ในช่วงฤดูฝนอุบัติเหตุทางถนนมักเกิดได้ง่ายกว่าในช่วงปกติ เพราะนอกจากพื้นถนนที่ลื่นทำให้ยากแก่การควบคุมแล้ว เม็ดฝนที่เกาะเป็นหยดน้ำบนผิวกระจกยังบดบังทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ยิ่งเฉพาะกระจกข้างรถยนต์แล้วยังมีปัญหาในการลดการเกาะของหยดน้ำมากทีเดียว
แต่ล่าสุดทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง(optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้พัฒนา“กระจกชอบน้ำ” หรือ hydrophilic mirror สำหรับใช้ผลิตกระจกข้างรถยนต์ มีคุณสมบัติกระจายตัวของหยดน้ำ ลดฝ้ามัว เพิ่มความชัดเจนและคมชัดในการมองรถด้านหลังในระหว่างการขับรถกรณีที่ฝนตกได้ดีขึ้น
นายมติ ห่อประทุม และทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง (optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า กระจกทั่วไปเมื่อโดนน้ำฝนจะมีลักษณะเป็นหยดน้ำเม็ดใหญ่ๆทำให้มองเห็นได้ยาก แต่กระจกที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นได้มีการใช้เทคโนโลยีการเคลือบแบบสปัตเตอริ่ง (Sputtering) เพื่อเคลือบฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นชั้นหนา 200 นาโนเมตร และ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) หนา 20 นาโนเมตรไว้บริเวณที่ผิวหน้ากระจก
ซึ่งเมื่อกระจกดังกล่าวได้รับแสงแดด แสงจะกระตุ้นให้อนุภาคที่เคลือบไว้เกิดปฏิกิริยาแตกตัวเป็นประจุได้ เมื่อฝนตกมีน้ำมาเกาะ ประจุดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของน้ำ(H2O) และเหนี่ยวนำให้เกิดกลุ่มไฮดรอกซิล ไอออน (Hydroxyl ions, OH-) ซึ่งมีคุณสมบัติ“ชอบน้ำ” ทำให้น้ำที่เกาะแผ่แบนบนผิวกระจก ช่วยให้แห้งเร็ว ไม่รวมตัวเป็นหยดน้ำเม็ดใหญ่ๆ หรือหากโดนไอน้ำก็จะไม่ทำให้แผ่นกระจกเกิดการฝ้ามัว
นอกจากนี้สารไทเทเนียมไดออกไซด์ยังมีคุณสมบัติพิเศษช่วยทำความสะอาดสารอินทรีย์ที่มาเกาะที่พื้นผิวได้ กระจกจึงสามารถทำความสะอาดตัวเอง ที่สำคัญแม้สารเคลือบกระจกจะทำงานเมื่อได้รับแสงแดด แต่ก็ไม่ต้องกังวลในการขับรถตอนกลางคืน เพราะแม้กระจกจะได้รับแสงแดดช่วงกลางวันเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรักษาสภาพชอบน้ำได้มากกว่า 1 สัปดาห์
นายมติ กล่าวว่า กระจกชอบน้ำที่พัฒนาขึ้นจะมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตกระจกข้างรถยนต์สำหรับมองหลัง เพราะกระจกหน้ารถยนต์เหมาะสำหรับสภาพหยดน้ำที่เป็นก้อนกลมๆอยู่แล้ว เนื่องจากเวลาขับรถเมื่อหยดน้ำโดนลมจะวิ่งขึ้นไปด้านบน ขณะที่กระจกมองข้างไม่โดนลมจึงทำให้หยดน้ำเกาะอยู่มาก ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานทำงานวิจัยร่วมกับในภาคอุตสาหกรรมบ้างแล้ว
สำหรับงานวิจัยในขั้นต่อคือการศึกษาความคงทนของการเคลือบสารเพื่อให้มีการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตจะมีการนำไปทดลองใช้กับกระจกอาคาร เพราะว่าฟิลม์สามารถทำความสะอาดด้วยอนุภาคของตัวเอง และจะช่วยให้ทัศนะวิสัยในการมองทิวทัศน์ด้านนอกได้ดีขึ้น เป็นต้น นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของงานวิจัยไทยที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนมากยิ่งขึ้น
แต่ล่าสุดทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง(optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้พัฒนา“กระจกชอบน้ำ” หรือ hydrophilic mirror สำหรับใช้ผลิตกระจกข้างรถยนต์ มีคุณสมบัติกระจายตัวของหยดน้ำ ลดฝ้ามัว เพิ่มความชัดเจนและคมชัดในการมองรถด้านหลังในระหว่างการขับรถกรณีที่ฝนตกได้ดีขึ้น
นายมติ ห่อประทุม และทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง (optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า กระจกทั่วไปเมื่อโดนน้ำฝนจะมีลักษณะเป็นหยดน้ำเม็ดใหญ่ๆทำให้มองเห็นได้ยาก แต่กระจกที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นได้มีการใช้เทคโนโลยีการเคลือบแบบสปัตเตอริ่ง (Sputtering) เพื่อเคลือบฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นชั้นหนา 200 นาโนเมตร และ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) หนา 20 นาโนเมตรไว้บริเวณที่ผิวหน้ากระจก
ซึ่งเมื่อกระจกดังกล่าวได้รับแสงแดด แสงจะกระตุ้นให้อนุภาคที่เคลือบไว้เกิดปฏิกิริยาแตกตัวเป็นประจุได้ เมื่อฝนตกมีน้ำมาเกาะ ประจุดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของน้ำ(H2O) และเหนี่ยวนำให้เกิดกลุ่มไฮดรอกซิล ไอออน (Hydroxyl ions, OH-) ซึ่งมีคุณสมบัติ“ชอบน้ำ” ทำให้น้ำที่เกาะแผ่แบนบนผิวกระจก ช่วยให้แห้งเร็ว ไม่รวมตัวเป็นหยดน้ำเม็ดใหญ่ๆ หรือหากโดนไอน้ำก็จะไม่ทำให้แผ่นกระจกเกิดการฝ้ามัว
นอกจากนี้สารไทเทเนียมไดออกไซด์ยังมีคุณสมบัติพิเศษช่วยทำความสะอาดสารอินทรีย์ที่มาเกาะที่พื้นผิวได้ กระจกจึงสามารถทำความสะอาดตัวเอง ที่สำคัญแม้สารเคลือบกระจกจะทำงานเมื่อได้รับแสงแดด แต่ก็ไม่ต้องกังวลในการขับรถตอนกลางคืน เพราะแม้กระจกจะได้รับแสงแดดช่วงกลางวันเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรักษาสภาพชอบน้ำได้มากกว่า 1 สัปดาห์
นายมติ กล่าวว่า กระจกชอบน้ำที่พัฒนาขึ้นจะมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตกระจกข้างรถยนต์สำหรับมองหลัง เพราะกระจกหน้ารถยนต์เหมาะสำหรับสภาพหยดน้ำที่เป็นก้อนกลมๆอยู่แล้ว เนื่องจากเวลาขับรถเมื่อหยดน้ำโดนลมจะวิ่งขึ้นไปด้านบน ขณะที่กระจกมองข้างไม่โดนลมจึงทำให้หยดน้ำเกาะอยู่มาก ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานทำงานวิจัยร่วมกับในภาคอุตสาหกรรมบ้างแล้ว
สำหรับงานวิจัยในขั้นต่อคือการศึกษาความคงทนของการเคลือบสารเพื่อให้มีการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตจะมีการนำไปทดลองใช้กับกระจกอาคาร เพราะว่าฟิลม์สามารถทำความสะอาดด้วยอนุภาคของตัวเอง และจะช่วยให้ทัศนะวิสัยในการมองทิวทัศน์ด้านนอกได้ดีขึ้น เป็นต้น นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของงานวิจัยไทยที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนมากยิ่งขึ้น