ในบริษัทต่างชาติ การที่ผู้บริหารชาวไทยจะขยับขึ้นมานั่งตำแหน่งสูงๆ ได้ เรียกว่าต้องพิสูจน์ฝีมือกัน จนเลือดตาแทบกระเด็น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงตำแหน่งเบอร์หนึ่งขององค์กร แต่เธอคนนี้... “ฉันทนา วัฒนารมย์” ไม่เพียงเป็นคนแรกและผู้หญิงคนเดียว ที่เป็นผู้นำบริษัทรถยนต์ข้ามชาติในไทย ซึ่งเมื่อก้าวขึ้นมานั่งตำแหน่ง ประธานบริษัท วอลโว่ คาร์(ประเทศไทย) จำกัด ถือว่ามีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจกระหน่ำตลาดรถยนต์เช่นนี้
ประวัติในการทำงาน
อาชีพแรกไม่ได้เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจเลย เพราะทำงานกับองค์กรอิสระ “ยูเอ็นเอชซีอาร์” UNHCR เป็นหน่วยงานของยูเอ็น(UN) ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากกลุ่มประเทศที่ 3 ในการตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกา ทำอยู่ประมาณ 5-6 ปี จึงเบนเข็มเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ร่วมงานกับบริษัท คาลเท็กซ์ ก่อนจะมาทำงานบริษัทโฆษณา ลีโอ เบอร์เน็ต จากนั้นจึงมาร่วมงานกับวอลโว่ ตั้งแต่สมัยยังเป็นบริษัทของคนไทย สวีเดน มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น หรือเอสเอ็มซี(SMC)
จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ทำให้บริษัทแม่ วอลโว่ คาร์ คอร์ปอเรชั่น(VCC) เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างเอสเอ็มซี และก่อตั้งบริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) ดูแลการขายและนำเข้ารถยนต์วอลโว่ในไทยแทน จึงได้โอนย้ายมาบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทคนใหม่
ตำแหน่งใหม่กดดันมากไหม
อือ...ไม่มากเท่าไหร่ จริงๆ แล้วขอบเขตงานก็ไม่ได้แตกต่างจากที่เราเคยดูมา ตั้งแต่ยังเป็นรองประธานฝ่ายการตลาด เพียงแต่ตำแหน่งใหม่จะต้องดูแลให้ครอบคลุมทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องเอกสารที่ต้องดูมากหน่อย ดังนั้นจึงไม่รู้สึกกดดันมากนัก
วอลโว่เริ่มถอยจึงได้รับโปรโมท
ไม่เกี่ยว! เป็นนโยบายของบริษัทแม่อยู่แล้ว ที่เมื่อถึงเวลาหนึ่งจะเพิ่มบทบาทคนท้องถิ่นให้เข้ามาบริหาร ซึ่งไม่ใช่เพิ่งเกิดที่ประเทศไทย แต่นโยบายนี้ได้มีการดำเนินงานมาหลายปีแล้ว อย่างที่ประเทศเกาหลีก็แต่งตั้งคนท้องถิ่นเป็นประธานบริษัท ซึ่งไม่เพียงดูแลวอลโว่เท่านั้น แต่ยังดูพีเอจี (Premier Automotive Group : PAG) กลุ่มบริหารแบรนด์รถยนต์หรูในเครือฟอร์ด ไม่ว่าจะเป็นวอลโว่, แลนด์โรเวอร์, จากัวร์ และแอสตัน มาติน เป็นต้น หรือในอาเซียนก็มีที่ประเทศมาเลเซีย และมาที่ไทยเพิ่งมีการเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนก่อนหน้านั้นที่ประเทศไต้หวัน เพิ่งเปลี่ยนประธานเป็นคนไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพียงแต่ช่วงนี้เกิดวิกฤตกับบริษัทรถยนต์หลายแห่ง จึงทำให้อาจจะถูกมองเช่นนั้นพอดี จริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกันแต่อย่างใด
ภารกิจหลักๆ ที่ต้องทำให้ได้
ในสภาวะแบบนี้ทุกยี่ห้อก็ต้องพยายามเร่งฟื้นยอดขายให้ได้มากที่สุด ซึ่งเมื่อเข้ามาเป็นผู้นำวอลโว่ในไทยก็ต้องทำเช่นเดียวกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบรนด์ เครือข่าย และลูกค้า ซึ่งเป็นภารกิจหลักทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
วอลโว่ชูปลอดภัยเช่นเดิมหรือไม่
แน่นอนเรื่องนี้มันเป็นหัวใจหลัก มันเป็นดีเอ็นเอ (DNA) ของวอลโว่ไปแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันจะให้พูดเรื่องความปลอดภัยเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ เพราะสถานการณ์และผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเรื่องของไลฟ์สไตล์และอะไรอีกมากเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเราจึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัย แต่แน่นอนเรื่องความปลอดภัยมันก็ต้องแทรกอยู่ เพราะเป็นดีเอ็นเอของวอลโว่ จะเห็นว่ารถวอลโว่ทุกรุ่นต้องมีจุดเด่นเรื่องนี้อยู่แล้ว อย่างระบบ City Safety ในวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 (XC60)
เป้าหมายการขายวอลโว่ปีนี้
ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ที่ประมาณ 550 คัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดรวมลดลงกว่า 10-20% โดยยอดขายแบ่งเป็น วอลโว่ เอส80 ประมาณ 50% รุ่นเอส40/วี50 อยู่ที่ 25% และที่เหลือเป็นรุ่นอื่นๆ
สินค้าใหม่ที่แนะนำสู่ตลาด
จะเห็นว่าวอลโว่มีการแนะนำรถใหม่สู่ตลาดต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรถพลังงานทดแทน วอลโว่ เอส80 ใช้น้ำมัน อี85 และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แนะนำวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังประมาณเดือนตุลาคม จะมีการเปิดตัวรถยนต์วอลโว่ เอส40 และวี50 เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 145 แรงม้า โดยราคา 1.799 ล้านบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย
รถยนต์พลังงานทดแทน
วอลโว่มีรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน อี85 ทำตลาดเพียงรายเดียวในไทย เราจะชูจุดเด่นตรงนี้ และหลังจากเปิดตัววอลโว่ เอส80 อี85 เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มียอดขายแล้ว 102 คัน จากที่ตั้งเป้าไว้ปีแรก 150 คัน นับว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก โดยวอลโว่จะรุกตลาดต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะไม่มีพลังงานประเภทนี้รองรับมากนัก จึงอยากจะให้รัฐบาลมีนโยบายให้ชัดเจนมากกว่านี้ แม้ว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานจะเข้ามาสนับสนุนน้ำมัน อี85 แต่ก็ยังไม่แน่นอนจะขับเคลื่อนได้มากนัก เพราะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน และจริงๆ แล้วเห็นว่ารถยนต์อี85 ควรจะได้รับการสนับสนุนทางภาษีสรรพสามิต น่าจะเหมาะสมกว่า
เครือข่ายการขายเพิ่มหรือไม่
วอลโว่ยังเน้นสร้างเครือข่ายให้แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นบริการก่อนและหลังการขาย และวอลโว่กำลังปรับโฉมโชว์รูมทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะเปิดอีก 3 อีก ที่ขอนแก่น ชลบุรี และในกรุงเทพฯ ใกล้ส่วนลุมพินี จากเดิมที่มีทั้งหมด 8 แห่ง
ประวัติในการทำงาน
อาชีพแรกไม่ได้เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจเลย เพราะทำงานกับองค์กรอิสระ “ยูเอ็นเอชซีอาร์” UNHCR เป็นหน่วยงานของยูเอ็น(UN) ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากกลุ่มประเทศที่ 3 ในการตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกา ทำอยู่ประมาณ 5-6 ปี จึงเบนเข็มเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ร่วมงานกับบริษัท คาลเท็กซ์ ก่อนจะมาทำงานบริษัทโฆษณา ลีโอ เบอร์เน็ต จากนั้นจึงมาร่วมงานกับวอลโว่ ตั้งแต่สมัยยังเป็นบริษัทของคนไทย สวีเดน มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น หรือเอสเอ็มซี(SMC)
จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ทำให้บริษัทแม่ วอลโว่ คาร์ คอร์ปอเรชั่น(VCC) เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างเอสเอ็มซี และก่อตั้งบริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) ดูแลการขายและนำเข้ารถยนต์วอลโว่ในไทยแทน จึงได้โอนย้ายมาบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทคนใหม่
ตำแหน่งใหม่กดดันมากไหม
อือ...ไม่มากเท่าไหร่ จริงๆ แล้วขอบเขตงานก็ไม่ได้แตกต่างจากที่เราเคยดูมา ตั้งแต่ยังเป็นรองประธานฝ่ายการตลาด เพียงแต่ตำแหน่งใหม่จะต้องดูแลให้ครอบคลุมทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องเอกสารที่ต้องดูมากหน่อย ดังนั้นจึงไม่รู้สึกกดดันมากนัก
วอลโว่เริ่มถอยจึงได้รับโปรโมท
ไม่เกี่ยว! เป็นนโยบายของบริษัทแม่อยู่แล้ว ที่เมื่อถึงเวลาหนึ่งจะเพิ่มบทบาทคนท้องถิ่นให้เข้ามาบริหาร ซึ่งไม่ใช่เพิ่งเกิดที่ประเทศไทย แต่นโยบายนี้ได้มีการดำเนินงานมาหลายปีแล้ว อย่างที่ประเทศเกาหลีก็แต่งตั้งคนท้องถิ่นเป็นประธานบริษัท ซึ่งไม่เพียงดูแลวอลโว่เท่านั้น แต่ยังดูพีเอจี (Premier Automotive Group : PAG) กลุ่มบริหารแบรนด์รถยนต์หรูในเครือฟอร์ด ไม่ว่าจะเป็นวอลโว่, แลนด์โรเวอร์, จากัวร์ และแอสตัน มาติน เป็นต้น หรือในอาเซียนก็มีที่ประเทศมาเลเซีย และมาที่ไทยเพิ่งมีการเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนก่อนหน้านั้นที่ประเทศไต้หวัน เพิ่งเปลี่ยนประธานเป็นคนไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพียงแต่ช่วงนี้เกิดวิกฤตกับบริษัทรถยนต์หลายแห่ง จึงทำให้อาจจะถูกมองเช่นนั้นพอดี จริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกันแต่อย่างใด
ภารกิจหลักๆ ที่ต้องทำให้ได้
ในสภาวะแบบนี้ทุกยี่ห้อก็ต้องพยายามเร่งฟื้นยอดขายให้ได้มากที่สุด ซึ่งเมื่อเข้ามาเป็นผู้นำวอลโว่ในไทยก็ต้องทำเช่นเดียวกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบรนด์ เครือข่าย และลูกค้า ซึ่งเป็นภารกิจหลักทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
วอลโว่ชูปลอดภัยเช่นเดิมหรือไม่
แน่นอนเรื่องนี้มันเป็นหัวใจหลัก มันเป็นดีเอ็นเอ (DNA) ของวอลโว่ไปแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันจะให้พูดเรื่องความปลอดภัยเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ เพราะสถานการณ์และผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเรื่องของไลฟ์สไตล์และอะไรอีกมากเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเราจึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัย แต่แน่นอนเรื่องความปลอดภัยมันก็ต้องแทรกอยู่ เพราะเป็นดีเอ็นเอของวอลโว่ จะเห็นว่ารถวอลโว่ทุกรุ่นต้องมีจุดเด่นเรื่องนี้อยู่แล้ว อย่างระบบ City Safety ในวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 (XC60)
เป้าหมายการขายวอลโว่ปีนี้
ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ที่ประมาณ 550 คัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดรวมลดลงกว่า 10-20% โดยยอดขายแบ่งเป็น วอลโว่ เอส80 ประมาณ 50% รุ่นเอส40/วี50 อยู่ที่ 25% และที่เหลือเป็นรุ่นอื่นๆ
สินค้าใหม่ที่แนะนำสู่ตลาด
จะเห็นว่าวอลโว่มีการแนะนำรถใหม่สู่ตลาดต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรถพลังงานทดแทน วอลโว่ เอส80 ใช้น้ำมัน อี85 และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แนะนำวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังประมาณเดือนตุลาคม จะมีการเปิดตัวรถยนต์วอลโว่ เอส40 และวี50 เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 145 แรงม้า โดยราคา 1.799 ล้านบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย
รถยนต์พลังงานทดแทน
วอลโว่มีรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน อี85 ทำตลาดเพียงรายเดียวในไทย เราจะชูจุดเด่นตรงนี้ และหลังจากเปิดตัววอลโว่ เอส80 อี85 เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มียอดขายแล้ว 102 คัน จากที่ตั้งเป้าไว้ปีแรก 150 คัน นับว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก โดยวอลโว่จะรุกตลาดต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะไม่มีพลังงานประเภทนี้รองรับมากนัก จึงอยากจะให้รัฐบาลมีนโยบายให้ชัดเจนมากกว่านี้ แม้ว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานจะเข้ามาสนับสนุนน้ำมัน อี85 แต่ก็ยังไม่แน่นอนจะขับเคลื่อนได้มากนัก เพราะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน และจริงๆ แล้วเห็นว่ารถยนต์อี85 ควรจะได้รับการสนับสนุนทางภาษีสรรพสามิต น่าจะเหมาะสมกว่า
เครือข่ายการขายเพิ่มหรือไม่
วอลโว่ยังเน้นสร้างเครือข่ายให้แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นบริการก่อนและหลังการขาย และวอลโว่กำลังปรับโฉมโชว์รูมทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะเปิดอีก 3 อีก ที่ขอนแก่น ชลบุรี และในกรุงเทพฯ ใกล้ส่วนลุมพินี จากเดิมที่มีทั้งหมด 8 แห่ง