ข่าวในประเทศ - เจ้าพ่อตลาดปิกอัพ "อีซูซุ" มั่นใจฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ เผยเตรียมรับมือตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ด้วยการเช็กสภาพความแข็งแกร่งทางการเงิน ยันปึกทั้งบริษัทแม่ "ตรีเพชรฯ" และดีลเลอร์ พร้อมทบทวนแผนธุรกิจใหม่หมด ทั้งชะลอแผนลงทุนต่างๆ รวมถึงออกมาตรการลดค่าใช้จ่าย 20 รายการ แต่โครงการสำคัญยังดำเนินต่อไป ขณะที่แผนการตลาดเดินหน้าจัด "อีเว้นต์มาร์เก็ตติง" โดยเฉพาะอีซูซุโชว์ต่อไปไม่มีลดหลังสร้างยอดขายเป็นกอบเป็นกำที่สุด ส่วนโปรดักต์ใหม่ยังอุบไต๋ แต่ยอมเปิดปากจะรุกตลาดเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV ในรถบรรทุกขนาดกลางรุ่น เอลฟ์ และหัวลากรุ่นฟอร์เวิร์ด มีกำหนดเปิดตัวไตรมาสสองและสามปีนี้ ซึ่งผลจากแผนงานต่างๆ ทำให้เชื่อว่าปีนี้จะผลักดันยอดขายทะลุ 1.21 แสนคัน ลดลงน้อยกว่าตลาดรวม ที่คาดไว้ 5.5 แสนคัน หรือติดลบกว่า 10% พร้อมเรียกร้องรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมปิกอัพ เพราะเป็นเสาหลักของประเทศ ด้วยการให้สถาบันการเงินรัฐปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน และลดภาษีสรรพสามิตปิกอัพชั่วคราวมากสุดเหลือ 0%
ทุกฝ่ายต่างยอมรับว่าปีวัวบ้า 2552 จะเป็น "ปีเผาจริง" เพราะเศรษฐกิจจะตกต่ำลงมากกว่าปีที่ผ่านมา จนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรุนแรง แม้แต่ "โตโยต้า" เองยังประเมินตลาดรถยนต์ไทยปีนี้เหลือเพียง 5.2 แสนคัน หรือลดลงจากปีที่แล้ว 15.4% และตลาดหลักอย่างปิกอัพ คาดว่าจะหดตัวอย่างต่อเนื่อง 19% หรือมีปริมาณ 2.69 แสนคัน โดยโตโยต้าเองตั้งเป้าขายปิกอัพ "ไฮลักซ์ วีโก้" เหลือเพียง 1.17 แสนคัน หรือลดลง 16.6%
เมื่อยักษ์ใหญ่ยังยอมรับสภาพเช่นนี้ นับว่าทิศทางตลาดรถยนต์ไทยปีนี้น่าจะสาหัสทีเดียว แต่เมื่อมองไปยังคู่แข่งสำคัญในตลาดปิกอัพเช่น "อีซูซุ" ซึ่งปีที่ผ่านมาค่อนข้างบาดเจ็บน้อยกว่าเพื่อน จะมีความเห็นต่อสถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย โดยเฉพาะปิกอัพอย่างไร? และอีซูซุเตรียมรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง?
"วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบรุนแรง รวมถึงประเทศไทยด้วย ทำให้คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปีนี้น่าจะอยู่ที่ 5.5 แสนคัน หรือลดลงจากปีที่แล้ว 10.6% โดยในส่วนของตลาดปิกอัพจะอยู่ที่ประมาณ 2.97 แสนคัน ลดลง 8.3% ซึ่งบางยี่ห้ออาจประเมินต่ำกว่านี้ ก็อาจจะเป็นไปได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ"
นั่นคือคำกล่าวของ "โมริคาซุ ชกชิ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยกับ "ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง" ในการให้สัมภาษณ์พิเศษเปิดใจเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะโบกมือลาเมืองไทยในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ หลังจากรับตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา
"อีซูซุเตรียมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ด้วยการทบทวนแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมด พร้อมตรวจสอบความแข็งแกร่งด้านการเงินของบริษัทเอง และผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งผลปรากฏว่าแม้ตลาดจะลดลง แต่ความแข็งแกร่งทางการเงินของพวกเราไม่มีปัญหา"
อย่างไรก็ตาม แม้อีซูซุจะมีความพร้อมทางการเงิน แต่ก็ไม่ได้ประมาทและเตรียมการปรับตัวกับภาวะตลาดรถยนต์ซบเซาในปีนี้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแผนการลงทุน ที่ต้องประเมินว่า จะเลื่อนอะไรออกไปก่อนได้บ้าง หรือโครงการไหนที่จำเป็นและสำคัญก็ดำเนินการต่อไป รวมถึงการใช้งบประมาณต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
"แน่นอนสภาวะตลาดในประเทศและส่งออกหดตัว ดังนั้นแผนที่จะลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จึงต้องชะลอออกไป และเมื่อปลายปีที่แล้วอีซูซุได้ลดพนักงานส่วน ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวในโรงงานผลิต รวมถึงให้สมัครใจลาออกก่อนกำหนด(Early retry) ส่วนพนักงานประจำอาจไม่มีการทำงานล่วงเวลา หรือทำเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งในปีนี้เราต้องปรับกำลังผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการตลาด นอกจากนี้ยังชะลอการปรับปรุงในเรื่องระบบไอที ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติการ เพราะเมื่อไม่เพิ่มกำลังการผลิต จึงทำให้ระบบเดิมที่ใช้อยู่คลอบคลุมและมีศักยภาพเพียงพอ"
ขณะเดียวกันในส่วนกลาง บริษัทยังปรับลดค่าใช้จ่ายด้านเอ็นเตอร์เทนของทุกฝ่ายลง20% รวมถึงการออก 20 มาตรการประหยัดในออฟฟิศ เช่น การใช้กระดาษรีไซเคิล การประหยัดไฟ และงดค่าอาหารกลางวันของผู้บริหาร
พร้อมกันนี้ในส่วนของเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย บริษัทได้ปรึกษากับคู่ค้าในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด จนได้ข้อสรุปว่าในปีนี้จะยังไม่มีการเพิ่มดีลเลอร์ หรือศูนย์บริการ เพราะในจำนวนที่มีอยู่เพียงพอกับสภาพตลาด และการบริการลูกค้าในปัจจุบัน
ชกกิกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายว่าในปีที่แล้ว บริษัทเพิ่มโชว์รูมและศูนย์บริการ รวมเป็นทั้งหมดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ที่สำคัญได้เดินหน้าเปิด "โชว์รูมชุมชน" ซึ่งเป็นโชว์รูมและศูนย์บริการมาตรฐานที่สเกลเล็กกว่าโชว์รูมทั่วไป โดยให้ดีลเลอร์จังหวัดนั้นๆ ขยาย ไปยังพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้การบริการลูกค้าอย่างทั่วถึง
"โชว์รูมชุมชนเกิดขึ้นมารองรับลูกค้า ที่อยู่ห่างไกลออกไปในอำเภอหรือตำบลเล็กๆ แต่ก็มีประสิทธิภาพเท่าโชว์รูมมาตรฐาน เพียงแต่ขนาดย่อมลงเท่านั้น โดยลูกค้าก็มีความสุขที่ไม่ต้องขับรถไปใช้บริการไกลๆ ขณะที่ดีลเลอร์เองก็ไม่ต้องลงทุนสูง เพราะถ้าไม่นับมูลค่าที่ดิน โชว์รูมชุมชนหนึ่งแห่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทเท่านั้น ต่างจากโชว์รูมใหญ่ที่ต้องใช้ตั้งแต่ 30 - 60 ล้านบาท ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้อาจต้องชะลอการขยายโชว์รูมไปบ้าง แต่หากดีลเลอร์ใดพร้อมก็ให้ดำเนินต่อไป"
นั่นเป็นแผนงานบางส่วนที่ถูกเลื่อนออกไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่สำหรับแผนงานอื่นๆ ที่ยังดำเนินหน้าต่อไปก็ยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่จะเปิดในเดือนเมษายนนี้ รวมถึงโปรเจกต์ปรับปรุงมาตรฐานด้านการขาย และศูนย์บริการ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งทั้งสองแผนมีความสำคัญกับการขยายธุรกิจในอนาคต
ในส่วนของแผนการตลาด ชกกิยังยืนยันที่จะเดินหน้าจัด "อีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง" ที่บริษัทถนัดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอีซูซุโชว์, อีซูซุแฟมิลี่เดย์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับดีลเลอร์ โดยในปีนี้จะไม่ลดจำนวนลง เพราะเป็นกิจกรรมที่ผลักดันให้ยอดขายของอีซูซุ เป็นไปตามเป้าหมายมากที่สุด
ด้านซูเปอร์พรีเซนเตอร์ 4 คน ได้แก่ ก็อต, โดม, มอส และปีเตอร์ ที่บริษัทเริ่มใช้ในปีที่แล้ว ถือว่าได้การตอบรับดี มีผลกับการขยายฐานลูกค้ามาก ดังนั้นบริษัทจึงเซ็นสัญญาทำงานร่วมกันต่อไปอีกหนึ่งปี พร้อมกับคอนเซปต์ ยิ่งใช้ยิ่งรวย ถือว่าเหมาะสมกับภาวะแบบนี้
แต่เมื่อถามถึงสินค้าใหม่ๆ ที่จะออกมากระตุ้นตลาดในปีนี้ บอสใหญ่อีซูซุกลับอุบเงียบ และยืนยันว่าปีนี้จะตั้งหน้าตั้งตาขาย "ดีแมคซ์ แพลตทินั่ม" ต่อไป
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่เผยไต๋เรื่องปิกอัพใหม่ แต่ในส่วนของรถบรรทุกขนาดกลาง และขนาดใหญ่นั้น ก็มีข่าวดีให้บรรดาอาเฮียเจ้าของกิจการทั้งหลาย เมื่อชกกิยอมเปิดปากว่า
"ในปีนี้อีซูซุเตรียมเปิดตัวรถบรรทุกใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติ (NGV หรือ CNG) ในรุ่นเอลฟ์ ซีเอ็นจี ช่วงไตรมาสที่สอง และรถหัวลากรุ่นฟอร์เวิร์ด ซีเอ็นจี ในไตรมาสที่สามปีนี้ หลังทำการศึกษาและเตรียมความพร้อมมานานกว่า 3 ปี โดยรถทั้งสองรุ่นจะใช้ระบบซีเอ็นจี 100% ไม่ใช้น้ำมัน และได้รับการติดตั้งตามมาตรฐานโรงงาน พร้อมการรับประกันเหมือนรุ่นปกติ"
"รถบรรทุก ซีเอ็นจี เรามีจุดเด่นตรงระบบซีเอ็นจีแท้ 100% พร้อมกับลิขสิทธิ์เฉพาะของอีซูซุ คือ ระบบ CNG-MPI คือเครื่องยนต์จะไม่มีปัญหาเรื่องการเติมก๊าซที่ค่ามีเทนต่างกัน โดยจะมีอีซียูอัจฉริยะคำนวณสั่งการให้ก๊าซ ฉีดเข้าไปให้ห้องเผาไหม้และจุดระเบิดอย่างเหมาะสม พร้อมผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ ยูโร3 ส่วนราคานั้นยังไม่สรุป แต่คาดว่าจะสูงกว่ารุ่นปกติพอสมควร"
แม้จะมีข่าวดีจากอีซูซุ แต่ในส่วนของราคาจำหน่ายรถบรรทุกที่ทำตลาดในปัจจุบัน ชกกิยอมรับว่าปีที่ผ่านมาต้องแบกภาระขาดทุนทุกรุ่น จากภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น จนต้องปรับราคาขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
"ปีที่แล้วเราเปิดตัวรถบรรทุกโมเดลใหม่หลายรุ่น และแม้จะเป็นรถที่ประกอบในประเทศแต่ชิ้นส่วนมากกว่า 70% ต้องนำเข้ามาจากญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากค่าเงินเยนแข็งขึ้นประมาณ 25% บวกกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องปรับราคาขายใหม่ในปีนี้"
ชกกิกล่าวว่า สำหรับรถบรรทุกจะปรับราคาเพิ่ม 17-18% แต่จะค่อยๆขยับขึ้นเป็นรายไตรมาส ไตรมาสละ 3-4% ขณะเดียวกันรถปิกอัพ 1 ตัน ก็ปรับราคาเช่นกัน แต่ไม่สูงมากประมาณ 2-3%
ถึงอย่างนั้นเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการขายของอีซูซุในปีนี้ เพราะจากการดำเนินงานด้วยแผนงานที่กล่าวมา โดยชกกิเปิดเผยถึงเป้าหมายการขายปีนี้ไว้ที่ 1.21 แสนคัน ลดลง 9.3% เมื่อเทียบกับปี 2551 ในจำนวนนี้เป็นยอดขายปิกอัพ 1.143 แสนคัน หรือลดลง 8.6% ใกล้เคียงกับตลาดปิกอัพรวมที่คาดว่าจะทำได้ 2.97 แสนคัน ลดลง8.3% เมื่อเทียบกับปี2551
"เราพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะว่าไปยอดขายรวมที่ประเมินไว้ 5.5 แสนคัน เอาเข้าจริงอาจจะต่ำกว่านั้นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ จะได้รับการฟื้นฟูเร็วแค่ไหน แน่นอนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และปีนี้เป็นสิ่งที่ประเมินลำบากมาก ฉะนั้นอีซูซุจึงยังไม่สามารถสรุปเป้าหมายการส่งออกได้ในขณะนี้"
ดังนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบเช่นนี้ ตลาดในประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ชกกิจึงฝากความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจกับรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของ "โอบามาร์ค" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่จะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ มาใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากที่สุด
"แม้เราจะยังมองไม่ออกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเมื่อไหร่ แต่ส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และที่เห็นออกมาล้วนเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งรัฐบาลควรมีแผนงานที่ชัดเจนในระยะยาวด้วย เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะปิกอัพ ถือเป็นเสาหลักของประเทศ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มขีดความสามารถ และทำให้ไทยยืนหยัดแข่งขันในตลาดโลกได้"ชกกิกล่าวและว่า
"ในโลกนี้ไม่ใช่ไทยแห่งเดียว ที่มีความพร้อมจะเป็นฐานผลิตปิกอัพ 1 ตัน ยังมีคู่แข่งอีก 3 ประเทศได้แก่ อาร์เจนตินา ตุรกี และอาฟริกาใต้ เพียงแต่ไทยมีจุดเด่นที่ตลาดในประเทศมีปริมาณมาก ทำให้บริษัทต่างๆ เลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ฉะนั้นหากตลาดในประเทศชะลอตัวมาก จะส่งผลกับต้นทุนต่อหน่วยผลิต และทำให้รถมีราคาสูงขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลต่อการพัฒนาสินค้า และจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกได้"
ชกกิจึงอยากให้รัฐบาลหนุนการขยายตัวของตลาดปิกอัพในประเทศ เพราะในปีที่แล้วที่ตลาดปิกอัพตกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งลูกค้าปิกอัพส่วนใหญ่เป็น เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ที่ไม่มีฐานเงินเดือนประจำและตรวจสอบได้ชัดเจน เหมือนพนักงานบริษัท หรือข้าราชการ จึงอยากให้รัฐหันมาช่วยเหลือตรงจุดนี้ ด้วยการให้สถาบันการเงินของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือเอสเอ็มอีแบงค์ สนับสนุนเรื่องการเช่าซื้อ และให้ประชาชนที่ต้องการรถปิกอัพเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นตลาดในประเทศ ด้วยการลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถปิกอัพ ทั้งตัวถังรถตอนเดียว และแบบมีแค็บ จากเดิมที่เก็บอยู่ 3% ก็ให้ลดลงมาเป็น0% ส่วนพวกดับเบิ้ลแคบ และปิกอัพดัดแปลง ที่เก็บ 12% และ20% ตามลำดับก็ให้ลดลงมาครึ่งหนึ่งหรืออย่างน้อย 5% ซึ่งอาจจะเป็นแผนงานระยะสั้น 1 ปี เพื่อทำให้รถปิกอัพหนึ่งคันถูกลง และจะเพิ่มกำลังซื้อโดยรวมได้อีกด้วย
นั่นคือข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลของเจ้าพ่อตลาดปิกอัพ แต่ไม่ว่าจะได้รับความสนใจหรือไม่? อีซูซุได้เตรียมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก และรุกตลาดปิกอัพไทยอย่างมั่นใจ พร้อมที่จะก้าวขึ้นทวงความยิ่งใหญ่คืนจากคู่แข่งสำคัญ โตโยต้าแล้ว
ทุกฝ่ายต่างยอมรับว่าปีวัวบ้า 2552 จะเป็น "ปีเผาจริง" เพราะเศรษฐกิจจะตกต่ำลงมากกว่าปีที่ผ่านมา จนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรุนแรง แม้แต่ "โตโยต้า" เองยังประเมินตลาดรถยนต์ไทยปีนี้เหลือเพียง 5.2 แสนคัน หรือลดลงจากปีที่แล้ว 15.4% และตลาดหลักอย่างปิกอัพ คาดว่าจะหดตัวอย่างต่อเนื่อง 19% หรือมีปริมาณ 2.69 แสนคัน โดยโตโยต้าเองตั้งเป้าขายปิกอัพ "ไฮลักซ์ วีโก้" เหลือเพียง 1.17 แสนคัน หรือลดลง 16.6%
เมื่อยักษ์ใหญ่ยังยอมรับสภาพเช่นนี้ นับว่าทิศทางตลาดรถยนต์ไทยปีนี้น่าจะสาหัสทีเดียว แต่เมื่อมองไปยังคู่แข่งสำคัญในตลาดปิกอัพเช่น "อีซูซุ" ซึ่งปีที่ผ่านมาค่อนข้างบาดเจ็บน้อยกว่าเพื่อน จะมีความเห็นต่อสถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย โดยเฉพาะปิกอัพอย่างไร? และอีซูซุเตรียมรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง?
"วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบรุนแรง รวมถึงประเทศไทยด้วย ทำให้คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปีนี้น่าจะอยู่ที่ 5.5 แสนคัน หรือลดลงจากปีที่แล้ว 10.6% โดยในส่วนของตลาดปิกอัพจะอยู่ที่ประมาณ 2.97 แสนคัน ลดลง 8.3% ซึ่งบางยี่ห้ออาจประเมินต่ำกว่านี้ ก็อาจจะเป็นไปได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ"
นั่นคือคำกล่าวของ "โมริคาซุ ชกชิ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยกับ "ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง" ในการให้สัมภาษณ์พิเศษเปิดใจเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะโบกมือลาเมืองไทยในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ หลังจากรับตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา
"อีซูซุเตรียมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ด้วยการทบทวนแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมด พร้อมตรวจสอบความแข็งแกร่งด้านการเงินของบริษัทเอง และผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งผลปรากฏว่าแม้ตลาดจะลดลง แต่ความแข็งแกร่งทางการเงินของพวกเราไม่มีปัญหา"
อย่างไรก็ตาม แม้อีซูซุจะมีความพร้อมทางการเงิน แต่ก็ไม่ได้ประมาทและเตรียมการปรับตัวกับภาวะตลาดรถยนต์ซบเซาในปีนี้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแผนการลงทุน ที่ต้องประเมินว่า จะเลื่อนอะไรออกไปก่อนได้บ้าง หรือโครงการไหนที่จำเป็นและสำคัญก็ดำเนินการต่อไป รวมถึงการใช้งบประมาณต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
"แน่นอนสภาวะตลาดในประเทศและส่งออกหดตัว ดังนั้นแผนที่จะลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จึงต้องชะลอออกไป และเมื่อปลายปีที่แล้วอีซูซุได้ลดพนักงานส่วน ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวในโรงงานผลิต รวมถึงให้สมัครใจลาออกก่อนกำหนด(Early retry) ส่วนพนักงานประจำอาจไม่มีการทำงานล่วงเวลา หรือทำเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งในปีนี้เราต้องปรับกำลังผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการตลาด นอกจากนี้ยังชะลอการปรับปรุงในเรื่องระบบไอที ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติการ เพราะเมื่อไม่เพิ่มกำลังการผลิต จึงทำให้ระบบเดิมที่ใช้อยู่คลอบคลุมและมีศักยภาพเพียงพอ"
ขณะเดียวกันในส่วนกลาง บริษัทยังปรับลดค่าใช้จ่ายด้านเอ็นเตอร์เทนของทุกฝ่ายลง20% รวมถึงการออก 20 มาตรการประหยัดในออฟฟิศ เช่น การใช้กระดาษรีไซเคิล การประหยัดไฟ และงดค่าอาหารกลางวันของผู้บริหาร
พร้อมกันนี้ในส่วนของเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย บริษัทได้ปรึกษากับคู่ค้าในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด จนได้ข้อสรุปว่าในปีนี้จะยังไม่มีการเพิ่มดีลเลอร์ หรือศูนย์บริการ เพราะในจำนวนที่มีอยู่เพียงพอกับสภาพตลาด และการบริการลูกค้าในปัจจุบัน
ชกกิกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายว่าในปีที่แล้ว บริษัทเพิ่มโชว์รูมและศูนย์บริการ รวมเป็นทั้งหมดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ที่สำคัญได้เดินหน้าเปิด "โชว์รูมชุมชน" ซึ่งเป็นโชว์รูมและศูนย์บริการมาตรฐานที่สเกลเล็กกว่าโชว์รูมทั่วไป โดยให้ดีลเลอร์จังหวัดนั้นๆ ขยาย ไปยังพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้การบริการลูกค้าอย่างทั่วถึง
"โชว์รูมชุมชนเกิดขึ้นมารองรับลูกค้า ที่อยู่ห่างไกลออกไปในอำเภอหรือตำบลเล็กๆ แต่ก็มีประสิทธิภาพเท่าโชว์รูมมาตรฐาน เพียงแต่ขนาดย่อมลงเท่านั้น โดยลูกค้าก็มีความสุขที่ไม่ต้องขับรถไปใช้บริการไกลๆ ขณะที่ดีลเลอร์เองก็ไม่ต้องลงทุนสูง เพราะถ้าไม่นับมูลค่าที่ดิน โชว์รูมชุมชนหนึ่งแห่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทเท่านั้น ต่างจากโชว์รูมใหญ่ที่ต้องใช้ตั้งแต่ 30 - 60 ล้านบาท ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้อาจต้องชะลอการขยายโชว์รูมไปบ้าง แต่หากดีลเลอร์ใดพร้อมก็ให้ดำเนินต่อไป"
นั่นเป็นแผนงานบางส่วนที่ถูกเลื่อนออกไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่สำหรับแผนงานอื่นๆ ที่ยังดำเนินหน้าต่อไปก็ยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่จะเปิดในเดือนเมษายนนี้ รวมถึงโปรเจกต์ปรับปรุงมาตรฐานด้านการขาย และศูนย์บริการ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งทั้งสองแผนมีความสำคัญกับการขยายธุรกิจในอนาคต
ในส่วนของแผนการตลาด ชกกิยังยืนยันที่จะเดินหน้าจัด "อีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง" ที่บริษัทถนัดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอีซูซุโชว์, อีซูซุแฟมิลี่เดย์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับดีลเลอร์ โดยในปีนี้จะไม่ลดจำนวนลง เพราะเป็นกิจกรรมที่ผลักดันให้ยอดขายของอีซูซุ เป็นไปตามเป้าหมายมากที่สุด
ด้านซูเปอร์พรีเซนเตอร์ 4 คน ได้แก่ ก็อต, โดม, มอส และปีเตอร์ ที่บริษัทเริ่มใช้ในปีที่แล้ว ถือว่าได้การตอบรับดี มีผลกับการขยายฐานลูกค้ามาก ดังนั้นบริษัทจึงเซ็นสัญญาทำงานร่วมกันต่อไปอีกหนึ่งปี พร้อมกับคอนเซปต์ ยิ่งใช้ยิ่งรวย ถือว่าเหมาะสมกับภาวะแบบนี้
แต่เมื่อถามถึงสินค้าใหม่ๆ ที่จะออกมากระตุ้นตลาดในปีนี้ บอสใหญ่อีซูซุกลับอุบเงียบ และยืนยันว่าปีนี้จะตั้งหน้าตั้งตาขาย "ดีแมคซ์ แพลตทินั่ม" ต่อไป
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่เผยไต๋เรื่องปิกอัพใหม่ แต่ในส่วนของรถบรรทุกขนาดกลาง และขนาดใหญ่นั้น ก็มีข่าวดีให้บรรดาอาเฮียเจ้าของกิจการทั้งหลาย เมื่อชกกิยอมเปิดปากว่า
"ในปีนี้อีซูซุเตรียมเปิดตัวรถบรรทุกใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติ (NGV หรือ CNG) ในรุ่นเอลฟ์ ซีเอ็นจี ช่วงไตรมาสที่สอง และรถหัวลากรุ่นฟอร์เวิร์ด ซีเอ็นจี ในไตรมาสที่สามปีนี้ หลังทำการศึกษาและเตรียมความพร้อมมานานกว่า 3 ปี โดยรถทั้งสองรุ่นจะใช้ระบบซีเอ็นจี 100% ไม่ใช้น้ำมัน และได้รับการติดตั้งตามมาตรฐานโรงงาน พร้อมการรับประกันเหมือนรุ่นปกติ"
"รถบรรทุก ซีเอ็นจี เรามีจุดเด่นตรงระบบซีเอ็นจีแท้ 100% พร้อมกับลิขสิทธิ์เฉพาะของอีซูซุ คือ ระบบ CNG-MPI คือเครื่องยนต์จะไม่มีปัญหาเรื่องการเติมก๊าซที่ค่ามีเทนต่างกัน โดยจะมีอีซียูอัจฉริยะคำนวณสั่งการให้ก๊าซ ฉีดเข้าไปให้ห้องเผาไหม้และจุดระเบิดอย่างเหมาะสม พร้อมผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ ยูโร3 ส่วนราคานั้นยังไม่สรุป แต่คาดว่าจะสูงกว่ารุ่นปกติพอสมควร"
แม้จะมีข่าวดีจากอีซูซุ แต่ในส่วนของราคาจำหน่ายรถบรรทุกที่ทำตลาดในปัจจุบัน ชกกิยอมรับว่าปีที่ผ่านมาต้องแบกภาระขาดทุนทุกรุ่น จากภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น จนต้องปรับราคาขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
"ปีที่แล้วเราเปิดตัวรถบรรทุกโมเดลใหม่หลายรุ่น และแม้จะเป็นรถที่ประกอบในประเทศแต่ชิ้นส่วนมากกว่า 70% ต้องนำเข้ามาจากญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากค่าเงินเยนแข็งขึ้นประมาณ 25% บวกกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องปรับราคาขายใหม่ในปีนี้"
ชกกิกล่าวว่า สำหรับรถบรรทุกจะปรับราคาเพิ่ม 17-18% แต่จะค่อยๆขยับขึ้นเป็นรายไตรมาส ไตรมาสละ 3-4% ขณะเดียวกันรถปิกอัพ 1 ตัน ก็ปรับราคาเช่นกัน แต่ไม่สูงมากประมาณ 2-3%
ถึงอย่างนั้นเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการขายของอีซูซุในปีนี้ เพราะจากการดำเนินงานด้วยแผนงานที่กล่าวมา โดยชกกิเปิดเผยถึงเป้าหมายการขายปีนี้ไว้ที่ 1.21 แสนคัน ลดลง 9.3% เมื่อเทียบกับปี 2551 ในจำนวนนี้เป็นยอดขายปิกอัพ 1.143 แสนคัน หรือลดลง 8.6% ใกล้เคียงกับตลาดปิกอัพรวมที่คาดว่าจะทำได้ 2.97 แสนคัน ลดลง8.3% เมื่อเทียบกับปี2551
"เราพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะว่าไปยอดขายรวมที่ประเมินไว้ 5.5 แสนคัน เอาเข้าจริงอาจจะต่ำกว่านั้นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ จะได้รับการฟื้นฟูเร็วแค่ไหน แน่นอนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และปีนี้เป็นสิ่งที่ประเมินลำบากมาก ฉะนั้นอีซูซุจึงยังไม่สามารถสรุปเป้าหมายการส่งออกได้ในขณะนี้"
ดังนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบเช่นนี้ ตลาดในประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ชกกิจึงฝากความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจกับรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของ "โอบามาร์ค" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่จะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ มาใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากที่สุด
"แม้เราจะยังมองไม่ออกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเมื่อไหร่ แต่ส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และที่เห็นออกมาล้วนเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งรัฐบาลควรมีแผนงานที่ชัดเจนในระยะยาวด้วย เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะปิกอัพ ถือเป็นเสาหลักของประเทศ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มขีดความสามารถ และทำให้ไทยยืนหยัดแข่งขันในตลาดโลกได้"ชกกิกล่าวและว่า
"ในโลกนี้ไม่ใช่ไทยแห่งเดียว ที่มีความพร้อมจะเป็นฐานผลิตปิกอัพ 1 ตัน ยังมีคู่แข่งอีก 3 ประเทศได้แก่ อาร์เจนตินา ตุรกี และอาฟริกาใต้ เพียงแต่ไทยมีจุดเด่นที่ตลาดในประเทศมีปริมาณมาก ทำให้บริษัทต่างๆ เลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ฉะนั้นหากตลาดในประเทศชะลอตัวมาก จะส่งผลกับต้นทุนต่อหน่วยผลิต และทำให้รถมีราคาสูงขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลต่อการพัฒนาสินค้า และจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกได้"
ชกกิจึงอยากให้รัฐบาลหนุนการขยายตัวของตลาดปิกอัพในประเทศ เพราะในปีที่แล้วที่ตลาดปิกอัพตกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งลูกค้าปิกอัพส่วนใหญ่เป็น เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ที่ไม่มีฐานเงินเดือนประจำและตรวจสอบได้ชัดเจน เหมือนพนักงานบริษัท หรือข้าราชการ จึงอยากให้รัฐหันมาช่วยเหลือตรงจุดนี้ ด้วยการให้สถาบันการเงินของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือเอสเอ็มอีแบงค์ สนับสนุนเรื่องการเช่าซื้อ และให้ประชาชนที่ต้องการรถปิกอัพเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นตลาดในประเทศ ด้วยการลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถปิกอัพ ทั้งตัวถังรถตอนเดียว และแบบมีแค็บ จากเดิมที่เก็บอยู่ 3% ก็ให้ลดลงมาเป็น0% ส่วนพวกดับเบิ้ลแคบ และปิกอัพดัดแปลง ที่เก็บ 12% และ20% ตามลำดับก็ให้ลดลงมาครึ่งหนึ่งหรืออย่างน้อย 5% ซึ่งอาจจะเป็นแผนงานระยะสั้น 1 ปี เพื่อทำให้รถปิกอัพหนึ่งคันถูกลง และจะเพิ่มกำลังซื้อโดยรวมได้อีกด้วย
นั่นคือข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลของเจ้าพ่อตลาดปิกอัพ แต่ไม่ว่าจะได้รับความสนใจหรือไม่? อีซูซุได้เตรียมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก และรุกตลาดปิกอัพไทยอย่างมั่นใจ พร้อมที่จะก้าวขึ้นทวงความยิ่งใหญ่คืนจากคู่แข่งสำคัญ โตโยต้าแล้ว