสิทธิประโยชน์รถยนต์ประเภทอื่นๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของมิตซูบิชิที่มี และสามารถต่อยอดได้ เพื่อให้มีภาระต้นทุนน้อย และเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคมากที่สุด อย่างรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็มีความน่าสนใจเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เราต้องนำพิจารณาและมีความยืดหยุ่น ที่จะสามารถปรับโครงการได้” นายมูราฮาชิกล่าวและว่า
ส่วนการที่คณะรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และได้เข้าพบกับผู้บริหารของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้มีการพูดคุยเรื่องแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต และได้มีการพูดถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมิตซูบิชิเป็นผู้นำในรถประเภทนี้ที่ญี่ปุ่น โดยต่างมีการพูดถึงความเป็นไปได้และโอกาส แต่ ณ ปัจจุบันเมื่อพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ แล้ว มิตซูบิชิยังมุ่งไปในการโครงการอีโคคาร์เป็นหลัก
นายมูราฮาชิกล่าวว่า ในส่วนการเปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ โฉมใหม่ ถือเป็นการเร่งแนะนำสู่ตลาดให้เร็วขึ้น จากกำหนดจะเปิดตัวเป็นทางการเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ แต่บริษัทฯ ได้ร่นเวลามาเป็นเดือนตุลาคมแทน และได้แนะนำให้กับสื่อมวลชนได้ยลโฉมในวันนี้ (15 ก.ย.) พร้อมกับเปิดรับจองนับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนเป็นต้นไป
“แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ใหม่ เป็นรถยนต์ที่ตอบสนองลูกค้า ทั้งในเรื่องของความทันสมัย และเทคโนโลยีนำสมัย สมรรถนะการขับขี่ดีเยี่ยม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกที่แนะนำสู่ตลาด ตั้งเป้าการขายไว้ประมาณ 4,000 คัน และต่อไปเฉลี่ยเดือนละ 500 คัน”
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ใหม่ มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 ขนาด คือ รุ่น GT 2.0 ลิตร 154 แรงม้า รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 ได้ ราคา 1.034 ล้านบาท และรุ่น 1.8 ลิตร 139 แรงม้า เป็นเครื่องยนต์ Flexible Fuel Vehicle หรือ FFV ซึ่งรองรับการใช้น้ำมันได้หลากหลาย ตั้งแต่เบนซินธรรมดาไปจนถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 มีจำนวน 3 รุ่นย่อย ได้แก่ รุ่น GLS-Ltd ราคา 8.99 แสนบาท, รุ่น GLS ราคา 8.86 แสนบาท และรุ่น GLX ราคา 8.31 แสนบาท
โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำให้ยอดขายในประเทศและส่งออกลดลง แต่ปัจจุบันแนวโน้มเริ่มกลับปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมิตซูบิชิได้มีการปรับการผลิตเพิ่มเป็น 2 กะ และการที่ตลาดมีสัญญาณบวก จึงเตรียมจ้างงานเพิ่มเติมเป็น 1,300 อัตรา ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
“ขณะที่แผนงานอื่นๆ ของมิตซูบิชิยังเป็นไปตามแผน และบางโครงการปรับเวลาให้เร็วขึ้น เช่นการเปิดตัวมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ โฉมใหม่ ส่วนโครงการอีโคคาร์ที่บริษัทยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ตอนนี้ก็อยู่ในกระบวนการทำรายละเอียด และศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปและยื่นแผนลงทุนกับบีโอไอ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2553 ตามกำหนดที่บีโอไอได้เลื่อนให้กับผู้ประกอบการแน่นอน”
นายมูราฮาชิกล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่มิตซูบิชิยังไม่สรุปรายละเอียด ในการลงทุนโครงการอีโคคาร์ได้ตามกำหนดเดิมพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ เพราะต้องการพิจารณาองค์ประกอบหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขโครงการอีโคคาร์ ตลาดที่จะรองรับ และผลิตภัณฑ์ของมิตซูบิชิ ให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย
“มิตซูบิชิยืนยันจะลงทุนผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในไทยแน่นอน และโครงการอีโคคาร์เป็นเป้าหมายหลักในการพิจารณาลงทุนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นโครงการที่เหมาะสมสอดคล้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่ถือว่าดีพอสมควร หากเทียบกับรถยนต์นั่งอื่นๆ รวมถึงโอกาสทางการตลาดด้วย แต่เราก็ต้องดูความเป็นไปได้ในสิทธิประโยชน์รถยนต์ประเภทอื่นๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของมิตซูบิชิที่มี และสามารถต่อยอดได้ เพื่อให้มีภาระต้นทุนน้อย และเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคมากที่สุด อย่างรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็มีความน่าสนใจเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เราต้องนำพิจารณาและมีความยืดหยุ่น ที่จะสามารถปรับโครงการได้” นายมูราฮาชิกล่าวและว่า
ส่วนการที่คณะรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และได้เข้าพบกับผู้บริหารของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้มีการพูดคุยเรื่องแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต และได้มีการพูดถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมิตซูบิชิเป็นผู้นำในรถประเภทนี้ที่ญี่ปุ่น โดยต่างมีการพูดถึงความเป็นไปได้และโอกาส แต่ ณ ปัจจุบันเมื่อพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ แล้ว มิตซูบิชิยังมุ่งไปในการโครงการอีโคคาร์เป็นหลัก
นายมูราฮาชิกล่าวว่า ในส่วนการเปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ โฉมใหม่ ถือเป็นการเร่งแนะนำสู่ตลาดให้เร็วขึ้น จากกำหนดจะเปิดตัวเป็นทางการเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ แต่บริษัทฯ ได้ร่นเวลามาเป็นเดือนตุลาคมแทน และได้แนะนำให้กับสื่อมวลชนได้ยลโฉมในวันนี้ (15 ก.ย.) พร้อมกับเปิดรับจองนับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนเป็นต้นไป
“แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ใหม่ เป็นรถยนต์ที่ตอบสนองลูกค้า ทั้งในเรื่องของความทันสมัย และเทคโนโลยีนำสมัย สมรรถนะการขับขี่ดีเยี่ยม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกที่แนะนำสู่ตลาด ตั้งเป้าการขายไว้ประมาณ 4,000 คัน และต่อไปเฉลี่ยเดือนละ 500 คัน”
สำหรับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ใหม่ มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 ขนาด คือ รุ่น GT 2.0 ลิตร 154 แรงม้า รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 ได้ ราคา 1.034 ล้านบาท และรุ่น 1.8 ลิตร 139 แรงม้า เป็นเครื่องยนต์ Flexible Fuel Vehicle หรือ FFV ซึ่งรองรับการใช้น้ำมันได้หลากหลาย ตั้งแต่เบนซินธรรมดาไปจนถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 มีจำนวน 3 รุ่นย่อย ได้แก่ รุ่น GLS-Ltd ราคา 8.99 แสนบาท, รุ่น GLS ราคา 8.86 แสนบาท และรุ่น GLX ราคา 8.31 แสนบาท